( Cardiopulmonary Resuscitation : CPR ) ปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ( Cardiopulmonary Resuscitation : CPR ) โดย คุณภัทรพรรณ รามศิริ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานหรือ CPR หมายถึง ปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตคนที่หัวใจ หยุดเต้นและหยุดหายใจกระทันหัน เป็นการช่วยโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ เพียงแต่ใช้มือกดที่หน้าออก และเป่าลมหายใจเข้าปากผู้ป่วย
CPR มีประโยชน์อย่างไร สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เสียชีวิตกระทันหัน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ที่จมน้ำ ถูกไฟฟ้าดูด ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับยาเกินขนาด เป็นการต่อเวลาของผู้ป่วยเพื่อรอให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อไป
เมื่อไหร่จึงจะทำ CPR เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ควรรีบทำ CPR ทันทีภายในเวลา 4 นาทีแรกหลังจากหยุดหายใจแต่ถ้าเสียชีวิตมานานแล้วก็ไม่ต้องทำเพราะเซลล์สมอง ขาดออกซิเจนทำให้เซลสมองบางส่วนตายไป
1.ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและตีที่ไหล่เบาๆ ขั้นตอนการทำ CPR 1.ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียกและตีที่ไหล่เบาๆ
2.ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ให้เรียกขอความช่วยเหลือ
3.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ราบบนพื้นแข็งและตรวจดูในปาก ว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้เอาออก
4.เปิดทางเดินหายใจ โดยดันหน้าผากและยกคาง ให้ใบหน้าแหวนขึ้น และตรวจดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่โดยก้มลงเอียงแก้มให้หูอยู่ใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วย ฟังเสียงลมหายใจ ตามองดูหน้าอก ว่าขยับขึ้นลงหรือไม่ และแก้มจะสัมผัสลมหายใจออก
5.ถ้าผู้ป่วยหายใจและไม่มีการเจ็บของกระดูกคอและกระดูกสันหลัง ให้จัดท่า นอนตะแคงกึ่งคว่ำ
6.ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ วิธีทำผู้ช่วยเหลือสูดหายใจเข้าให้เต็มที่ ประกบปากผู้ป่วย ให้แน่นเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยช้าๆ สม่ำเสมอ 2 ครั้ง อย่าเป่าติดกันโดยไม่รอให้ผู้ป่วยหายใจออก
7.คำชีพจร เพื่อตรวจดูว่าหัวใจยังเต้นอยู่หรือไม่ โดยคลำชีพจรที่คอ วิธีคลำ วางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนลูกกระเดือกของผู้ป่วย แล้วเลื่อนมือลงมาด้านข้างระหว่างช่องลูกกระเดือกกับกล้ามเนื้อคอ
8.ถ้าไม่มีชีพจร ให้หาตำแหน่งวางมือเพื่อกดหน้าอกโดยใช้มือคลำขอบกระดูกชายโครงล่างสุด เลื่อนเข้ามาบริเวณกระดูกลิ้นปี่ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางจากปลายกระดูกลิ้นปี่ขึ้นมา แล้ววางฝ่ามืออีกข้างให้ชิดกับนิ้วและยกนิ้วนั้นออก แล้ววางทับหลับมือพร้อมกับงอนิ้วมือ ให้สอดคล้องประสานง่ามนิ้วมือล่างพอดี( แบ่งกึ่งกลางกระดูกหน้าหรือตำแหน่งบริเวณหัวนม)
9. เริ่มกดหน้าอก 30 ครั้ง โดยนับเป็นจังหวะหนึ่ง,สอง,สาม 9.เริ่มกดหน้าอก 30 ครั้ง โดยนับเป็นจังหวะหนึ่ง,สอง,สาม....สามสิบ ต้องเหยียดแขนให้ตรงโน้มตัวให้ตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วย ทิ้งน้ำหนักลงบนแขน ต้องไม่เลื่อนมือออกจากตำแหน่งที่กำหนด ถ้าเลื่อนออกไปแล้ว ต้องจัดหาตำแหน่งวางมือใหม่ทุกครั้ง ( 30 : 2 )
กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ถือเป็น 1 รอบ ถ้าทำครบ 5 รอบ ให้คลำชีพจร ที่คออีกครั้ง ถ้ายังไม่มีชีพจร ให้ช่วยต่อไป ( รอจนกว่าเจ้าหน้าที่ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงจะมา )
ฝึกฝนท่าจนเกิดความชำนาญและมั่นใ จ จึงจะสามารถทำ CPR ในเวลาฉุกเฉินได้ผล ข้อสำคัญ ในการทำ CPR นั้นผู้ปฏิบัติจะต้อง ฝึกฝนท่าจนเกิดความชำนาญและมั่นใ จ จึงจะสามารถทำ CPR ในเวลาฉุกเฉินได้ผล อ้างอิง : http://www.fire2rescue.com/knowlage/Cpr.html