Mind Mapping
Mind map Mind map แนวคิดนี้ได้เริ่มจาก ลีโอนาร์โด ดาวินชี ต่อมาในปี พ.ศ2517 โทนี บูซาน จึงเสนอเทคนิคการจดบันทึกแบบใหม่ที่ใช้ความสามารถของสมองทั้งสองซีกร่วมกัน เรียกว่า Mind mapping
เลียนแบบศักยภาพสมอง…จำลองเป็น mind map
กฎของ Mind map - เริ่มเขียนแก่นแกนตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ เพราะ จุดเด่นที่ต้องตาโดนใจในหน้ากระดาษ จะอยู่ตรงกลางหน้ากระดาษ โดยให้มีขนาดพอเหมาะกับหน้ากระดาษ - แก่นแกนที่ไร้กรอบจะ ดูเด่น เจริญตาและจำง่ายนอกจากนั้น เวลาแตกกิ่งแก้วก็จะสามารถเกาะเกี่ยวกับแก่นแกนได้อย่างกลมกลืน ไม่มีกล่องหรือกรอบมากั้นทำให้ความคิดไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นถ้าเขียนเรื่องราวที่มีขอบเขตอยู่แล้ว เช่น เขตจังหวัด ป้ายประกาศ ประเทศ เหล่านี้สามารถล้อมกรอบได้ - นำประเด็นหลักของเรื่องมาแตกกิ่งแก้วหรือประเด็นที่สำคัญออกไปรอบแก่นแกน โดยจะเริ่มตรงไหนก่อนก็ได้แต่ส่วนใหญ่มักเริ่มจากมุมบนค่อนไปทางซ้ายตามเข็มนาฬิกา เวลาแตกกิ่งดูให้สมดุลอย่าให้เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง กิ่งแก้วที่ดีควรเป็นคำที่สะท้อนความคิดหรือข้อมูลได้อย่างชัดเจน ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัว CAPITAL
กฎของ Mind map (ต่อ) - เหตุที่ต้องให้กิ่งแก้วต่อตรงออกมาจากแก่นแกนก็เพื่อเน้นความสำคัญของประเด็นหลัก และการเชื่อมโยง - ส่วนเส้นกับคำนั้นหากคิดคำได้ก็เขียนคำลงไปก่อนแล้วลากเส้นเชื่อมกับแก่นแกน - การเขียนตัวหนาก็จะช่วยให้เด่นและจำง่าย - การต่ออย่างไม่ขาดสายของเส้นใน Mind map สำคัญมากเพราะแทนการเชื่อมโยงความคิด - หลังจากแตกกิ่งแก้วหรือประเด็นที่สำคัญได้ครบแล้ว ให้ลงรายละเอียดประเด็นย่อยในกิ่งก้อย ที่แยกแขนงออกมาจากกิ่งแก้วแต่ละกิ่งโดยทั้งคำ / ภาพและเส้นในกิ่งก้อย ให้ใช้สีเดียวกับกิ่งแก้วที่แตกแขนงออกมา เพื่อให้จำง่าย
กฎของ Mind map (ต่อ) - ขนาดของคำและเส้นอาจเล็กลงตามระยะทางที่ห่างจากแก่นแก้ว ดังนั้นโอกาสที่เราจะต่อเติมกิ่งก้านของ Mind map จึงไม่มีวันสิ้นสุด และควรใช้ภาพแทนคำให้มากที่สุด - คำหรือภาพที่สำคัญ น่าสนใจให้ล้อมกรอบหรือทำให้เด่นขัดขึ้น เส้นล้อมภาพหรือคำใน Mind map จะช่วยให้จำแม่นขึ้น คำหรือภาพใดที่สัมพันธ์กัน อาจใช้ลูกศรหรือรหัสเติมแต้มลงไปเพื่อเกี่ยวโยงเรื่องราว ข้อมูล ความคิดที่สัมพันธ์กัน แต่ไม่ควรล้อมกรอบเสียทุกคำทุกกิ่งจนดูสับสน
ประโยชน์ของ Mine Mapping ช่วยความจำ ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เห็นภาพรวม
สรุป ก่อนที่จะทำ Mind map ได้ เราต้องจับใจความสำคัญของเนื้อหา รู้ว่าความคิดใดบ้างที่ตรงประเด็น และความคิดทั้งหลายสัมพันธ์กันอย่างไร จากนั้นจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำ Mind map อีกที ดังนั้นเมื่อเราทำ Mind map ก็เท่ากับเราทำความเข้าใจเนื้อหาไปด้วย
จบการนำเสนอ