หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก เฝือก โดย จิรารัตน์ อินเหลา หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยใส่เฝือก โดย คณะกรรมการสุขศึกษา หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก
1. เปิดบริเวณที่เข้าเฝือกให้อากาศถ่ายเทสะดวกเฝือกจะแห้งภายใน 24 - 48 ชั่วโมง ห้ามวางเฝือกพาดบนขอบแข็ง หรือเดินลงน้ำหนักเต็มที่ หลังจากนั้นต้องใช้ไม้ค้ำยัน ยกเว้นกรณีที่แพทย์อนุญาตให้ลงน้ำหนักได้โดยไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน
2. ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงกว่าระดับหัวใจ โดยวางบนหมอน 2. ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงกว่าระดับหัวใจ โดยวางบนหมอน 3. เฝือกควรสะอาดและแห้งเสมอ เวลาอาบน้ำใช้พลาสติกคลุมเฝือกให้มิดชิด
4. ห้าม สอดวัสดุแปลกปลอมเข้าไปในเฝือก หรือใช้วัสดุทุกชนิดแยงเข้าไปในเฝือกเพื่อเกา เวลาคันเพราะอาจทำให้เกิดแผลกดทับหรือผิวหนังถลอก ถ้าคันใช้แอลกอฮอล์ 75 % หยดลงไปบริเวณที่คันหรือเป่าลมเย็นเข้าไป ถ้าคันมากควรปรึกษาแพทย์
5. ห้ามดึงสำลีที่รองใต้เฝือกออก เพราะสำลีจะช่วยให้เฝือกกระชับแน่นกับแขนหรือขา ทำให้กระดูกอยู่นิ่งได้ดี และจะช่วยป้องกันใบเลื่อยตัดเฝือกไม่ให้ถูกผิวหนังเวลาเอาเฝือกออก ข้อห้าม
6. ต้องปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ 6.1 ปวดและตึงบริเวณที่ใส่เฝือกมาก เมื่อยกสูงและรับประทานยาที่แพทย์จัดไว้แล้วอาการไม่ดีขึ้น 6.2 ปลายนิ้ว บวม เย็น มีสีซีดหรือคล้ำ ปลายนิ้วเคลื่อนไหวไม่ได้ 6.3 มีอาการปวด ชา ไม่มีความรู้สึกหรือมีอาการปวดร้อน 6.4 เฝือกร้าว หรือเฝือกแตกหัก 6.5 ถ้าเฝือกมีกลิ่นเหม็น หรือมีน้ำเหลืองซึมออกมา
7. ห้ามเอาเฝือกออกเอง หรือตัดเฝือกให้สั้นลง 7. ห้ามเอาเฝือกออกเอง หรือตัดเฝือกให้สั้นลง
8. ออกกำลังเคลื่อนไหวข้อที่อยู่นอกเฝือกอยู่เสมอ เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนดี ลดอาการบวม กล้ามเนื้อแขนขาไม่ลีบ และกระดูกติดเร็ว 8.1 เฝือกขาให้เกร็ง กล้ามเนื้อต้นขา โดยให้ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อประมาณ 5 วินาที โดยการนับ 1 - 5 แล้วคลาย รวมทั้งออกกำลังข้อสะโพกและนิ้วเท้า 8.2 เฝือกแขน โดยเกร็งกล้ามเนื้อแขน และออกกำลังข้อไหล่นิ้วมือ โดยพยายามกำมือและเหยียดมือสลับกันบ่อยๆ
9. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ปลา ตัวเล็กที่ รับประทานได้ทั้งตัว ไข่แดง รวมทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ต่างๆ 10. มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
จากคณะกรรมการสุขศึกษา หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก ด้วยความปรารถนาดี จากคณะกรรมการสุขศึกษา หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์เด็ก