นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ โดย... ห้องตรวจพิเศษศัลยกรรม 2 รพ.มหาราชนครเชียงใหม่
รูปแสดงอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะ ไต ท่อไต ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วเกิดจากสารประกอบในน้ำปัสสาวะตกตะกอน รวมตัวจับเป็นก้อนมีลักษณะคล้ายกรวด หิน ทราย
สาเหตุการเกิดนิ่ว 1.อายุ เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2.กรรมพันธุ์ 3.ภาวะขาดน้ำอย่างเรื้อรัง 4.มีการคั่งของน้ำปัสสาวะ 5.การดื่มน้ำน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย
นิ่วในไต อาการและอาการแสดง 1.ปวดตื้อๆ บริเวณสีข้าง 2.มีก้อนนิ่วหรือเม็ดทรายหลุดมากับน้ำปัสสาวะ 3.ปัสสาวะเป็นเลือด 4.ถ้ามีการติดเชื้อร่วมจะมีไข้สูง หนาวสั่น 5.กดเจ็บบริเวณหลัง
นิ่วในท่อไต อาการและอาการแสดง 1ปวดร้าวไปตามท่อไต หรือปวดตื้อๆ 2.ปัสสาวะเป็นเลือด 3.มีอาการคลื่นไส้อาเจียน 4.กดเจ็บบริเวณหลังหรือสีข้าง 5.มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นปนหนอง
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ..... อาการและอาการแสดง 1.ปัสสาวะสะดุด ปัสสาวะขัด 2.ปวดเบ่งและปวดร้าวไปยังส่วนปลาย องคชาต 3.ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น 4.ปัสสาวะเป็นเลือด 5.อาจคลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อย
ถ่ายปัสสาวะไม่ออกทันที นิ่วในท่อปัสสาวะ อาการและอาการแสดง 1.ปัสสาวะขัดหรือ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกทันที 3.ปัสสาวะมีขนาดเล็กลง และพุ่งไม่แรง 2.ปวดร้าวไปที่ ส่วนปลาย องคชาต 5.อาจคลำได้ก้อนนิ่ว ในท่อปัสสาวะ 4.มีก้อนนิ่วปนออกมา กับน้ำปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ 1.ตรวจปัสสาวะ เพาะเชื้อปัสสาวะ 2.ตรวจเลือด 3.การเอกซเรย์(KUB)
1. การผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออก การรักษา 1. การผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออก 2. การเอานิ่วออก โดยการส่องกล้อง เจาะเข้าทางผิวหนัง
3. การสลายนิ่วในไตและท่อไต 4. การขบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
โดยวิธีการสลายนิ่ว การรักษานิ่ว การรักษานิ่วในไตและท่อไตด้วยเครื่องสลายนิ่วจะเริ่มด้วยการหาตำแหน่งก้อนนิ่วสัมพันธ์กับตำแหน่งจุดโฟกัสของคลื่นสั่นสะเทือน โดยใช้เอกซเรย์ หรืออุลตราซาวน์ เมื่อก้อนนิ่วตรงกับจุดโฟกัส จะเริ่มปล่อยคลื่นสั่นสะเทือนเข้าหาตำแหน่งก้อนนิ่วเป็นระยะๆ จนก้อนนิ่วถูกสลายเป็นผง ถ้ามีก้อนนิ่วเหลืออยู่จะนัดมาทำในครั้งต่อไป
การปฏิบัติตัวหลังได้รับการสลายนิ่ว 1. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 3000 ซีซี / วัน 2. หลังการสลายนิ่วอาจมีปัสสาวะเป็นสีแดง เหมือนน้ำล้างเนื้อในระยะ 1 - 2 วันแรก 3. ถ้ารู้สึกปวดมาก มีไข้ หรือปัสสาวะไม่ออก ให้รีบมาพบแพทย์ทันที 4. มารับการตรวจตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดนิ่ว 1. ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 3 ลิตร / วัน 2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 3. ลดอาหารที่มีสารแคลเซียมสูง เช่น ผักโขม ใบชะพลู เพราะจะตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้
4. ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด 5. ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น ฟักทอง มะละกอ 6. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ โดยการวิ่งเหยาะ ๆ จะทำให้นิ่วก้อนเล็กๆ หลุดออกมาได้ 7. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน