การปฏิบัติตัวขณะได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จัดทำโดย ... หอผู้ป่วย นรีเวชกรรม 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เคมีบำบัด ยาเคมีบำบัด คือ การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมหรือทำลายเซลล์เนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็ง อาจใช้ยาเคมีบำบัดในการกำจัดหรือทำลายเซลล์มะเร็ง
ยาเมื่อเข้าไปในกระแสเลือดจะกระจายไปทั่วร่างกาย การออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัด ยาเมื่อเข้าไปในกระแสเลือดจะกระจายไปทั่วร่างกาย ยาจะไปทำลายเซลล์เนื้อร้าย หรือ เซลล์มะเร็งโดยขัดขวางการแบ่งตัวหรือขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย
วิถีทางให้ยาเคมีบำบัด โดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้ 1. การรับประทาน 2. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 3. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ความถี่บ่อยในการให้ยาเคมีบำบัด ระยะเวลาและความบ่อยของการให้ยาขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ หลายปัจจัยได้แก่ 1. ชนิดของเซลล์เนื้อร้ายที่เป็น 2. ระยะเวลาที่ร่างกายตอบสนองยา 3. ความทนหรือสภาพร่างกาย
ฤทธิ์ข้างเคียงของยาเคมีบำบัด 1. คลื่นไส้อาเจียน 2. ผมร่วง 3. กดไขกระดูก 4. แผลในปาก 5. ยารั่วออกนอกเส้นเลือด / การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
6. ฤทธิ์ข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ แพ้ยา หายใจมีเสียงหวีด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว ช็อค เบื่ออาหาร
สาเหตุ : เกิดจากยาเคมีบัดที่ได้รับไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียนในสมอง คลื่นไส้อาเจียน สาเหตุ : เกิดจากยาเคมีบัดที่ได้รับไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียนในสมอง ผลเสีย : การที่ผู้ป่วยอาเจียนมาก จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่เกิดภาวะร่างกายเป็นด่าง ทำให้ร่างกายทำงานไม่ปกติเกิดผลเสียต่อร่างกายได้
การปฏิบัติเมื่อคลื่นไส้อาเจียน 1. รับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง 2. อมผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียน 3. บ้วนปากทุกครั้งหลังอาเจียน 4. เมื่อรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนให้หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ เพื่อผ่อนคลาย ลดความกังวล 5. ขณะอยู่รพ. ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ
การปฏิบัติตัวเพื่อให้ผมร่วงน้อยลง 1. ใช้แชมพูเด็ก ไม่สระผมบ่อย 2. ตัดผมสั้น 3. ไม่ขยี้ผมแรง ๆ ขณะสระผม 4. ไม่แปรงผมหรือหวีผมบ่อย ใช้แปรงซี่นิ่ม ๆ 5. ไม่ฉีดสเปรย์ ดัดผม หรือย้อมผม
หน้าที่ของไขกระดูก คือ สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด กดไขกระดูก หน้าที่ของไขกระดูก คือ สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ยาเคมีบำบัด กดไขกระดูก เม็ดเลือดแดงต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ
ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่ำ หน้าที่ของเม็ดเลือดขาว : ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย ค่าปกติของเม็ดเลือดขาว : 5,000 - 10,000 เซลล์ / เลือด 1 ลบ.ซม.
การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ 1. รักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผม ปาก ฟัน เล็บ มือ เท้า 2. ล้างมือทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร และ หลังจากเข้าห้องน้ำ 3. รักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยล้างและซับให้แห้ง ภายหลังการขับถ่ายทุกครั้ง ไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยตนเอง 4. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในแม่น้ำลำคลอง
5. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลที่เป็นโรคติดต่อต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด หัด อีสุกอีใส 6. หลีกเลี่ยงการคลุกคลี สัมผัส จับต้องสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว 7. ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาด ก่อนนำมารับประทาน หรือประกอบอาหาร 8. สังเกตตัวเองว่ามีอาการแสดงของการติดเชื้อหรือไม่ เช่น มีไข้ ไอ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด ตกขาวผิดปกติ ผิวหนังบวมแดง คัน ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์ทันที ห้ามซื้อยารับประทานเอง เด็ดขาด
เม็ดเลือดแดงต่ำ หน้าที่ของเม็ดเลือดแดง : ค่าปกติของเม็ดเลือดแดง : นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ค่าปกติของเม็ดเลือดแดง : ฮีโมโกบิล มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ฮีมาโตคริต มากกว่าหรือเท่ากับ 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ 1. พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ลดการปฏิบัติกิจกรรมบางอย่า เมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะ 3. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 4. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก โปรตีน และวิตามินสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับ
5. รายงานแพทย์ทราบเมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะ เหนื่อยมาก ซีด
ช่วยการแข็งตัวของเลือด ป้องกันเลือดออก เกล็ดเลือดต่ำ หน้าที่ของเกล็ดเลือด : ช่วยการแข็งตัวของเลือด ป้องกันเลือดออก ค่าปกติของเกล็ดเลือด : 100,000 - 400,000 เซลล์ ต่อ เลือด 1 ลบ.ซม.
การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 1. สังเกตภาวะเลือดออกง่าย เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน จุดจ้ำเลือด 2. ป้องกันอุบัติเหตุ ของมีคม การกระทบกระแทกผิวหนังแรง ๆ 3. ฉีดยาหรือเจาะเลือด ต้องกดบริเวณนั้นนาน ๆ จนกว่าเลือดจะหยุด
4. หลีกเลี่ยงการไอ หรือ สั่งน้ำมูกแรง ๆ 5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน 6. ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานผักผลไม้มาก ๆ ป้องกันท้องผูก
เมื่อเกิดแผลในปาก ควรปฏิบัติดังนี้ 1. รักษาความสะอาดของปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ 2. หลังรับประทานอาหารทุกครั้งต้องทำความสะอาดปากและฟัน 3. ใช้แปรงสีฟันชนิดอ่อน ไม่แปรงฟันแรง ๆ
4. ตรวจดูช่องปากทุกวันว่ามีรอยแดง มีแผลหรือไม่ 5. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เย็นจัด หรือ ร้อนจัด 6. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่