เปรียบเทียบการวิเคราะห์วงจร โดยใช้เทคนิค Laplace Transform Fourier Transform
ให้นักศึกษาลองดู Example 8.10 และ 8.11 ประกอบ ถ้าแหล่งกำเนิด (ทั้งแรงดันและกระแส) เป็นค่าคงที่ และส่วนประกอบของวงจรมีเพียงตัวต้านทาน การวิเคราะห์วงจรด้วย KVL และ KCL จะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่เป็นพีชคณิต(+,-,*,/) เท่านั้น ถ้าแหล่งกำเนิดแปรตามเวลา และส่วนประกอบของวงจรอาจจะมี R, L, C, Op Amp และ Transformer การวิเคราะห์วงจรด้วย KVL และ KCL จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสมการที่มี integration, differentiation และ convolution ซึ่งการหาคำตอบจะยากมาก ให้นักศึกษาลองดู Example 8.10 และ 8.11 ประกอบ ดร. รังสรรค์ ทองทา
ให้นักศึกษาดู Example 16.3 หน้า 721 ประกอบ เราจะใช้เทคนิดการ Transform มาช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนสมการหรือวงจรที่มี integration, differentiation และ convolution ให้เหลือแค่พีชคณิตธรรมดา การใช้ Laplace transform จะมีจุดเด่นตรงที่ คำตอบสามารถแสดง transient response พร้อมทั้ง steady state response ได้ ในขณะที่ Fourier transform จะแสดงได้เพียง steady state response เท่านั้น ให้นักศึกษาดู Example 16.3 หน้า 721 ประกอบ ดร. รังสรรค์ ทองทา
ถ้าเราสนใจเฉพาะ steady state response การวิเคราะห์ด้วย Fourier transform ก็เพียงพอ ซึ่งจะง่ายกว่าการวิเคราะห์ด้วย Laplace transform การวิเคราะห์ด้วย Laplace transform จะย้ายการวิเคราะห์จาก time domain เป็นอยู่ใน s domain ซึ่งเราอาจจะไม่คุ้ยเคยนัก ดังนั้นขั้นสุดท้ายเราจึงจำเป็นต้องย้ายจาก s domain ให้กลับไปอยู่ใน time domain ส่วนการวิเคราะห์ด้วย Fourier transform จะย้ายการวิเคราะห์จาก time domain ให้ไปอยู่ใน w domain ซึ่งเรามีความคุ้ยเคยมากกว่า จนทำให้บางครั้งการหา inverse Fourier transform อาจจะไม่มีความจำเป็น ดร. รังสรรค์ ทองทา
สรุป วงจรเชิงเส้น เทคนิค Laplace Transform - สามารถรวมเอา initial condition มาเป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ - สามารถให้คำตอบทั้ง steady state response และ transient response เทคนิค Fourier Transform - ใช้ได้กับเฉพาะสัญญาณที่ไม่เข้าสู่อนันต์ - ให้คำตอบเฉพาะส่วนที่เป็น steady state response เทคนิค Fourier Series - ใช้ได้เฉพาะกับสัญญาณเชิงคาบเท่านั้น หมายเหตุ เทคนิดที่อยู่กรอบในมีความสามารถไม่เกินความสามารถของเทคนิคที่อยู่กรอบนอก แต่มีความยุ่งยากน้อยกว่า ดร. รังสรรค์ ทองทา