คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว (Hardened Concrete) 203332, Concrete Technology 18 December 2003
กำลังต้านทานคอนกรีต (Strength of Concrete) เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอันดับต้นๆ กำลังต้านทานหรือรับแรงแบบอื่นๆของคอนกรีตล้วนเป็นสัดส่วนกับกำลังต้านทานแรงอัด (Compressive Strength) ของคอนกรีต กำลังต้านทานของคอนกรีตจะได้จากการทดสอบแท่งคอนกรีตตัวอย่างซึ่งกำลังต้านทานอาจมีค่าแตกต่างกันแม้จะมาจากวิธีการและส่วนผสมเดียวกันก็ตาม
กำลังต้านทานแรงอัด (Compressive Strength) เป็นตัวบอกให้ทราบคุณสมบัติอื่นๆได้เป็นอย่างดี คอนกรีตมีกำลังต้านทานต่อแรงอัดมากกว่ากำลังต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) หลายเท่า ค่ากำลังต้านทานต่อแรงอัดนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสมปริมาณน้ำ อายุ การบ่ม ตลอดจนรูปร่างและขนาดของแท่งทดสอบ
กำลังอัดของคอนกรีตขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ กำลังของมอร์ต้า กำลังและโมดูลัสยืดหยุ่นของมวลรวม แรงยึดเหนี่ยวระหว่างมอร์ต้ากับผิวของมวลรวม
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง คุณสมบัติของวัศดุที่ใช้ผสมคอนกรีต ปูนซีเมนต์ มวลรวม น้ำ
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง การทำคอนกรีต การชั่งตวงส่วนผสม การผสมคอนกรีต การเทคอนกรีตเข้าแบบหล่อและการอัดแน่น
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง การบ่มคอนกรีต ความชื้น อุณหภูมิ เวลาที่ใช้ในการบ่ม
ปัจจัยที่มีผลต่อกำลัง การทดสอบ ขนาดและลักษณะของแท่งทดสอบ วิธีการทำตัวอย่าง ความชื้นในแท่งทดสอบ อัตราการกด เครื่องทดสอบ
กำลังดึง (Tensile Strength) ความต้านทานในด้านรับแรงดึงของคอนกรีตมีค่าประมาณ 10% ของกำลังอัด การทราบค่ากำลังดึงจะช่วยในการควบคุมการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีวัดค่าแรงดึงในคอนกรีตทำได้ 3 วิธีคือ Direct Tensile Test Flexural Strength Test Splitting Test
Splitting Test การทดสอบวิธีนี้ให้ค่าสม่ำเสมอดีกว่า 2 วิธีข้างต้น แต่ก็ไม่ได้ค่ากำลังที่แท้จริงเพราะบริเวณปลายทั้งสองจะเป็นบริเวณรับแรงอัด (Compression Zone) ค่าที่ได้จะสูงขึ้นกว่าแรงดึงจริงของคอนกรีตประมาณ 15%
แรงยึดเหนี่ยวต่อเหล็กเสริม (Bond Strength) ความต้านทานการลื่นไถลของเหล็กเสริมที่หล่ออยู่ภายในเนื้อคอนกรีตซึ่งเกิดจากการยึดติดกันกับซีเมนต์เพสต์ที่แข็งตัวแล้ว แรงยึดเหนี่ยวกับเหล็กเสริมในแนวนอนจะน้อยกว่าในแนวตั้ง เพราะน้ำที่เกิดจากการเยิ้ม (Bleeding) อาจไปเกาะอยู่ใต้เหล็กเสริมตามแนวนอนได้
กำลังกระแทก (Impact Strength) เช่นคอนกรีตสำหรับงานตอกเสาเข็ม ซึ่งต้องมีความสามารถที่จะทนต่อการกระแทกและดูดซับพลังงานได้เป็นอย่างดี ปัจจัยที่กระทบต่อกำลังกระแทก ชนิดของมวลรวมหยาบ ความชื้นของคอนกรีต ลักษณะของมวลรวม ปริมาณปูนซีเมนต์
การเจาะพื้นที่หรือโครงอาคาร (Core Boring Test) ในกรณีที่สงสัยในคุณภาพของคอนกรีต เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ควรต่ำกว่า 10 ซม. และความสูงควรจะเป็น 2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ
การทดสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive Test) ไม่ได้ค่าที่แท้จริงแต่สามารถให้ค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ค่าตัวเลขสะท้อนกลับ (Rebound Number) ทดสอบโดยเครื่องมือ Schmidt Hammer Ultrasonic Pulse Velocity การวัดทำโดยส่งสัญญาณผ่านคอนกรีต อ่านค่าความเร็วของคลื่น
การทดสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้างจริง ในกรณีที่แท่งทดสอบให้กำลังต่ำกว่ากำหนดหรือเมื่อโครงสร้างบางส่วนหล่อไม่ถูกต้อง เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น อาทิเช่นอาคารเกิดไฟไหม้ ทดสอบโดยกระทำในที่ทำโดยการวางน้ำหนัก ถ้าส่วนของโครงสร้างที่ทดสอบเกิดการอ่อนตัวมากเกินขนาดหรือเห็นว่าอาจเกิดการพังทลายก็ควรดัดแปลงโครงสร้างเสียใหม่หรือกำหนดอัตราน้ำหนักที่จะยอมให้รับได้ใหม่ให้ต่ำลงกว่าเดิม
คุณสมบัติยืดหยุ่นของคอนกรีต โมดูลัสยืดหยุ่น (Modulus of Elasticity) เป็นตัวบ่งถึงความต้านทานต่อการเสียรูปของวัศดุ โดยหาจากอัตราส่วนของหน่วยแรง(stress) ต่อหน่วยการหดตัว (strain) ซึ่งเกิดจากการกระทำของหน่วยแรงนั้น Initial Tangent Modulus Secant Modulus Tangent Modulus
การล้าของคอนกรีต (Creep) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคอนกรีตที่ทำให้เกิดการเสียรูปถาวรเพิ่มมากขึ้นภายใต้น้ำหนักคงที่ ที่ถูกทิ้งให้กระทำค้างไว้เป็นเวลานาน ปัจจัยที่มีผลต่อความล้าของคอนกรีต น้ำหนักบรรทุกค้าง ความแข็งแรงของคอนกรีต ชนิดของปูนซีเมนต์ อัตราส่วนผสมของคอนกรีต วัศดุผสม การบ่ม อายุ่ของคอนกรีต
คุณสมบัติอื่นๆของคอนกรีต การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีต หน่วยน้ำหนักของคอนกรีต ปัวซองส์เรโช การนำความร้อนของคอนกรีต ความคงทน (Durability) ของคอนกรีต