Antinematodal Drugs (ยากำจัดพยาธิตัวกลม) 1. Piperazine ยากำจัดพยาธิตัวกลมมีหลายกลุ่มที่จะได้กล่าวถึงคือ 1. Piperazine อยู่ในรูปเกลือต่าง ๆ ที่ละลายน้ำได้ดี เช่น piperazine adipate, citrate, phosphate, sulfate, tartrate, hydrochloride ยาออกฤทธิ์โดยขึ้นอยู่กับ base ของยา คือ piperazine ยาดูดซึมได้ดีที่ทางเดินอาหาร (local effect) ถูกขับออกหมดภายในประมาณ 24 ชม.
piperazine กำจัดพยาธิโดยมีฤทธิ์ anticholinergic action ทำให้พยาธิเกิดการเป็นอัมพาต และพยาธิถูกขับออกโดยการบีบตัวของลำไส้ พยาธิบางตัวอาจกลับฟื้นตัวและมีชีวิตต่อในทางเดินอาหารได้ จัดเป็น narrow spectrum ออกฤทธิ์ต่อ พยาธิไส้เดือน *, พยาธิ เม็ดตุ่มในลำไส้ใหญ่ ยามีผลต่อตัวแก่มากกว่าพยาธิอายุน้อย พยาธิในระยะ larva ที่อยู่ในเนื้อเยื่อไม่ได้รับผลกระทบ ถ่ายพยาธิซ้ำหลังจากครั้งแรก 2 อาทิตย์ (สุนัขและแมว) และ 4 อาทิตย์ (สัตว์ฟาร์ม) ยามีพิษน้อย และยังไม่มีข้อห้ามใช้
ขนาดยา 45-65 mg/kg 110 mg/kg 32 mg/kg
2. Thiabendazole ดูดซึมได้ดีที่ทางเดินอาหาร systemic effect ขับออกจากร่างกายภายใน 3 วันหลังจากให้ยา ยามีฤทธิ์ไปรบกวน metabolic pathway ของพยาธิหลายชนิด แต่รบกวน host น้อย รบกวน fumarate reductase reaction ซึ่งเป็นขบวนการ anaerobic metabolism ของพยาธิต่างจาก host ซึ่งใช้อากาศ ดังนั้น thiabendazole จึงออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับปฏิกริยาของพยาธิ host จึงมีความต้านทานยาได้ดีมาก (มีพิษได้น้อย)
2. Thiabendazole (ต่อ) กำจัดพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารได้หลายชนิด ยามีผลต่อพยาธิตัวแก่ได้ดีมาก นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ต่อพยาธิ ตัวอ่อนได้ดีอีกด้วย ยามีฤทธิ์ ovicidal activity ทำให้พยาธิหยุดสร้างไข่ ออกฤทธิ์ในการฆ่าตัวแก่, ตัวอ่อนที่ยังโตไม่เต็มที่ (อยู่ในลำไส้), ยับยั้งการ สร้างไข่และฆ่า larvae ที่ฟักจากไข่ (ในอุจจาระ) ช่วยให้เคลื่อนย้ายสัตว์ไปยังแปลงหญ้าสะอาดหลังถ่ายพยาธิได้ โดยไม่ต้องกังวล, ทำให้ลดอัตราการติดพยาธิลงได้ดี
2. Thiabendazole (ต่อ) ยาขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ยาที่ขับออกทางอุจจาระสามารถฆ่า larvae ที่ฟักออกจากไข่ได้ ความปลอดภัยสูง 20 เท่าของขนาดปกติไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียง สัตว์ไม่แพ้แสง (ปล่อยทุ่งได้)
2. Thiabendazole (ต่อ) ขนาดยา โค 66 mg/kg 110 mg/kg กรณีติดพยาธิมาก ใช้น้อยในสัตว์ปีก
นอกจากนี้ยาในกลุ่ม Benzimidazoles อื่น ๆ เช่น mebendazole, albendazole, Oxfendazole, fenbendazole จะออกฤทธิ์ค่อนไปทาง broad spectrum คือนอกจากพยาธิตัวกลม, แล้วยังมีผลต่อพยาธิตัวตืด, และพยาธิใบไม้ตับ โดยต้องเพิ่ม dose ให้สูงขึ้น
3. Levamisole เป็น l-isomer ของ dl-tetramisole tetramisole S(-) tetramisole (l-tetramisol) มีฤทธิ์ในการกำจัดพยาธิ R(+) tetramisole (d-tetramisole) ไม่มีฤทธิ์ เมื่อให้ขนาดรักษามีฤทธิ์ทำให้พยาธิเกิดเป็นอัมพาตโดยกระตุ้น ganglia เมื่อให้ขนาดสูง จะยับยั้ง fumarate reductase
เมื่อให้กินมีการดูดซึมและขับออกได้อย่างรวดเร็ว local effect 40% ขับออกทางปัสสาวะใน 12 ชม., 41% ขับออกทางอุจจาระใน 12-24 ชม. และ 0-2% -ขับออกกับการหายใจใน 48 ชม. ยาอยู่ในรูป bolus, ยากรอก (drench) ยาผสมอาหาร (feed additive) ยาฉีด (s/c) และยาทา (dermal spot-on)
ยามีพิษทำให้ตายได้ โดยเฉพาะเมื่อให้โดยการฉีด lethal dose ของ tetramisole ในแกะคือ 90 mg/kg (6 เท่า) มักเกิดในกรณีฉีดยา แบบ spot-on ปลอดภัยที่สุด ยาฉีดระคายเคืองโดยเฉพาะวิธีฉีดเข้ากล้าม
ห้ามส่งโรงฆ่าภายใน 72 ชม. หลังใช้ยาในสุกร ห้ามส่งโรงฆ่าภายใน 7 วัน หลังใช้ยาใน โค แพะ แกะ ห้ามบริโภคนมภายใน 48 ชม. หลังใช้ยา (แต่ปกติไม่ใช้ในสัตว์ให้นมบริโภค) ขนาดยา โค แกะ แพะ สุกร 15 mg/kg tetramisole " 8 mg/kg levamisole
4. Ivermectin จัดเป็น broad spectrum anthelmintic คือ ออกฤทธิ์ต่อ nematode ทั้งภายในและภายนอกลำไส้ และต่อ ectoparasite นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ antifungus ด้วย กลไกการออกฤทธิ์ คือ selective toxic effect ต่อระบบประสาทของพยาธิ อัมพาต ตาย safety index กว้างมาก ๆ ~ 200 เท่า การใช้ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาด 200 Ug/kg ห้ามใช้ ในสุนัขพันธุ์ Collie