โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) ระบาดวิทยาและสาเหตุ เป็นโรคสัตว์ติดคน B. abortus undulant fever, B. melitensis Malta fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิด gram-negative, cocci และมี 4 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคในปศุสัตว์ Brucella abortus มีการระบาดในโค กระบือ ทั่วโลก Brucella melitensis มีการระบาดในแพะ* แกะเกือบทั่วโลก esp. เอเซีย Brucella ovis มีการระบาดในแกะทั่วโลก Brucella suis มีการระบาดในสุกรเกือบทั่วโลก 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
จากการตรวจซีรั่มโคจำนวน 46630 ตัว พบผลบวก 272 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.6% การติดต่อ สัตว์ติดโรคโดยการกิน หรือได้รับการสัมผัสต่อสิ่งขับจากมดลูก รก ซากลูกที่แท้ง คนติดจากสัตว์โดยการสัมผัสสิ่งดังกล่าว สำหรับสุกรพบว่าการติดต่อที่สำคัญคือ การผสมพันธุ์
การติดต่อ การเอารก ซากลูกสัตว์ที่แท้งให้สุนัขกิน ทำให้สุนัขติดโรคได้(aberrant host) เชื้อที่ยัง virulent อยู่ จะมีความสามารถ ในการ บุกรุกเข้าทางเยื่อบุ/เยื่อเมือก หรือผิวหนังที่มีบาดแผล เมื่อเชื้ออยู่นอกตัวสัตว์ จะทนต่อสภาพแวดล้อมได้ไม่นาน การจัดการมีผลต่อการติดต่อและการระบาดของโรคด้วย เช่น seasonal calving 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
ในสุกรเชื้อมักจะไปอยู่ที่ข้อและกระดูกร่วมด้วย หลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกาย เชื้อจะไปอยู่ที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม เต้านมและมดลูก หรือใน sex glands ของเพศผู้ ในสุกรเชื้อมักจะไปอยู่ที่ข้อและกระดูกร่วมด้วย การที่เชื้อไปอยู่ในเต้านม ก็จะทำให้เชื้อถูกขับออกมาทาง น้ำนม และทำให้ผู้บริโภคติดเชื้อ โดยการดื่มนม ซึ่งไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อได้ 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
อาการและวิการ อาการของโรคมีความผันแปรตามปริมาณเชื้อที่ได้รับ ทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย และระยะของการตั้งท้อง สัตว์เพศเมียจะเกิดการแท้ง โดยมีระยะฟักตัวของโรค > 2 เดือนในโค (แต่ในโคท้องแรกมักแท้งในระยะตอนปลายของการตั้งท้อง), ~3-4 อาทิตย์ในแพะ, ~5 อาทิตย์ในสุกร สัตว์เพศผู้เกิดอาการอัณฑะอักเสบ (epididymitis) และอักเสบใน accessory sex glands complication อื่นๆ เช่น ผสมติดยาก มดลูกอักเสบเรื้อรัง ในสุกรมักมีรายงานเรื่องฝีและข้ออักเสบร่วมด้วย 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
สัตว์เพศผู้บางตัวมีอาการอัณฑะอักเสบหรือ ข้ออักเสบ แต่ส่วนใหญ่จะ ไม่แสดงอาการ ภาพหน้าตัดอัณฑะโค ข้างซ้ายมีลักษณะ granuloma ที่มา2 ภาพซ้าย: สถาบันสุขภาพสัตว์ 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
ลักษณะมดลูกอักเสบในโคเพศเมีย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการผสมติดยาก ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ที่มาภาพ: สถาบันสุขภาพสัตว์ โรคแท้งติดต่อ
รกอักเสบมีจุดเนื้อตายและจุดเลือดออก ลูกสัตว์ที่แท้ง มักแท้งในช่วงปลายของการตั้งท้อง และแท้งเฉพาะในท้องแรก แต่สิ่งขับจากมดลูกทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไปยังวัวตัวอื่นในฟาร์ม ลูกที่แท้ง รกอักเสบมีจุดเนื้อตายและจุดเลือดออก ที่มาภาพ ซ้าย: สถาบันสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ ขวา:www.calf.vetmed.ucdavis/ edu 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
การชันสูตรโรคอย่างง่าย โดยใช้วิธี plate agglutination test ใช้เลือด 1หยด ผสมกับ antigen 1 หยด ถ้ามีภูมิคุ้มต่อโรค จะเกิดการตกตะกอนขึ้น หากทำวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน จะมีภูมิคุ้มทำให้เกิดการตกตะกอนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น จะต้องทราบประวัติการทำวัคซีน และหากให้ผลสงสัย จะต้องตรวจซ้ำด้วยวิธีอื่นที่มีความจำเพาะมากขึ้น ลักษณะตะกอน 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
การวินิจฉัยโรค การรักษา 1. อาการอัณฑะอักเสบในสัตว์เพศผู้ และการแท้งในสัตว์เพศเมีย สุกรจะมีอาการข้ออักเสบร่วมด้วย 2. การเก็บตัวอย่างซีรั่มเพื่อตรวจโรค อย่าลืมประวัติการทำวัคซีน ในกรณีที่ให้ผลสงสัย ควรเก็บซีรั่มตรวจซ้ำ ห่างจากครั้งแรก 1 เดือน (paired serum) 3. เก็บตัวอย่างจากรกหรือลูกที่แท้งเพื่อตรวจหาเชื้อ การรักษา การรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะทั่วไปไม่ได้ผลเนื่องจากเชื้อมีลักษณะ intracellular characteristic 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
ที่มาภาพ: สถาบันสุขภาพสัตว์ การเก็บตัวอย่างลูกที่แท้งจาก stomach content แล้วนำไปย้อมดูเชื้อที่อยู่ใน macrophage ที่มาภาพ: สถาบันสุขภาพสัตว์ โรคแท้งติดต่อ
การควบคุมและป้องกันโรค 1. โดย screening test คือ เจาะเลือดเพื่อเก็บซีรั่มตรวจหาภูมิคุ้มโรคก่อนนำสัตว์ใหม่เข้าฝูง ดังนั้นโคนมทุกตัวจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบโรคนี้ก่อนนำเข้าฝูง และจะต้องซักประวัติการทำวัคซีนประกอบด้วย เนื่องจากภูมิคุ้มที่ได้จากการทำวัคซีนไม่สามารถแยกจากภูมิคุ้มที่เกิดจากการติดโรค โดยการใช้วิธีตรวจธรรมดา 2. การใช้พ่อพันธุ์รับจ้างต้อง ทราบประวัติปลอดโรคนี้ 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ
3. ทำวัคซีนในการเลี้ยงสัตว์ในแหล่งที่มีการระบาดของโรค ใช้ killed B.abortus strain 45/20 หรือ ใช้ attenuated B.abortus strain 19 (ในภาคใต้ ไม่ต้องทำวัคซีน) 4. ดูแลทำคลอดสัตว์ในคอกคลอด เป็นรายตัวอย่างถูกสุขลักษณะ 5. มีขบวนการฆ่าเชื้อในน้ำนม ก่อนส่งออกไปสู่ผู้บริโภค 14/7/00 โรคแท้งติดต่อ