หินแปร (Metamorphic rocks)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ครูนารีรัตน์ พิริยะพันธุ์สกุล โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย
Advertisements

วิธีสารแยกสารเนื้อผสม การใช้มือหยิบออก,เขี่ยออก
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical Reaction)
3. ของเหลว 3.1 สมบัติทั่วไปของของเหลว ความดันไอ จุดหลอมเหลว และ
ลักษณะของระบบนิเวศ Succession /Development ecosystem
วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
ครูนุชนารถ เมืองกรุง โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม อ. เมือง จ. พะเยา
Solar radiation รังสีที่แผ่ออกมาประกอบด้วย รังสีเอ๊กซ (X-ray) แกมมา (Gamma) อุลตราไวโอเลต (UV) คิดเป็นประมาณร้อยละ 9 ของพลังงานทั้งหมด นอกนั้นเป็นรังสีที่มองเห็นร้อยละ.
สมบัติของสารและการจำแนก
ดวงอาทิตย์ (The Sun).
ดาวอังคาร (Mars).
การศึกษาเกี่ยวกับแรง ซึ่งเป็นสาเหตุการเคลื่อนที่ของวัตถุ
and Sea floor spreading
รูปร่างและรูปทรง.
แม่ครู ประทุมทิพย์ เกื้อหนุน
คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว (Hardened Concrete)
ภาวะโลกร้อน(Global Warming)
บทที่ 3 ทรัพยากรดิน.
บทที่ 1 แหล่งพลังงานไฟฟ้า.
รายงาน เรื่อง ดินถล่ม เสนอ อาจารย์วรรณา ไชยศรี.
ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ว30231 ปริมาณสัมพันธ์ สถานะของสาร และเคมีไฟฟ้า
ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ว30231 ปริมาณสัมพันธ์ สถานะของสาร และเคมีไฟฟ้า
วัสดุศาสตร์ Materials Science.
แก้ว แก้วเป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งไม่มีวัสดุวิศวกรรมใดเหมือน เพราะเป็นวัสดุที่โปร่งใส แข็งที่อุณหภูมิห้อง พร้อมกันนั้นมีความแข็งแรงเพียงพอและทนทานต่อการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมต่างๆ.
บทที่ 3 การเกิดและแหล่งกำเนิดของอัญมณี
ปฏิบัติการที่ 5 หินตะกอน.
คุณสมบัติทางกายภาพของแร่
สัณฐานและโครงสร้างของโลก
เปลือกโลก(crust) ประกอบด้วย Oxygen 45.2 ซิลิกอน 27.2 อลูมิเนียม 8.2
โครงสร้างทางธรณีวิทยา
ขวดแชมพู รายวิชา เทคโนโลยีพลาสติกอุตสาหกรรม
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกับปริมาณสารสัมพันธ์
การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (Reversible change)
Mold Design # 4 ผิวแบ่งส่วนแม่พิมพ์และระบบป้อน
กาแล็กซีและเอกภพ.
วิชาวิทยาศาสตร์ (ว31101 )ชั้น ม. 1
คลื่น คลื่น(Wave) คลื่น คือ การถ่ายทอดพลังงานออกจากแหล่งกำหนดด้วยการ
แผนภูมิสมดุล ความบกพร่องในผลึก การเปลี่ยนของรูปโลหะ การคืนตัว
ซ่อมเสียง.
ดินถล่ม.
แผนภูมิสมดุล การผสมโลหะ (Alloy) คุณสมบัติของการผสม
โดย ครูธันว์ชนก บัวคงดี
หน่วยที่ 6 อุณหพลศาสตร์และการถ่ายเทความร้อน
ดวงจันทร์ (Moon).
5. Geologic Time F.S.Singharajwarapan.
โลกและการเปลี่ยนแปลง
จัดทำโดย เด็กหญิง นันท์นภัส ขะชาติ ชั้น ม.1/13 เลขที่ 24
ค่าคงที่สมดุล การเขียนความสัมพันธ์ของค่า K กับความเข้มข้นของสาร
ดาวพุธ (Mercury).
ดาวศุกร์ (Venus).
มลพิษน้ำการป้องกัน 2.
องค์ประกอบศิลป์ : รูปร่าง และรูปทรง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เอกภพและโลก( 3)
ดาวเนปจูน (Neptune).
"" การพิจารณาองค์ประกอบในการถ่ายรูป "" หลักพื้นฐานในการพิจารณาองค์ประกอบในการออกแบบก่อน องค์ประกอบในการออกแบบ.
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ
ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
Facies analysis.
4.1 Borehole environment สภาวะความดันระหว่างการเจาะและการหยั่งธรณีในหลุมเจาะ เกิดจากปัจจัยสองส่วนคือ - ความดันในชั้นหิน - ความดันของคอลัมน์ของน้ำโคลน.
Module 1 บทนำ วัตถุประสงค์
หินแกรนิต หินแปรเนื้อหยาบ มีริ้วขนาน หยักคดโค้งไม่สม่ำเสมอ สีเข้มและจางสลับกัน แปรสภาพมาจากหินแกรนิต โดยการแปรสภาพบริเวณไพศาล ที่มีอุณหภูมิสูงจนแร่หลอมละลาย.
สารและสมบัติของสาร วิทยาศาสตร์ ม.1 โดย นางภัทรา คำสีทา
Class Polyplacophora.
ภาวะโลกร้อน.
องค์ประกอบศิลป์ : รูปร่าง และรูปทรง
ปฏิบัติการที่ 2 แร่ประกอบหินอัคนี.
ความกระด้างของน้ำ (water Hardness)
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ตำแหน่งบนพื้นโลก
ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคน ต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่าน หิน น้ำมัน.
ลักษณะเนื้อหินของหินแปร (Texture of Metamorphic Rocks)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หินแปร (Metamorphic rocks)

หินแปร (Metamorphic rocks) หินแปร คือหินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ และ/หรือ เนื้อหินเดิม ไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงความดันและอุณหภูมิ ในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง อาจมีส่วนประกอบใหม่มาเพิ่มหรือไม่ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเรียกว่า การแปรสภาพ (metamorphism มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า .การเปลี่ยนรูป "to change form")

การแปรสภาพ (Metamorphism) การแปรสภาพเกิดขึ้นภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเคมีและทางโครงสร้างของหิน ซึ่งหินที่เกิดขึ้นใหม่แตกต่างไปจากหินเดิม แร่ที่เกิดขึ้นใหม่จะเป็นแร่ที่มีความเสถียรกับอุณหภูมิและความดันในขณะที่มีการแปรสภาพ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแปรสภาพมี 3 อย่างคือ 1. ความร้อน (heat) เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการแปรสภาพ เป็นแหล่งพลังงานที่ทำให้แร่ภายในหินเกิดการตกผลึกใหม่ (recrystallization) ได้ผลึกแร่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและเกาะติดกันแน่นขึ้นกว่าเดิม

ความร้อนยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของหินด้วย หินเกิดการอ่อนตัวลงและอาจเกิดการแปรรูป ดังนั้นความร้อนจึงทำให้หินเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งลักษณะเนื้อหินและโครงสร้าง แหล่งที่ให้ความร้อนได้แก่ แมกมา ความร้อนภายในโลกจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี

2. ความกดดัน (pressure) หินที่อยู่ภายใต้ความดัน ทำให้แร่ในหินเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยอะตอมภายในแร่อาจถูกอัดกันแน่น ปริมาตรลดลง เมื่อรวมกับผลของความร้อน อาจเกิดการตกผลึกใหม่ของแร่ที่เป็นแผ่นหรือเป็นแท่ง อาจมีการเรียงตัวกันอย่างเห็นได้ชัด ความกดดันเกิดจากน้ำหนักของตะกอนที่ปิดทับอยู่ด้านบน

3. สารว่องไวปฏิกิริยา (chemically active fluid) เป็นสารละลายหรือก๊าซที่เหลือเป็นส่วนสุดท้ายจากการเย็นตัวของหินหลอมเหลว หรือน้ำที่อยู่ในโครงสร้างของแร่เดิม ตามช่องว่างหรือรอยแตกในหิน ที่ถูกขับออกมาเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง

สารว่องไวปฏิกิริยานี้สามารถผ่านเข้าไปในเนื้อหินข้างเคียงและทำปฏิกิริยา ดังนั้นแร่เดิมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดแร่ใหม่ขึ้น ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแร่นี้จะเพิ่มขึ้น เมื่อความลึกเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าอุณหภูมิและความกดดันก็สูงขึ้นด้วย ทำให้ความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุมีมากขึ้นด้วย

การแปรสภาพมี 2 ลักษณะ 1. การแปรสภาพแบบสัมผัส (contact metamorphism) เกิดเนื่องจากหินหลอมเหลวแทรกเข้าไปในเปลือกโลก ความร้อน (ระหว่าง 300 ถึง 800 เซลเซียส) และสารละลายจากหินหลอมเหลวเข้าไปทำปฏิกิริยากับหินรอบๆ การแปรสภาพลักษณะนี้เกิดขึ้นเฉพาะรอบๆบริเวณที่ให้ความร้อนหรือสารละลาย ความรุนแรงของการแปรสภาพมากที่สุดที่จุดสัมผัสและลดลงเมื่อห่างออกไป

2. การแปรสภาพแบบภูมิภาค (regional metamorphism) เกิดขึ้นที่ระดับลึกใต้เปลือกโลก อาศัยทั้งความดันและอุณหภูมิสูงในการแปรสภาพ ขณะแปรสภาพจะมีแร่เกิดใหม่หลายชนิด มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะการจัดเรียงตัวของเม็ดแร่ หินที่ได้จะแสดงลักษณะการเรียงตัว (foliation) ของเม็ดแร่ที่เป็นแผ่นหรือเป็นแท่งอย่างเป็นระเบียบ หรือมีการแยกเป็นชั้นของแร่สีเข้มและแร่สีจาง การแปรสภาพในลักษณะนี้จะเกิดเป็นบริเวณกว้าง

ลักษณะเนื้อหินของหินแปร (Texture of Metamorphic Rocks) เนื้อหินของหินแปร พิจารณาจาก ขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวของเม็ดแร่ ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพของความดันและอุณหภูมิในขณะที่หินนั้นเกิดการแปรสภาพ

1. เนื้อหินไม่มีการเรียงตัว (unfoliated texture) เมื่อหินประกอบด้วยแร่ที่เป็นเม็ด เมื่อถูกแปรสภาพ แร่เหล่านี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงทิศทางของการเติบโตและทิศทางของแรงที่มากระทำให้เกิดการแปรสภาพ แต่จะเกาะกันแน่น ผลึกมีขนาดใหญ่ขึ้น

2. เนื้อหินที่มีการเรียงตัว (foliated texture) แสดงลักษณะแนวแตกในหิน (rock cleavage) ซึ่งเกิดจากการที่แร่ที่เป็นแผ่นหรือเป็นแท่งมีการเรียงตัว หรือมีการแยกเป็นชั้นของแร่สีจางและแร่สีเข้ม ความรุนแรงหรือความเด่นชัดของการแปรสภาพเพิ่มขึ้นตามความอุณหภูมิและความดัน