อาหารและโภชนาการ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนักเรียนศึกษาจบแล้วสามารถนำแนวทางการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขนิสัยที่ดีในการบริโภค และการปฏิบัติตนตามหลักโภชนบัญญัติไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
อาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมตามโภชนบัญญัติและ ธงโภชนาการ อาหารจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซึ่งในแต่ละวันเราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนทุกหมู่ ดังนี้ หมู่ที่ 1 อาหารประเภทโปรตีน เป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตให้พลังงานแก่ร่างกายทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อาหารประเภทนี้ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ไก่ กุ้ง ปู ปลา ปลาหมึก หอย ไข่เป็ด ไข่ไก่ น้ำนมวัว น้ำนมถั่วเหลือง และพืชตระกูลถั่วทุกชนิด
หมู่ที่ 2 อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายมีพลังงาน ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย อาหารประเภทนี้ ได้แก่ แป้งและน้ำตาลต่าง ๆ เช่น ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวโพด เผือก มัน อ้อย กล้วยน้ำหว้า น้ำตาลปีป น้ำผึ้ง เป็นต้น
หมู่ที่ 3 อาหารประเภทเกลือแร่ เป็นอาหารที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้แข็งแรง อาหารประเภทนี้ ได้แก่ ผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า ผักชี ผักกาดขาว ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำปลี แครอท หัวปลี ฟักทอง มะระ แตงกวา มะเขือยาว มะเขือกลม มะเขือขื่น ถั่วฝักยาว ถั่วรันเตา พริกต่าง ๆ ข้าวโพด เป็นต้น
หมู่ที่ 4 อาหารประเภทวิตามิน เป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยบำรุงร่างกายทุกส่วน ให้แข็งแรงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายและช่วยต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ อาหารประเภทนี้ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วยหอม สับปะรด ฝรั่ง ชมพู่ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มเช้ง มะม่วง องุ่น แตงโม สาลี่ แอปเปิ้ล พุทรา เชอรี่ ละมุด มะละกอ มะขาม มะขามเทศ มะปราง สตอเบอรี่ เป็นต้น
หมู่ที่ 5 อาหารประเภทไขมัน เป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายมีพลังงาน สร้างความอบอุ่น ให้ก่ำร่างกายสามารถทนต่อสภาพหนาวเย็นได้ อาหารประเภทนี้ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ และไขมันจากพืช เช่นน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ น้ำมันรำ น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง ไข่แดง เนย กะทิ พืชตระกูลถั่ว ทุกชนิด
การรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่เราควรถือปฏิบัติ เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินหรือพิษที่เกิดจากการรับประทานอาหารซึ่งเรียกว่า “โภชนบัญญัติ 9 ประการ”
โภชนบัญญัติ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย คือ ข้อแนะนำในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มี 9 ข้อ ดังนี้ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก รับประทานพืช ผัก และผลไม้เป็นประจำ รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง
ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย รับประทานให้มีไขมันแต่พอควร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานจัดและเค็มจัด รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อน งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ธงโภชนาการ เป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมหัวกลับแบบธงแขวนซึ่งฐานใหญ่ ด้านบนให้รับประทานมาก และปลายธงให้รับประทานน้อยตามลำดับ ธงโภชนาการจะบอกชนิดและปริมาณของอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวันเพื่อให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในเวลา 1 วัน สำหรับเด็กอายุ 6 – 13 ปี ดังตัวอย่าง
1. ข้อใดจัดอาหารอยู่ในหมู่เดียวกันทั้งหมด 1. ข้อใดจัดอาหารอยู่ในหมู่เดียวกันทั้งหมด ก. นม ไข่ ผัก ข. ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำมัน ค. น้ำมัน ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง ง. ไข่ นม เนื้อสัตว์
2. วัยของนักเรียนควรรับประทานอาหารประเภทใดมากที่สุด 2. วัยของนักเรียนควรรับประทานอาหารประเภทใดมากที่สุด ก. คาร์โบไฮเดตร ข. โปรตีน ค. เกลือแร่ ง. ไขมัน
3. อาหารในข้อใดช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้สะดวก 3. อาหารในข้อใดช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้สะดวก ก. ลอดช่องน้ำกะทิ ข. ข้าวผัดใส่ไข่ ค. ปลาทอดราดพริก ง. ส้ม มะละกอ
4. อาหารประเภทใดใช้แทนเนื้อสัตว์ได้และเป็นประเภทโปรตีน 4. อาหารประเภทใดใช้แทนเนื้อสัตว์ได้และเป็นประเภทโปรตีน ก. น้ำผลไม้ ข. เผือกผัด ค. เต้าหูทอด ง. เห็ดฟาง
5. สารอาหารประเภทใดที่ให้ทั้งเกลือแร่และวิตามิน 5. สารอาหารประเภทใดที่ให้ทั้งเกลือแร่และวิตามิน ก. ผลไม้ ข. เต้าหู้ ค. มันเทศ ง. ไข่แดง
6. สารอาหารใดที่สะสมในร่างกายแล้วทำให้อ้วน 6. สารอาหารใดที่สะสมในร่างกายแล้วทำให้อ้วน ก. คาร์โบไฮเดรต ข. โปรตีน ค. ไขมัน ง. เกลือแร่
7. ถ้ามีของว่างมาให้นักเรียนเลือกควรเลือกข้อใดมากที่สุด 7. ถ้ามีของว่างมาให้นักเรียนเลือกควรเลือกข้อใดมากที่สุด ก. มันทอด ข. ผลไม้ดอง ค. อาหารกระป๋อง ง. นมกล่อง
8. อาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีนได้แก่อาหารประเภทใด 8. อาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีนได้แก่อาหารประเภทใด ก. ถั่วเหลือง ไข่ ข. น้ำมัน ไขมัน ค. แป้ง เนื้อ ง. ผัก ผลไม้
9. ข้อใดไม่ใช่โภชนบัญญัติ 9 ประการ 9. ข้อใดไม่ใช่โภชนบัญญัติ 9 ประการ ก. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ข. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย ค. รับประทานพืช ผัก ผลไม้ เป็นบางครั้ง ง. รับประทานอาหารที่สดสะอาด
10. ตามหลักธงโภชนาการ นักเรียนควรรับประทานอาหารในข้อใดแต่เพียงเล็กน้อย 10. ตามหลักธงโภชนาการ นักเรียนควรรับประทานอาหารในข้อใดแต่เพียงเล็กน้อย ก. เนย - น้ำมันพืช ข. ข้าว - แป้ง ค. ผัก - ผลไม้ ง. นม - ไข่
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
ถูกต้องแล้วค่ะ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI นางสาวไพรินทร์ เกิดแย้ม เรื่อง อาหารและโภชนาการ โดย นางสาวไพรินทร์ เกิดแย้ม โรงเรียนวัดบางปะกอก
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ
ตอบผิดแล้วค่ะ