Anaphylaxis สมพงษ์ ชลคีรี พบ.
Anaphylaxis ภาวะที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันและรุนแรง มีผลต่อการล้มเหลวระบบอวัยวะที่สำคัญได้ โอกาสเกิด ๑-๓ % ตลอดช่วงชีวิต อัตราตายประมาณ ๑ %
ปัจจัยหรือสิ่งกระตุ้น มีสิ่งกระต้นทำให้เกิด anaphylaxis มากมาย ที่พบบ่อย ๓ อันดับแรกคือ อาหาร ยา แมลงสัตว์กัดต่อย
อาการ ผิวหนัง : ร้อนวูบวาบ คัน ร่วมกับผื่นลมพิษ ทางเดินหายใจ : คัดจมูก จาม มีน้ำมูกน้ำตามาก ไอ เหนื่อย แน่นหน้าอก มีเสียงหวีด เสียงแหบ กลืนลำบาก ระบบการไหลเวียน : ใจสั่น เวียนศีรษะ เป็นลม ระบบทางเดินอาหาร : คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องแบบบิด ๆ ท้องเดิน กลั้นอุจจาระไม่ได้
อาการแสดง เยื่อบุปากจมูกและคอหอยบวม, หายใจเร็ว, เสียง Stridor, เสียงแหบ wheezing, ผิวหนังมีผื่นลมพิษ หรือแดงร้อน ชีพจรเร็วและเบา, ความดันโลหิตตก, จังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ ซึมลง
อาการและอาการแสดง ปรากฏอาการหลังสัมผัสหรือได้รับสารกระตุ้น ตั้งแต่ ๕ นาที ถึง หลายชั่วโมง ความรุนแรงขึ้นกับ ความไวต่อสารกระตุ้นของแต่ละคน ปริมาณ, ช่องทางที่รับ และอัตราที่ได้รับสารกระตุ้น ชนิดของอาการแพ้ ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งกลับมีอาการรุนแรงขึ้นมาใหม่หลังจากรักษาดีขึ้นแล้วภายในเวลา ๑ - ๗๒ ชั่วโมง (Biphasic Anaphylaxis) ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการรุนแรงต่อเนื่อง ตั้งแต่ ๕ – ๓๒ ชั่วโมงแม้ได้รับการรักษา (Protracted Anaphylaxis)
การวินิจฉัย ใช้ประวัติอาการ และอาการแสดงในการวินิจฉัย ตั้งแต่ ๒ ข้อ ของอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นหลังได้รับสารหรือสิ่งกระตุ้น อาการทางผิวหนังหรือเยื่อบุ อาการทางระบบทางเดินหายใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือลดลงมากกว่า ๓๐ % ของความดันพื้นฐาน อาการของระบบทางเดินอาหาร
การดูแลรักษา มาตรการทั่วไปเบื้องต้น กำจัดสาร/สิ่งกระตุ้นออกจากร่างกาย ลดอัตราการดูดซึมสารกระตุ้น เช่น รัดหรือขันชะเนาะ วางแขนขาต่ำ ๆ นอนหงายราบ เปิดทางเดินหายใจและ ให้ออกซิเจนเสริม jaw-thrust, oropharyngeal airway, endotracheal intubate เปิดเส้นขนาดใหญ่ ให้สารน้ำ : NSS ให้ Load ในกรณีที่ความดันตก ติดตามสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต ชีพจร และอัตราการหายใจ) ทุก ๕ นาที
การดูแลรักษา การรักษาเฉพาะ Epinephrine (Adrenaline) Antihistamine : IM or Subcutaneous : 0.3-0.5 ml (0.01 ml/kg) ของ adrenaline 1:1,000 ทุก ๕-๑๕ นาที IV : 10 ml ของ adrenaline 1:100,000 ช้า ๆ ใน ๑๐นาที ทุก ๕-๑๕ นาที Antihistamine : Chlopheniramine 10 mg IV Ranitidine 50 mg IV Steroid Dexamenthasone 5-10 mg IV
การดูแลรักษา ส่งต่อโดยรถพยาบาลฉุกเฉินทันที จัดท่าหนอนหงายราบตลอดเวลาจนกว่าความดันโลหิตจะปกติและความรู้สึกตัวดี ติดตามสัญญาณชีพ และประเมิน ABCs ขณะรอ และระหว่างส่งต่อ กรณี Cardiopulmonary Arrest แนะนำให้ adrenaline ขนาดสูง และพยายาม CPR ให้นานที่สุด
การป้องกันและลดความเสี่ยง ซักประวัติการแพ้อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ต้องมีฉลากยาทุกครั้งที่จ่ายยา ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ยากินมากกว่ายาฉีด หลีกเลี่ยงการฉีดยาทางเส้นเลือดดำใหญ่ ให้ฉีดยาในส่วนปลายแขนขา เตรียมอุปกรณ์สำหรับแก้ไข และรักษาให้พร้อม ให้ผู้ป่วยพักรออย่างน้อย ๓๐ นาทีหลังจากฉีดยา
การป้องกันและลดความเสี่ยง (ต่อ) การใช้ serum จากสัตว์ต้องทำ skin test ก่อน หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่รู้ว่าแพ้ ให้ผู้ป่วยถือบัตรซึ่งแสดงรายการสิ่งที่แพ้ สอนให้ผู้ป่วยที่เสี่ยงสูง ใช้และพกพา adrenaline pen ส่งปรึกษาทำ skin test และ desensitization ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการแพ้พิษของแมลง
การเตรียมอุปกรณ์เพื่อแก้ไข anaphylaxis เครื่องวัดความดันโลหิต และ หูฟัง อุปกรณ์เปิดเส้น (สายรัดแขน เข็มขนาดใหญ่ IV set) อุปกรณ์ให้ออกซิเจน Oral airway สารน้ำ 0.9% NSS ยา Adrenaline 1:1,000 ยาต้าน Histamine เช่น CPM, Ranitidine ยาฉีด Steroid เช่น Dexamethasone ยาเพิ่มความดัน เช่น Dopamine