ความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ
Advertisements

ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ
Stack.
วิชา การตลาดระหว่างประเทศ
แนวคิดในการส่งเสริมสหกรณ์
บทบาทของอาจารย์ 9 มทร.กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ปราณีต ศรีศักดา อดีต ผอ.สคบศ กศ.บ.วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก
การบริหารการพยาบาล เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการบริการพยาบาล
ธรรมาภิบาล และ การปฏิรูปราชการ
Multinational Enterprises (MNEs)
ธีรนารถ Jan Experiences in GMP Inspection in WHO Vaccine Prequalification Scheme ธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จรรยาบรรณวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อ สังคม ของวิชาชีพวิศวกรรม ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล พฤศจิกายน 2550.
Skills Development and Lifelong Learning: Thailand in 2010s Tipsuda Sumethsenee Office of the Education Council Thailand’s Ministry of Education.
The Second ASEAN+3 Seminar on Poverty Reduction
Managerial Accounting for Management
Thai Co-operative Women’s Empowerment
ประสบการณ์และเทคนิคทำวิจัยสถาบัน
แผนปฏิบัติการ สพฐ. ปี 2554.
การประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (มาตรา 44) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม.
การบรรยายพิเศษ สหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย โครงการเตรียมความพร้อมสู่สหกิจศึกษานานาชาติ
เรื่อง ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน การประชุมวิชาการ ปขมท ประจำปี 2555
บทที่ 5 การจัดการแฟ้มข้อมูล
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมเจ้าท่า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องประชาคมอาเซียน
บุคลากรสาธารณสุข รู้ทันประชาคมอาเซียน
ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560 และ แผนงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2561
Road to the Future - Future is Now
การใช้เครื่องมือการจัดการในองค์การภาครัฐ
เรื่องของอาเซียน.
ความรู้เกี่ยวกับการ นำเข้าและส่งออก
การเบิกจ่ายค่าจ้างเหมาบริการ
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
ความสำคัญของ Internal Audit ต่อการดำเนินธุรกิจ
การรายงานแผนและผลการปฏิบัติงานผ่านระบบสารสนเทศ CAD_CA
ความท้าทายในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ
“ระบบการจัดเก็บข้อมูลบริการ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบบัญชี”
การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน การบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐ
โดยสรุป 10 ขั้นตอนในการ implement
มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen
(ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....
Gertrude B. Elion เจอร์ทรูด บี เอลเลียน.
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
Direct Speech Vs Indirect Speech
การพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National e-Payment
ชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
๑. หลักการบริหารงานทั่วไปและการบริหารทางการพยาบาล
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๕ พัฒนาการของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หลักการ แนวคิด เทคนิค และวิธีการ มีส่วนร่วมของประชาชน
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
อนาคต ASEAN กับนักบริหาร ระบบสาธารณสุขมืออาชีพ
การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์สากล
การศึกษา ในฐานะเป็นปัจจัย กำลังอำนาจแห่งชาติ
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
The Association of Thai Professionals in European Region
ทีมสำรวจอวกาศ ทีมสำรวจอวกาศ: ภารกิจ! แผนการจัดการเรียนรู้ 1: ภารกิจ 1.
การบริหารสหกรณ์ตามกฎหมาย
บทที่ 6 การควบคุมภายใน.
โครงการคลินิกโรคจากการทำงาน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
แนวทางการปฏิบัติงานของเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ
IFRC Framework for Community Safety and Resilience
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง
หลักการจัดการ Principle of Management
อุปนายกสมาคมวิจัยและพัฒนาการศึกษา ดร.พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์
ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ องค์การภาครัฐ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย Co-operative League of Thailand (CLT)

นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย การศึกษา - นิติศาสตร์บัณฑิต - เนติบัณฑิตไทย - การจัดการภาครัฐและเอกเอกชน มหาบัณฑิตทิต - วิทยาลัยการทัพเรือ - วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร - วิทยาการพลังงาน หน้าที่การงาน - อาจารย์พิเศษ ม.รามคำแหง, สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา, สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน สตช.

“สหกรณ์นี้ ถ้าเข้าใจดีแล้วก็เห็นได้ว่าเป็นวิธีทางเดียวที่จะทำให้มีความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ และต้องเข้าใจว่าเป็นการสหกรณ์ที่เรียกว่าสหกรณ์แบบเสรี คือ แต่ละคนต้องมีวินัย แต่ว่าไม่อยู่ในบังคับของใครเลย อยู่ในบังคับของวินัยที่ตัวเองต้องเป็นผู้รับรอง” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวที่พระราชทานแก่ผู้นำสหกรณ์ภาคการเกษตร เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๒

ความเป็นมาของสหกรณ์ และหลักการสหกรณ์ ความเป็นมาของสหกรณ์ และหลักการสหกรณ์

ความเป็นมาของการสหกรณ์ โรเบอร์ต โอเวน (Robert Owen) ชาวเวลส์ แนวคิด “Co-operative Community” โดยการคืนกำไรให้แก่สมาชิก ในปี พ.ศ.๒๓๖๘ ได้จัดตั้งชมรมสหกรณ์ขึ้นเป็น ครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา รัฐอินเดียนา ให้ชื่อว่า New harmony แต่ไม่ ประสบความสำเร็จเพราะสมาชิกยังไม่เข้าใจ และใช้ช่องโห่วหาประโยชน์

นายแพทย์ วิลเลี่ยม คิง (Dr.William King) เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ นำหลักของโอเวนไป ใช้ แต่เปลี่ยนแนวคิดจากออก ทุนให้เป็นให้คนงาน “รวมทุน” กันคนละเล็กละน้อย ในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ ตั้ง “สมาคมการค้า” (Trading Association) ใน รูปสหกรณ์ขึ้นเมื่อเป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า และได้ออกนิตย สารายเดือน “COOPERATOR”

สหกรณ์สมาคมแห่งแรกที่ประสบผลสำเร็จ และเป็นแบบฉบับในโลกนี้ก็คือ “ร้านสหกรณ์แห่งเมืองรอชเดล” ประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗ โดย กรรมกรช่างทอผ้าจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีรายได้น้อยและประสบปัญหาในด้านการซื้อ หาเครื่องอุปโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพ เช่น ราคาแพง มีการปลอมปน และ ถูกเบียดเบียนในการชั่ง ตวง วัด โดยการได้รับแนวคิดจาก โรเบอร์ต โอเวน ในการรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุตสาหกรรมและพ่อค้าซึ่งมีอำนาจการผลิต จึง ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นสมาคมประกอบด้วยผู้ริเริ่ม ๒๘ คน โดยรวมทุนกันจัดตั้ง ร้านค้าเครื่องอุปโภคบริโภคขึ้น จากนั้นนำเงินทุนที่รวบรวมได้ไปซื้อสิ่งของที่ จำเป็นแก่การครองชีพ โดยจัดซื้อในราคาขายส่งมาขายให้แก่สมาชิก และให้ สมาชิกเสียสละเวลามาช่วยกิจการของร้าน

นายเฮอร์มัน ชูลซ์ ผู้พิพากษาแห่งเมืองเดลิตซ์ (เยอรมัน) ในปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ได้ชักชวนหมู่ชาวเมืองผู้เป็นช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็กมาร่วมทุนรวมกันเป็นองค์กรในรูปสหกรณ์ประเภท “หาทุนเพื่อให้สมาชิกกู้ยืม”

นายฟริดริค วิลเฮล์มไรฟไฟเซน นายกเทศมนตรีเมืองเฮดเอสดอร์ฟ (เยอรมัน) จัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบท ซึ่งเป็นเกษตรกร (พ.ศ. ๒๔๐๕) โดยจัดเป็น องค์การเพื่อ “จัดหาทุนให้แก่สมาชิกกู้ยืม” ต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งสหกรณ์แก่ชาวชนบทและชาวเมืองมาจนปัจจุบัน

Co-operative Identity, Principles and Values The principles and values ​​are the distinctive elements of co-operative organizations and business. Already in 1844, the Rochdale Pioneers, founders of the first cooperative in history, had formulated a simple, clear set of principles, which assured the management of the organization for the benefit of its members

“หลักการสหกรณ์” (Cooperative Principles) หลักการที่ ๑ การอาสาสมัครและการเปิดกว้างเป็นสมาชิกสหกรณ์ (Voluntary and Open Membership) 

หลักการที่ ๒ การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย (Democratic Member Control)

หลักการที่ ๓ การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก (Member Economic Participation)

หลักการที่ ๔ การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ (Autonomy and Independence)

หลักการที่ ๕ การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ (Education, Trainings and Information)

หลักการที่ ๖ การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ (Cooperation among Cooperatives)

หลักการที่ ๗ การเอื้ออาทรต่อชุมชน (Concern for Community)

“อุดมการณ์สหกรณ์” (Cooperative Ideology) คือ “ความเชื่อร่วมกันที่ว่าการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักการสหกรณ์ซึ่งจะนำไปสู่การกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม และสันติสุขในสังคม” วิธีการสหกรณ์ (Cooperative Practices) หมายถึง การนำหลักการสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิกและชุมชนโดยไม่ละเลยหลักการธุรกิจที่ดี

การสหกรณ์ในประเทศไทย

จากการพัฒนาประเทศเพื่อต่อสู้กับมหาอำนาจตะวันตกเป็นเหตุให้สยามประเทศขาดแคลนเงินทุน รัชการที่ ๕ เห็นว่าชาวนาไม่มีทุนในการประกอบอาชีพ จึงได้เชิญ เซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ (Bernard Hunter) หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียมาหารือว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ได้รับข้อเสนอว่า ควรจัดตั้ง “ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ” (National Loan Bank)  ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน

ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า “สมาคมสหกรณ์” (Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๕๗ แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไรจนกระทั่งในปี ๒๔๕๘ ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ ๓ ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์

แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์ยุคแรก พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ ว่า “สหกรณ์ คือ สมาคมชนิดที่ราษฎรผู้ทำการ เพาะปลูกแลหากินด้วยการขายรวบรวมกัน ตั้งขึ้นเพื่อยังความจำเริญให้เกิดแก่หมู่ด้วยวิธี รวมกำลังบำรุงตนเองแลประหยัดค่าใช้จ่ายแต่ ที่พอควร มิใช่ตั้งขึ้นเพื่อจะหากำไรมาจำแนก ในสมาชิกนั้น” พระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๕๙

“สหกรณ์การเกษตรวัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้” ต่อมาในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงออกพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๕๙ (กฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก) ต่อมาในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ มีการจัดตั้งสหกรณ์แห่งแรกขึ้นที่จังหวัดพิษณุโลก คือ “สหกรณ์การเกษตรวัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้”

พระราชวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ

แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์ยุคที่สอง พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริ ว่า “หมู่ชนนั้น ๆ ควรได้รับการอุดหนุนให้ตั้ง สหกรณ์ขึ้นอีก เพื่อยังให้เกิดการประหยัดค่า การช่วยซึ่งกันและกันและการช่วยตนเอง เป็น ทางอีกทางหนึ่งซึ่งเผยแพร่ความจำเริญทรัพย์ และจำเริญธรรมในบ้านเมืองให้ยิ่งขึ้น” พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๔๗๑

ประวัติศาสตร์ความเป็นมากฎหมายสหกรณ์ พระราชบัญญัติสมาคม พ.ศ.๒๔๕๗ พระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ.๒๔๕๙ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๔๗๐ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๑๑ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒

การจัดตั้งสหกรณ์ในยุคปัจจุบัน ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และตามหลักการสหกรณ์

การบริหารสหกรณ์

เป้าหมายของการบริหารสหกรณ์ ๑) สหกรณ์ต้องการให้สมาชิกต้องมีทุนในราคาถูกเพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม ๒) สหกรณ์ไม่ได้ต้องการกำไรสูงสุด เพียงแต่ต้องการตอบแทน การรวมทุนของสมาชิกตามสมควร ๓) สหกรณ์ต้องการให้สมาชิกและครอบครัวมีสว้สดิการเพื่อ ความมั่นคงยั่งยืนในในการดำเนินชีวิต

วัตถุประสงค์และสหกรณ์หลักการ มาตรา ๔ สหกรณ์คือคณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พระบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒

กิจการสหกรณ์ วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ “จัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้ในการอันจำเป็น” ประเภทสหกรณ์ต้องกำหนดตามกลุ่มอาชีพและวิธีการจัดหาทุน (มาตรา ๓๓ วรรคสอง) วิธีการจัดหาทุน คือ ดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการและ อุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก (มาตรา ๔๖ (๑)) ส่วนธุรกิจสหกรณ์ที่แท้จริงนั้น คือ การธนธุรกิจ (มาตรา ๔๖ (๕),(๖)) (กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.๒๕๔๘ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘)

การดำเนินกิจการสหกรณ์ มาตรา ๔๖ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจ กระทำการ ดังต่อไปนี้ได้ (๑) ดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้า การบริการและอุตสาหกรรมเพื่อ ประโยชน์ของสมาชิก

ระบบการจัดหา “ทุน” ของสหกรณ์ หุ้น เงินรับฝาก เงินกู้ ทุนให้สมาชิกกู้ ม.๔๖ (๖) ดอกเบี้ย ปันผล/เฉลี่ยคืน กำไร ส่วนเกิน (จัดสรรกำไร) ม.๖๐ ดำเนินธุรกิจ ม.๔๖(๑) สวัสดิการ/ชุมชน เงินเหลือฝาก/ลงทุน ผลตอบแทน บำรุงสันนิบาต ทุนสำรอง

สหกรณ์ควรมีเงินทุนเท่าไร เงินทุนที่สหกรณ์ควรมี จำนวนสมาชิก วงเงินกู้สูงสุด ๓๕-๔๕% เงินทุนที่สหกรณ์ควรมี เงินค่าหุ้น? เงินกู้ ? เงินรับฝาก?

กิจการสหกรณ์ (๒) ให้สวัสดิการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว (๑) ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก (๔) ขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของ ต่างประเทศ หรือบุคคลอื่นใด มีนิติบุคคลใดบ้างที่ให้สวัสดิการแก่ผู้ถือหุ้น ? มีนิติบุคคลใดบ้างที่จัดหาความรู้ในแก่สมาชิก ? คำตอบ “ไม่มี”

(๕) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือ สหกรณ์อื่น ฯ (๖) ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ โอน รับจำนองหรือรับ จำนำซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิกหรือของสมาชิก

การกู้เงินในระบบสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ต้องกู้เงินไปเพื่อการอันจำเป็นในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก (เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต) เพื่อเป็นทุนในการก่อให้เกิดรายได้แก่ตนและครอบครัว (เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) เพื่อการอันจำเป็นในครัวเรือน ซึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เพื่อประโยชนทางสังคม) ถ้ากู้เพื่อการลงทุนทำธุรกิจ ต้องไปกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน นี่คือข้อแตกต่างระหว่างสหกรณ์กับสถาบันการเงิน

ข้อพิจารณาในการให้กู้ยืมเงิน ๑. คุณลักษณะของผู้กู้ที่สมควรได้รับการพิจารณา ๒. ผู้กู้กู้เงินไปเพื่อสร้างประโยชน์อันใด ๓. ผู้กู้มีศักยภาพในการสร้างรายได้เพื่อชำระหนี้เพียงใด ๔. ผู้กู้มีหลักประกันเพียงพอเพื่อการชำระหนี้หรือไม่

คุณลักษณะของผู้กู้ที่สมควรได้รับการพิจารณา ๑. สมาชิกผู้กู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร ๒. มีสินทรัพย์มากน้อยเพียงใด ๓. มีความสามารถในการหารายได้เพียงใด ๔. คุณลักษณะนิสัยและความรับผิดชอบอย่างไร ๕. มีความประพฤติเป็นที่น่าวางใจได้เพียงใด

ผู้กู้มีศักยภาพในการการสร้างรายได้ชำระหนี้เพียงใด ศักยภาพในการชำระหนี้ คือ ความสามารถของลูกหนี้ที่จะคืนเงินกู้แก่ สหกรณ์ภายในระยะเวลาและอัตราที่สหกรณ์กำหนดได้หรือไม่ เงื่อนไป ดังกล่าวประกอบไปด้วย ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิก ความสามารถในการดำรงชีพของสมาชิกและครอบครัว เหลือเก็บออมไว้เพื่อความยั่งยืนในอนาคต การสร้าวินัยทางการเงินเพื่อประโยชน์ของสมาชิก

การพิจารณาถึงหลักประกัน เมื่อหลักการสหกรณ์กำหนดว่า “ช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ดังนั้นการพิจารณาหลักประกันจึงควรพิจารณาดังนี้ หลักทรัพย์ของลูกหนี้มีเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้หรือไม่ ถ้าหลักประกันเป็นบุคคล บุคคลนั้นต้องมีคุณสมสมบัติที่สามารถกู้เงินได้ เช่นเดียวกับลูกหนี้ ถ้าหลักประกันเป็นหลักทรัพย์ หลักทรัพย์นั้นต้อเพียงพอต่อการบังคับ ชำระหนี้

(๗) จัดให้ได้มา ซื้อ ถือกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สิทธิ ฯ (๘) ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความ เห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์หรือ (๙) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

การเงินในระบบสหกรณ์ ทุนสหกรณ์ เงินค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินกู้ ทุนสำรอง ทุนสหกรณ์ เงินบริหาร เงินดำเนินธุรกิจ เงินลงทุน ทุนสำรอง เงินปันผล/เฉลี่ยคืน เงินรายได้ บำรุงสันนิบาต โบนัส กิจกรรมสหกรณ์

การจัดสรรกำไรสุทธิ มาตรา ๖๐ การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของกำไรสุทธิ และเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิกำไรสุทธิประจำปีที่เหลือจากการจัดสรรเป็นทุนสำรองและค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยที่ประชุมใหญ่อาจจัดสรรได้ภายใต้ข้อบังคับ ดังต่อไปนี้ (๑) จ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงสำหรับสหกรณ์แต่ละประเภท (เป็นการตอบแทนสมาชิกที่มาช่วยร่วมลงทุนเหลือซึ่งกันและกันตามสมควร)

การจัดสรรกำไรสุทธิ (๒) จ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้ทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปี (การไม่แสวงหากำไร) (๓) จ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิ (๔) จ่ายเป็นทุนสะสมไว้ เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดของสหกรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับ (สวัสดีการสมาชิกและเอื้ออาทรต่อชุมชน)

ทุนสำรอง มาตรา ๖๑ ทุนสำรองตามมาตรา ๖๐ วรรคหนึ่ง จะถอนจากบัญชีทุนสำรองได้เพื่อชดเชยการขาดทุนหรือเพื่อจัดสรรเข้าบัญชีทุนสำรองให้แก่สหกรณ์ใหม่ที่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกจากสหกรณ์เดิมตามมาตรา ๑๐๐ ข้อสังเกต เมื่อสหกรณ์ขาดทุน หมายความว่า การขาดทุนในเงินค่าหุ้น ให้ถอนทุนสำรองไปชดเชยการขาดค่าหุ้น ทุนสำรองจึงลดลง ด้วยเหตุนี้ระบบสหกรณ์จึงมีหลักประกันเงินค่าหุ้นจะได้รับคืนเท่าเดิม เว้นแต่ทุนสำรองชดใช้ค่าหุ้นไม่พอ

ความมั่นคงของสหกรณ์ เงินทุนหมุนเวียน หุ้น เงินรับฝาก เงินกู้ ส่วนเกิน เงินรักษาสภาพคล่อง ค่าบริหาร ดำเนินกิจการ (ให้กู้ยืม) ทุนสำรอง ฝาก ลงทุน ผลตอบแทน ส่วนเกิน (กำไร) ดอกเบี้ย/กำไร บำรุงสันนิบาต ปันผล/เฉลี่ยคืน โบนัส สวัสดิการ/ชุมชน

ประเภททุน จำนวน อัตราต้นทุน รายได้ ๖% กำไร หุ้น ๔๐๐ ล้าน ๕% ๒๐ ล้าน ๒๔ ล้าน ๔ ล้าน เงินรับฝาก ๒๐๐ ล้าน ๒% ๔ ล้าน ๑๒ ล้าน ๘ ล้าน เงินกู้ ๓๐๐ ล้าน ๔% ๑๒ ล้าน ๑๘ ล้าน ๖ ล้าน ทุนสำรอง ๑๐๐ ล้าน ๐% ไม่มี  รวมทุน ๑,๐๐๐ ล้าน  ๓๖ ล้าน  ๖๐ ล้าน

ประเภททุน จำนวน อัตราต้นทุน รายได้ ๖% กำไร หุ้น ๓๐๐ ล้าน ๕% ๑๕ ล้าน ๑๘ ล้าน ๓ ล้าน เงินรับฝาก ๕๐๐ ล้าน ๒% ๑๐ ล้าน ๓๐ ล้าน ๒๐ ล้าน เงินกู้ ๑๐๐ ล้าน ๔% ๔ ล้าน ๖ ล้าน ๒ ล้าน ทุนสำรอง ๐% ไม่มี  รวมทุน ๑,๐๐๐ ล้าน  ๒๙ ล้าน  ๖๐ ล้าน ๓๑ ล้าน

ประเภททุน จำนวน อัตราต้นทุน รายได้ ๕.๕๐% กำไร หุ้น ๓๐๐ ล้าน ๕% ๑๕ ล้าน ๑๖.๕ ล้าน ๐ ล้าน เงินรับฝาก ๕๐๐ ล้าน ๒% ๑๐ ล้าน ๒๗.๕ ล้าน ๑๕ ล้าน เงินกู้ ๑๐๐ ล้าน ๔% ๔ ล้าน ๕.๕ ล้าน ๑ ล้าน ทุนสำรอง ๐% ไม่มี ๕ ล้าน  รวมทุน ๑,๐๐๐ ล้าน  ๒๙ ล้าน  ๕๕ ล้าน ๒๖ ล้าน

ประเภททุน จำนวน อัตราต้นทุน รายได้ ๕% กำไร หุ้น ๓๐๐ ล้าน ๕% ๑๕ ล้าน ๑๕ ล้าน ๐ ล้าน เงินรับฝาก ๕๐๐ ล้าน ๒% ๑๐ ล้าน ๒๕ ล้าน เงินกู้ ๑๐๐ ล้าน ๔% ๔ ล้าน ๕ ล้าน ๑ ล้าน ทุนสำรอง ๐% ไม่มี  รวมทุน ๑,๐๐๐ ล้าน  ๒๙ ล้าน  ๔๐ ล้าน ๒๑ ล้าน