ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์3 สมมติฐานของการวิจัย การกำหนดและการนิยามตัวแปร
สมมติฐาน ข้อเสนอ เงื่อนไข หรือหลักการ ที่เราสมมติขึ้นมาเพื่อหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล และเพื่อทดสอบกับข้อเท็จจริง คำกล่าวในเชิงคาดคะเนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวหรือมากกว่าสองตัว การรวบรวมข้อมูลโดยมีสมมติฐานเป็นการจำกัดเรื่องที่วิจัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถมุ่งสนใจในบางลักษณะที่ถือว่ามีความสำคัญในการวิจัย เป็นการป้องกันการรวบรวมข้อมูลโดยปราศจากเป้าหมาย
ประโยชน์ของสมมติฐาน ช่วยชี้แนวทางในการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ทราบว่าจะค้นคว้าด้วยข้อมูลอะไร ช่วยในการวางแผนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเครื่องเชื่อมโยงกับทฤษฎี เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ
ประเภทของสมมติฐาน สมมติฐานในเชิงพรรณนา เป็นสมมติฐานที่กล่าวถึงปรากฏการณ์หนึ่ง หรือตัวแปรหนึ่งโดยสม่ำเสมอ เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงโดยไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร สมมติฐานในเชิงวิเคราะห์ เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยมีจุดมุ่งหมายต้องการค้นหาว่า การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบหนึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบอื่นๆ เพียงใด
แหล่งที่มาของสมมติฐาน สมมติฐานได้มาจากวัฒนธรรมที่ศาสตร์นั้นพัฒนาขึ้นมา สมมติฐานได้มาจากศาสตร์ สมมติฐานได้มาจากการเปรียบเทียบ สมมติฐานได้มาจากประสบการณ์ส่วนบุคคล สมมติฐานได้มาจากผลของการวิจัยที่ผู้อื่นค้นพบได้ สมมติฐานอาจได้มาจากข้อสงสัยของนักวิจัยเอง
เกณฑ์ในการพิจารณาสมมติฐานที่เป็นประโยชน์ ต้องมีแนวความคิดกำหนดไว้โดยชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีข้ออ้างอิงจากประสบการณ์ ต้องเฉพาะเจาะจง การปฏิบัติการและเงื่อนไขต่างๆต้องระบุให้ชัดเจน ควรเกี่ยวข้องกับเทคนิคที่มีอยู่ (เทคนิคในการทดสอบ) ควรเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
การกำหนดและการนิยามตัวแปร ความหมาย คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่างๆซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ลักษณะสำคัญของตัวแปร ในกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างกลุ่มหนึ่ง เมื่อวัดลักษณะที่ต้องการออกมา แล้วนำมาแจกแจงจะต้องมีลักษณะที่วัดได้แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีมากกว่า 1 ลักษณะ
ลักษณะและชนิดของตัวแปร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวแปรที่เรียกว่า concept หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะที่คนทั่วไปรับรู้ได้ตรงกัน เช่น เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา เป็นต้น ตัวแปรที่เรียกว่า construct หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะตัวบุคคลคนทั่วไปอาจรับรู้ได้ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้ ตัวแปรประเภทนี้มักเป็นตัวแปรที่เป็นนามธรรม ตัวแปรลักษณะนี้เรียกว่า ตัวแปรสมมติฐาน (Hypothesis variable) เช่น ทัศนคติ ความเป็นผู้นำ แรงจูงใจ เป็นต้น
ลักษณะและชนิดของตัวแปร ถ้าพิจารณาในแง่ของชนิดของตัวแปร จะแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ดังนี้ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variable) ตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นเหตุให้เกิดผลตามมา ตัวแปรตาม (Dependent variable) ตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous variable) ตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable)
การนิยามตัวแปร การนิยามตัวแปรแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การนิยามในรูปแนวความคิด (Conceptual Definition) เป็นการให้คำนิยามในรูปของการพรรณนาลักษณะหรือแนวความคิดของตัวแปรนั้น มีลักษณะคล้ายกับการให้คำนิยามของพจนานุกรม การนิยามปฏิบัติการ (Operational or Working Definition) เป็นการให้คำนิยามที่สามารถจะสังเกตได้ วัดได้จากความเป็นจริง