ศิลปะการประพันธ์ ในวรรณคดีไทย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ศิลปะการประพันธ์ ในวรรณคดีไทย

ศิลปะการประพันธ์ วรรณศิลป์เป็นคุณค่าทางด้านการประพันธ์ การใช้ถ้อยคำทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ และอารมณ์สร้างบรรยากาศให้กลมกลืนกับเนื้อเรื่องทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมได้เป็นอย่างดี ได้แก่ การเล่นเสียง การเล่นคำ การใช้ภาพพจน์ รสในวรรณคดีไทย

การเล่นเสียง การเล่นเสียงสระ การเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ การเล่นเสียง คือ การสรรคำให้มีเสียงสัมผัสทั้งพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เป็นพิเศษกว่าปกติเพื่อให้เกิดทำนองเสียงที่น่าฟัง เพื่อการอวดฝีมือของกวี มี ๓ ชนิดคือ การเล่นเสียงสระ การเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงวรรณยุกต์

๑.การเล่นเสียงพยัญชนะ (พระอภัยมณี) พระฟังคำอ้ำอึ้งตะลึงคิด จะเบือนบิดป้องปัดก็ขัดขวาง สงสารลูกเจ้าลังกาจึงว่าพลาง เราเหมือนช้างงางอกไม่หลอกลวง ถึงเลือดเนื้อเมื่อน้องต้องประสงค์ พี่ก็คงยอมให้มิได้หวง แต่ลูกเต้าเขาไม่เหมือนคนทั้งปวง จะได้ช่วงชิงไปให้กระนั้น (พระอภัยมณี)

๒.การเล่นเสียงสระ หน่อกษัตริย์ขัตติยวงศ์ทรงสดับ น้อมคำนับเล่าแจ้งแถลงไข พระบิดาห้าบำรุงซึ่งกรุงไกร บัญชาให้เที่ยวหาวิชาการ จึงดั้นด้นเดินเนินป่ามาถึงนี่ พอเห็นมีอักขราอยู่หน้าบ้าน รู้ว่าท่านพฤฒาเป็นอาจารย์ ขอประทานพากเพียรเรียนวิชา (พระอภัยมณี)

๓.การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การใช้คำไล่ระดับเสียง ๒ หรือ ๓ ระดับเป็นชุดไป เช่น เจา-เจ่า -เจ้า คอย- ค่อย-ค้อย เป็นต้น ตัวอย่าง บัวตูมตุมตุ่มตุ้ม กลางตม สูงส่งทงทานลม ล่มล้ม แมลงเม้าเม่าเมาฉม ซมซราบ รูรู่รู้ริมก้ม พาดไม้ไทรทอง

การเล่นคำ การเล่นคำ คือ การสรรคำมาเรียงร้อยในคำประพันธ์ โดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษและแปลกออกไปจากทีใช้กันอยู่ เช่น การเล่นคำพ้อง การเล่นคำซ้ำ การเล่นคำเชิงถาม

๑.การเล่นคำพ้อง คือการนำคำพ้องมาใช้คู่กันให้เกิดความหมายที่สัมพันธ์กัน เช่น เบญจวรรณจับวัลย์มาลี เหมือนวันเจ้าวอนพี่ให้ตามกวาง (บทละครเรื่องรามเกียรติ์) ถึงบางซื่อชื่อบางนี้สุจริต เหมือนซื่อจิตที่พี่ตรงจำนงสมร มิตรจิตขอให้มิตรใจจร ใจสมรขอให้ซื่อเหมือนชื่อนาง (นิราศพระบาท)

๒. การเล่นคำซ้ำ งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร คือการนำคำคำเดียวมาใช้ซ้ำๆ ในที่ใกล้ๆกัน เพื่อย้ำความหมายให้หนักแน่นมากขึ้น เช่น เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา (บทละครเรื่องรามเกียรติ์)

***ข้อแตกต่างของ การเล่นคำพ้อง และการเล่นคำซ้ำ คือ ***ข้อแตกต่างของ การเล่นคำพ้อง และการเล่นคำซ้ำ คือ การเล่นคำพ้อง จะต้องเป็นคำที่นำมาเล่นในความหมายที่แตกต่างกัน การเล่นคำซ้ำ จะต้องเป็นคำที่นำมาเล่นในความหมายที่เหมือนกัน

๓. การเล่นคำเชิงถาม (การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์) ๓. การเล่นคำเชิงถาม (การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์) คือ การใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพื่อเน้นให้ข้อความน่าสนใจ และให้ผู้ฟังติดตาม เช่น เปลก็ไกวดาบก็แกว่งแข็งหรือไม่ ไม่อวดหยิ่งหญิงไทยมิใช่ชั่ว ไหนไถถากกรากกรำไหนทำครัว ใช่รู้จักแต่จะยั่วผัวเมื่อไร (นารีเรืองนาม)

การใช้ภาพพจน์ คือการใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างจินตภาพ แก่ผู้อ่านโดยการเรียบเรียงถ้อยคำด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพขึ้นในใจของผู้อ่านและผู้ฟัง อุปมา ๕. บุคคลวัต อุปลักษณ์ ๖. สัทพจน์ อติพจน์ ๗. สัญลักษณ์ ปฏิพากย์

๑. อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายว่า “เหมือน” เช่น เสมือน เหมือนดั่ง ดุจ เปรียบ ประหนึ่ง ละม้าย เสมอ ปาน เพียง ราว เทียบ เทียม ฯลฯ พิศฟันรันเรียบเรียบ เป็นระเบียบเปรียบแสงนิล พาทีพี่ได้ยิน ลิ้นกระด้างช่างเจรจาฯ (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก)

๒. อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้เปรียบเทียบได้แก่คำว่า “เป็น” “คือ” ตัวอย่างเช่น อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริศยา แล้วเสแสร้งแกล้งทำบีบน้ำตา อนิจจาใจหายเจียวสายใจ (พระอภัยมณี) - หน้าบานเป็นจานเชิง - พระธิดาคือดวงจันทร์ พระโอรสคือพระอาทิตย์

๓. อธิพจน์ หรือ อติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง เช่น คือ การกล่าวเกินจริง เช่น - ร้อนจนตับจะแตกอยู่แล้ว - หิวจนไส้แทบขาด - ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน - เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม

๔. ปฏิพากย์ คือ การใช้คำตรงกันข้ามมาประกอบเป็นข้อความเข้าด้วยกัน เช่น คือ การใช้คำตรงกันข้ามมาประกอบเป็นข้อความเข้าด้วยกัน เช่น จากความชั่วสู่ความดีที่เป็นสุข จากร้อนรุกเร้ารบเป็นสบศานติ์ เมื่อสู่ความเป็นพระชนะมาร เพื่อวัยวารสู่สันติตราบนิรันดร์

๕. บุคคลวัต, บุคลาธิษฐาน คือ การสมมติสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีอารมณ์ ความรู้สึก หรือกิริยาเหมือนมนุษย์ เช่น - แล้วดอกไม้ก็ยิ้มรับกับตะวัน - ทะเลไม่เคยหลับใหล - ฝากสายฝนไปกระซิบสั่งคนรักฉันที

๖. สัทพจน์ คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต (พระอภัยมณี) บ้างขึ้นบนขนส่งคนลงข้างล่าง เสียงโฉ่งฉ่างชามแตกกระแทกขัน จนคนบนสัปคับรับไม่ทัน หม้อข้าวขันตกแจกกระจายราย (นิราศพระบาท)

๗. สัญลักษณ์ คือ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดภาพทางความหมายที่ชัดเจน เช่น สีขาว แทนความบริสุทธิ์ สีดำ แทนความชั่วร้าย กา เป็นสัญลักษณ์ของคนชั้นต่ำ หงส์ เป็นสัญลักษณ์ของคนชั้นสูง ดอกฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของนางชั้นผู้สูงศักดิ์ ดอกหญ้า เป็นสัญลักษณ์ของหญิงต่ำศักดิ์

รสในวรรณคดีไทย เสาวรจนีย์ นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิสัย รสวรรณคดี คือ รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงามทางอารมณ์ ช่วยเสริมสร้างมโนภาพด้านอารมณ์ เสาวรจนีย์ นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิสัย

เสาวรจนีย์ เสาวรจนีย์ คือ บทชมโฉมเป็นรสที่กล่าวถึงการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง บทกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย        ดูแช่มช้อยโฉมลาทั้งเผ้าผม ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม     ทั้งเนื้อนมนวลเปลปงออกเต่งทรวง ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด            ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง   แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป (พระอภัยมณี)

นารีปราโมทย์ นารีปราโมทย์ คือ บทเกี้ยวพาราสีเป็นการกล่าวแสดงแสดงความรักระหว่างตัวละคร ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง (พระอภัยมณี)

พิโรธวาทัง พิโรธวาทัง คือ บทโกรธเป็นการกล่าวถึงอารมณ์ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อต่อว่า รวมไปถึงการประชดประชัน เมื่อนั้น อินทรชิตสิทธิศักดิ์ยักษา ได้ฟังวานรเจรจา โกรธาดั่งไฟบรรลัยกัลป์ ขบเขี้นวเคี้ยวกรามกระทืบบาท ร้องตวาดผาดเสียงดั่งฟ้าลั่น เหม่อ้ายลิงไพรใจฉกรรจ์ กูจะหั่นให้ยับลงกับกร (บทละครเรื่องรามเกียรติ์)

สัลลาปังคพิสัย สัลลาปังคพิสัย คือ บทโศกเป็นบทที่แสดงอารมณ์คร่ำครวญโศกเศร้า อาลัย เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ (นิราศภูเขาทอง)

สวัสดีครับ