การทำความสะอาด (Cleaning) ขณะที่ทำความสะอาดจะเห็นส่วนต่างๆของเครื่องจักรเป็นประจำจนทราบ สภาพปกติของเครื่องจักรภายนอก สภาพเสียง ความสั่นสะเทือน ความร้อนที่เกิดขึ้น และอื่นๆ ขณะที่เปิดเครื่องใช้งานตามปกติอย่างไร และสังเกตเห็นสภาพผิดปกติแล้วก็สามารถรายงานเพื่อแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะลุกลามได้ การขจัดฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกอื่นๆบนเครื่องจักร หรือบริเวณโรงงานสามารถช่วยลดความสึกหรอของเครื่องจักร ลดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน เนื่องจากต้นเหตุของอุบัติเหตุ เช่น วัสดุ สารหล่อลื่นหกราดบนพื้น ชิ้นส่วนหรือสิ่งเกะกะต่างๆจะถูกขจัดออกไป อุบัติเหตุที่เกิดจาก สิ่งเหล่านี้จึงไม่เกิดขึ้น
การหล่อลื่น (Lubrication) การหล่อลื่นเป็นงานพื้นฐานในการป้องกันการชำรุดเสียหาย และช่วยลดความสึกหรอ เนื่องจากวัสดุหล่อลื่นจะช่วยป้องกันมิให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวสัมผัสกันโดยตรง (Metal to Metal Contact) นอกจากจะป้องกันความเสียหายแล้วยังช่วยลดความร้อนที่เกิดจาก การเสียดสีอีกด้วย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรสูงขึ้น เพราะมีการเคลื่อนไหว และมีความฝืดที่น้อยที่สุด
แผนการหล่อลื่น การวางระบบงานหล่อลื่น การวางแผนการหล่อลื่น กำหนดเวลาหล่อลื่นของโรงงาน การควบคุมงานหล่อลื่น
การจัดระบบหล่อลื่น ลดความสูญเสียทางทรัพยากรการซ่อมบำรุงรักษาซึ่งได้แก่ แรงงาน วัสดุ และพลังงาน ลดความสูญเสียเนื่องจากการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรทำให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาดอันเกิดจากการใช้วัสดุหล่อลื่นผิดประเภท ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องจักรอย่างร้ายแรง ลดปริมาณวัสดุหล่อลื่นได้บางส่วน เนื่องจากลดความสูญเสียอันเกิดจากการหกราดพื้น
ขั้นตอนการวางระบบงานหล่อลื่น ศึกษาความต้องการใช้สารหล่อลื่น ทั้งชนิด ประเภท ปริมาณ และระยะเวลาโดยศึกษาจากคู่มือใช้งานเครื่องจักร แผ่นป้ายประจำเครื่องจักร หรือคำแนะนำจากบริษัทผลิตน้ำมันหล่อลื่นที่เชื่อถือได้ พยายามเทียบเคียงประเภทและชนิดของวัสดุที่ใช้ในการหล่อลื่น จากหลายๆผู้ผลิตเพื่อลด จำนวนผู้ผลิต ประเภท และวัสดุหล่อลื่นให้น้อยลงเพื่อสะดวก ในการสั่งซื้อ จัดเก็บและรักษาวัสดุคงคลังที่เหมาะสม ใช้สีหรือสัญลักษณ์ลงบนภาชนะ หรืออุปกรณ์บรรจุจ่าย ประเภท และ การใช้น้ำมัน หล่อลื่นแก่พนักงาน เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการใช้งาน (VISUAL CONTROL)
ขั้นตอนการวางระบบงานหล่อลื่น ปรับปรุงวิธีการหล่อลื่นให้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะสำหรับเครื่องจักรที่ต้องมีการเติมวัสดุหล่อลื่นขณะเดินเครื่อง จัดทำบันทึกการหล่อลื่นที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานหล่อลื่น รวมทั้งยังสามารถใช้อ้างอิงสำหรับบำรุงรักษาในโอกาสต่อไป วิเคราะห์ประสิทธิภาพการหล่อลื่นหาข้อบกพร่อง และแนวทางแก้ไขให้ทันเหตุการณ์รวมทั้งการศึกษาถึงวัสดุการหล่อลื่น เพื่อปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
การวางแผนการหล่อลื่น (Master Lubrication Plan) แผนการใช้วัสดุหล่อลื่น ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ คือ ชนิดและประเภทของวัสดุที่มีอยู่ในคลัง ประเภทและชนิดของวัสดุหล่อลื่นสำหรับแต่ละเครื่อง แผนการเปลี่ยนวัสดุหล่อลื่น รายการหรือชื่อของเครื่องจักร ประเภทและชนิดของวัสดุหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องแต่ละเครื่อง ระยะเวลาเปลี่ยนวัสดุหล่อลื่นบอกเป็นชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรหรือช่วงเวลา กรรมวิธีในการเปลี่ยนวัสดุหล่อลื่น
กำหนดเวลาหล่อลื่นหลักของโรงงาน (Master Lubrication Plan) กำหนดทำตารางกำหนดการปฏิบัติงานหล่อลื่นตามแผนหล่อลื่นหลักของโรงงานทั้งนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนวัสดุหล่อลื่นที่ไม่ได้จังหวะ โดยเฉพาะกับการซ่อมใหญ่ อาจทำให้เกิดความสิ้นเปลืองวัสดุหล่อลื่นโดยใช่เหตุ หากการซ่อมนั้นจำเป็นต้องถ่ายน้ำมันหล่อลื่นออกด้วย
การควบคุมงานหล่อลื่น โดยทั่วไปนิยมใช้บัตรควบคุมงานหล่อลื่น เป็นบัตรประจำในแต่ละเครื่องจักร ในบัตรนั้นจะประกอบไปด้วยข้อมูลทางด้านการหล่อลื่น เช่น ก) ประเภท ชนิดของวัสดุหล่อลื่น ข) วัสดุหล่อลื่นเทียบเคียงที่อาจใช้ทดแทนกันได้ ค) ปริมาณของวัสดุหล่อลื่นที่จำเป็นต้องใช้ในการเปลี่ยนในแต่ละครั้ง ง) ระยะเวลาที่ต้องทำการเปลี่ยนวัสดุหล่อลื่น จ) คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ที่ต้องการ เช่น การทนความร้อน เป็นต้น
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานหล่อลื่น วิธีที่ 1 ให้พนักงานซ่อมบำรุงเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด งานหล่อลื่นที่มีรายละเอียดมากๆ ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน จะมอบหมายให้ทางพนักงานบำรุงรักษาเป็นผู้ปฏิบัติเอง วิธีที่ 2 ให้พนักงานผลิตเป็นผู้ปฏิบัติงานหล่อลื่น ผลดี ในด้านการมีส่วนร่วมในด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักร ผลเสีย ในด้านหน้าที่ความรับผิดชอบและความรู้ความสามารถ
การตรวจสภาพ (Inspection) มีเป้าหมายเพื่อค้นหาความบกพร่องขั้นต้น ความบกพร่องขั้นต้น หมายถึงสภาพที่คุณลักษณะอุปกรณ์ของเครื่องจักรเปลี่ยนไปถึงขั้นที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การขัดข้องของเครื่องจักรจนถึงขั้นที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามควรจะเป็น จนถึงขั้นต้องหยุดเครื่องจักร (Failure) ความเสียหาย หมายถึงสภาพการณ์ที่อุปกรณ์ของเครื่องจักรเสื่อมสภาพลงจนเป็นเหตุให้เครื่องจักรไม่สามารถทำงานตามข้อกำหนดได้ หรือต้องหยุดการทำงานโดยสิ้นเชิงในระยะต่อไป
การปรับแต่งและเปลี่ยนชิ้นส่วน (Adjustment and Part Replacement) การบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยการมีระบบหล่อลื่น หรือการตรวจสภาพที่ดีเพียงใด ความคลาดเคลื่อนจากความสึกหรอของชิ้นส่วนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การที่จะให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ปกติ การปรับแต่ง และการเปลี่ยนชิ้นส่วนจึงเข้ามามีบทบาทในงานบำรุงรักษาด้วย
การปรับแต่ง เป็นวิธีการที่ช่วยให้เครื่องจักรกลับเข้าสู่สภาพปกติที่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ตามข้อกำหนดจะกระทำในหลายกรณี คือ ก) เมื่อเกิดการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องจักร และการสึกหรอยังอยู่ในขีดจำกัดของการใช้งาน ข) เมื่อวัสดุที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรเกิดความล้า (Fatigue) ในการปฏิบัติงาน แต่ยังอยู่ในขีดจำกัดของการใช้งาน ค) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนใหม่ โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องมีการตั้งศูนย์ ระยะห่าง การเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่บางกรณีจำเป็นต้องมีการปรับแต่ง เพื่อให้เครื่องจักรทำงาน อยู่ในขอบเขตที่กำหนดในเรื่องของความดัน อุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน ฯลฯ
การเปลี่ยนชิ้นส่วน การเปลี่ยนชิ้นส่วนเป็นวิธีการที่ช่วยให้เครื่องจักรกลับสู่สภาพปกติในการทำงานได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด ก) เมื่อชิ้นส่วนเกิดการชำรุดหรือเหตุขัดข้องจนไม่สามารถให้ เครื่องจักรทำงานได้ตามข้อกำหนดหรือต้องหยุดลงโดยสิ้นเชิง ข) เมื่อชิ้นส่วนมีอายุการใช้งานเกินกำหนด ไม่ว่าการสึกหรอจะเกินขีดจำกัดหรือไม่ก็ตาม ค) เมื่อชิ้นส่วนมีอายุใกล้เคียงกับกำหนดเวลาการใช้งาน แต่เมื่อทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนอื่นไปแล้วก็ทำการเปลี่ยนชิ้นส่วนดังกล่าวไปด้วย