การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมาตรา 11 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างพ.ศ.2546 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดให้จัดทำแผนการจัดซื้อจัด จ้างตามวงเงิน ต่อไปนี้ ครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 100,000 บาท ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 2,000,000 บาท กรมบัญชีกลางกำหนดให้จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามวงเงิน ต่อไปนี้ ครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 500,000 บาท ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 500,000 บาท
เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2546 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 จึงขอกำหนดวงเงิน ดังนี้ ครุภัณฑ์ที่มีราคาเกิน 100,000 บาท ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 500,000 บาท โดยให้ใช้แบบฟอร์มของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ดังแนบ
3. ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง 1. เมื่อส่วนงานได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการ จัดซื้อจัดจ้าง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี เสนอหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ หัวหน้าหน่วยงานมอบอำนาจ เพื่อขอความเห็นชอบโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ 2.โดยจัดทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 ตุลาคม ของทุกปี และให้สำเนาส่ง ฝ่ายการคลังและทรัพย์สินไม่เกินวันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี เนื่องจากฝ่ายการคลังและ ทรัพย์สินต้องจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างในภารรวมของมหาวิทยาลัยเพื่อรายงานให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลา ทราบภายในวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปีและ เพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ปิดประกาศ ณ สถานทีปิดประกาศของ หน่วยงานโดยเปิดเผย (เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมิน ITA)
3. ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (ต่อ) 3.เมื่อหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายให้ความ เห็นชอบแผนจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าว ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Electronic Government Procurement:e-GP) 4. หากส่วนงานไม่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการ ใดระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง จะไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างใน โครงการนั้นได้ 5. หลักจากส่วนงานได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี แล้ว ให้ส่วนงานรีบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผน และขั้นตอนของระเบียบที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว (ได้รับจัดสรรเงินงวดจากสำนักงบประมาณ)
3. ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (ต่อ) 6. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายเพื่อขอความเห็นชอบโดยเสนอผ่านหัวหน้า เจ้าหน้าที่และเมื่อได้รับความเห็นขอบแล้ว ให้ดำเนินประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวใน ระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Electronic Government Procurement:e-GP) และเพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัย ปิดประกาศ ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานโดยเปิดเผยอีกครั้ง และ ให้ส่วนงานสำเนาส่งฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน เพื่อดำเนินการดังนี้ จัดส่งสำเนาแผนจัดซื้อจัดจ้างให้สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลา ทราบต่อไป เก็บรวบรวม เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบเมื่อมีการร้องขอ
การตรวจสอบพัสดุประจำปี
การตรวจสอบพัสดุประจำปี ให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการ ตรวจสอบพัสดุประจำปีที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุคนเดียวหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อตรวจสอบพัสดุ ของส่วนงานภายในเดือนสุดท้ายของสิ้นปีงบประมาณของทุกปี (ภายในเดือนกันยายน ของทุกปี) เมื่อผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุประจำปีได้รับการแต่งตั้งแล้วให้ดำเนินการดังนี้ 1. ให้เริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุประจำปีในวันเปิดทำการวันแรกในปีงบประมาณเป็นต้น ไป ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ เพื่อตรวจสอบว่า การรับจ่ายพัสดุถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบว่าพัสดุคงเหลือมีตัวตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุไม่จำเป็นต้องใช้งานใน ส่วนงานต่อไป
การตรวจสอบพัสดุประจำปี (ต่อ) 2. เมื่อตรวจสอบตามข้อ 1 แล้วให้เสนอรายงานผลการตรวจสอบ ดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้งภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันเริ่มตรวจสอบพัสดุนั้น 3. เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานจากผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบพัสดุ ประจำปีแล้วให้เสนอหัวหน้าหน่วยงาน(อธิการบดี) 1 ชุด โดยเสนอผ่านฝ่าย การคลังและทรัพย์สิน ดำเนินการรวบรวมจัดส่งรายงานในภาพรวมของ มหาวิทยาลัยให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดสงขลาต่อไป และ จัดเก็บผลการตรวจพัสดุประจำปีหลังจากที่ส่วนงานได้รายงานอธิการบดีแล้ว เป็นระบบ เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจดูข้อมูลเมื่อมีการร้องขอ
การตรวจสอบพัสดุประจำปี (ต่อ) 4. เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานผลการตรวจสอบจากผู้รับผิดชอบ ในการตรวจสอบพัสดุประจำปีแล้ว พบว่า - ชำรุด - เสื่อมสภาพ หรือสูญไป - หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในส่วนงานต่อไป
ให้ผู้แต่งตั้งเสนอหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายแต่งตั้ง ผู้รับผิดชอบสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่าเป็นจริงตามที่ผู้รับผิดชอบ ในการตรวจสอบพัสดุประจำปีรายงานหรือไม่ เว้นแต่กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจน เป็นการ เสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติ หรือสูญไปตามธรรมชาติให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่าย ตามระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ต่อไปได้ ถ้าผลการตรวจสอบ พบว่าจะต้องหาตัวผู้รับผิดชอบด้วย ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือ ผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของทาง ราชการหรือของหน่วยงานต่อไป
ผู้เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุ - โดยตำแหน่ง - โดยแต่งตั้ง (ข้าราชการ,ลูกจ้างประจำ, ลูกจ้างของมหาวิทยาลัย, พนักงานมหาวิทยาลัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ - โดยแต่งตั้ง(ข้าราชการ) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ - อธิบดี (ส่วนกลาง) - ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) - อื่นๆ ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง - หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ - ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ โดยตำแหน่ง ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ โดยแต่งตั้ง