พุทธบัณฑิตจุฬาฯ สง่างาม CU Smart Buddhist Graduates รหัสวิชา 0201105 CU SMART BUD GRAD จำนวน 3 หน่วยกิต
เป้าประสงค์ของหลักสูตรวิชา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความภาคภูมิใจ และความมั่นใจในความเป็นพุทธบริษัท ให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจทั้งในส่วน หลักธรรมและหลักปฏิบัติ ในภาพรวมอย่างเพียงพอ ตลอดจนสามารถประกอบพิธีกรรมที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องเป็นประจำได้เป็นอย่างดี นิสิตจะมีพื้นฐานในการดำรงตนเป็นพุทธบริษัทที่สง่างาม และสามารถครองตนอย่างมั่นคง และเป็นสุขอยู่ในแนวทางชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม
ประมวลภาพการเรียนการสอน
ประมวลภาพการเรียนการสอน
แนะนำให้เห็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตร ภาควิชาการ หลักธรรมพื้นฐานที่ชาวพุทธพึงรู้ เข้าถึงธรรม เชิงวิทยาศาสตร์ พุทธประวัติวิเคราะห์ และประวัติ พระพุทธศาสนาสังเขป รู้จักคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนา ประมวลแนวคำสอนสำนักใหญ่ ๆ ในพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ธรรมะเพื่อความเป็นบัณฑิตของแผ่นดิน 2. ภาคปฏิบัติ เจริญสมาธิ (สมถภาวนา = เดินจงกรม, กรรมฐาน 40) เจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา = สติปัฏฐาน 4) 3. ภาคพิธีกรรม 4. ภาคอภิปรายธรรม 5 ภาคทัศนศึกษา
ภาควิชาการ : หลักธรรมพื้นฐานที่ชาวพุทธพึงรู้ เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตมีความรู้ในหลักพุทธธรรมในส่วนที่เป็น สาระสำคัญ พร้อมทั้งศัพท์ธรรมะที่ควรรู้อย่างเพียงพอ สามารถสรุปคำสอนทั้งหมดได้อย่างเป็นระบบ เข้าถึงธรรม เชิงวิทยาศาสตร์ เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตได้รู้ถึงความเหมือนและแตกต่างระหว่างคำ สอนในพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ และรู้จักนำเสนอ หลักธรรมตามแนวทางของวิทยาศาสตร์ จะทำให้พุทธ ศาสนาได้รับความสนใจมากขึ้น และเผยแพร่ออกไปได้ กว้างขวางขึ้น
ภาควิชาการ : พุทธประวัติวิเคราะห์ และประวัติพระพุทธศาสนาสังเขป เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตได้ทราบถึงประวัติและจริยาวัตรของพระศาสดา โดยสังเขป เพื่อเป็นแบบอย่างที่เป็นรูปธรรมของการดำรง ชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้า ดียิ่งขึ้น ตลอดจนการเกิดขึ้นของนิกายเถรวาท-มหายาน และในประเทศไทย คือมหานิกาย-ธรรมยุติ
ภาควิชาการ : รู้จักคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนา เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตรู้จักคัมภีร์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา โดยรู้ถึง เนื้อหาสาระและการจัดหมวดหมู่โดยสังเขป เพื่อที่จะ สามารถไปศึกษาค้นคว้าให้เกิดความรู้รอบ-รู้ลึก และเกิด ความแตกฉานในหลักธรรมต่อไป นอกจากนั้นให้รู้ถึงวิธี อ้างอิงจากคัมภีร์ต่าง ๆ
ภาควิชาการ : ประมวลแนวคำสอนสำนักใหญ่ ๆ ในพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตได้ทราบถึงแนวคำสอนต่าง ๆ ในพระพุทธ- ศาสนา ที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน สามารถอธิบาย ได้ว่ามีแนวใหญ่ ๆ อะไรบ้าง ? และมีคำสอนว่าอย่างไร ? โดยจะแบ่งกลุ่มนิสิตให้ไปศึกษาค้นคว้า (จากหนังสือใน ห้องสมุดธรรมสถาน หรือจาก internet และมานำเสนอใน ชั่วโมงเรียน พร้อมทั้งการแสดงความเห็นหรือการวิจารณ์ ของกลุ่ม
ภาควิชาการ : ธรรมะเพื่อความเป็นบัณฑิตของแผ่นดิน เป้าประสงค์ : เพื่อเสริมสร้างให้นิสิตมีความรู้กว้างขวาง ครอบคลุมถึงกฎ ธรรมชาติทั้งหมดตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา (= นิยาม 5) ที่ควบคุมความเป็นไปของสรรพสิ่ง เพื่อรู้ว่าอะไร ที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ อะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ ซึ่ง จะทำให้นิสิตเกิดความตระหนักและเห็นแนวทางปฏิบัติที่ ถูกต้อง ที่จะรักษาชีวิตและโลก ให้ดำรงอยู่เป็นปกติสุขและ ยั่งยืนอย่างเป็นองค์รวม
2. ภาคปฏิบัติ : เจริญสมาธิ (สมถภาวนา = เดินจงกรม, กรรมฐาน 40) เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตรู้เข้าใจถึงสภาวะและความสำคัญ ของสมาธิ ตลอดจนหลักการและวิธีการปฏิบัติ สมาธิในพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการ ปฏิบัติสมาธิพอสมควร
2. ภาคปฏิบัติ : เจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา = สติปัฏฐาน 4) เป้าประสงค์ : เพื่อให้นิสิตรู้จัก เข้าใจถึงความหมาย ลักษณะ หน้าที่ ความสำคัญ ตลอดจนแหล่งกำเนิดของ ปัญญา และวิธีการเจริญปัญญาในพระพุทธ- ศาสนา เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต แก้ปัญหา ต่าง ๆ ของชีวิต และพัฒนาชีวิตไปสู่ชีวิตอุดมคติ ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
3. ภาคพิธีกรรม : เป้าหมาย : เพื่อให้นิสิตรู้จัก เข้าใจถึงคุณค่าและความหมายของ พิธีกรรม ตลอดจนสามารถประกอบพิธีกรรมใน พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันได้อย่าง ถูกต้อง การกราบแบบต่าง ๆ การจัดโต๊ะหมู่บูชา และอาสนะพระ การอาราธนาต่าง ๆ เช่น อาราธนาศีล, ธรรม, พระปริตร พร้อม ความหมายโดยสังเขป คำกล่าวถวายต่าง ๆ เช่น ถวายสังฆทาน, ผ้าป่า, ผ้ากฐิน เป็นต้น การทำวัตรเช้า-วัตรเย็น บทแผ่เมตตา และบทกรวดน้ำ ความหมายต่าง ๆ ของงานพิธีศพ เช่น การรดน้ำศพ, การสวด พระอภิธรรม
4.2 อภิปรายสารพันปัญหาธรรม : 4. ภาคอภิปราย : 4.1 อภิปรายกลุ่ม : : เพื่อให้นิสิตได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้ได้รู้จักกันมากขึ้น เป็นโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์-วิจัยธรรมร่วมกัน ในประเด็นสรุปแนวคำสอนของสำนักใหญ่ ๆ ในประเทศไทย 4.2 อภิปรายสารพันปัญหาธรรม : : เพื่อฝึกหัดนิสิตให้มีไหวพริบปฏิภาณ ในการนำธรรมะมาตอบโต้ หรือใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ
5. ภาคทัศนศึกษา : ณ วัดญาณเวศกวัน (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตฺโต)) เป้าหมาย : เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสเข้าวัด ฟังธรรมและปฏิบัติธรรม ตลอดจนได้ฝึกหัดประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ (การนั่ง การกราบ การอาราธนาศีล อาราธนาธรรม การกล่าว คำถวายสังฆทาน) ในบรรยากาศจริง
การตัดเกรด 80% ขึ้นไป= A ; 75 – 80 = B+ ; 70-75 = B การให้คะแนน - เข้าเรียนครบทุกครั้ง ได้คะแนนความสนใจและการมีส่วนร่วม = 11% บันทึกความรู้ (ในสมุดคู่มือนิสิต ที่แจกให้) = 20% คะแนนจากการบรรยายหน้าชั้น (เกี่ยวกับพุทธศาสนสุภาษิต) = 6% - คะแนนจากการทัศนศึกษา (เข้าร่วม 10% + บันทึกความรู้ 5%) = 15% คะแนนจากการอภิปรายกลุ่ม (อภิปราย 7% + รายงาน 3%) = 10% คะแนนจากการอภิปรายสารพันปัญหาธรรม = 8% (อภิปราย 5% + ตั้งคำถาม 3%) - คะแนนจากการสอบข้อเขียนประจำภาค = 30% รวม = 100% การตัดเกรด 80% ขึ้นไป= A ; 75 – 80 = B+ ; 70-75 = B
ข้อกำหนดในการเรียน ลงชื่อก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง ก่อนจะเริ่มเรียนและหลังเลิกเรียน จะให้นิสิต ผลัดกันนำกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย (อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา....) ประมาณ 15 นาที แรกของชั่วโมงเรียน จะให้นิสิตออกมาพูดอธิบาย ขยายความ “พุทธศาสนสุภาษิต” ต่าง ๆ ที่นิสิตประทับใจ โดยเน้น อธิบายให้รู้ว่ามีความหมายอย่างไร? มีประโยชน์อย่างไร? ซึ่งจะให้เวลา คนละ 3 – 5 นาที บันทึกสรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนแต่ละวิชา ในสมุดคู่มือนิสิตที่แจก ให้รับใบประเมินการสอนก่อนเข้าเรียน และส่งคืนหลังจากเรียนเสร็จ ส่วนการเดินทางไปทัศนศึกษา / อภิปรายกลุ่ม / อภิปรายสารพันปัญหา- ธรรม จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบภายหลัง การเรียนทุกครั้งจะบันทึกเป็น MP3 และจะนำขึ้น website ธรรมสถาน
ตัวอย่าง พุทธศาสนสุภาษิต นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี (15/29) อนฺโธ ยถา โชติมธิฏฺฐเหยฺย ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง (27/2444) อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนี่แล ดีกว่า (25/18) สนาถา วิหรถ มา อนาถา จงอยู่อย่างมีหลักใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง (24/17)
ธรรมสถานจุฬาฯ โทร. 02 - 2183018 http://www.dharma-centre.chula.ac.th หรือ หาจาก พิมพ์คำว่า “ธรรมสถานจุฬาฯ” ใน Google Email : dharma-centre@chula.ac.th ธรรมสถานจุฬาฯ โทร. 02 - 2183018