บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)
การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล แผนภาพการไหลข้อมูลเป็นเครื่องมือของนักวิเคราะห์ระบบที่ช่วยให้สามารถเข้าใจ กระบวนการทำงานของแต่ ละหน่วยงานซึ่งทราบถึงการรับและการส่งข้อมูล การประสานงาน ระหว่างกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินงานซึ่ง เป็นแบบจำลองของระบบที่แสดงถึงการไหลของ ข้อมูลทั้งข้อมูลนำเข้าและข้อมูลนำออกระหว่างระบบกับ แหล่งกำเนิดรวมถึงปลายทางของการ ส่งข้อมูลนอกจากนี้ยังช่วยให้รู้ถึงความต้องการข้อมูลและข้อจำกัด (ปัญหา) ในระบบงานเดิม เพื่อใช้ในการออกแบบการปฏิบัติงานในระบบใหม่
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพการไหลข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการแสดงแผนภาพกระแสข้อมูลมีหลายชนิด แต่ในที่นี้ จะแสดงให้เห็นเพียง 2 ชนิด ได้แก่ ชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดย Gane และ Sarson และชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดย DeMarcoและYourdon โดยมีสัญลักษณ์ดังตาราง
ข้อกำหนดการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล กฎการตั้งชื่อให้กับกระบวนการ ข้อมูลแหล่งเก็บข้อมูลและเอนทิตี ในการตั้งชื่อ ให้กับสัญลักษณ์ต่างๆ ในแผนภาพการไหลข้อมูลนั้นมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. การตั้งชื่อให้กับกระบวนการ (Process) ให้ใช้คำกริยาเท่านั้น 2. ข้อมูล แหล่งเก็บข้อมูล และเอนทิตีให้ใช้คำนามเท่านั้น 3. บนเส้นลูกศรทุกเส้นจะต้องมีข้อมูล (คำนาม) กำกับเสมอ
กฎในการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล 1. กระบวนการจะต้องมีข้อมูลเข้า (input) และข้อมูลออก (output) จะมีข้อมูลเข้า อย่างเดียวไม่ได้ 2.กระบวนการจะต้องมีข้อมูลเข้า (input) และข้อมูลออก (output) จะมีข้อมูลออก อย่างเดียวหรือข้อมูลเข้าอย่างเดียวไม่ได้
กฎในการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล 3. ข้อความที่อยู่ในกระบวนการ (Process) จะต้องเป็นคำกริยา (Verb) หรือคำนามที่ แสดงถึงกริยาเท่านั้น เช่น พิมพ์ใบเสร็จหรือการพิมพ์ใบเสร็จ 4. ไม่สามารถส่งข้อมูลโดยตรงจากแหล่งเก็บข้อมูล (Data store) อันหนึ่งไปยังแหล่ง เก็บ ข้อมูลอีกอันหนึ่งได้การส่งข้อมูลต้องผ่านกระบวนการก่อนเสมอจึงจะส่งไปยังแหล่งเก็บข้อ มูล อื่นๆ ได
กฎในการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล 5. ข้อมูลจะต้องมีทิศทางการไหลของข้อมูลเพียงทิศทางเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการ ทำงานใดๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันได้(และเพื่อป้องกันความสับสนของผู้อ่าน) 6. ข้อมูลไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่กระบวนการเดิมได้โดยตรงจะต้องมีกระบวนการ อย่าง น้อยหนึ่งอย่างมาจัดการกับข้อมูลดังกล่าวก่อนแล้วจึงคืนค่ากระแสข้อมูลเดิมกลับมายัง กระบวนการเริ่มต้น
7. ข้อความที่อยู่บนเส้นลูกศร(DataFlow)จะต้องเป็นคำนามเท่านั้น ห้ามเป็นคำกริยา 8. ไม่สามารถส่งข้อมูลโดยตรงจากเอ็นทิตีระบบอื่นไปยังอีกเอ็นทิตีหนึ่งได้โดยตรง ข้อมูลต้อง ผ่านกระบวนการภายในระบบก่อนจึงส่งไปยังสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบปลายทางได้
วิธีการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลจะเขียนเป็นระดับ (Level) โดยเริ่ม จากระดับที่มีราย ละเอียดน้อยไปสู่ระดับที่มีรายละเอียดมาก ดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1: คอนเท็กซ์ไดอะแกรม (Context Diagram) ขั้นที่ 2: ระดับ 0 (Level 0) ขั้นที่ 3: ระดับที่ต่ำกว่า (Lower-level Diagrams) หากในขั้นที่สูงกว่ามี รายละเอียดที่ ต้องการแสดงให้ผู้อ่านได้ทราบ
การเขียน Context Diagram คอนเท็กซ์ไดอะแกรมเป็นขั้นที่แสดงภาพรวมของระบบเพื่อแสดงถึงขอบเขตของระบบ งานและมี ลักษณะที่สำคัญคือ 1. มีกระบวนการเพียงแค่1 กระบวนการเท่านั้นและกระบวนการนั้นจะมีหมายเลข กระบวนการคือ หมายเลข 0 เสมอ 2. ชื่อของกระบวนการมักจะใช้ชื่อระบบ เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้า 3. มีเส้นลูกศร(Data flow)เชื่อมต่อจากกระบวนการไปยังเอ็นทิตีต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้อง กับระบบ พร้อมทั้งระบุข้อมูลที่เข้าสู่กระบวนการและออกไปสู่เอ็นทิตี 4. ในขั้นตอนนี้จะไม่มีการแสดงแหล่งเก็บข้อมูลใดๆ 5. การเขียน Context Diagram จะเขียนให้อยู่ภายใน 1 หน้า 6. ห้ามใช้ชื่อกระบวนการซ้ำกับระดับอื่นๆ 7. อย่าเขียนเส้นข้ามหรือทับกัน
การเขียนContext Diagram
การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับ0(Level0) การเขียนระดับ 0 นั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องระบุรายละเอียดเพิ่มขึ้นจาก Context diagram จะต้องแสดงถึงกระบวนการย่อยในระบบซึ่งเป็นกระบวนการหลักๆ ในระบบและ ระบุ แหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ ในระดับนี้การเขียนระดับ 0 มีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. แสดงให้เห็นถึงเอ็นทีตีต่างๆ กระบวนการหลักของระบบงาน 2. ในระดับ 0 นี้จะต้องคงเอ็นทิตี้ทั้งหมดใน Context Diagram เหมือนเดิม 3. สามารถเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลเข้ามาได้ 4. หมายเลขกระบวนการจะใช้เป็นเลขจำนวนเต็มเช่น 1 2 3 ... เพื่อบอกว่าเป็นกระ บวนการในระดับ 0 5. ห้ามใช้ชื่อกระบวนการซ้ำซ้อนกับระดับอื่นๆ 6. พยายามหลีกเลี่ยงการเขียนเส้นที่ซ้อนทับกันทำให้ อ่านยาก
การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับ0(Level0)
การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับต่ำลงไป ในกรณีที่ระดับ 0 ไม่สามารถแสดงรายละเอียดทั้งหมดได้อาจจะเนื่องจากจะทำให้ แผนภาพดูยุ่งเหยิงและอ่านได้ยาก ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะใช้วิธีการแสดงรายละเอียด ของ แต่ละกระบวนการในระดับต่ำลงไป (Lower-level Diagrams) โดยหลักการ เขียนแผนภาพ การไหลข้อมูลในระดับนี้มีดังต่อไปนี้ 1. ไม่ใช้ชื่อกระบวนการซ้ำกับระดับอื่นๆ 2. ถ้ามีกระบวนการใดที่สามารถเขียนรายละเอียดเพิ่มได้อีก ให้ขยายต่อเป็นระดับต่ำ ลงไป จนไม่สามารถแตกออกมาเป็นกระบวนการย่อยๆ ได้อีก 3. หมายเลขกระบวนการให้ใช้จุดทศนิยมเท่ากับระดับ เช่น - ระดับที่ 1 ใช้หมายเลข กระบวนการเป็น 1.1 1.2 2.1 2.2 - ระดับที่ 2 ใช้หมายเลขกระบวนการเป็น 1.1.1 1.1.2 2.1.1 2.1.2
การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับต่ำลงไป
ความสมดุล(Balancing) ระดับ(Leveling) ระดับเป็นการอธิบายกระบวนการทำงานของระบบที่สามารถอธิบายรายละเอียดของ ขั้นตอน การทำงานได้มากขึ้นบางครั้งเรียกว่าเป็นการแตกรายละเอียด (exploding) หรือแบ่ง ส่วน ของการอธิบาย (partitioning) โดยถ้ามีระดับต่ำก็เป็นรายละเอียดที่แสดงถึงขั้นตอนการ ทำงานมากยิ่งขึ้น ข้อควรระวังในระดับที่ต่ำกว่าจะต้องประกอบด้วยกระบวนการอย่างน้อย 2 กระบวนการขึ้นไป ความสมดุล(Balancing) ความสมดุลเป็นคุณลักษณะที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องระหว่างระดับต่างๆ ของ แผนภาพการไหลข้อมูลทั้งหมดโดยใช้การตรวจสอบจากแผนภาพในระดับบนจะต้องมีข้อมูล นำเข้าและนำออกเหมือนกับข้อมูลนำเข้าในระดับล่าง
THE END