อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดน สุวรรณภูมิ อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรก.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กรุงสุโขทัย ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักร ปัจจัยภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางการเมือง

อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. 1792 - 1981 เมื่ออาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น อิทธิพลของขอมแผ่ขยายครอบคลุมดินแดน สุวรรณภูมิ อารยธรรมหรือวัฒนธรรมของขอมจึงแทรก ซึมไปในหมู่ประชากรของบริเวณนี้อย่างทั่วถึงและผสมต ลุกเคล้าเป็นวัฒนธรรมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ครั้น อาณาจักรขอมเสื่อมลงในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กลุ่มคนไทยหรืออาณาจักรต่างๆ ของคนไทยที่เคยตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลของขอมจึงต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระ

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราช ธานี  มีดังนี้ 1.  ปัจจัยภายใน  ได้แก่  การมีขวัญและกำลังใจดีของ ประชาชนเนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความ สามารถ  การมีนิสัยรักอิสระ  ไม่ชอบให้ผู้ใดมากดขี่ข่ม เหง  บังคับและบ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ 2.  ปัจจัยภายนอก  ได้แก่  การเสื่อมอำนาจของ ขอม  หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ ลง  กษัตริย์องค์ต่อมาไม่สามารถรักษาอำนาจของตนใน ดินแดนที่ยึดครองมาได้  ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากันตั้งตน เป็นอิสระ

ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังนี้ ทิศเหนือ ครอบคลุมเมืองแพร่  น่าน  พลัว  จนถึงเมืองหลวง พระบาง ทิศใต้ ครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระ บาง (นครสวรรค์)  แพรก (ชัยนาท)  สุพรรณบุรี  ราชบุรี  เพชรบุรี  นครศรีธรรมราช จนถึงแหลมมลายู ทิศตะวันออก      ครอบคลุมเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก)  ลุมบาจาย (หล่มเก่า)  สระคา  และข้ามฝั่งแม่น้ำ โขงไปถึงเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ

ทิศตะวันตก    ครอบคลุมเมืองฉอด  หงสาวดี  จนถึง ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวเบงกอล

กรุงสุโขทัย  มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์  ดังนี้   1.  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 2.  พ่อขุนบานเมือง 3.  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 4.  พญาเลอไทย 5.  พญางั่วนำถม 6.   สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) 7.  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 2 8.  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสลือไทย) 9.  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)

ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย ได้แก่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย ได้แก่ 1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การเลือกที่ตั้งเมืองหลวงในอดีต ส่วนใหญ่มักใกล้แม่น้ำ แต่เมืองสุโขทัยไม่ได้ตั้งอยู่ริมน้ำ เพราะแม่น้ำยมอยู่ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยไปประมาณ 13 กิโลเมตร การเลือกตั้งเมืองหลวงที่สุโขทัยคงเป็นเพราะ สุโขทัยเป็นเมืองสำคัญมาแต่เดิม 2. ปัจจัยทางการเมืองและประวัติศาสตร์ ก่อนการสถาปนา อาณาจักรสุโขทัยนั้น ในเขตสุโขทัยและศรีสัชนาลัยมี ชุมชนที่มีผู้นำไทยอยู่ก่อนแล้ว เช่น พ่อขุนศรีนาว นำถุม เจ้าเมืองเชลียง พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด โอรส ของพ่อขุนศรีนาวนำถุม และพ่อขุนบางกลางหาว

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบ ราชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาด ใน ตอนต้นของการตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครอง แบบบิดาปกครองบุตร แต่ตอนปลายสมัยเป็นการ ปกครองแบบธรรมราชา และมีการสร้างความสัมพันธ์ กับอาณาจักรอื่น เพื่อพัฒนา อาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นเจริญ รุ่งเรือง

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง จำนวนพลเมืองยังไม่มาก และอยู่ในระหว่างก่อร่างสร้าง ตัว การปกครองในระยะเริ่มแรกจึงมีลักษณะเป็นระบบ ครอบครัว ผู้นำของอาณาจักรมีฐานะเป็นพ่อขุน มี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ผู้ปกครอง เปรียบเสมือนบิดาของประชาชนทั้งปวง ต่อมาภายหลัง รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสถานการณ์บ้านเมือง เปลี่ยนแปลงไป จึงเริ่มใช้วิธีการปกครองที่เป็นแบบแผน มากขึ้น ความสัมพันธ์ของผู้นำอาณาจักรกับประชาชน แตกกต่างไปจากเดิม มีความพยายามเพิ่มพูนพระราช อำนาจพระมหากษัตริย์ให้สูงขึ้น

ลักษณะการปกครอง ลักษณะการาปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งได้ 2 ระยะ คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มจากรัชสมัยพ่อ ขุนศรึอินทราทิตย์ไปถึงสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช กับการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย นับจากรัชสมัยพระยาเลอไทไป จนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยหมด อำนาจลง

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น พ. ศ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น พ.ศ. 1792 – 1841 เมื่อขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัยอยู่นั้น การปกครอง มีลักษณะคล้ายนายปกครองบ่าว ซึ่งขัดกับลักษณะนิสัย ของคนไทยที่รักความเป็นอิสรเสรี เมื่อขับไล่ขอมไปได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดระบลบการปกครองเสียใหม่ เป็นการปกครองเสมือนหนึ่งประชาชนทุกคนเป็นคนใน ครอบครัวเดียวกัน โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้า ครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ปกครองประชาชนใน ลักษณะบิดาปกครองบุตรหรือที่มีผู้เรียกว่า เป็นการ ปกครองในระบบ ปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1.  รูปแบบการปกครองเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตย คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย 2.  พระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์กับราษฎรเสมือน บิดากับบุตร มิได้มีฐานะแตกต่างจากราษฎรมากนัก กล่าวคือ พระมหากษัตริย์เปรียบได้กับหัวหน้าครอบครัว

3.  ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็น ชั้นๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนบิดาของ ราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง ให้ครัวเรือน หลายครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน 4.  พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชน ปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ดังจะ เห็นได้จากข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย พ.ศ. 1841 – 1981 หลังจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต ใน พ.ศ. 1841 แล้ว อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสาย พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระยาเลอไท และพระเจ้า งั่วนำถม ไม่อาจรักษาความมั่นคงของ อาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกรุงสุดขทัย สภาพการเมือง ภายในเกิดปํญหาการสืบราชสมบัติ รูปแบบการปกครองแบบบิดากับ บุตรหรือแบบปิตุราชาธิปไตย

เริ่มเสื่อมคลายลงเนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ มั่นคงเพียงพอ ความระส่ำระสายในอาณาจักรสุโขทัย มี ขึ้นตลอดระยะเวลาประมาณ 50 ปี หลังจากพ่อขุน รามคำแหงมหาราชสวรรคตถึงขนาดทำให้การขึ้น ครองราชย์ของพระเจ้าลิไทยย ต้องใช้กำลังปราบปราม

การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่างๆ เมืองต่างๆ ในอาณาจักรสุโขทัย แบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจปกครองดังนี้ 1. เมืองหลวง หรือราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีกรุง สุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวน มากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลาง ทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและ ขนบประเพณีทั้งปวง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครอง

2.  เมืองลูกหลวง เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่าน เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า หัวเมืองชั้นใน ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน เมืองลูกหลวง 3. เมืองพระยามหานคร เมืองพระยามหานครเป็นหัว เมืองชั้นนอก ห่างจากราชธานีออกไป มากกว่าเมือง ลูกหลวง พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งผู้เหมาะสม และมีความสามารถไป ปกครองดูแลเมืองเหล่านี้

ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองลักษณะ เดียวกับเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยพ่อขุน รามคำแหงมีหลายเมือง 4. เมืองประเทศราช เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองทีอยู่ นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พระมหากษัตริย์ สุโขทัยทรงดำเนินนโยบายปกครอง ให้ชาวพื้นเมืองเป็น กษัตริย์หรือเป็นเจ้าเมืองปกครองกันแอง โดยไม่เข้าไปยุ่ง เกียวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้นยาม ปกติเมืองประเทศราชต้องส่ง

เครื่องราชบรรณาการ (ส่วย) มาถวายต่อพระมหากษัตริย์ สุโขทัยทุกปียามสงครามจะต้องส่งกองทัพและเสบียง อาหารไปช่วยยามสงครามจะต้องส่งกองทัพและเสบียง อาหารไปช่วย สมัยพ่อขุนรามคำแหง มีเมืองประทเศราช หลายเมือง หากวิเคราะห์วิธีแบ่งเขตการปกครองในสมัยพ่อขุน รามคำแหง โดยจัดให้มีเมืองลูกหลวงวงล้อมกรุง สุโขทัยวอันเป็นเมืองราชธานี จะมีลักษณะเป็นเสมือน กำแพงชั้นที่ 1 ส่วนเมืองพระยามหานครเป็นเสมือน กำแพงชั้นที่ 2 และเมืองประเทศราชเป็นเสมือนกำแพง ชั้นที่ 3

คำถาม 1.กรุงสุโขทัยมีกษัตริย์ทั้งหมดกี่พระองค์ ตอบ 9 พระองค์ 2.การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองในลักษณะใด ตอบ ราชาธิปไตย 3.ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยคืออะไร ตอบ 1)ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ 2)ปัจจัยการเมืองและ ประวัติศาสตร์

จัดทำโดย นายณัฐภัทร นำศรีนิรันดร์ ม จัดทำโดย นายณัฐภัทร นำศรีนิรันดร์ ม.4/3 เลขที่ 12 นายปรัชญา กิจสุวรรณวงศ์ ม.4/3 เลขที่ 20