จุดประสงค์รายวิชา
เกณฑ์การให้คะแนน 80 ขึ้นไป เกรด 4 75 - 79 เกรด 3.5 70 - 74 เกรด 3 65 - 69 เกรด 2.5 60 - 64 เกรด 2 55 - 59 เกรด 1.5 50 - 54 เกรด 1 0 - 49 เกรด 0 ขาดเรียนเกิน 4 ครั้ง เกรด ขร ขาดส่งงาน เกรด มส ทุจริตในการสอบ เกรด ท
มาตรฐาน นิยาม และ สัญลักษณ์ ทาง ไฟฟ้า
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า 1 การออกแบบ ก.ความปลอดภัย ข.ความเชื่อถือได้ ค.ความง่าย ง.ค่าใช้จ่าย 2 การเลือกใช้อุปกรณ์ 3 การติดตั้ง 4 การบำรุงรักษา
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย การติดตั้งทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทยนั้น ในอดีตการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ต่างมีมาตรฐานเป็นของตนเอง ข้อกำหนดส่วนมากจะเหมือนกัน แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างกันทํา ให้ผู้ออกแบบไฟฟ้าและผู้ติดตั้งระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความสับสน ด้วยเหตุนี้สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ด้วยความร่วมมือจากการไฟฟ้าทั้งสองแห่งดังกล่าวได้จัดทํา มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทยขึ้นเพื่อให้ทั้งประเทศมีมาตรฐานเรื่องการติดตั้งทางไฟฟ้าเพียงฉบับเดียว เนื้อหาส่วนมากจะแปลและเรียบเรียงจาก มาตรฐาน NEC และก็มีความพยายามที่จะนํามาตรฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกบอุปกรณ์ไฟฟ้า เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่จะใช้จะต้องได้มาตรฐาน IEC เป็นต้น
มาตรฐานที่นิยมอ้างอิง
นิยามและความหมาย (ตัวอย่าง) กระแสเกิน หมายถึง กระแสที่เกินค่าพิกัดกระแสบริภัณฑ์หรือขนาดของตัวนำ กันน้ำ หมายถึงการสร้างหรือมีการป้องกันความชื้นเข้า ขนาดกระแส หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดหรือสายไฟที่สามารถรับได้อย่างต่อเนื่อง ขนาดกระแสพิกัด หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถรับได้ เครื่องตัดไฟรั่ว หมายถึง เครื่องตัดวงจรเมื่อกระแสรั่วลงดิน เครื่องป้องกันกระแสเกิน หมายถึง อุปกรณ์ที่จะตัดหรือโหลดออกจากระบบไฟฟ้า เมื่อมีกระแสเกิน ช่องเดินสาย หมายถึง ท่อหือที่ใช้ห้อหุ้มสายหรือตัวนำไฟฟ้า
เซอร์กิตเบรกเกอร์ หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินที่สามารถปลด หรือสับวงจรได้ ตัวนำประธาน หมายถึง ตัวนำที่ต่อระหว่างตัววัดหน่วยไฟฟ้ากับบริภัณฑ์ ประธาน บริภัณฑ์ประธานหรือเมนสวิตช์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับปลดวงจรที่อยู่ ระหว่าตัวนำประธานกับสายภายในอาคาร แผงย่อย หมายถึง แผงเดี่ยวหรือกลุ่มของแผงเดี่ยวที่ได้ออกแบบให้ ประกอบรวมกันเป็นแผงเดียวกัน
ระบบไฟฟ้าแรงสูง หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน 1,000 โวลท์ ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์ หน่วย (Unit)หมายถึง หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ ต่อชั่วโมง มีอุปกรณ์ที่ใช้วัด คือ กิโลวัตต์ฮอร์มิเตอร์ (Kwh. )
ตัวอย่างสัญลักษณ์ในงานไฟฟ้า
รูปแบบของงานทางด้านไฟฟ้า