โครงการพัฒนาประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนปฐมวัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โครงการพัฒนาประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนปฐมวัย 13-15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมไดอิชิหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ดร.ชัชวีร์ แก้วมณี อ.ฉัตรชยา รอดระหงษ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย : การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อาจารย์ ดร. ชัชวีร์ แก้วมณี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ ละคน ให้เต็มตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็ก อาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

หลักการ ๑ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน ๒ ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็ก เป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และ วัฒนธรรมไทย

หลักการ ๓ ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่น อย่างมีความหมาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนเพียงพอ ๔ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถ ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มี วินัยและมีความสุข ๕ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการ พัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒ มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การ เคลื่อนไหว มีคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒

มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒ ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการ แสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์๑๒

สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวบุคคล และสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ได้รับ การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตได้ องค์ประกอบที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ ได้แก่ วุฒิภาวะ และความพร้อม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ร่างกายและความสามารถที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ธรรมชาติของการเรียนรู้ 1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1.1 มีสิ่งเร้า มาเร้าผู้เรียน 1.2 ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า 1.3 ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้ 1.4 ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปล ความหมาย 1.5 ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิด ถ้าตรงกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการ ก็เรียกว่า เกิดการเรียนรู้แล้ว แต่ถ้าไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการก็ต้องแก้ไข ใหม่

ธรรมชาติของการเรียนรู้ ตัวอย่าง การเรียนรู้ของเด็กที่แสดงถึงกระบวนการ 5 ขั้นตอน สิ่งเร้า ได้แก่ กาน้ำร้อน เป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจ เด็กรับรู้ว่ามีกาน้ำร้อน เด็กแปลความหมายของสิ่งเร้า (กาน้ำร้อน) ว่า น่าสนใจอาจเป็นของเล่น อย่างหนึ่ง เด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า (กาน้ำร้อน) ด้วยการเอื้อมมือไปจับ เด็กสังเกตผลที่เกิด ปรากฏว่าไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย นั่นคือ เด็กร้อนมือ กาน้ำร้อน นั้นร้อนไม่ใช่ของเล่น ต้องมีการแก้ไข คือต่อไปจะไม่จับ กาน้ำร้อนอีก

ธรรมชาติของการเรียนรู้ 1. การเรียนรู้ เป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงพฤติกรรม เมื่อได้รับ ประสบการณ์ แต่ถ้าหลังจากได้รับประสบการณ์แล้วยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ถือว่ายังไม่เกิดการเรียนรู้ 2. การเรียนรู้มิใช่วุฒิภาวะ เพราะวุฒิภาวะเป็นการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ไม่ได้ เกิดจากประสบการณ์ แต่การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจาก การมีประสบการณ์ 3. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าสิ่งนั้นมีความหมายต่อผู้เรียนและเป็นสิ่งที่ผู้เรียน สนใจ 4. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้เกิดความแตกต่างในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละ คน ในเรื่องเดียวกันแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันและอาจต้องใช้วิธีต่างกัน ผล การเรียนรู้ก็อาจมากน้อยแตกต่างกัน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ 1. วุฒิภาวะ 2. วัย 3. เพศ 4. ศักยภาพ 5. ประสบการณ์เดิม หรือความรู้เดิม 6. การจูงใจ 7. สภาพทางอวัยวะรับความรู้สึก และประสาทสัมผัส การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตมนุษย์และทุกคนจะต้องเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย การเรียนรู้ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ 1. เป้าหมาย เด็กอาจมีหลายๆเป้าหมายอยู่รวมกัน เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ที่ดี จึงควรแยกแยะให้เห็นเด่นชัด รวมถึงควร แบ่งออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อเด็กจะได้มี โอกาสประสบความสำเร็จในแต่ละช่วงตอน ตลอดจน ได้รับการเสริมแรงเมื่อประสบความสำเร็จ ช่วยให้เกิดการ เรียนรู้ดีขึ้น การตั้งเป้าหมายควรพิจารณา ดังนี้

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ข้อควรพิจารณาเป้าหมาย 1.1 เป้าหมายอาจจะยากเกินไป 1.2 เป้าหมายอาจจะง่ายเกินไป 1.3 เด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเองและขาดความมั่นคง มักจะเลือกเอา เป้าหมายที่สูงเกินไปเพื่อที่ตนเองจะมีความรู้สึกว่าประสบความสำเร็จอย่าง สูงเมื่อทำได้ 1.4 เด็กบางคนอาจจะตั้งเป้าหมายต่ำเกินไป เป็นการปกป้องตนเองจากความ ล้มเหลว 1.5 ผู้ที่มีอิทธิพลต่อเด็ก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ช่วยได้ด้วยการให้คำปรึกษา และแนะนำในกรณีที่เด็กมีปัญหาหรือกรณีที่ตั้งเป้าหมายสูงหรือต่ำกว่า ระดับความสามารถของตนเอง ความวิตกกังวล

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ 2. วุฒิภาวะและความพร้อม 3. การสำรวจ 4. การเสริมแรงและการหยุดยั้ง 5. ความจำ 6. การฝึกฝน 7. การลงโทษและให้รางวัล 8. การเรียนโดยไม่ตั้งใจกับการเรียนโดยตั้งใจ

ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 1. เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 1.1 การเสริมแรงทางบวก 1.2 การลงโทษ 2. เรียนรู้จากการบอกเล่า 3. เรียนรู้จากการสังเกต

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เรียนรู้โดยผ่านความต้องการของเด็กเอง เรียนรู้โดยผ่านความสนใจที่มีต่อสิ่งต่างๆ เรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติและการเล่น เรียนรู้โดยผ่านสิ่งที่ตนเองได้รับ เรียนรู้โดยผ่านความพร้อมที่จะเรียน

ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ความสามารถในการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ซึ่งเริ่มพัฒนามา ตั้งแต่แรกเกิด เป็นผลเนื่องมาจากพัฒนาการทางระบบ ประสาท และประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสภาพแวดล้อม

ลีลาการเรียนรู้ Learning Style

ปัญหาการเรียนของนักเรียน - ไม่เอาใจใส่ในบทเรียน - ขาดทักษะในการอ่าน การเขียน การสะกดคำศัพท์ - แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ช้า - ทำงานที่ครูมอบหมายให้ได้ไม่สมบูรณ์ - จดจำสิ่งที่เรียนไปแล้วไม่ได้ - ไม่สามารถทำความเข้าใจกับบทเรียน - ทำงานด้วยความเหนื่อยยากกว่าจะประสบความสำเร็จ

การช่วยเหลือเด็กๆ , นักเรียน ให้สามารถ เรียนรู้สิ่งต่างๆได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ( Lifelong learning)

1.เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ อาจมาจากสาเหตุต่างๆกัน 1.เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ อาจมาจากสาเหตุต่างๆกัน - ครูสอนไม่ดี หรือไม่มียุทธศาสตร์ในการสอน - เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ - สาเหตุจากพันธุกรรม แต่ 40-70% ของความสามารถทางสมองเกิดจากการเรียนรู้ ไม่ใช่พันธุกรรม - ขาดทักษะในการเรียนรู้

2.ทักษะที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการที่เกิดขึ้นขณะที่เด็กเรียนรู้ ปัญหาการเรียนรู้จะเกิดที่ขั้นประมวลผล 85-90 % Active Processing system Processing Speed Working Memory Attention input output

ผลกระทบที่เกิดขึ้นถ้าผู้เรียนไม่ได้รับการพัฒนา ความใส่ใจ Attention ผู้เรียนที่ไม่ใส่ใจขณะเรียน ส่งผลให้สมอง ไม่สามารถเก็บความจำไว้นานพอที่จะเรียกความจำกลับคืน มาได้ และกระทบถึงสมองส่วนอื่นด้วย ความจำช่วงระยะทำงาน Working memory ผู้เรียนที่ไม่ สามารถเก็บความจำไว้นานพอที่จะเรียกกลับคืนมาใช้ได้ จะเรียนรู้ด้วยความทุกข์ เครียด ไม่สบายใจ ความเร็วในการประมวลผล Processing speed ถ้าการ ประมวลผลเกิดขึ้นช้า ข้อมูลในสมองอาจสูญหายจนไม่ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ผู้เรียนต้องเริ่มต้นรับข้อมูลใหม่ ทั้งหมด

3. ค้นหาทักษะที่เป็นจุดอ่อน ตัวอย่าง เด็กที่บกพร่องในด้านการวิเคราะห์ / การแยกแยะเสียง / แบ่งวรรคตอนไม่ถูกต้อง อ่านออกเสียงคำศัพท์ไม่ถูกต้อง (มีปัญหาเรื่องการฟัง) เด็กต้องได้รับการปรับปรุงในเรื่องการฟัง

4.ค้นหาวิธีการปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ ทักษะเกิดจากการฝึกฝน ดังนั้น ต้องค้นหาวิธีพัฒนาทักษะ ต้องการให้ตีกอล์ฟเก่ง ต้องฝึกตีกอล์ฟในสนาม เล่นเปียโนได้อย่างชำนาญ ต้องฝึกเล่นทุกวัน อยากให้เด็กคิดเป็น ต้องฝึกให้เด็กรู้จักจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ อย่าสอนให้จำ

ลีลาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน - บางคนเรียนรู้ได้ดีทางสายตา - บางคนเรียนรู้ได้ดีทางโสตประสาท - บางคนเรียนรู้ได้ดีทางการรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว ครูต้องค้นหารูปแบบการเรียนรู้ของเด็กให้พบ ใช้วิธีสอนให้สอดคล้องกับลีลาการเรียนรู้ที่เด็กชอบมากที่สุด เพื่อให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลีลาการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ลีลาการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual learner) เป็นพวกเรียนรู้ได้ดีถ้าเรียนจากรูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง 2. ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory learner) เป็นพวกเรียนรู้ได้ดีถ้าได้ฟังหรือได้พูด มีทักษะในการได้ยิน-ฟัง 3. ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก ( Kinesthetic learner ) เป็นพวกเรียนรู้ได้ดีถ้าได้แสดงออกหรือให้ปฏิบัติจริง

ทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้าน 1 จำเพื่อใช้งาน 2 ยั้งคิดไตร่ตรอง ทักษะพื้นฐาน พฤติกรรม 1 จำเพื่อใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ดึงข้อมูล ออกมาใช้ตามสถานการณ์ 2 ยั้งคิดไตร่ตรอง ความสามารถในการควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในเวลาที่ต้องการ 3 ยืดหยุ่นความคิด ความสามารถในการเปลี่ยนจุดสนใจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้าน 4 จดจ่อใส่ใจ 5 ควบคุมอารมณ์ ทักษะกำกับตนเอง พฤติกรรม 4 จดจ่อใส่ใจ ความสามารถในการมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ 5 ควบคุมอารมณ์ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น 6 ติดตามประเมินตนเอง การตรวจสอบตนเอง รู้จัดจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดดีจุดบกพร่อง ประเมินการบรรลุเป้าหมาย ติดตามปฏิกิริยาของตนเอง และดูผลจากพฤติกรรมของตนเองที่ไปกระทบผู้อื่น

ทักษะสมอง EF ทั้ง 9 ด้าน ทักษะปฏิบัติ พฤติกรรม 7 ริเริ่ม-ลงมือทำ ความสามารถในการลงมือทำงานด้วยตนเอง 8 วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ ความสามารถในการวางแผน จัดการ บริหาร ดำเนินการ 9 มุ่งเป้าหมาย ความพากเพียร มานะ มุ่งมั่นทำงาน จนบรรลุเป้าหมาย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ชัชวีร์ แก้วมณี อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กิจกรรมทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคย เพลงแนะนำตัว สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ (....ชื่อ.....) ไม่มีปัญหา หู (ใช้มือทั้งสองจับหู) จมูก (ใช้นิ้วชี้ทั้งสองแตะที่จมูก) ตา (ใช้นิ้วชี้ทั้งสองแตะที่ตา) หู จมูก ตา หู จมูก ตา หู หู จมูก ตา หู จมูก ตา หู จมูก ตา หู ทำซ้ำเที่ยวที่สอง (ตา ให้แตะสลับข้างไขว้กัน) กิจกรรมทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคย

กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การจำแนกกิจกรรม กิจวัตรประจำวัน กิจกรรมหลักสูตร 6 กิจกรรม ตามลักษณะ ตามสถานที่ จำนวนผู้เรียน วิธีการ ในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน เดี่ยว กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ เน้นจุดประสงค์ แบบบูรณาการ

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี เด็กทุกคนมีส่วนร่วม ส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวม สนองตอบความต้องการของเด็ก พัฒนาการเรียนรู้ และความงอกงามทางปัญญา พัฒนากระบวนการคิด ตรงกับความสนใจของเด็กตามวัย มีความหลากหลาย ผ่อนคลาย และสนุกสนาน เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเอง และเป็นประสบการณ์ตรง ( กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2551: 61-65 )

หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ความสะดวกของกิจกรรม ครูทำได้ เด็กทำได้ 2. สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก 3. เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรม 4. มีระยะเวลาที่เหมาะสม 5. ความยากง่ายของกิจกรรม 6. ตอบสนองความต้องการของเด็ก

ขั้นตอนการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ หลักสูตร ประสบการณ์สำคัญ สาระของหลักสูตร หน่วยการเรียน หัวข้อเรื่อง เรื่อง มโนทัศน์/ สาระสำคัญ/ ความคิดรวบยอด ผลการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือของครูผู้สอนที่วางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมจัดกิจกรรม สื่อ การวัดและประเมินผล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้

ประโยชน์ของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนได้เตรียมตัวที่จะดำเนินการสอน  รู้เป้าหมายของการสอน  เตรียมกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลา ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน  สามารถเตรียมอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำ การสอนจริง  ผู้อื่นมาสอนแทนได้ ในเวลาจำเป็น  เป็นหลักฐานสำหรับพัฒนาผลงานและคุณภาพในการสอน

ส่วนประกอบของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  หัวเรื่อง (heading)  สาระสำคัญ  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning Outcome) หรือ จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)  สาระการเรียนรู้/เนื้อหา (Content)  กิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน (Activities)  สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ (Instructional Media and Recourses) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)

การเขียนหัวเรื่อง เป็นการเขียนส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนที่บอกรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้จะประกอบด้วย * กลุ่มสาระการเรียนรู้ * ชั้นเรียน * ลำดับของหน่วย * ชื่อเรื่อง * ลำดับที่ของแผนฯ * เวลาที่ใช้ * วัน เดือน ปี และช่วงเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้

การเขียนสาระสำคัญ  เป็นข้อความสรุปมาจากลักษณะเด่นของสาระการเรียนรู้ เป็นแก่นแท้ของเนื้อหาสาระ ทางด้านเนื้อหา ความรู้ ทักษะ กระบวนการ เจตคติ ข้อความที่เรียบเรียงมาจากลักษณะเด่น มีภาษาง่าย สั้น กะทัดรัด มีความหมายชัดเจน

หลักการเขียนสาระสำคัญ  ศึกษาเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียน  ตั้งคำถามในใจว่า ภาพรวมมีลักษณะเด่นอะไร  คำนึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกัน  ใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น ๆ กะทัดรัด ชัดเจน เช่น การเสียสละเป็นลักษณะของคนดี การเมตตาทำให้ สังคมสงบสุข

จุดประสงค์การเรียนรู้  เป็นข้อความที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ต้องการให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา จึงจะแสดงได้ว่าการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนั้นจึงควรเขียนเป็นจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรม จะเขียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผน

หลักการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือจุดประสงค์นำทาง  เขียนให้สัมพันธ์สาระสำคัญ  แตกเป็นจุดประสงค์ย่อย พฤติกรรมย่อย  ระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนได้ชัดเจน สามารถวัดได้ สังเกตได้  เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะ เจตคติ  ใช้ภาษากะทัดรัด เข้าใจง่าย

ตัวอย่างจุดประสงค์การเรียนรู้ ยกตัวอย่างเรื่องความกตัญญูได้ อธิบายผลของความสามัคคีได้ เปรียบเทียบผลดี ผลเสียของ ความซื่อสัตย์และความไม่ซื่อสัตย์ได้

เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้สอนเห็นภาพการสอนโดยรวม สาระการเรียนรู้ หรือเนื้อหา เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้สอนเห็นภาพการสอนโดยรวม

แนวทางการเขียนสาระการเรียนรู้  สอดคล้องกับจุดประสงค์และสาระสำคัญ  เหมาะกับระยะเวลา วัย ความสามารถของผู้เรียน  เขียนแบบย่อ ๆ หากต้องการรายละเอียดให้เขียน เป็นใบความรู้ ปัจจุบันนิยมเขียนเป็นแบบใยแมงมุม (Web)  หากเขียนเป็นใบความรู้ ควรแยกเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง เรียงตามลำดับ

กิจกรรมการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนรู้/ กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นงานที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดประสงค์

ข้อสังเกตของการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้หลักดังนี้ 1. สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ 2. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (ผู้เรียนปฏิบัติมากที่สุด) 3. เขียนเป็นข้อตามลำดับการจัดการเรียนรู้ 4. กิจกรรมมีหลายลักษณะ อย่าจัดซ้ำ ๆ นักเรียนจะเบื่อ 5. ระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ ครูหรือนักเรียนมีบทบาท 6. ไม่ควรระบุคำพูดของผู้สอนหรือนักเรียน 7. กิจกรรมเหมาะกับเวลา 8. เป็นกิจกรรมปฏิบัติได้

การเขียนสื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้  สื่อการเรียนรู้ เป็นวัสดุอุปกรณ์ หรือเทคนิควิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แหล่งการเรียนรู้ เป็นสถานที่ สถานประกอบการหรือแหล่งอื่น ๆ ทั้งภายใน ภายนอกสถานที่ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

แนวการเขียนแหล่งเรียนรู้ ระบุสื่อและแหล่งการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ ระบุเฉพาะสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่ใช้จริง ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อ เช่น * นิทานเรื่องเด็กยอดกตัญญู (สื่อ) * วัดโมกขพลาราม (แหล่งเรียนรู้) ไม่ระบุสิ่งถาวรที่อยู่ในห้องเรียน เช่น กระดานดำ

การเขียนวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่

การประเมินผล  เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบสวน การตรวจผลงาน การทดสอบ เป็นต้น  การประเมิน เป็นการกำหนดค่า หรือตัดสิน สิ่งที่วัด เช่น ผ่าน ไม่ผ่าน ดี – พอใช้ ปรับปรุง กำหนดค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 หรือ A B C D E เป็นต้น

แนวทางการเขียนวิธีการวัดและประเมินผล  ระบุวิธีให้สอดคล้องกับจุดประสงค์  ระบุใช้วิธีการใด * สังเกตการอภิปรายกลุ่ม * สังเกตความสนใจในบทเรียน * การตรวจผลงาน * การตรวจเขียนรายงาน ฯลฯ

รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้  รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อเป็นการนำส่วนประกอบของแผนมาเรียงเป็นแบบแนวตั้ง  รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง มีลักษณะเป็นแนวนอนใช้ส่วนประกอบทั้งหมดมาใส่ตาราง

ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ศึกษาหลักสูตร  วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา  มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ของเด็ก วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ * ประสบการณ์สำคัญ * สาระที่ควรเรียนรู้ กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์ : หน่วย การเขียนแผนฯ

หน้าที่ของครูในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้  สนับสนุน  อำนวยความสะดวก  ให้โอกาสเด็กคิด  บันทึก  สนับสนุน พูด คุย รับรู้ ประเมิน ช่วยเหลือ สร้างบรรยากาศ

การเตรียมกิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เตรียมตน คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ เน้นการใช้แหล่งเรียนรู้นอกสถานที่นั้น ๆ  เตรียมคน คือ เด็กเป็นสำคัญ วิทยากร  เตรียมการเดินทาง

การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ มีข้อควรคำนึงดังนี้  ยึดหลักการจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีโอกาสค้นพบตัวเองมากที่สุด  ผู้สอนควรยอมรับความคิดที่หลากหลาย  ให้โอกาสเด็กคิด เด็กทำ  มีวิทยากรแทนครู  มีคำถามปลายเปิด  ช่วงเวลาการจัดยาวนานมากกว่าปกติและยืดหยุ่นให้ พอเหมาะกับวัยเด็ก