แนวทางการปฏิบัติงานป้องกัน แก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดง และ แก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดง กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ Division of Animal Feed and Veterinary Product Control
แนวทางการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดง การจัดตั้งชุดเฉพาะกิจปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดง การดำเนินการแก้ปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในโคขุน
การจัดตั้งชุดเฉพาะกิจปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดง 1. ชุดเฉพาะกิจส่วนกลาง 2. ชุดเฉพาะกิจประจำเขต
หน้าที่ของชุดเฉพาะกิจส่วนกลางและประจำเขต ดังนี้ 1. ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 2. เข้าตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารสัตว์ 3. ตรวจสอบโรงฆ่าสัตว์
1. ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 1.1 สุ่มตรวจฟาร์มสุกรหรือฟาร์มโคขุนที่ได้รับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง 1.2 ตรวจฟาร์มสุกรขุนหรือฟาร์มโคขุนที่สงสัยว่ามีการใช้สารเร่งเนื้อแดง เพื่อสุ่มเก็บปัสสาวะ 1.3 ตรวจตัวอย่างปัสสาวะ โดยใช้ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดงภาคสนาม (Strip Test)
ผลเป็นบวก - อายัดสุกรหรือโคขุนไว้อย่างน้อย 21 วัน หรือจนกว่าผลการตรวจจะมีผลเป็นลบ - ส่งผลตรวจยืนยัน โดยผลการตรวจจะต้องเป็นลบ จึงจะทำการถอนอายัด - กรณีที่ผลเป็นบวก ต้องทำการดำเนินคดีกับเจ้าของฟาร์ม
การเข้าตรวจสอบฟาร์มและเก็บตัวอย่างปัสสาวะโคขุน
2. เข้าตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารสัตว์ 1. เก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 2. ถ้าพบสารเร่งเนื้อแดง ให้ดำเนินคดีแก่เจ้าของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ 1.) อายัดเครื่องผสมอาหารสัตว์ หรือสิ่งใดๆที่เกี่ยวกับอาหารสัตว์ 2.) ส่งเป็นของกลางแก่พนักงานสอบสวน
การอายัดเครื่องผสมอาหารสัตว์และอาหารสัตว์
การอายัดเครื่องผสมอาหารสัตว์และอาหารสัตว์
๓. ตรวจสอบโรงฆ่าสัตว์ - ชุดเฉพาะกิจเข้าเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรหรือโคขุนที่โรงฆ่า - กรณีที่สงสัยหรือได้รับเบาะแสว่ามีการนำสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงเข้าโรงฆ่า ให้ดำเนินการเหมือนกับการเข้าตรวจสอบฟาร์ม
การรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง เป้าหมาย ฟาร์มสุกรขุนที่เลี้ยงตั้งแต่ 200 ตัวขึ้นไป 1.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสำรวจฟาร์มสุกรขุนที่เลี้ยงตั้งแต่ 200 ตัวขึ้นไป ส่งข้อมูลมายังสำนักงานปศุสัตว์เขตและกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ แนวทางปฏิบัติ
การรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง แนวทางปฏิบัติ 2.เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ฟาร์มสุกรขุนมายื่นขอการรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือขอต่ออายุและออกพื้นที่เก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรขุนตามเป้าหมาย เพื่อส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการด้วยวิธี ELISA หากผลเป็นบวกให้ส่งตรวจยืนยันด้วยวิธี LC-MS/MS
แนวทางปฏิบัติ ฟาร์มที่จะได้รับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงจะต้องผ่านการตรวจปัสสาวะด้วยวิธี ELISA และผลเป็นลบ ติดต่อกัน 3 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน กรณีต่ออายุต้องผ่านการตรวจปัสสาวะเป็นลบอย่างน้อย 1 ครั้ง
แนวทางปฏิบัติ 3. หากผลเป็นบวกจากการตรวจด้วยวิธี ELISA ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอายัดสุกรขุนที่ฟาร์มทั้งหมดอย่างน้อย 21 วัน หรือจนกว่าผลการตรวจด้วยวิธี ELISA จะเป็นลบ และเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ในรางอาหาร ในภาชนะบรรจุในเครื่องผสมอาหารสัตว์ และตัวอย่างน้ำที่กินส่งตรวจที่สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
แนวทางปฏิบัติ ในระหว่างอายัดสุกรขุนให้สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งตรวจห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจด้วยวิธี ELISA ผลต้องเป็นลบจึงให้ถอนการอายัด 4. หากผลการตรวจยืนยันด้วยวิธี LC-MS/MS หรือ GC-MS พบปริมาณสารเร่งเนื้อแดงให้ดำเนินคดีกับเจ้าของฟาร์ม
เงื่อนไขประกอบการเคลื่อนย้าย 1. ฟาร์มสุกรขุนที่มีจำนวนตั้งแต่ 200 ตัวขึ้นไป ที่ได้รับการรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง ต้องแนบสำเนาใบรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงไปกับใบอนุญาตเคลื่อนย้ายทุกครั้ง
เงื่อนไขประกอบการเคลื่อนย้าย 2. ฟาร์มสุกรขุนที่มีจำนวน 200 ตัวขึ้นไป ยังไม่ได้รับการรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง จะต้องยื่นคำร้องเพื่อขอรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงต่อสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดก่อน และใช้หลักฐานสำเนาคำขอแนบไปกับใบอนุญาตเคลื่อนย้ายทุกครั้ง ในกรณีนี้ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเข้าฟาร์มเพื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี ELISA ภายใน 1 เดือน นับจากรับคำขอรับรองฟาร์ม
การดำเนินการแก้ปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในโคขุน 1. ด่านกักกันสัตว์สุ่มตรวจปัสสาวะโคขุนที่เคลื่อนย้ายหรือนำออกจากราชอาณาจักร ตรวจด้วยวิธี Strip Test
2. ถ้าผลการตรวจด้วย Strip test เป็นบวก ให้อายัดโคขุนทั้งหมดที่ด่านกักกันสัตว์หรือสถานที่ที่ด่านกำหนด เป็นเวลาอย่างน้อย 21 วัน หรือรอจนกว่าผลตรวจเป็นลบ
3. ส่งตัวอย่างปัสสาวะที่เป็นผลบวก ไปยังสำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
4. ผลตรวจปัสสาวะถ้าพบสารเร่งเนื้อแดงต้องดำเนินคดีกับเจ้าของฟาร์ม
5. หากผลเป็นบวกให้ด่านกักกันสัตว์ประสานและส่งข้อมูลไปยังสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดต้นทาง เพื่อเข้าตรวจสอบและแจ้งความดำเนินคดีกับฟาร์มต้นทาง
6. ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์หรือน้ำ ส่งตรวจสำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ถ้าพบผลการตรวจเป็นบวกให้อายัดโคทั้งหมดอย่างน้อย 21 วัน
7. ในระหว่างที่อายัดให้สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะมาตรวจด้วยวิธี ELISA ผลต้องเป็นลบ
8. ผลเป็นลบ จึงจะถอนการอายัด
9. กรณีฟาร์มโคขุนที่มีความประสงค์จะขอรับรองเป็นฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงให้ยื่นคำขอที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เพื่อดำเนินการตามแนวทางของการรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงในสุกรขุนโดยอนุโลม
THANK YOU FOR ATTENTION กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ 91 หมู่ที่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทร 0 2159 0406 ต่อ 104 อีเมล์ beta.afvc1@gmail.com