บทที่ 21 มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม บทที่ 21 มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ชีววิทยา เล่ม 5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อภิปราย อธิบาย และสรุปแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สืบต้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
21.1 ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ ปัญหา และการจัดการ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถามนำ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร ถ้าหากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ลดน้อยลงหรือสูญหายไปจะส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร ? ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1 หากนักเรียนมองไปรอบๆตัว จะเห็นสิ่งต่างๆมากมายที่เกิดได้เองในธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ น้ำ ดิน หิน แม่น้ำ ทะเล ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น และอาจเห็นสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมาด้วย เช่น บ้านเรือน อาคาร ยานพาหนะ ถนน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกมากมาย เป็นต้น สิ่งต่างๆที่ปรากฏตัวอยู่ตามธรรมขาติหรือที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติและมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้นี้เรียกว่า ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1 นักเรียนคิดว่า ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยมีมากหรือน้อย และสภาพของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของนักเรียนเป็นอย่างไรบ้าง จากที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้วในรายวิชาพื้นฐาน ชีววิทยา ให้ทราบแล้วว่าทรัพยากรธรรมชาติแบ่งตามลักษณะของการนำมาใช้ประโยชน์มีอยู่3ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่มีหมดสิ้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้ และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ให้นักเรียนยกตัวอย่างของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละประเภทมาอย่างน้อย3ตัวอย่าง ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใดที่นักเรียนคิดว่ากำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ และเพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบันบางชนิดก็ลดปริมาณลงไปมากอย่างเห็นได้ชัด บางชนิดก็เสื่อสภาพลงจนยากที่จะฟื้นฟูแก้ไขให้กลับมามี สภาพดังเดิม และบางชนิดก็สูญหายหรือหมดไปจากโลก มนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโชยน์ในการดำรงชีวิตในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อโทรมลงจนทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ นักเรียนทราบหรือไม่ว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนนั้นเป็นอย่างไร นักเรียนจะทราบได้จากการศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด สิ่งมีชีวิตใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำเพื่อดำรงชีพในด้านต่างๆ เช่น เป็นที่อยู่อาศัย สืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ ตลอดจนใช้ในการอุปโภคบริโภค เป็นต้น นักเรียนทราบหรือไม่ว่าแหล่งน้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้มาจากแหล่งใด ดังที่ทราบแล้วว่าในโลกนี้มีน้ำอยู่ประมาณ3ใน4ส่วน แต่ส่วนใหญ่เป็นน้ำในมหาสมุทรถึงร้อยละ 97.41 ที่เหลือประมาณร้อยละ2.59 จะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงนั้นมีเพียงร้อยละ 0.014 เท่านั้น เนื่องจากเป็นน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งร้อยละ1.984 และอีกร้อยละ 0.592 เป็นน้ำใต้ดิน ดังภาพที่ 21-1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ภาพที่ 21-1 ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในโลก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม นักเรียนคิดว่าแหล่งน้ำจืดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงนั้น มีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ ถึงแม้ว่าแหล่งน้ำจืดที่มนุษยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จะมีอยู่ในปริมาณน้อย แต่น้ำที่มุษย์ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็สามารถหมุนเวียนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักรโดยปกติแล้วน้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มาจากแหล่งใหญ่ๆ 3แหล่งด้วยกันคือ 1 . หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นน้ำที่ได้จากบรรยากาศ เช่น น้ำฝน น้ำค้าง หิมะ ลูกเห็บ เมฆ หมอก ไอน้ำ เป็นต้น 2. น้ำผิวดิน (surface water) เป็นน้ำที่ได้มาจากแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ ทะเล หมาสมุทร เป็นต้น 3 น้ำใต้ดิน (ground water ) เป็นน้ำที่อยู่ใต้ระดับผิวดินที่มนุษย์ขุดและสูบขึ้นมาใช้ เช่น น้ำบ่อและน้ำบาดาล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม ปัญหาที่เกิดจากการใช้น้ำมีอะไรบ้าง และเกิดจากสาเหตุใด มนุษย์ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำประเภทใดมากที่สุด และใช้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากน้ำและกิจกรรมต่างๆ น้ำที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วเมื่อปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมอาจเป็นสาเหตุทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสียได้ ดังนั้นจึงต้องมีการบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี มลพิษทางน้ำและการจัดการ มลพิษทางน้ำ (water pollution) หมายถึงภาวะของน้ำที่มีสารมลพิษ (pollutant)ปนเปื้อนอยู่ในระดับที่ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนไปจนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้ การใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ในชีวิตประจำวันตลอดจนการประกอบอาชีพและการอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นการเพิ่มมลพิษลงในแหล่งน้ำ ดังนั้นแหล่งน้ำที่มาของน้ำเสียแต่ละแหล่งจึงเป็นสาเหตุทำให้น้ำเสียได้หลายลักษณะดังจะกล่าวต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ สารมลพิษ หมายถึงสสารหรือสารที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต สารมลพิษอาจมีทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ตัวอย่างของสารมลพิษ เช่น ฝั่นละอองกากของเสียที่เป็นพิษ ควัน แก๊สพิษต่างๆเป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม แหล่งน้ำในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่เกิดปัญหามลพิษหรือไม่ ถ้ามีคิดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ปัญหามลพิษทางน้ำมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำและต่อคนในชุมชนอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 21.1 ผลกระทบของมลพิษทางน้ำจากบ้านเรือน 1. ให้นักเรียนศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบจากของเหลือทิ้งหรือน้ำทิ้งจากบ้านเรือนโดยศึกษาปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เช่น ของเหลือทิ้งภายในครัวเรือน ได้แก่ เศษอาหาร เศษผักและเนื้อสัตว์ เศษเหลือทิ้งของสารปรุงแต่งและสารที่ใช้ประกอบอาหารจำพวกน้ำมันน้ำปลาน้ำส้มสายชู ตลอดจนน้ำทิ้งจากการซักล้างเพื่อทำความสะอาดต่างๆ ฯลฯ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของน้ำและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต 2. ระบุปัญหา สมมติฐาน ออกแบบการทดลอง และลงมือทำการทดลองในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี กิจกรรมที่ 21.1 ผลกระทบของมลพิษทางน้ำจากบ้านเรือน 3. สรุปและเสนอผลการศึกษาทดลอง พร้อมทั้งระบุแนวทางในการแก้ไขและการจัดการโดยการแสดงข้อมูลเผยแพร่ในโรงเรียน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ จากกิจกรรม21.1 จะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น มีส่วนทำให้เกิดสารมลพิษจากการใช้ประโยชน์ภายในบ้านเรือน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะแหล่งน้ำ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ว่า สารมลพิษนั้นเกิดจากการใช้สารประเภทใด และจะมีวิธีการจัดการอย่างไรก่อนที่จะปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ แหล่งที่มาของน้ำเสีย 1. จากธรรมชาติ เกิดจากการย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์และสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำโดยจุลินทรีย์ซึ่งจุลินทรีย์มีการใช้แก๊สออกซิเจนไปช่วยในการย่อยสลาย จึงมีผลทำให้แก๊สออกซิเจนในแหล่งน้ำนั้นลดลง นอกจากนี้อาจเกิดกระบวนการชะล้างหน้าดินทำให้เกิดตะกอนดินถูกพัดพาลงมาในแหล่งน้ำ ทำให้น้ำขุ่นสิ่งมีชีวิตต่างๆในแหล่งน้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายในแหล่งน้ำได้และยังทำให้แหล่งน้ำนั้นตื้นเขินอีกด้วย ดังภาพ 21-2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ภาพที่ 21-2 ตะกอนดินที่ถูกพัดพาลงมาสู่แม่น้ำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมายของน้ำเสียและน้ำทิ้งดังนี้ น้ำเสีย (waste water) หมายถึงของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลว รวมทั้งสารมลพิษที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น น้ำทิ้ง(effluent)คือ น้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้ว หรือ ไม่ได้บำบัดซึ่งระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 2. จากแหล่งชุมชน ได้แก่น้ำเสียที่มาจากแหล่งที่พักอาศัยและสถานประกอบการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านค้า ตลาด เป็นต้น น้ำจากแหล่งต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีสารอินทรีย์และสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ สารเคมีที่ใช้ในการซักล้างทำความสะอาดหรือสารซักฟอก ส่วนใหญ่จะมีสารฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ เมื่อปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำจะกลายเป็นจะกลายเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชน้ำ ทำให้สาหร่ายและพืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนแพร่กระจาบปกคลุมผิวน้ำ ทำให้แสงสว่างสามารถส่องผ่านลงไปในน้ำได้และปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง เมื่อสาหร่ายและพืชน้ำเหล่านี้ตายจะเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนที่มีอยู่ในแหล่งน้ำ เมื่อแก๊สออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำหมดไปจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ได้ใช้แก๊สออกซิเจนจะทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายแทน ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า ยูโทรฟิเคชัน (eutrofication) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 3. จากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นน้ำเสียที่เกิดจากน้ำที่มาจากกระบวนการต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การชะล้างสิ่งสกปรกของเครื่องจักร พื้นโรงงาน น้ำจากกรบวนการผลิตที่มีสารเคมีและโลหะอันตรายเป็นที่เจอปนอยู่ เช่น สารตะกั่ว ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม แมงกานีส โครเทียม และน้ำมัน น้ำเสียเหล่าเมื่อปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและทำให้เกิดการสะสมสารพิษในโซ่อาหารได้ นอกจากนี้น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทผลิตอาหารจะมีสารอินทรีย์เจือปนอยู่สูง เมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็นอันเนื่องมาจากกระบวนการการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในน้ำ และบางครั้งทำให้แหล่งน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 2. จากแหล่งชุมชน ได้แก่น้ำเสียที่มาจากแหล่งที่พักอาศัยและสถานประกอบการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านค้า ตลาด เป็นต้น น้ำจากแหล่งต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีสารอินทรีย์และสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 2. จากแหล่งชุมชน ได้แก่น้ำเสียที่มาจากแหล่งที่พักอาศัยและสถานประกอบการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านค้า ตลาด เป็นต้น น้ำจากแหล่งต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีสารอินทรีย์และสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 2. จากแหล่งชุมชน ได้แก่น้ำเสียที่มาจากแหล่งที่พักอาศัยและสถานประกอบการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านค้า ตลาด เป็นต้น น้ำจากแหล่งต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีสารอินทรีย์และสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 4. จากการเกษตรและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เป็นน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี วัตถุมีพิษที่ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรรวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีหลายชนิดเพื่อเพิ่มผลผลิตทำให้มีสารมลพิษตกค้างในน้ำ ดิน อากาศ และในผลผลิต เมื่อฝนตกสารเหล่านี้จะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำได้รับอันตราย นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงสุกร ไก่ ปล่ง และกุ้ง ยังเป็นต้นกำเนิดของการเกิดน้ำเสียที่เกิดจากการล้างคอกสัตว์เลี้ยง หรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งมีการอินทรีย์เจอปนอยู่สูง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ 5. จากการทำเหมืองแร่ การทำเหมือนแร่ประเภทต่างๆ การทำเหมืองแร่ดีบุก พลวง และเหมืองพลอย ต้องมีการขุดเจาะดินขึ้นมาจึงทำให้เกิดตะกอนดินและทำให้น้ำขุ่นข้น นอกจากนี้อาจมีการปนเปื้อนของโลหะหนักจำพวกปรอท ตะกั่ว แคดเมียม ลงสู่แหล่งน้ำ และยังเป็นสาเหตุทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม น้ำเสียที่มาจากแหล่งต่างๆ มีชนิดของสารปนเปื้อนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร นักเรียนคิดว่าน้ำเสียที่มาจากแหล่งใดมีสารมลพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตมากที่สุด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ การตรวจสอบมลพิษทางน้ำ มีดัชนีที่บ่งชี้การเกิดมลพิษ ได้แก่ อุณหภูมิ การเป็น กรด-เบส ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำหรือค่าดีโอ ค่าบีดีโอ ปริมาณสารโลหะหนัก สารฆ่าแมลง ตลอดจนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มหรือฟิคอลโคลิฟอร์ม เป็นต้น แต่ที่นิยมตรวจสอบก็คือ การหาค่าดีโอและค่าบีโอดี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายน้ำ หรือดีโอ (dissolved oxygen ; DO) โดยปกติแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำได้มาจากบรรยากาศและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะแปรผกผันกับอุณห๓มิและความเข้มข้นของแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ หากอุณหภูมิของน้ำและความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำสูง จะทำให้แก๊สออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ การหาค่าดีโออาจทำได้โดยวิธี การไทเทรต (titration) และโดยการใช้ ดีโอมิเตอร์ (DO meter) เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ น้ำในธรรมชาติทั่วไปที่มีคุณภาพดี โอปกติจะมีค่าดีโอประมาณ5-7มิลลิกรัม/ลิตรถ้าค่าดีโอต่ำกว่า3มิลลิกรัม/ลิตร จัดว่าน้ำในแหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย บีโอดี (biochemical oxygen demand ; BOD) หมายถึง ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่จุลินทรีย์ในน้ำใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ตามมาตรฐานสากล จะวัดค่าบีโอดีภายในเวลา5วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จึงเรียกว่า BOD5 ในแหล่งน้ำใดถ้ามีค่าบีโอดีสูงแสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียและสกปรกมาก ค่าบีโอดีที่เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำ ดังแสดงในตารางที่ 21.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ตารางที่ 21.1 แสดงค่า BOD5 ที่เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ การหาค่าบีโอดีทำได้โดยเก็บน้ำตัวอย่างใส่ขวดที่ใช้ในการวัดค่าบีโอดีแล้วหาค่าดีโอเริ่มต้น จากนั้นนำไปไว้ที่ที่มีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้เป็นเวลา5วัน แล้วนำน้ำมาหาค่าดีโออีกครั้งนำค่าดีโอที่ได้มาหักลบกันค่าที่เหลือจะเป็นค่า BOD5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ตารางที่ 21.2 แสดงค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม นักเรียนทราบได้อย่างไรว่าแหล่งน้ำนั้นเกิดน้ำเสีย สามารถวัดและตรวจสอบได้อย่างไร การตรวจสอบมลพิษทางน้ำ นอกจากการหาค่าปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำแล้วยังสามารถใช้เกณฑ์ใดได้อีกบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ ฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Fecalcoliform bacteria) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งถูกขับถ่ายออกจากับอุจจาระ มักพบเป็นสาเหตุของโรคระบาดในระบบทางเดินอาหาร แบคทีเรียชนิดนี้เช่น อีโคไล (E.coli) ดังนั้นหากตรวจพบแบคทีเรียชนิดนี้ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นปนเปื้อนเชื้อโรค จึงไม่ควรนำมาอุปโภคโดยตรง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้ว่าน้ำนั้นมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ถ้าหากแหล่งน้ำที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตใช้ประโยชน์เกิดปนเปื้อนสารมลพิษหรือเน่าเสียย่อมส่งผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี คำถาม น้ำเสียส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์อย่างไร มนุษย์ได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าหากแหล่งน้ำต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ประโยชน์เกิดเน่าเสีย จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.1 ทรัพยากรน้ำ น้ำนอกจากเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มี่ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตแล้ว พบว่าภัยทางธรรมชาติที่เกิดจากน้ำก็มีอันตรายเช่นกัน ดังกรณีการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในพื้นที่6จังหวัดแถบชายฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้ของไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้สูญเสียชีวิต และทรัพย์สินไปจำนวนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี การจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการทรัพยากรน้ำ หมายถึง การป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับน้ำและนำน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงในการดำรงชีพของมนุษย์ ดังนั้นจึงควรมีการจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมและถูกวิธี ดังนี้คือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี การจัดการทรัพยากรน้ำ 1. การปลูกจิตสำนึกในการใช้น้ำอย่างมีคุณค่า เช่น การประหยัดการใช้น้ำทุกรูปแบบในชีวิตประจำวัน 2. การวางแผนการใช้น้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูกาล เช่น กักเก็บน้ำใส่ภาชนะหรือทำที่สำหรับเก็บน้ำ เช่น ขุดบ่อ ขุดสระ ทำแท็งก์น้ำสำหรับเก็บกักน้ำฝนเพื่อนำไปใช้ในยามขาดแคลน 3. การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ในกิจกรรมบางอย่างอาจไม่จำเป็นต้องใช้น้ำคุณภาพดีมากนัก เช่น น้ำจากการล้างภาชนะภายในครัวเรือน หรือจากการซักเสื้อผ้าน้ำสุดท้าย สามารถนำมาใช้ล้างพื้น รดน้ำต้นไม้เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี การจัดการทรัพยากรน้ำ 4. การแก้ไขปัญหามลพิษของน้ำ ในกรณีที่น้ำนั้นเกิดมลพิษ รูปแบบของการจัดการอาจต้องใช้วิธีการแยกหรือทำลายสิ่งสกปรกต่างๆทั้งที่อยู่ในรูปของสารละลายและในรูปของสารที่ไม่ละลายน้ำให้หมดไป และลดปริมาณสารพิษลงโดยวิธีบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำที่มีคุณภาพ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ การบำบัดน้ำเสียสามารถทำได้หลายวิธีเช่น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี การจัดการทรัพยากรน้ำ การบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยา เป็นการใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย โดยเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนโดยทำควบคู่กับการเติมแก๊สออกซิเจนลงในแหล่งน้ำด้วย เช่น การใช้กังหันน้ำนอกจากนี้ยังสามรถใช้พืชน้ำในการบำบัดได้อีกด้วย โดยพืชน้ำจะดูดสารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต กลุ่มพืชน้ำที่นำยมใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ผักตบชวา ผักกระเฉด กกสามเหลี่ยม ธูปฤๅษี หญ้าแฝกและบัว เป็นต้น การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี โดยการเติมสารเคมีเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆหรือทำให้ตกตะกอน รวมทั้งการฆ่าเชื้อโรคโดยการเติมคลอรีน เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี รู้หรือไม่ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources management) หมายถึงกระบวนการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในการใช้และควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ให้มีใช้อย่างยั่งยืนและไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources conservation) หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตลอดไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.2 ทรัพยากรดิน ดินเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้ และเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆอีก เช่น ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรแร่ธาตุ ทรัพยากรสัตว์ป่าเป็นต้น มนุษย์ใช้ประโยชน์จากดินในแง่เป็นแหกล่งปัจจัยสี่ เพื่อการเกษตร การคมนาคม ฯลฯ ถึงแม้ว่า ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ระยะเวลาใยการเกิดดินต้องใช้เวลานานถึง 200ปี หรืออาจถึง1000ปีในการที่จะสร้างดินขั้นบนขึ้นมาประมาณ1นิ้ว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.2 ทรัพยากรดิน เนื้อดิน (soil texture) เกิดจากการผสมกันของอนุภาคดิน (soil particle) 3ขนาดได้แก่ อนุภาคดินเหนียว (clay) มีขนาดอนุภาคเล็กมาก(<0.002 มิลลิเมตร) อนุภาคดินทรายแป้ง(silt) มีขนาดอนุภาค (0.002-0.02 มิลลิเมตร) และอนุภาคดินทราย (sand) มีขนาดอนุภาคค่อนข้างใหญ่ (0.02-2 มิลลิเมตร) อนุภาคดินทั้ง3ชนิดนี้ ผสมกันในสัดส่วนต่างๆ ได้เป็น3กลุ่มเนื้อดินใหญ่ๆ คือกลุ่มดินเนื้อละเอียด หรือเนื้อดินเหนียว กลุ่มดินเนื้อปานกลางหรือเนื้อดินร่วน และกลุ่มดินเนื้อหยาบหรือเนื้อดินทราย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี 21.1.2 ทรัพยากรดิน การแบ่งชั้นดินหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็นตามลักษณะต่างๆของดินเช่น สีดิน การระบายน้ำของดิน และระดับความหนาของชั้นดิน เป็นต้น ซึ่งศึกษาได้จากภาคตัดขวางของดิน ดังภาพ 21-4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ภาพที่21-4 ชั้นของดินแสดงตามภาคตัดขวางของดิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี