หลักรัฐประศาสนศาสตร์ KHANTHONG JAIDEE,Ph.D
หลักเกณฑ์การจำแนกทฤษฎีและการแบ่งสมัยวิวัฒนาการ ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สมัยทฤษฎีดั้งเดิม สมัยทฤษฎีท้าทาย สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง
สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ.1960 - 1970) 1. การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ 2. รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่
สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 เกิดการวิวัฒนาการที่สําคัญ 2 ประการขึ้นในวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานสําหรับกําเนิดของวิชา รัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ กล่าวคือ 1. รัฐประศาสนศาสตร์ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Revolution) ในวงวิชาการ ทําให้เนื้อหาและวิธีการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปตามปรัชญาของพฤติกรรมศาสตร์ นักวิชาการหันมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ มีการประยุกต์ใช้ความคิดระบบ(Systems) เข้าในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ และยังมีการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์เชิงเปรียบเทียบขึ้นมาอีกด้วย
สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 2. นักวิชาการรุ่นใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รวมตัวกัน เพื่อปรึกษาและกําหนดปรัชญาพื้นฐานของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เสียใหม่ เป็นการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ของวิชา
สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ.1960 - 1970) 1. การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ 2. รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่
การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ Behavioral Revolution การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ได้มีผลสำคัญต่อวิวัฒนาการ ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในยุคนี้ 2 ประการสำคัญ คือ 1. ทฤษฎีระบบในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ แนวความคิดระบบ ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญ 2 ประการ คือ (1) ความคิดระบบได้กลายมาเป็นแนวการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การที่สําคัญ (2) แนวคิดเกี่ยวกับระบบช่วยวางพื้นฐานสําหรับเทคนิค การบริหารที่สําคัญ
การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ ความคิดระบบในทฤษฎีองค์การ คือ ระบบหรือกลุ่มของระบบย่อย ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ ต่างๆ ที่เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดและแยกตัวออกจากสภาพแวดล้อมขององค์การโดยเด็ดขาด องค์การ มีหน้าที่แปลงปัจจัยนําเข้าที่รับมาจากสภาพแวดล้อมให้กลายเป็นปัจจัยนําออกกลับไปสู่สภาพแวดล้อม อีกที
ทฤษฎีระบบ
ปัจจัยนำเข้า (input) : 6M Man หมายถึง บุคลากร คือ ผู้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับระบบงาน หรือหมายถึง คนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบ Money หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่มีค่าเป็นเงินของระบบ ซึ่งนับเป็นหัวใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบ Material หมายถึง ตัวสินค้าหรือวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้า Machine หมายถึง เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในโรงงานหรือในสำนักงาน Management หมายถึง การบริหารระบบ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ระบบเกิดปัญหา เพราะการบริหารที่ไม่ดี Morale หมายถึง ขวัญหรือกำลังใจของบุคคลในระบบ หรือหมายถึง ค่านิยม ของคนที่มีต่อระบบหรือองค์กรมากกว่า
กระบวนการ (process) ระบบการวางแผน ระบบการจัดการองค์การ ระบบการอำนวยการ ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบงบประมาณ ฯลฯ
การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ 2. วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ เป็นการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบบราชการและการบริหารของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศกําลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว
วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ เกิดวิชาการบริหารการพัฒนา (Development Administration) วิชาดังกล่าวพยายามทําความเข้าใจและหาแนวทางปรับปรุงการบริหารงานของรัฐ ในประเทศกําลังพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนและสร้างความสามัคคีภายในชาติขึ้น
วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ Fred Riggs ได้แต่งหนังสือชื่อ Administration in Developing Countries : The Theory of Prismatic Society ในปี ค.ศ.1964
วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ โดยมีความเชื่อว่า วิชารัฐประศาสนศาสตร์ จําเป็นต้องศึกษาระบบราชการในประเทศกําลังพัฒนา โดยอาศัยทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนาเป็นหลัก มองในลักษณะภาพกว้างมองทั้งระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และใช้หลักการวิเคราะห์โครงสร้างหน้าที่ (Structural-Functional Approach) วิเคราะห์สังคมหรือประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถ จัดหมวดหมู่ว่าประเทศใด สังคมใดพัฒนากว่ากัน โดยดูแนวความคิดการแยกให้แตกต่าง (Differentiation) เป็นหลัก
วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ Fred Riggs ได้แบ่งสังคมออกเป็น 3 แบบ คือ 1. Fused Society (สังคม/ประเทศกําลังพัฒนา หรือ สังคมดั้งเดิม) 2. Diffracted Society (สังคม/ประเทศที่พัฒนาแล้ว) 3. Prismatic Society (สังคมแบบเปลี่ยนผ่าน)
Fused Society เป็นสังคมแบบดั้งเดิม หรือ สังคมแบบจารีตนิยม ซึ่งเป็นสังคมที่มีระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ แบบ เครือญาติ มีวิถีชีวิตแบบง่ายๆ และการกระทำหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติกันในสังคมเป็นไปอย่างเรียบง่าย สังคมจึงเป็นไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ และเมื่อสังคมมีการพัฒนามาแล้วระยะหนึ่งจะเปลี่ยนสภาพมาเป็น Prismatic Society หลังจากนั้นก็จะก้าวเข้าสู่ Diffracted Society
Diffracted Society เป็นสังคมที่มีรูปแบบโครงสร้างหน้าที่เพิ่มขึ้น มีความสลับซับซ้อน มีการจัดตั้งสถาบันในสังคมขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ รัฐสภา ศาล กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของกลุ่มต่างๆ ในสังคม สามารถทำหน้าที่และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของตนได้อย่างประสานกลมกลืนกัน เพราะต่างรู้บทบาท อำนาจหน้าที่ และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่เฉพาะของตน ลักษณะของสังคมแบบนี้ คือ สังคมของประเทศที่พัฒนาแล้ว การแทรกแซงบทบาท อำนาจหน้าที่ เกิดขึ้นน้อย หรือ ไม่มีเกิดขึ้น
Prismatic Society สังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจาก Fused Society ไปสู่ Diffracted Society ซึ่งสังคมแบบนี้จะปรากฏในประเทศกำลังพัฒนา ลักษณะเด่นของสังคมแบบนี้ คือ แม้จะมีการจัดโครงสร้างเพิ่มมากขึ้นตามระดับของการพัฒนา แต่โครงสร้างเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะทำ ผลก็คือ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ในสังคมไม่สอดคล้องกัน เกิดการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของกันและกัน
Prismatic Society อีกลักษณะ คือ สังคมที่กําลังพัฒนาบางสังคม ซึ่งองค์การอาจมีรูปแบบการจัดองค์การแบบสมัยใหม่อย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัตินั้นปรากฏว่า การดำเนินการภายในองค์การเป็นไปตามประเพณีวัฒนธรรมและค่านิยมของคนมากกว่าที่จะเป็นไปตามกฎระเบียบแผนภูมิองค์การที่เป็นทางการ ซึ่ง Riggs เรียกสภาวการณ์แบบนี้ว่า ความเป็นทางการจอมปลอม (Formalism)
Prismatic Society Riggs เรียกระบบราชการของประเทศที่เป็นสังคมแบบ Prismatic ว่า Sala ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ 1. เป็นระบบราชการที่มีอํานาจมาก ระบบราชการ ได้เจริญเติบโตเกินกว่าระบบการเมือง ความไม่สมดุลนี้เองทําให้ระบบราชการได้เปรียบ ระบบการเมืองคุมระบบราชการไม่ได้ (ไม่เหมือนกับในสังคมแบบ diffracted ซึ่งระบบการเมืองสามารถคุมระบบราชการได้ดี) ข้าราชการพลเรือนและทหารจึงเข้าไปมีบทบาททางการเมือง เช่น มีอํานาจ ในการตัดสินใจนโยบายที่สําคัญ
Prismatic Society 2. ในเมื่อระบบราชการมีอํานาจทางการเมืองมาก จึงทําให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพด้วย ระบบราชการแบบ sala เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวก การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ และการให้บริการสาธารณะที่ไม่เป็นธรรม การบริหารงานในระบบนี้จึงมีปัญหามาก และสู้ระบบราชการในสังคมแบบ fused หรือ diffracted ไม่ได้
Prismatic Society Riggs (1966) ได้ทำการศึกษาถึงลักษณะของสังคมไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2475 – 2501 (ช่วงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) โดยได้ข้อสรุปถึงลักษณะของสังคมไทยที่สอดคล้องกับ Prismatic Society ไว้ 5 ประการ คือ
Prismatic Society 1. ด้านเศรษฐกิจ กลไกตลาดไม่ได้ทำงานบนพื้นฐาน ของหลัก demand – supply แต่จะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะอิทธิพลทางการเมืองและอำนาจการต่อรอง เหมือนตลาดนัด (canteen – bazaar) เช่น การขอสัมปทาน ต้องมีการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ระหว่างนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจ เหมือนการต่อสินค้าในตลาดนัด กลุ่มใดเป็นผู้ให้ผลประโยชน์มาก กลุ่มนั้นก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติ
Prismatic Society 2. ด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีผู้นำใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ผู้นำเดิม ซึ่งเป็นกลุ่มทหาร ยังมีความต้องการที่จะรักษาอำนาจไว้ ทำให้เกิดการช่วงชิงอำนาจกันขึ้น โดยทำแบบซ่อนเร้น ด้วยการใช้ระบบคุณธรรมควบคู่ไปกับระบบอุปถัมภ์จึงทำให้เกิดการก้าวก่ายแทรกแซงระบบบริหารงานของรัฐขึ้น
Prismatic Society 3. ด้านสังคม มีชุมชนใหญ่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่กลับมีทรัพยากร ที่จำกัด ทำให้มีการใช้เส้นสายต่างๆ เกิดขึ้นในสังคม จนเกิดการ แบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น ท้องถิ่นนิยม ภูมิภาคนิยม เพื่อครอบครองผลประโยชน์ 4. มีการสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจโดยผ่านระบบต่างๆ ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการพัฒนา เช่น มีการออกกฎหมายมาใช้ แต่การบังคับใช้กฎหมายมีการเลือกปฏิบัติ ไม่เคร่งครัดหรือมีข้อยกเว้นสำหรับผู้มีอำนาจ นอกจากนี้ยังมีการสร้างความชอบธรรมของการใช้อำนาจโดยใช้ความรุนแรง บังคับข่มขู่ ใช้เงิน ใช้บารมีส่วนตัว ฯลฯ
Prismatic Society 5. สังคมไทยเป็นสังคมแห่งอำนาจนิยม ยกย่องผู้มีอำนาจ มีการใช้วิธีการที่รุนแรงและวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจ อำนาจ คือ เป้าหมายสูงสุดของคนในสังคม สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่ข้าราชการเป็นใหญ่ เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) หรือ รัฐราชการ
Bureaucratic Polity อำนาจในการปกครองถูกผูกขาดโดย อำมาตย์ – ขุนนาง ซึ่งได้แก่ ข้าราชการฝ่ายความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยสถาบันหลักๆ ที่มีบทบาททางอำนาจสูง ได้แก่ ทหาร (ความมั่นคง) ตำรวจ (ฝ่ายปราบปราม) และมหาดไทย (ฝ่ายปกครอง) ซึ่ง 3 สถาบันนี้ ถือเป็นกลไกหลักและ มีบทบาทในทางการเมืองของไทย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยวิกฤตการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง (ค.ศ.1960 - 1970) 1. การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ 2. รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่
รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ ประมาณปลายทศวรรษ 1960 วิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้เริ่มเปลี่ยนโฉมหน้าอีกครั้ง เพราะนักวิชาการทั่วไป ในสายสังคมศาสตร์ได้มีการเรียกร้องให้วิชาสังคมศาสตร์ทั้งหลายต้องเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงของสังคมมากขึ้น (Relevance) โดยวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ถูกปรับให้เข้ากับความคิดใหม่นี้ โดยนักวิชาการจำนวนหนึ่งพยายามทำให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งต่อมาเรียกความคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ว่า “รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่” (New Public Administration)
รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ Dwight Waldo Professor in the Humanities, Syracuse University
รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ John Rehfuss สรุปว่านักวิชาการที่ยึดถือรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ โดยทั่วไป มีความเชื่อ 3 ประการ 1. การบริหารของรัฐจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องยึดหลักความยุติธรรมในสังคม (Social Equity) นักบริหารมีหน้าที่ต้องแก้ไขความเหลื่อมล้ำในสังคมในการให้บริการสาธารณะ 2. องค์การต้องให้ความสําคัญต่อลูกค้าผู้รับบริการ และลูกค้าควรมีสิทธิที่จะประเมินผลการทํางานขององค์การ 3.นักบริหารต้องมีความกระตือรือร้นทําหน้าที่คอยคัดค้านและท้าทายหน่วยงานของตนเมื่อมีนโยบายที่ไม่เข้าท่า
รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ Allen Schick มองว่าวรรณกรรมรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ถือหลัก 4 ประการ 1. วิชารัฐประศาสนศาสตร์ต้องศึกษาปัญหาและเรื่องราวต่างๆ ในโลกความเป็นจริง โดยให้วิชามีแนวโน้ม ไปในทางการศึกษาเรื่องนโยบายสาธารณะ 2. วิชารัฐประศาสนศาสตร์ต้องมีลักษณะเป็น Normative เน้นเรื่องค่านิยมและสิ่งทีควรจะเป็น เช่นช่วยเหลือกลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบ
รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ 3. วิชารัฐประศาสนศาสตร์ต้องสนับสนุนความยุติธรรมทางสังคม ให้ความสนใจต่อการบริการของเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่อประชาชน 4. วิชารัฐประศาสนศาสตร์ต้องสนับสนุนให้องค์การ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อป้องกันมิให้ กลุ่มผลประโยชน์ใดมาผูกขาดอำนาจ
หลักเกณฑ์การจำแนกทฤษฎีและการแบ่งสมัยวิวัฒนาการ ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สมัยทฤษฎีดั้งเดิม สมัยทฤษฎีท้าทาย สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง
สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในยุคนี้ มีลักษณะที่กระจัดกระจายทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดว่าทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ทำให้ผู้ศึกษาจำนวนหนึ่งมีความรู้สึกที่สับสนเพราะมองเห็นต้นไม้หลายต้นแต่มองไม่เห็นป่า ทั้งนี้เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าสภาพของรัฐประศาสนศาสตร์ ในยุคนี้ไม่มีป่าใหญ่ให้ชม
สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ ดังนั้น พิทยา บวรวัฒนา จึงได้เลือกอธิบายทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการกลุ่มต่างๆ ในสมัยนั้น 1) นโยบายสาธารณะ 2) ทางเลือกสาธารณะ 3) เศรษฐศาสตร์การเมือง 4) ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานปกครอง 5) การจัดการแบบประหยัด 6) วงจรชีวิตองค์การ 7) การออกแบบองค์การสมัยใหม่ 8) การศึกษาวิจัยเรื่ององค์การ
หลักเกณฑ์การจำแนกทฤษฎีและการแบ่งสมัยวิวัฒนาการ ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สมัยทฤษฎีดั้งเดิม สมัยทฤษฎีท้าทาย สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง
สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ พัฒนาการของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เกิดจากกระแสปฏิรูประบบราชการ (Administrative Reform) หรือในปัจจุบันนิยมใช้การปฏิรูปการบริการสาธารณะ (Public Service Reform) เป็นกระบวนการของการสร้างนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารจัดการ มีเจตนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการอย่างเป็นระบบ ปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ ให้ได้ผลลัพธ์ของงานตามแผนการปฏิรูป และประการสุดท้ายนับว่า เป็นกระบวนการสำคัญและจำเป็นที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอน และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ อาจกล่าวได้ว่า การปฏิรูปที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อิงแนวคิดจากการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management หรือ NPM)
สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ NPM ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัฐบาลของ Margaret Thatcher และได้มีการขยายแวดวงข้ามทวีปไปยังประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยพัฒนาการที่เกิดขึ้นจากหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว และได้รับการยอมรับนำมาปรับใช้ในองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งโดยทางอ้อมได้ส่งออกแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มายังประเทศโลกที่สามที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยบีบบังคับให้ประเทศที่ต้องการเงินกู้ช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศต้องปรับระบบและกระบวนการบริหารราชการใหม่ด้วยการใช้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้
สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ Margaret Thatcher นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ช่วงปี ค.ศ. 1979 –1990 เจ้าของสมญานาม “The Iron Lady”
ฐานที่มาของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มีฐานที่มา ทางความคิดมาจาก 2 สายหลัก คือ (1) สายทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Theory) (2) หลักการจัดการธุรกิจเอกชน (Private Management)
ลักษณะเด่นของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ อัมพร ธำรงลักษณ์ เสนอว่าเมื่อพิจารณาแนวคิดและการปรับใช้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ในภาพรวม จะเห็นลักษณะเด่นที่ปรากฏ ให้เห็นทั่วไปครอบคลุม 6 เรื่องหลัก ได้แก่ (1) การปรับใช้หลักการจัดการนิยมของภาคเอกชน (Managerialism) (2) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) (3) การแตกหน่วยงาน (Agencification) (4) การแข่งขัน (Competition) (5) การกระจายอำนาจ (Decentralization) (6) การมอบอำนาจให้กับพลเมือง (Empowerment)
หลักเกณฑ์การจำแนกทฤษฎีและการแบ่งสมัยวิวัฒนาการ ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สมัยทฤษฎีดั้งเดิม สมัยทฤษฎีท้าทาย สมัยวิกฤตการณ์เอกลักษณ์ครั้งที่ 2 สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ สมัยทฤษฎีการจัดการภาครัฐแนวใหม่ สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง
สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง พัฒนาการของแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ได้มีการปฏิรูประบบราชการในช่วงคริสศตวรรษที่ 20 โดยการเกิดขึ้นของแนวคิด การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทาง รัฐประศาสนศาสตร์ และการบริหารรัฐกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแนวคิดนี้ได้ผลักดันให้เกิดกระแส การปฏิรูประบบราชการขึ้นทั่วโลก ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา
สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง อย่างไรก็ตาม การจัดการภาครัฐแนวใหม่ก็เป็นแนวคิด ที่ถูกโจมตี และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ในเรื่องผลกระทบในทางลบที่เกิดจากการนำเอาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ และแนวคิดการจัดการนิยมจากภาคธุรกิจเอกชน มาใช้ ที่ทำให้เกิดปัญหาทางการบริหารรัฐกิจที่สำคัญหลายๆ ประการ เช่น ปัญหาการขาดความเชื่อมโยงกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ปัญหาจริยธรรมเสื่อม หรือการทุจริต เชิงนโยบาย ปัญหาการละเลยคุณค่าของความเสมอภาคในการให้บริการ ปัญหาการลดสถานะของประชาชนพลเมืองเป็นเพียงแค่ “ลูกค้า” ฯลฯ
สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อสถานะขององค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ และ การบริหารรัฐกิจในโลกของความเป็นจริงและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ทางรัฐประศาสน-ศาสตร์ และบทบาทวิชาชีพของนักบริหารรัฐกิจ อีกครั้งหนึ่ง โดยหันมาให้ความสำคัญกับ แนวคิด การบริหารปกครอง หรือ “Governance”
สมัยทฤษฎีการบริหารปกครอง ซึ่งมีฐานคิดจากทฤษฏีทางด้านรัฐศาสตร์ที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม (The relationships between Government and Society) เพิ่มมากขึ้น และการบริหารกิจการสาธารณะบนรากฐานของการปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance) ที่ตั้งอยู่บนฐานของนิติธรรม หรือหลักการปกครองโดยกฎหมาย (The Rule of Law) การกระทำร่วม (Collective Actions) ระหว่างหน่วยงาน องค์กรและสถาบันทุกภาคส่วน และความสัมพันธ์ลักษณะแนวราบ และระหว่างสถาบัน (Interinstitutional Relations) ในการบริหาร และอยู่ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลง ของรัฐในทิศทางที่มีการลดอำนาจอธิปไตย
ความหมายของการบริหารปกครอง คำว่า “Governance” เป็นคำหรือแนวคิดที่ได้รับการกล่าวถึง และนิยมใช้กันเป็นอย่างมากในแวดวงวิชาการ สำหรับภาษาไทย คำๆ นี้ ได้มีการนำมาแปลใช้อย่างหลากหลาย เช่น จากที่มาจาก คำว่า “Good Governance” ได้มีการนำมาแปลใช้ในทางวิชาการเป็น “ธรรมาภิบาล” ในส่วนของราชการตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ได้ใช้คำว่า “การบริหารจัดการบ้านเมือง (ที่ดี)” นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า “ประชารัฐ” “การกำกับ” และ “การบริหารปกครอง” ในการสื่อความหมายของคำว่า “Governance” อีกด้วย