การตรวจคำคู่ความ
คำคู่ความ “คำคู่ความ” มาตรา ๑ (๕) หมายความว่า บรรดา คำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลตั้ง ประเด็นระหว่างคู่ความ “คำฟ้อง” มาตรา ๑ (๓) หมายความว่า กระบวน พิจารณาที่เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะเป็นคำฟ้อง คำ ร้องขอ อุทธรณ์ ฎีกา คำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำ ฟ้อง ฟ้องแย้ง คำร้องสอด หรือคำร้องขอพิจารณาคดี ใหม่ “คำให้การ” มาตรา ๑ (๔) หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้ เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย นี้ นอกจากคำแถลงการณ์
คำคู่ความ (ต่อ) สิ่งที่เป็นคำคู่ความ (๑) คำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้อง ขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาท (๒) คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง มาตรา ๑๗๙ (๓) คำร้องสอด ตามมาตรา ๕๗ (๑) (๒) (๔) ฟ้องแย้ง ตามมาตรา ๑๗๗ วรรคท้าย (๕) คำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ภายหลังศาล พิพากษาตามมาตรา ๑๙๙ ตรี, ๒๐๗ ประกอบมาตรา ๑๙๙ ตรี (๖) คำร้องขอขัดทรัพย์ มาตรา ๒๘๘
คำคู่ความ (ต่อ) สิ่งที่มิใช่คำคู่ความ (๑) คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา ๑๙๙ (๒) คำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ระหว่างศาลพิจารณา คดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา ๒๐๖ วรรคสาม (๓) คำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาใน คดีตามมาตรา ๕๗ (๓)
ข้อควรพิจารณา สิ่งใดไม่ใช่คำคู่ความ หากศาลสั่งไม่รับหรือ คืน ย่อมไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความ ตาม มาตรา ๑๘ วรรคท้าย แต่ถือเป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณา ฎ.๕๘๖/ฝ๒๕๔๙, ฎ.๑๓๕๙/๒๕๕๐
การตรวจคำคู่ความ (๑) การยื่นคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อ ศาลนั้น ให้กระทำได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ของศาล หรือยื่นต่อศาลในระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๖๙ (๒) เจ้าพนักงานศาลไม่มีอำนาจตรวจคำ คู่ความเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น ฎ.๑๗๙/๒๕๑๘, ฎ.๑๖๗๓/๒๕๒๓
การตรวจคำคู่ความ (๓) สิ่งที่ศาลต้องตรวจ คือ (๓.๑) คำคู่ความนั้นอ่านเข้าใจหรือไม่ เขียนฟุ่มเฟือย เกินไปหรือไม่ (๓.๒) คำคู่ความมีรายการครบถ้วนตามมาตรา ๖๗ หรือไม่ (๓.๓) คำคู่ความแนบเอกสารต่าง ๆตามที่กฎหมาย ต้องการหรือไม่ (๓.๔) คำคู่ความลงลายมือชื่อครบถ้วนหรือไม่ (๓.๕) คู่ความวางค่าธรรมเนียมศาลถูกต้องครบถ้วน หรือไม่ (๓.๖) คู่ความยื่นคำฟ้องถูกเขตอำนาจศาลหรือไม่
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๔) กรณีที่ศาลตรวจคำคู่ความแล้วปรากฏว่าคำ คู่ความไม่ชอบด้วยข้อ ๓.๑ ถึง ๓.๕ ศาลจะมีคำสั่งไม่รับ คู่ความทันทีไม่ได้ ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนคู่ความนั้นไปทำมา ใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียม ศาลให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกำหนด เงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาล เห็นสมควร ถ้าคู่ความมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลใน ระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำ คู่ความนั้น ตามมาตรา ๑๘ วรรคสองตอนท้าย หากศาลมี คำสั่งไม่รับทันทีย่อมถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามมาตรา ๒๗ ฎ.๑๐๓๓/๒๕๔๙,ฎ.๑๔๓๑๗/๒๕๕๗
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๕) กรณีที่ศาลตรวจคำคู่ความแล้วปรากฏว่าคำ คู่ความไม่ชอบด้วยข้อ ๓.๖ ศาลต้องมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำ คู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม (๖) กรณีที่ศาลตรวจคำคู่ความแล้วปรากฏว่าคำคู่ ความชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำ คู่ความนั้นไว้บนคำคู่ความหรือในที่อื่น ตามมาตรา ๑๘ วรรคสี่
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๗) ที่ว่า “อ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ เขียนฟุ่มเฟือย เกินไป” หมายความรวมถึง เขียนคำคู่ความก้าวร้าวเสียสี ศาล ฎ.๗๑-๗๒/๒๔๙๑ และใช้แบบพิมพ์ศาลไม่ถูกต้อง ฎ. ๒๖๓/๒๕๑๑,ฎ.๔๐๗๑/๒๕๓๔ หมายเหตุ กรณีที่คำคู่ความใช้แบบพิมพ์ศาลไม่ ถูกต้องแล้วศาลผลั้งเผลอรับคำคู่ความนั้นมา ก็ไม่ถึงกับจะ ทำให้คำคู่ความเสียไป อนุโลมให้เป็นคำคู่ความโดยชอบได้ ไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ฎ.๔๐๗๑/ ๒๕๓๔
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) คำถาม คำฟ้องที่บรรยายไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๗๒ หรือคำให้การที่บรรยายโดยไม่ ชอบด้วยมาตรา ๑๗๗ ศาลจะสั่งให้คืนไปทำ มาใหม่ หรือให้แก้ไขได้หรือไม่
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๘) ที่ว่า “ไม่มีลายมือชื่อ” อาจเกิดจากกรณีที่คู่ความ ลงลายมือชื่อไม่ครบถ้วน ฎ.๘๗๑/๒๕๕๐,ฎ.๕๖๒๒/๒๕๔๘ หรือลงลายมือชื่อครบถ้วนแล้วแต่ลงไปโดยไม่มีอำนาจ อาจ เกิดขึ้นจากใบแต่งทนายไม่ชอบทำให้ทนายไม่มีอำนาจลง ลายมือชื่อในคำคู่ความ ฎ.๔๔๒๒/๒๕๔๕ หรือ หนังสือมอบ อำนาจไม่ถูกต้องทำให้การแต่งทนายไม่ชอบทำให้ทนายไม่ มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำฟ้องได้ ฎ.๘๗๑/๒๕๕๐ (พิจารณาเปรียบเทียบ ฎ.๙๖๒/๒๕๓๔)
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๙) ที่ว่า “เอกสารต่างๆที่กฎหมายต้องการ” คือ (๙.๑) หนังสืออนุญาตหรือให้ความยินยอมในการ ดำเนินคดี ตามมาตรา ๕๖ (๙.๒) ใบแต่งทนายความตามมาตรา ๖๑ (๙.๓) หนังสือแต่งตั้งให้รับเงินหรือทรัพย์สินที่วางใน ศาล ตามมาตรา ๖๓ (๙.๔) ใบมอบฉันทะตามมาตรา ๖๔
การตรวจคำคู่ความ (ต่อ) หมายเหตุ หนังสือมอบอำนาจ ฎ.๖๑๕๔/๒๕๕๘ฎ. ๑๘/๒๕๔๔,ฎ.๓๒๔๓/๒๕๔๐,ฎ.๓๙๒/๒๕๓๕ ,หนังสือสัญญา ต่าง ๆ ฎ.๓๓๐๓/๒๕๓๒, ฎ.๙๔๔/๒๕๒๕, ฎ.๑๐๗๗/ ๒๕๒๐,ฎ.๒๒๐๖/๒๕๒๒ หรือ บัญชีเครือญาติและมรณบัตร ฎ.๑๔๐๗/๒๕๓๐ หลักฐานเกี่ยวกับค่าเสียหาย ฎ.๖๒๘- ๖๒๙/๒๕๓๙ รายละเอียดของการซื้อขายหลักทรัพย์ใน ตลาดหลักทรัพย์ ฎ.๑๔๓๑๗/๒๕๕๖ หนังสือรับรองนิติ บุคคล ฎ.๔๑๐/๒๕๕๐ ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายต้องการ ไม่ ต้องแนบมากับคำคู่ความ
ข้อควรพิจารณา คำถาม ในกรณีที่คู่ความแนบสัญญามาพร้อมกับคำ คู่ความแต่ในสัญญานั้นไม่สมบูรณ์ เช่นสัญญาเช่าซื้อมิได้ลง ลายมือชื่อผู้ให้เช่าซื้อหรือผู้เช่าซื้อ ศาลจะสั่งคำฟ้องอย่างไร คำตอบ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้มีกฎหมายบังคับให้ ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดย ยกข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ตามมาตรา ๑๗๒ วรรคหนึ่ง ฟ้อง ของโจทก์ย่อมชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการที่จะพิจารณา สัญญาเช่าซื้อนั้นสมบูรณ์หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องนำสืบในชั้น พิจารณา ดังนั้นศาลจึงไม่อาจยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำ ฟ้องโดยมิได้โจทก์นำพยานเข้าสืบได้ ฎ.๓๐๒๔/๒๕๓๓
ข้อควรพิจารณา คำถาม ในกรณีที่โจทก์แนบหนังสือมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีมาพร้อมกับคำฟ้องแต่ปรากฏซ่าหนังสือมอบอำนาจ ดังกล่าวนั้นมิได้ระบุว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ศาลจะ พิพากษายกฟ้องได้ทันทีหรือไม่ คำตอบ เมื่อหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้มีอำนาจ ฟ้องคดี ย่อมเป็นเรื่องไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลมีอำนาจยกฟ้อง ได้ทันทีตามมาตรา ๑๗๒ วรรคท้าย โดยไม่จำต้องมีคำสั่ง รับคำฟ้องก่อน ฎ.๕๖๓๐/๒๕๔๘ หมายเหตุ แต่การที่หนังสือมอบอำนาจที่แนบมาท้าย คำฟ้อง มิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ไว้ ไม่ทำให้ คำฟ้องโจทก์เสียไป เพราะหนังสือมอบอำนาจมิใช่เอกสารที่ กฎหมายต้องการ ฎ.๖๑๕๔/๒๕๕๘
ตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๑๐) ที่ว่า “มิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาล” คือ ค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา ๑๔๙ และมาตรา ๑๕๐ (ตาม ตาราง ๑ และ ๒ ท้าย ป.วิ.พ.) หมายเหตุ เงินค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนคู่ความอีก ฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา ตามมาตรา ๑๖๑ ที่ผู้อุทธรณ์ต้อง นำมาวางพร้อมกับอุทธรณ์ มิใช่เงินค่าธรรมเนียมศาล หาก ผู้อุทธรณ์ไม่นำมาวาง ศาลมีอำนาจไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที ฎ. ๕๕๔๒/๒๕๕๗
ตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๑๑) กรณีดังต่อไปนี้ ศาลมีอำนาจไม่รับคำคู่ความ หรือยกฟ้องได้ทันที โดยไม่ต้องสั่งให้คืนไปทำมาใหม่ ตาม มาตรา ๑๘ วรรคสาม (๑๑.๑) ผู้เรียงคำฟ้องมิได้เป็นทนายความ ฎ.๕๒๘๐/ ๒๕๔๕ (๑๑.๒) โจทก์ฟ้องคดีหลังจากถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ฎ.๙๓๗๓/๒๕๕๐ (๑๑.๓) คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง ฟ้องแย้ง ไม่ เกี่ยวกับฟ้องเดิม (๑๑.๔) ยื่นคำคู่ความเกินระยะเวลาที่กฎหมาย กำหนด (๑๑.๕) ทนายความได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินคดีแต่ เฉพาะศาลชั้นต้นแต่กลับยื่นอุทธรณ์ ฎีกา ฎ.๘๔๒/๒๕๐๙
ตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๑๑.๖) ในคดีที่มีหลายข้อหาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกฟ้องต่างหากออกจากกันได้ แต่โจทก์กลับฟ้อง รวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน เพื่อโจทก์จะได้เสียค่าขึ้นศาลใน อัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้น ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องในข้อหาที่ไม่เกี่ยวข้อง กัน ฎ.๑๖๘๑/๒๕๔๙ (๑๑.๗) ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน ดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำ ฎ.๕๐๗๑/๒๕๔๙ (๑๑.๘) คำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์ไม่อาจบังคับได้ ฎ. ๓๖๖๕/๒๕๔๖ (๑๑.๙) คำขอบังคับท้ายฟ้องโจทก์บังคับ บุคคลภายนอกคดี ฎ.๔๔๔/๒๕๔๖
ตรวจคำคู่ความ (ต่อ) (๑๑.๑๐) คำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูก โต้แย้งสิทธิ ฎ.๔๒๔/๒๕๔๔, ฎ.๔๖๕๗/๒๕๕๕ (๑๑.๑๑) ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัด ซึ่งไม่อาจกระทำได้ ฎ.๑๑๔๑๗/๒๕๕๓
ตรวจคำคู่ความ (ต่อ) การคืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นตรวจคำ คู่ความ (๑) หากศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัย ในเนื้อหาแห่งคดี ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้ คู่ความทั้งหมด ตามมาตรา ๑๕๑ วรรคหนึ่ง (๒) หากศาลมีคำสั่งยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องตาม มาตรา ๑๗๒ วรรคท้าย ถือว่าศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่ง คดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาล ตาม มาตรา ๑๕๑