มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา การจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาปฐมวัย รศ. บรรพต พรประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ความสำคัญของเด็ก วัย 0 - ๕ ปี ความสำคัญของเด็ก วัย 0 - ๕ ปี * ควรได้รับการตอบสนองขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ * ควรปูพื้นฐานชีวิตให้ดี เพื่อความสุขในชีวิตข้างหน้า
หลักการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ๑. การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ๒. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๓. การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ๔. การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ๕. ความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครองของเด็ก
จุดเน้นของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย * อบรมเลี้ยงดูให้การศึกษา * พัฒนาการทุกด้าน * ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง * ความสมดุล * การเล่นคือการเรียนรู้ * บูรณาการผ่านการเล่น
เป้าหมายในการพัฒนาเด็ก * เป็นคนดี * มีความรู้ * อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข * มีความเป็นไทย
ลักษณะของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กำหนดไว้ ๒ ช่วงอายุ ๑. สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี (หมายถึง ๒ ปี ๑๑ เดือน ๒๙ วัน) ๒. สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๕ ปี (หมายถึง ๕ ปี ๑๑ เดือน ๒๙ วัน)
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๕ ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทของสังคม - วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรักความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานของชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
หลักการ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๒๕๔๖ หลักการ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๒๕๔๖ ๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท ๒. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย ๓. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ๔. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ๕. ประสานความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา ในการพัฒนาเด็ก
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๕ ปี) ๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี ๒. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน ๓. มีสุขภาพจิตดี และ มีความสุข ๔. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม ๕. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
๙. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ๖. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย ๗. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย ๘. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข ๙. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ๑๐. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ๑๑. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ๑๒. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
คุณลักษณะตามวัย เป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติ เมื่อเด็กมีอายุ ถึงวัยนั้นๆ สิ่งเหล่านี้ควรจะมีการพัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสมกับวัย ของเด็ก เช่น เด็ก 3-4 ปี ควรจะขึ้นบันไดสลับเท้าได้ ใช้กรรไกรมือเดียวได้ รอคอยตามลำดับก่อนหลังได้ ใช้คำถามอะไรทำไมได้ รู้ค่าจำนวน 1-3 บอกแข็ง-นิ่มได้
อารมณ์-จิตใจ สติปัญญา สังคม กล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่ การมีคุณธรรม การรู้จักตนเอง และช่วยตนเอง สุขภาพอนามัย ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ เวลา สติปัญญา สังคม มิติสัมพันธ์ การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม การสังเกต จำแนก และการเปรียบเทียบ การใช้ภาษา จำนวน การคิด การอยู่ร่วมกัน ในสังคม
ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ๑-๓ ปีการศึกษา ระยะเวลาเรียน ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ๑-๓ ปีการศึกษา
โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๒๕๔๖ โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ๒๕๔๖ ช่วงอายุ อายุต่ำกว่า ๓ ปี อายุ ๓ - ๕ ปี สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา สาระที่ควรเรียนรู้ เด็ก บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก พัฒนาทุกด้าน องค์ความรู้ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เวลาในการอบรม ตลอดช่วงอายุ ประมาณ ๑ – ๓ ปี
สาระการเรียนรู้ สาระที่ ควรเรียนรู้ ประสบการณ์ สำคัญ สรุปบทบาท
สาระการเรียนรู้ ๑. ด้านความรู้ ประกอบด้วย ๒. ทักษะกระบวนการ ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ทั้งสองส่วนใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีองค์ประกอบ ๓ ด้าน ๑. ด้านความรู้ สรุปบทบาท ๒. ทักษะกระบวนการ ๓. คุณธรรม จริยธรรม
เรื่องราวเกี่ยวข้องใกล้ตัวเด็ก ความรู้ เรื่องราวเกี่ยวข้องใกล้ตัวเด็ก - บุคคล สถานที่ ธรรมชาติ สรุปบทบาท สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ๐๐๐ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา
ทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการ ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษา สรุปบทบาท ทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักการเรียนรู้ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปบทบาท มีคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย
☺ ช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ ☺ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ☺ มีกระบวนการทำกิจกรรม (ทำงาน) นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ และ ☺ ช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติ รอบตัวเด็ก สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
จัดประสบการณ์ตรง จัดกิจกรรมประจำวัน การจัดประสบการณ์ จัดประสบการณ์ตรง จัดกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น จัดกิจกรรมประจำวัน
หลักการจัดประสบการณ์ ๑. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง ๒. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ ๓. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต ๔. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ ๕. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
หลักการการจัดกิจกรรมประจำวัน กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า ๒๐ นาที กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี ใช้เวลาประมาณ ๔๐-๖๐ นาที
หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน ๔. กิจกรรมควรมีความสมดุลระหว่างกิจกรรม ในห้องเรียน – นอกห้องเรียน ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ – กล้ามเนื้อเล็ก รายบุคคล กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ เด็กเป็นผู้ริเริ่ม – ผู้สอนเป็นผู้ริเริ่ม ใช้กำลัง - ไม่ใช้กำลัง
กิจกรรม กิจกรรมเสรี/การเล่าตามมุม กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์/กิจกรรมในวงกลม กิจกรรมกลางแจ้ง เกมการศึกษา
เด็กปฐมวัย เรียนอะไร เรียนอย่างไร และได้อะไร เด็กปฐมวัย เรียนอะไร เรียนอย่างไร และได้อะไร -พ่อแม่ -ครู -ผู้ปกครอง -ชุมชน เรียนอะไร ใครเกี่ยวข้อง เรียนอย่างไร - ตัวเด็ก - บุคคลและสถานที่ แวดล้อม - ธรรมชาติรอบตัว - สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ -ด้านร่างกาย -ด้านอารมณ์และจิตใจ -ด้านสังคม -ด้านสติปัญญา เด็ก ปฐมวัย - การใช้ประสาทสัมผัส - การเล่น - การสำรวจ - การทดลอง - ประสบการณ์ตรง ฯลฯ ได้อะไร พัฒนาด้านร่างกาย - สุขนิสัย - กล้ามเนื้อใหญ่ - กล้ามเนื้อเล็ก - ความปลอดภัย พัฒนาด้านอารมณ์ และจิตใจ - สุขภาพจิต - คุณธรรม จริยธรรม พัฒนาด้านสังคม - ช่วยเหลือตนเอง - อยู่ร่วมกับผู้อื่น - รักความเป็นไทย - อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาด้านสติปัญญา - คิดแก้ปัญหา - คิดสร้างสรรค์ - ใช้ภาษาสื่อสาร
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการ ความจำเป็นและทันต่อเหตุการณ์
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ๔. เน้นความร่วมมือของบุคลากร ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน ๕. บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและบริหารตนเอง ๖. มีระบบการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ
ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา….. ๑. ศึกษาทำความเข้าใจเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ฯ และเอกสารหลักสูตรอื่นๆ รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กและครอบครัว สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ๒. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ๓. ตรวจสอบหลักสูตรของสถานศึกษาปฐมวัย ขออนุมัติใช้
วิเคราะห์สภาพความต้องการ กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ชุมชน โรงเรียน วิเคราะห์สภาพความต้องการ วิเคราะห์หลักสูตร จัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา ตรวจสอบหลักสูตรของสถานศึกษา ขออนุมัติกรรมการสถานศึกษา นำไปจัดประสบการณ์
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา….. ๑. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เขียน ข้อมูลทั่วไป ๒. กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย ๓. กำหนดจุดหมาย(คุณลักษณะที่พึงประสงค์ คุณลักษณะตามวัยหรือสภาพที่พึงประสงค์) ๔. กำหนดระยะเวลาเรียน
๕. กำหนดสาระการเรียนรู้รายปี รายชั้น ๖. กำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ ๗ ๕. กำหนดสาระการเรียนรู้รายปี รายชั้น ๖. กำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์ ๗. กำหนดการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ๘. กำหนดสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ๙. กำหนดแนวทางการประเมินพัฒนาการ ๑๐. การบริหารจัดการหลักสูตร
ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา …เขียนระบุประวัติความเป็นมา สถานที่ตั้ง จำนวนเนื้อที่ อาคาร สภาพทั่วๆไปของเด็ก ผู้ปกครอง ครู ชุมชน ระบบการบริหาร ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับโรงเรียน ที่เห็นว่ามีความสำคัญ และควรปรากฏอยู่ในเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน วิธีการเขียน ใช้การเขียนบรรยายให้กระชับชัดเจน อาจมีตารางข้อมูล หรือแผนผัง หรือภาพถ่าย ตามที่เห็นสมควร
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของหลักสูตรสถานศึกษา …ความเชื่อ หลักการ อุดมการณ์ แนวคิดหลักในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ซึ่งเชื่อว่าเด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้อย่างไร หลักในการพัฒนาเด็กเป็นอย่างไร คุณลักษณะของเด็กในอุดมการณ์เป็นอย่างไร…ปรัชญาของโรงเรียนที่มีอยู่แล้วกับปรัชญาการศึกษาปฐมวัยจะสอดคล้องต้องกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพียงแต่ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยจะชี้ชัดให้เห็นถึงแนวคิด ความเชื่อในการจัดการศึกษาปฐมวัย
ตัวอย่าง โรงเรียนบ้านหมีแสนสุข จัดการศึกษาให้เด็กมีพัฒนาการครบถ้วนตามวัย โดยเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมกระบวนการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล และความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น โดยเน้นให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม มีความสามารถและมีความสุข
ตัวอย่าง โรงเรียนอนุบาลแสนสุขจัดการศึกษาอยู่บนพื้นฐานของการให้ความรัก ความอบอุ่น โดยมุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่น ได้ลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต มีนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า มีน้ำใจ มีวินัย รักท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วิสัยทัศน์ …วิสัยทัศน์ หมายถึง เจตนารมณ์ อุดมการณ์ ความเชื่อของสถานศึกษา ที่คาดหวังจะพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นการคิดไปข้างหน้าอย่างมี เอกลักษณ์ …สถานศึกษาต้องกำหนด วิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับปรัชญาของสถานศึกษา สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของสังคม รวมทั้งความต้องการพื้นฐานของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ตัวอย่าง….วิสัยทัศน์ โรงเรียนบ้านหมีแสนสุข มุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัย ๓ -๕ ปี ให้มีพัฒนาการรอบด้าน เต็มศักยภาพ โดยเน้นการคิดแก้ปัญหา ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมตามวัย ช่วยเหลือตนเองได้ มีความรับผิดชอบมีค่านิยมความเป็นไทย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง จากสื่อและแหล่ง การเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันสมัย บุคลากรมีความรู้และจิตวิทยาพัฒนาการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยชุมชน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษา
...ตัวอย่าง...... วิสัยทัศน์ โรงเรียนอนุบาลสดใสจะมีบุคลากรที่จัดประสบการณ์และอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาเด็กให้สมบูรณ์ตาม วัย ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย รวมทั้งเน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและชุมชน
ภารกิจ …ภารกิจ หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติเพื่อให้วิสัยทัศน์ของโรงเรียนปรากฏเป็นจริง …วิธีการเขียน ควรระบุกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เพื่อสะท้อนกรอบความคิด ในการทำงานและการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ๑, แสดงถึงงานที่ต้องปฏิบัติ ๒, สะท้อนวิธีดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ๔. ตรงกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
ตัวอย่าง…...ภารกิจ ๑, จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมด้านความรับผิดชอบ และความเป็นไทย ๒, จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและการสื่อสาร ๓, จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ๔, พัฒนาครู/บุคลากร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดประสบการณ์ด้านปฐมวัย ๕, จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ให้เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ๖. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย
ภารกิจ (ตัวอย่าง) ๑. พัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทั้ง ๔ ด้าน ๑. พัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทั้ง ๔ ด้าน ๒. สรรหาและพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ๓. จัดหาและส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี และสื่อที่ทันสมัย ๔. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับ ผู้ปกครองและชุมชน
เป้าหมาย หรือ จุดหมาย …เป้าหมาย หมายถึง ผลสัมฤทธิ์หรือจุดหมายที่สถานศึกษาคาดหวังให้เกิดกับเด็กปฐมวัย ตามภาระงานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ …วิธีการเขียน ควรระบุเป้าหมายให้สอดคล้องกับภารกิจให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร อย่างไรแก่เด็กที่จบจากหลักสูตรนี้ และ จะต้องสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง
ตัวอย่าง...เป้าหมาย ๑, เด็กเป็นผู้ใฝ่รู้ รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ๒, เด็กมีพฤติกรรม - ด้านการคิด การแก้ปัญหา - ด้านการใช้ภาษาสื่อสาร - และความเป็นไทย ๓. เด็กมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความอ่อนน้อม อ่อนโยน มีความกตัญญูกตเวที ๔, เด็กมีความพร้อมในการศึกษาต่อระดับประถมศึกษา ๕, เด็กมีสุขลักษณะนิสัยที่ดี และมีความสุขในการดำรงชีวิต
ตัวอย่าง...เป้าหมาย เด็กมีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรม เด็กมีความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมสติปัญญา เด็กรู้จักคิด แก้ปัญหา และกล้าแสดงออกที่เหมาะสมกับวัย เด็กเป็นสมาชิกที่เด็กของครอบครัว ชุมชน และสังคม เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ พร้อมทั้งเรียนรู้อย่างมีความสุข
ตัวอย่าง...เป้าหมาย เด็กใช้ภาษาสื่อสารเหมาะสมกับวัย เด็กสมารถช่วยตัวเองและเอื้ออาทรต่อบุคคลรอบข้าง เด็กมีสุขภาพ พลานามัยและมีสุขนิสัยที่ดี เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เด็กรักและชื่นชมธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมไทย และความเป็นไทย
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ …โรงเรียนกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษาโดย พิจารณาจากมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรแกนกลาง ๑๒ ประการ …หากเห็นว่ามาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตร ครอบคลุม สอดคล้องกับลักษณะของโรงเรียน อยู่แล้ว จะใช้คุณลักษณะตามหลักสูตรแกนกลางเลยก็ได้
การกำหนดตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ …เป็นการพิจารณาว่ามาตรฐานคุณลักษณะที่กำหนดไว้จะมีตัวบ่งชี้อะไร และสภาพที่ควรปรากฏ หรือสภาพที่พึงประสงค์ คืออะไร เมื่อจำแนกตามอายุของเด็ก …พิจารณาไปทีละมาตรฐาน โดยใช้เอกสาร “คู่มือการประเมินพัฒนาการประกอบ”
จากมาตรฐานสู่ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ ๓ ขวบ สภาพที่พึงประสงค์ ๔ ขวบ ๕ ขวบ ๑.น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์ น้ำหนัก/ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์ เส้นรอบศีรษะ เป็นไปตามเกณฑ์ ยอม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์บางชนิด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิด ๒.รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย รักษาความสะอาดของ ร่างกาย รักษาความสะอาดของ ร่างกาย รักษาความสะอาดของ ร่างกาย
มฐ.๒ กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก แข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน ตัวบ่งชี้ ๓ ขวบ สภาพที่พึงประสงค์ ๔ ขวบ ๕ ขวบ วิ่งและหยุดได้โดยเสียการทรงตัวเล็กน้อย วิ่งอย่างเร็วและหยุดได้โดยไม่เสียการทรงตัว ๑.เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วและทรงตัวดี วิ่งแล้วหยุดได้ กระโดดขึ้นลง อยู่กับที่ได้ กระโดดขาเดียว อยู่กับที่ได้ กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้ต่อเนื่อง รับลูกบอลโดยใช้มือและลำตัวช่วย รับลูกบอลได้โดยไม่ใช้ลำตัวช่วย รับลูกบอลที่กระดอนจากพื้นได้ ๒.ใช้มือได้อย่างคล่องแคล่ว ลากเส้นมีลักษณะเป็นวงกลม เขียนรูปสี่เหลี่ยมมีมุมชัดเจน เขียนรูปเป็นสามเหลี่ยมมีมุมชัดเจน
การกำหนดตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์จากมาตรฐาน มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างสภาพที่พึงประสงค์ ตัวอย่างตัวบ่งชี้ ๓ ขวบ ๔ ขวบ ๕ ขวบ สร้างผลงานตาม ความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น สร้างผลงานตามความคิด ของตนเอง โดยมีรายละเอียด เพิ่มขึ้นและแปลกใหม่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ทำงานศิลปะตาม ความคิดของตนเอง สร้างผลงานตาม ความคิดของตนเอง แสดงท่าทางตาม ความคิด จินตนาการ อย่างอิสระ แสดงท่าทาง เล่นบทบาท สมมติตามจินตนาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ ๒ แสดงท่าทางตาม ความคิดของตนเอง แสดงท่าทางตาม จินตนาการ เล่านิทาน เล่าสิ่งที่ตนคิด หรือเล่าเรื่องราว ตามจินตนาการได้ ตัวบ่งชี้ที่ ๓ เล่าเรื่องหรือนิทานตาม ความคิดของตนเอง เล่าเรื่องตาม จินตนาการ เล่านิทานหรือเรื่องราว ตามจินตนาการได้
โครงสร้างหลักสูตร ระยะเวลาเรียน สาระการเรียนรู้
ระยะเวลาเรียน …ช่วงระยะเวลาที่สถานศึกษาจัดการอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กอายุ ๓-๕ ปี ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน ระยะเวลาของการจัดการศึกษาปฐมวัยในแต่ละหน่วยงาน ในแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของโรงเรียนนั้นๆ เช่น บางโรงเรียนเปิดสอน ๓ ปีการศึกษารับเด็กอายุ ๓-๕ ปี บางโรงเรียนเปิดสอน ๒ ปีการศึกษา รับเด็กอายุ ๔-๕ ปี หรือ บางโรงเรียนเปิดสอนการศึกษาปฐมวัยเพียง ๑ ปี รับเด็กอายุ ๕ ปี เป็นต้น
การกำหนดสาระการเรียนรู้ รายชั้น/รายปี สาระที่ ควรเรียนรู้ ประสบการณ์ สำคัญ
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี รายชั้น สาระที่ควรเรียนรู้ รายละเอียด ประสบการณ์ สาระที่ควรเรียนรู้ ๓ ขวบ ๔ ขวบ ๕ ขวบ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล ความสำคัญ ความหมายของชื่อ นามสกุล ที่มาขอชื่อนามสกุล รูปร่าง หน้าตา ๑.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะต่าง ๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองคนเดียว หรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี ลักษณะของรูปร่างหน้าตา ความเหมือน ความแตกต่างของรูปร่างหน้าตา รหัสประจำตัวประชาชน การเคลื่อน- ไหวพร้อมกับวัสดุอุปกรณ์ ชื่อ รูปร่าง หนาที่และการดูแลรักษาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การใช้อุปกรณ์ทดแทนการสูญเสียอวัยวะ ชื่อ รูปร่าง ลักษณะหน้าที่ ส่วนประกอบของอวัยวะ การเล่นเครื่องเล่นสนาม
ตัวอย่างตารางการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี สำหรับเด็กอายุ ๔ ขวบ ตัวอย่างตารางการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี สำหรับเด็กอายุ ๔ ขวบ สภาพ ที่พึงประสงค์ สาระการเรียนรู้ พัฒนา การ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ สาระที่ควรเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ มฐ. ๑ ร่างกายเจริญ เติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ ๑ รู้จักรักษาสุขภาพ อนามัย และ ความปลอดภัย - รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ได้บางชนิด - ล้างมือหลังจากใช้ ห้องน้ำห้องส้วม - ขับถ่ายเป็นเวลา - พักผ่อนเป็นเวลา - ระมัดระวังความปลอดภัย ของตนเองและผู้อื่น ด้าน ร่างกาย ตัวเด็ก - สุขนิสัยที่ดี ในรับประทานอาหาร - การปฏิบัติกิจวัตร ประจำวัน - การออกกำลังกาย - ความปลอดภัย การรักษาสุขภาพ - การปฏิบัติตน ตามสุขอนามัย การรักษาความปลอดภัย - การรักษาความปลอดภัย ของตนเองและผู้อื่น ในกิจวัตรประจำวัน ด้าน อารมณ์ และ จิตใจ มฐ. ๔ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจ ที่ดีงาม ตัวบ่งชี้ที่ ๑ มีวินัยในตนเอง และมีความ รับผิดชอบ - การเล่น - ความรับผิดชอบ ในห้องเรียน ดนตรี - การร้องเพลง รับผิดชอบงานที่ได้ มอบหมายจนสำเร็จ
ตัวอย่างตารางการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี สำหรับเด็กอายุ ๔ ขวบ ตัวอย่างตารางการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี สำหรับเด็กอายุ ๔ ขวบ สภาพ ที่พึงประสงค์ สาระการเรียนรู้ พัฒนา การ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ * สาระที่ควรเรียนรู้ ** ประสบการณ์สำคัญ ด้าน สังคม มฐ. ๖ ช่วยเหลือ ตนเองได้ เหมาะสม กับวัย - การแต่งกาย - การรับประทาน อาหาร ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันได้ ด้วยตนเอง การเรียนรู้ทางสังคม - การปฏิบัติ กิจวัตรประจำวัน ของตนเอง - แต่งตัวได้ด้วยตนเอง - รับประทานอาหารได้ ด้วยตนเองไม่หกเลอะเทอะ ด้าน สติ ปัญญา มฐ. ๑๐ มีความ สามารถ ใน การแก้ปัญหา ได้เหมาะสม กับวัย การคิด - การรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วย การมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น การสังเกต การจำแนก และ การจัดกลุ่ม - การเปรียบเทียบ - การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ ตัวบ่งชี้ที่ ๑ มีความคิด รวบยอด ในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ จำแนกสิ่งของได้ ตามสี รูปทรง ขนาด - ประสาทสัมผัส ทั้งห้า
หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ อายุ ๓ ขวบ (อนุบาลปีที่ ๑) อายุ ๔ ขวบ (อนุบาลปีที่ ๒) อายุ ๕ ขวบ (อนุบาลปีที่ ๓) หน่วยการเรียนรู้ จำนวน …... หน่วย หน่วยการเรียนรู้ จำนวน ……..หน่วย หน่วยการเรียนรู้ จำนวน ๘ หน่วย หน่วยที่ ๑ …….. หน่วยที่ ๒ …….. หน่วยที่ ๓ …….. หน่วยที่ ๔ …….. หน่วยที่ ๕ ……. หน่วยที่ ๖ ……... หน่วยที่ ๗……... หน่วยที่ ๘……… หน่วยที่ ๙……… ฯลฯ หน่วยที่ ๑ …….. หน่วยที่ ๒ …….. หน่วยที่ ๓ …….. หน่วยที่ ๔ …….. หน่วยที่ ๕ …….. หน่วยที่ ๖ ……... หน่วยที่ ๗……... หน่วยที่ ๘……… หน่วยที่ ๙………. หน่วยที่ ๑๐……… ฯลฯ หน่วยที่ ๑ ลูกไก่ หน่วยที่ ๒ เพื่อน หน่วยที่ ๓ กล้วย หน่วยที่ ๔ ฝน หน่วยที่ ๕ ชิงช้า หน่วยที่ ๖ เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ
๖.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ให้เด็กอายุ ๓-๕ ปีมีโอกาสได้กระทำกิจกรรมด้วยตัวเอง กิจกรรมการเรียนรู้จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์
ในส่วนนี้ให้สถานศึกษา เขียนระบุหลักการ แนวทาง หรือวิธีการ ในการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาเด็ก โดยศึกษาหลักการ แนวทางการจัดประสบการณ์และการจัดกิจกรรมประจำวันจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ และเอกสารคู่มือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดการจัดประสบการณ์ หลักการจัดประสบการณ์ เป็นลักษณะของ หลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน การบริหารจัดการ แนวทางการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้ได้เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ การจัดกิจกรรมประจำวัน เป็นลักษณะรูปแบบกิจกรรมที่จัดให้แก่เด็กตลอดหลักสูตร
ตัวอย่างแนวการจัดประสบการณ์ โรงเรียนอนุบาลบ้านแสนสุข จัดการเรียนการสอนให้เด็กอายุ ๓-๕ ปี โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านการเล่น เป็นการบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการผ่านการจัดกิจกรรม ๖ กิจกรรม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการลงมือกระทำ เกิดความรู้ มีทักษะ มีคุณธรรม จริยธรรม และเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีทักษะกระบวนการคิด มีความเป็นไทยรักสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดกิจกรรม ๖ กิจกรรม โรงเรียนอนุบาลบ้านแสนสุข ดำเนินการดังนี้ ๑.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมท่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น สนทนา พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ อภิปราย ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การอภิปราย ทัศนศึกษา สังเกต เปรียบเทียบ ทดลองเล่นบทบาทสมมุติ ฯลฯ โดยเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และลงมือปฏิบัติ
๒.กิจกรรมเคลื่อนไหว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ทักษะทางด้านต่างๆ เช่นทักษะทางด้านจังหวะดนตรี ทักษะทางด้านการฟัง เป็นต้น เด็กๆได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระ ได้เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี เคลื่อนไหวร่างกายตามเพลง เคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการ ตามคำสั่ง การเล่นเครื่องดนตรี นาฏศิลป์สำหรับเด็ก ฯลฯ โดยกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ นั้น จะสอดคล้องและ ผสมผสานเข้ากับเรื่องที่เด็กเรียนรู้ ๓.กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกโดยอิสระด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย
๗. การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และทางจิตภาพ ขึ้นทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งต่างๆของโรงเรียนที่จะช่วยให้เด็กมีคุณภาพตามมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด
๘.กำหนดสื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อ เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมให้แก่เด็ก แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ นอกเหนือจากห้องศูนย์สื่อ เพื่อให้เด็กได้ใช้เป็นแหล่งค้นหา ความรู้ทั้ง ภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียน รวมทั้งภายนอกโรงเรียน
ตัวอย่าง การกำหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ จัดให้มีห้องศูนย์สื่อ สื่อได้จากคุณครู ผู้ปกครอง แหล่งชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีความปลอดภัย สามารถสัมผัสและเรียนรู้ได้ จัดหาสื่อโดยการจัดซื้อ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องเล่นไม้บล็อก หนังสือประเภทต่างๆ ที่เหมาะกับวัยและพัฒนาการของนักเรียน สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนักเรียน รวมถึงสื่อที่ได้จากพื้นที่ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า และสื่อที่ผลิตจากเศษวัสดุ ใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อาทิ เช่น ห้องซาวด์แลป คอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี (ดนตรีสากล และดนตรีไทย) สระว่ายน้ำ
แหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนจะเน้นที่ความเป็นธรรมชาติ มี สวนพฤกษศาสตร์ มีไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ซึ่งเด็กสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ การสังเกตความแตกต่างของใบไม้ ต้นไม้ ชื่อของต้นไม้ชนิดต่างๆ ลักษณะของต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้และ สถานที่ต่างๆ เช่น สวนน้ำ สวนผีเสื้อ สวนสัตว์จำลอง แปลงผัก นอกจากนี้ มีสนามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นสนามประเภทต่างๆ เช่น กระดานลื่น ชิงช้า ม้าหมุน ศาลาทรายเครื่องเล่นน้ำ สนามหญ้าสำหรับการเล่นกีฬากลางแจ้งอื่นๆ และเพื่อให้เด็กเรียนรู้ชีวิตของสัตว์ และเพื่อส่งเสริมความเมตตากรุณาต่อสัตว์ โรงเรียนมีมุมสัตว์เลี้ยง เช่น กรงนก ไก่ ตู้เลี้ยงปลา เป็นต้น รวมถึง แหล่งเรียนรู้ต่างๆในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน การเยี่ยมชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น มีการทัศนศึกษาสถานที่ต่างๆ ในชุมชน และศาสนสถานที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อที่ถ่ายทอดความภาคภูมิใจให้ความรู้และความประทับใจในอาชีพต่างๆ โดยเชิญบุคลากรในชุมชนมาเป็นวิทยากร เช่น ตำรวจ พยาบาล ฯลฯ
๙.กำหนดแนวทางการประเมินพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการ หมายถึง การติดตาม รวบรวม สรุปผลพัฒนาการ ความสามารถและการเรียนรู้ของเด็ก ให้ครอบคลุมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา การกำหนดแนวทางการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ของสถานศึกษา เป็นการระบุถึงหลักการ แนวทาง และวิธีการประเมิน เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการ ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการ
ตัวอย่างการกำหนดแนวทางการประเมินพัฒนาการ เป็นระบบกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เป็นรายบุคคล ทุกคน เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก เป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน กระบวนการประเมินพัฒนาการเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แล้วใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง ควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ วิธีการที่ใช้คือ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนา การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก แล้วครู ๒ คนในห้องเรียนประชุมกันทุกวันเพื่อบันทึกพฤติกรรมที่แสดงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละคนที่ครูรับผิดชอบ
การประเมินพัฒนาการจะดำเนินควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้ปกติประจำวัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนาเด็กแต่ละคนให้ค้นพบศักยภาพที่แฝงเร้นอยู่ในตัวของเขาเอง ไม่มีการให้คะแนนจัดลำดับเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นๆ การรายงานผลการประเมินพัฒนาการแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนตามการใช้ประโยชน์ของข้อมูล คือ การเสนอผลการพัฒนาต่อผู้ปกครองประจำภาคเรียน ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง นำเสนอผู้บริหารโรงเรียนเพื่อรับทราบผลการพัฒนา เดือนละ ๑ ครั้ง ผ่านเอกสารบัญชีเรียกชื่อและสมุดบันทึกพัฒนาการนักเรียน (อบ.๑) และการใช้ข้อมูลของครูเองในการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กคนนั้นๆ
การบริหารจัดการหลักสูตร …กำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ ตลอดจนการ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้การจัดการศึกษาปฐมวัย บรรลุผล เด็กมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
แผนภูมิการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา 2. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา - วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย . จุดหมาย (มาตรฐานคุณลักษะที่พึงปะสงค์) - โครงสร้างหลักสูตร - สาระการเรียนรู้รายปี - เวลาเรียน - การจัดประสบการณ์ - การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ - สื่อและแหล่งการเรียนรู้ - การประเมินพัฒนาการ - การบริหารจัดการหลักสูตร ฯลฯ 1. การเตรียมความพร้อม - สร้างความตระหนัก - พัฒนาบุคลากร - แต่งตั้งคณะกรรมการ ของสถานศึกษา - จัดทำระบบ ข้อมูลสารสนเทศ - จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพ ฯลฯ 3. การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร - กำหนดแผนที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ - กำหนดแผนส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ - กำหนดแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามและปะเมินผล 4. ดำเนินการใช้หลักสูตร จัดทำกำหนดการจัดประสบการณ์ ตารางกิจกรรมปะจำวัน แผนการจัดประสบการณ จัดประสบการณ์ 7. การปรับปรุง พัฒนา 6. การสรุปผลการดำเนินงาน - การประเมินผลการใช้หลักสูตร - รายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้อง 5. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล - กำหนดรูปแบบ เครื่องมือการนิเทศ - ดำเนินการนิเทศ เก็บข้อมูล
จัดทำเป็นเอกสารรูปเล่ม ดีที่สุดให้ดูตัวอย่างองค์ประกอบต่างๆ จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖
องค์ประกอบรูปเล่ม ของหลักสูตรสถานศึกษา ปก คำนำ สารบัญ -ข้อมูลทั่วไป -ปรัชญา วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายหรือจุดหมาย -โครงสร้าง - ระยะเวลาเรียน - สาระการเรียนรู้รายปี/รายชั้น -การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ -การสร้างบรรยากาศ -สื่อและแหล่งการเรียนรู้ -การประเมินพัฒนาการ -การบริหารจัดการหลักสูตร ภาคผนวก (ชื่อ คณะผู้จัดทำ)
หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรโรงเรียน…………...พ.ศ……. - วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย - จุดหมาย (มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์..ตัวบ่งชี้..สภาพ...) - โครงสร้างหลักสูตร - สาระการเรียนรู้รายปี (หน่วย/โครงการ/ฯลฯ) - เวลาเรียน - การจัดประสบการณ์ - การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ - สื่อและแหล่งการเรียนรู้ - การประเมินพัฒนาการ - การบริหารจัดการหลักสูตร ฯลฯ หน่วย / แผน อ.๑ หน่วย / แผน อ.๒ หน่วย / แผน อ.๓ …………….
หลักสูตรสถานศึกษา “…ประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์ อื่นๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ” “… เป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงาน การจัดการศึกษาทุกด้านของสถานศึกษา ”
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา -พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและเต็มศักยภาพ -สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ -มีการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการ ความจำเป็นและทันต่อเหตุการณ์ -เน้นความร่วมมือของบุคลากร ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน -บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและบริหารตนเอง -มีระบบการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ