ความจำเป็นของการมีแผนซ่อมเรือ 1. เป้าหมายสูงสุดของการมีเรือ คือ เรือมีความพร้อมทั้งหมด 100 % 2. ข้อจำกัดในการบรรลุเป้าหมายสูงสุด ---> เนื่องจากในเรือแต่ละลำ มีอุปกรณ์ในระบบต่าง ๆ ประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในการทำให้อุปกรณ์ทุกระบบของเรือทุกลำมีความพร้อม จึงต้องใช้งป.เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดในเรื่องของกำลังพล และสิ่งอำนวยความสะดวก 3. จาก 2 ทร. จึงกำหนดยุทธศาสตร์ของการใช้เรือ โดยให้เรือแต่ ประเภทมีความพร้อม (Availability) จำนวน 2/3 และ 1/3 ให้ทำการซ่อมทำ 4. ดังนั้น ความจำเป็นในการวางแผนซ่อมทำเรือ คือ การจัดให้เรือ ต่าง ๆ จำนวน 1/3 นี้ ผลัดกันเข้ารับการซ่อมทำ เพื่อให้เรือจำนวน2/3 มีความพร้อมใช้ตลอดเวลา
แนวคิดในการจัดแผนซ่อมทำเรือ 1.จัดเรือเข้าแผนการซ่อมฯ ในลักษณะการซ่อมคืนสภาพ ตามระยะเวลา จำกัดประจำปี โดยพิจารณาจาก ชม.ใช้การเครื่องจักรใหญ่และอายุสีตัวเรือใต้แนวน้ำ 2.จำนวนเรือแต่ละประเภทที่ไม่ได้จัดเข้าแผนการซ่อมฯจะต้องเหลือเพียงพอต่อความต้องการในระดับ พ.3 โดย อร.จะเสนอแนะชื่อเรือที่มีความพร้อม (โดยพิจารณาถึงเรือซึ่งเพิ่งได้รับการซ่อมทำคืนสภาพ/ตามระยะเวลาแล้วเสร็จ หรือมีชั่วโมงการใช้งานภายหลังการซ่อมทำต่ำ) เพื่อให้ กร.ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกใช้งาน 3.ทำการตรวจสอบทรัพยากรของหน่วย (แรงงาน / เครื่องมือ / สิ่งอำนวยความสะดวก / งบประมาณ อะไหล่) ก่อนจัดเรือเข้าแผนการซ่อมทำ เพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการซ่อมทำเรือให้แล้วเสร็จตามแผนมากที่สุด หากเกินขีดความสามารถจะพิจารณาการว่าจ้างซ่อมทำ 4. ทำการซ่อมทำเรือให้มีคุณภาพ และแล้วเสร็จตามแผน
ประโยชน์ของการซ่อมบำรุงตามแผน 1. สามารถใช้ยุทโธปกรณ์ได้ตลอดอายุการใช้งาน 2. กำหนดระยะเวลาการซ่อมบำรุงและวางแผนการใช้งานเรือ หรือยุทโธปกรณ์ได้ 3. ประหยัด งป.ในการซ่อมบำรุงแก้ไข 4. จัดเตรียม งป. และอะไหล่ล่วงหน้าได้ 5. เตรียมการเรื่องผู้ปฏิบัติงานและเครื่องมือล่วงหน้าได้
*แผนซ่อมบำรุงเรือของ อร.* ข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวางแผน 1. วงรอบอายุเรือ 2. แผนการซ่อมบำรุงเรือตามวงรอบอายุเรือ หรือแผนซ่อม ระยะยาว 3. แผนซ่อมเรือระยะปานกลาง 5 ปี 4. แผนซ่อมเรือล่วงหน้า 1 ปี 5. แผนการจัดหาอะไหล่ 3 ปี
แผนซ่อมเรือระยะยาว * แผนซ่อมเรือระยะยาวได้มาจากการนำเอาวงรอบอายุเรือของเรือแต่ละประเภท มาจัดทำเป็นแผนการซ่อมบำรุงตามวงรอบอายุเรือ โดยแบ่งให้ อธบ.อร., อจปร.อร., อรม.อร., และ กรง.ฐท.สส. รับเรือเข้าซ่อมบำรุงตามขีดความสามารถของ แต่ละหน่วย * แผนซ่อมเรือระยะยาว เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี งป.30 ต่อมาในปี งป.39 ได้มีการ ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการใช้เรือของ กร. ซึ่งในช่วงเวลา ตั้งแต่ปี งป.37 เป็นต้นมา กร.มีการใช้งานเรือบางประเภทเพิ่มขึ้น จนทำให้ แผนซ่อมเรือระยะยาวที่ใช้อยู่เดิมเกิดความคลาดเคลื่อน จำเป็นต้องมีการ ปรับปรุงแผนซ่อมเรือระยะยาวใหม่ให้เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่ออู่ราชนาวี- มหิดล แล้วเสร็จ
วงรอบอายุเรือ หมายถึง การกำหนดวงรอบอายุการซ่อมบำรุงเรือ โดยเริ่มนับตั้งแต่เรือเริ่มใช้งานจนถึงกำหนดเวลาที่เรือลำนั้นเข้ารับการซ่อมใหญ่ (OVERHAUL) หรือซ่อมคืนสภาพ วงรอบอายุเรือ มิได้หมายความว่าเป็นอายุของเรือจนถึงปลดระวาง ประจำการ อายุการใช้งานของเรืออาจเป็น 2 เท่า หรือ 3 เท่า หรือกี่เท่า ของวงรอบอายุเรือก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตรวจสภาพเมื่อเรือเข้ารับการซ่อมคืน สภาพในแต่ละครั้ง ว่าสมควรจะใช้งานต่อไปได้อีกหรือไม่ วงรอบอายุเรือ = จำนวนปีของการใช้งานเรือ + ระยะเวลาการซ่อมบำรุง
การคิดวงรอบอายุเรือ ข้อมูลที่ต้องการ 1. วงรอบการซ่อมบำรุงอุปกรณ์หลักภายในเรือ เช่น เครื่องจักรใหญ่หรือหม้อน้ำ 2. ความต้องการใช้งานเรือของผู้ใช้ในแต่ละปี หรือชั่วโมงการใช้งานเรือในแต่ละปี (กำหนดโดยผู้ใช้) 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง (ซ่อมตามระยะเวลาและซ่อมคืนสภาพ)
ตัวอย่างการคิดวงรอบอายุเรือ * ร.ล.สีชัง 1. วงรอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรใหญ่ - ซ่อมขั้น W5 = 6,000 ชม. - ซ่อมขั้น W6 = 12,000 ชม. 2. ความต้องการใช้งานเรือในแต่ละปี = 1,200 ชม. 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง - จำกัดประจำปี = 2 – 3 เดือนทุกวงรอบ2ปี(24-30เดือน) - ซ่อมตามระยะเวลา = 6 เดือน หรือ 1/2 ปี - ซ่อมคืนสภาพ = 18 เดือน หรือ 1 1/2 ปี
การคำนวณหาวงรอบอายุเรือของ ร. ล. สีชัง 1 * การคำนวณหาวงรอบอายุเรือของ ร.ล.สีชัง 1. ระยะเวลาใช้งานเครื่องจักรใหญ่จากเริ่มต้นจนถึงกำหนดการซ่อมบำรุง ขั้น W5 (ซ่อมตามระยะเวลา) = 6000 ชม. = 5 ปี 1200 ชม./ปี 2. ระยะเวลาใช้งานเครื่องจักรใหญ่จากการซ่อมบำรุงขั้น W5 ถึงขั้น W6 (ซ่อมคืนสภาพ) = 12000 - 6000 ชม. = 5 ปี 1200 ชม./ปี 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุง - ซ่อมตามระยะเวลา = 1/2 ปี - ซ่อมคืนสภาพ = 1 1/2 ปี จากวงรอบอายุเรือ = จำนวนปีของการใช้งานเรือ + ระยะเวลาการซ่อมบำรุง ดังนั้น วงรอบอายุเรือของ ร.ล.สีชัง = 5 + 5 + 1/2 + 1 1/2 = 12 ปี
ปัจจุบัน อร. ได้กำหนดวงรอบอายุเรือไว้ 8 ประเภท คือ 1 * ปัจจุบัน อร.ได้กำหนดวงรอบอายุเรือไว้ 8 ประเภท คือ 1. วงรอบอายุเรือ 13 ปี ได้แก่ เรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2. วงรอบอายุเรือ 12 ปี ได้แก่ เรือ ฟก., คว.,ยพญ.,ยพก.,ร.ล.จันทร และ ร.ล.สุริยะ 3. วงรอบอายุเรือ 11 ปี ได้แก่ เรือ รพญ.,ลทฝ.,ร.ล.โพสามต้น และ ชุดเรือ ต.91 4. วงรอบอายุเรือ 10 ปี ได้แก่ ร.ล.จักรีนฤเบศร และชุดเรือ ต.11 5. วงรอบอายุเรือ 9 ปี ได้แก่ เรือ รจอ. และ รจป. 6. วงรอบอายุเรือ 8 ปี ได้แก่ เรือ ตกด.,ตกป.,เรือน้ำ และเรือน้ำมัน 7. วงรอบอายุเรือ 7 ปี ได้แก่ เรือ ตกช.,เรือลากจูง และ ร.ล.เกล็ดแก้ว 8. วงรอบอายุเรือ 6 ปี ได้แก่ เรือ อศ.2, อศ. 3 และชุดเรือ ท.6
แผนซ่อมเรือระยะปานกลาง 5 ปี แผนซ่อมเรือระยะปานกลาง 5 ปี * เป็นแผนซ่อมเรือที่ อร.ได้จัดทำขึ้นเพื่อรองรับแผนซ่อมเรือระยะยาว * จุดประสงค์ที่จัดทำแผนซ่อมเรือระยะปานกลาง 5 ปี 1. เพื่อปรับแต่งแผนการซ่อมบำรุงเรือให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำงบประมาณ สำหรับจัดหาอะไหล่ล่วงหน้า 3. เพื่อแจ้งให้หน่วยที่เกี่ยวข้องทราบว่า ในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า อร. มีแผนที่จะซ่อมบำรุงเรือลำใดบ้าง หน่วยผู้ใช้เรือและหน่วยเทคนิคอื่น ๆ จะได้วางแผนการใช้งานเรือ และแผนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในส่วนที่ รับผิดชอบให้สอดคล้องกับแผนการซ่อมบำรุงเรือของ อร.
แผนซ่อมเรือ 1 ปี * เป็นแผนซ่อมเรือที่ อร.จัดทำขึ้นเพื่อรองรับแผนซ่อมเรือระยะปานกลาง 5 ปี * จุดประสงค์ที่จัดทำแผนซ่อมเรือ 1 ปี 1. เพื่อกำหนดช่วงระยะเวลาในการเรียกเรือเข้ารับการซ่อมบำรุง 2. เพื่อให้หน่วยผู้ใช้เรือ และหน่วยเทคนิคอื่น ๆ ทราบว่าในช่วงระยะเวลาใด เรือลำใดจะเข้ารับการซ่อมบำรุง จะได้กำหนดแผนการใช้เรือ หรือเตรียมการ วางแผนการซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้อง * แผนซ่อมเรือ 1 ปี จะจัดทำขึ้นล่วงหน้า 1 ปี โดย อร.จะเชิญหน่วยผู้ใช้เรือและหน่วยเทคนิคต่าง ๆ มาร่วมกันพิจารณาว่า เรือลำใดควรจะนำเข้าซ่อมบำรุงในช่วงระยะเวลาใด และเมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว อร.จะจัดส่งแผนดังกล่าวให้หน่วยที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อใช้เป็นแผนหลักในการซ่อมเรือปีต่อไป * หน่วยผู้ใช้เรือจะใช้แผนซ่อมเรือ 1 ปี เป็นข้อมูลในการจัดแผนการใช้เรือ
ข้อมูลจำเป็นที่ใช้ในการจัดทำแผน ฯ1ปี 1. แผนการจัดเรือ ฯ ของ งป.ก่อน 2. แผนซ่อมเรือระยะปานกลาง 5 ปี หมายเหตุ แผนซ่อมเรือระยะปานกลางเป็นแผนที่ระบุว่าในแต่ละ งป.ในช่วง 5 ปี หน่วยซ่อมทำต่าง ๆ (อจปร.อร., อธบ.อร., กรง.ฐท.สส. และอู่ราชนาวีมหิดล ฯ) จะมีเรืออะไรเข้ารับการซ่อมทำ ตว. และ คส. โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดเรือให้กับหน่วยซ่อมของ ทร. (สำหรับ เรือ ตว./ คส.) เป็นไปตามการแบ่งมอบงานซ่อมทำเรือของ อร.
3. ข้อมูลการซ่อมทำสีตัวเรือใต้แนวน้ำในอู่แห้งหรือซินโครลิฟท์ครั้งหลังสุดของเรือทุกลำ 4. ชม.การใช้งานของ คจญ., คฟฟ.ของเรือทุกลำ ซึ่ง กร.จัดส่งให้ รวมทั้งประวัติการซ่อมทำ คจญ. และ คฟฟ.ของเรือทุกลำ ซึ่งข้อมูลที่ต้องการ คือเครื่องจักรนั้น ๆ ซ่อมทำครั้งหลังสุดในระดับอะไร และ ชม.ใช้การขณะซ่อมทำ
7. รายชื่อเรือที่มีแผนฝึก นนร. (ประสาน กร.) 5. ขีดความสามารถของ รง.ปรับซ่อมเครื่องยนต์ ในการซ่อมทำ คจญ., คฟฟ. ชนิดต่าง ๆ โดยพิจารณาถึงจำนวนเครื่องในระยะเวลาหนึ่ง ๆ (จำนวนชุดของช่าง) 6. ข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมทำเครื่องยนต์ต่าง ๆ ในระดับการซ่อมทำต่าง ๆ (M – H มาตรฐาน) 7. รายชื่อเรือที่มีแผนฝึก นนร. (ประสาน กร.) 8. รายชื่อเรือซึ่งต้องไปปฏิบัติราชการ กภ.3 9. งป.ว่าจ้างซ่อมทำที่ได้ขอไว้ล่วงหน้า
การซ่อมจำกัดประจำปี ( จก. ป การซ่อมจำกัดประจำปี ( จก. ป. ) ---> เป็นการจัดเรือเข้าตรวจสภาพ/ซ่อมทำตัวเรือ และอุปกรณ์ใต้แนวน้ำตามประเภทของเรือ 1 เรือความเร็วสูง (> 26 น็อต) วงรอบไม่เกิน 1 ปี (รจอ.,รจป) 2 เรือความเร็วปานกลาง (16 - 26 น็อต) วงรอบไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ ฟก.,คว.,ตกป., ตกด., ตกช., ตกฝ. ,ยพญ. (สุรินทร์, สีชัง) 3 เรือความเร็วช้า วงรอบไม่เกิน 2 ปี เรือของ กยบ.,กยพ.,อศ. 4 เรือไม้ วงรอบไม่เกิน 1 ปี หมายเหตุ ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความแออัดของอู่แห้ง + SYNCHROLIFT ประกอบกับ อายุสี ตรต. ได้ 24 - 30 เดือน จึงใช้เกณฑ์วงรอบ 24 เดือน
หมายเหตุ การแบ่งเรือให้หน่วยซ่อมทำในการซ่อมทำ ตรต. และ จก. ป 1. อจปร หมายเหตุ การแบ่งเรือให้หน่วยซ่อมทำในการซ่อมทำ ตรต. และ จก.ป 1. อจปร.อร. 1.1 เรือซึ่งมีที่ตั้งปกติใน กทม. ได้แก่ กยพ., กยบ. (เว้นชุด ร.ล.มัตโพน), กทบ. (เว้นเรือ ท.), มวอ.อศ. 1.2 เรือในพื้นที่สัตหีบ ซึ่งไม่สามารถขึ้น SYNCHROLIFT ของ กรง.ฐท.สส.ได้(ตั้งแต่ชุด ชลบุรี ขึ้นไป) 2. กรง.ฐท.สส. เรือในพื้นที่สัตหีบ (กตอ.,กฟก.๑, กฟก.๒) ซึ่งสามารถขึ้น SYNCHROLIFT ได้ 3. อธบ.อร. เรือในสังกัด กยพ. (ชุด ร.ล.มัตโพน) เรือใน กลน., ขส.ทร. 4. กงน.ฐท.พง. เรือสังกัด กภ.3 ที่ขึ้นคานเรือเอกชนได้
การจัดรายชื่อเรือเข้าอู่แห้ง / คานเรือ ตามลำดับ 1 เรือฝึก นนร การจัดรายชื่อเรือเข้าอู่แห้ง / คานเรือ ตามลำดับ 1 เรือฝึก นนร. เข้าอู่ประมาณ มี.ค. - เม.ย. โดยให้เรือเรียบร้อยก่อน พ.ค. เพื่อพร้อมฝึกภาคใน มิ.ย. 2 เรือราชการ กภ. 3 เรียกเข้าอู่ตรวจสภาพประมาณ พ.ย.- ธ.ค. เพื่อให้เรือ พร้อมปฏิบัติราชการใน ม.ค. 3 เรือในแผนคืนสภาพ/ตามระยะเวลา เรือที่มีเครื่องควบคุมการยิง อาจจะจัดเป็น 2 ช่วง ในตอนต้นแผนเพื่อซ่อมตัวเรือใต้แนวน้ำ และประมาณปลายแผนจะต้องจัดให้เข้าอู่แห้ง เพื่อทำ ALIGNMENT ระบบอาวุธ 4 เรือซ่อมจำกัด (ประจำปี) เริ่มจากเรือที่มีคุณค่าทางยุทธการสูง โดยพยายามเลี่ยงเข้าในช่วงที่มีการฝึกภาคใหญ่ ประจำปี หรือตามที่ ยก.กร. กองเรือแจ้งขอไว้ 5 เรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม 6 เรืออื่น ๆ อาจจะจัดเข้าอู่/คานเรือเอกชน ตามที่ได้ตั้งงบประมาณไว้
การจัดทำแผนซ่อมเรือ ปี งป.50
แนวทางการจัดทำแผนซ่อมเรือและแผนซื้อ/จ้างปี งป. 50. 1 แนวทางการจัดทำแผนซ่อมเรือและแผนซื้อ/จ้างปี งป.50 1. ใช้ร่างแผนซ่อมเรือปี งป. 48 – ปี งป. 52 2. ได้รายชื่อเรือซ่อมปี งป. 50 (ระบุระดับการซ่อมทำและหน่วยซ่อม) 3. ตรวจสอบชั่วโมงใช้การเดือน ม.ค. 50 4. ประชุมร่วมกับ กร. (กำหนดแผนการใช้เรือ ของ กร.) 5. จัดทำแผนซ่อมเรือขั้นสุดท้าย เสนอ อร. เพื่อขออนุมัติ 6. รวบรวมความต้องการอะไหล่ซ่อมทำอุปกรณ์ จากหน่วยต่างๆ 7. ตรวจสอบอะไหล่คงคลัง ผูกพัน และเบิกเพื่อเตรียมการใช้ 8. ตรวจสอบราคาอะไหล่จากฐานข้อมูล (ถ้ามี) และผู้ขาย 9. จัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อใช้เสนอเป็นคำขอตั้ง งป. 10. เสนอ ทร.
ขั้นตอนในการวางแผนซ่อมเรือ กำหนดเรือเข้าซ่อม ในปีงบประมาณหน้า เสนอ ทร.เพื่อของบประมาณ เสนอความต้องการอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมทำของเรือแต่ละลำ จัดทำแผนซ่อมเรือให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ ดำเนินการจัดซื้อ/จ้าง รวบรวมรายการอะไหล่ตามความต้องการและอะไหล่ PMS ตรวจสอบราคาอะไหล่โดยแยกเป็นลำ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อ/จ้าง เสนอ ทร.
เรือเข้ารับการซ่อมทำ ปี งป.50 แบ่งตามหน่วยซ่อมทำ คืนสภาพ ตามระยะเวลา จำกัดประจำปี รวม (ลำ) อจปร.อร. 8 10 26 อรม.อร. 4 5 1 กรง.ฐท.สส. - 11 19 30 อธบ.อร. 49 54 ฐท.พง. 3 6 ฐท.สข. 2 รวม 12 32 86 128
สถิติงบประมาณสำหรับซ่อมบำรุงเรือ งป. ความต้องการ (ล้านบาท) ได้รับจัดสรร 46 1,250 600 47 1,320 676 48 1,460 711 49 1,155 50 1,270 660 งป.ซ่อมบำรุงเรือของ อร. (รวมที่จัดสรรให้หน่วยต่างๆ)
งบประมาณปี 2550 ที่คาดว่าจะได้รับ ( กผช.อร.) ชื่อยอดค่าใช้จ่าย วงเงินรวม ค่าซ่อมบำรุงเรือ (191) 657,800,000 บาท ค่าซ่อมบำรุงยานเกราะและยานสะเทินน้ำสะเทินบก 261,192,500 บาท ค่าใช้จ่ายในการต่อเรือและดัดแปลงเรือ (501) 12,500,000 บาท ค่าใช้จ่ายสนับสนุนการซ่อมทำเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ FMS CASE 60,000,000 บาท
การจัดสรร งป. ค่าซ่อมบำรุงเรือ วงเงินรวม 657,800,000 บาท สาย อร. 444,400,000 บาท สาย อล.ทร. 115,500,000 บาท สาย สพ.ทร. 97,900,000 บาท
การจัดสรร งป. ให้แก่หน่วยต่างๆ (โอนให้หน่วยดำเนินการเอง) ลำดับที่ หน่วยรับการจัดสรร วงเงิน (บาท) คิดเป็น % 1 กร. และกองเรือต่างๆ รวม 13 หน่วย 7,068,000.00 1.59% 2 หน่วยย่อยอื่น ๆ รวม 9 หน่วย 6,326,000.00 1.42% 3 กรง.ฐท.สส. 24,594,500.00 5.53% 4 ฐท.สข. 2,365,000.00 0.53% 5 ฐท.พง. 3,041,000.00 0.68% 6 อจปร.อร. 50,000,000.00 11.25% 7 อรม.อร. 31,000,000.00 6.98% 8 กผช.อร. 320,005,500.00 72.01% รวม 444,400,000.00 100.00%
รายการใช้จ่าย งป. ที่ กผช.อร. รับผิดชอบ ( 320 ล้านบาท ) วงเงิน เปอร์เซ็นต์ จัดซื้อพัสดุสิ้นเปลือง/อะไหล่ประเภทไส้กรอง/แบตเตอรี่ 30,951,935.00 9.67% จัดซื้ออะไหล่ซ่อมทำเรือระหว่างปี และสำรองปรับแต่งวงเงิน 63,182,209.00 19.74% จัดซื้ออะไหล่ซ่อมทำเรือตามแผน สนับสนุน อรม.อร. จำนวน 3 ลำ 95,855,168.00 29.95% จัดซื้ออะไหล่/ว่าจ้าง ซ่อมทำเรือตามแผน สนับสนุน อจปร.อร. จำนวน 8 ลำ 84,908,274.00 26.53% จัดซื้ออะไหล่ซ่อมทำเรือตามแผน สนับสนุน กรง.ฐท.สส. จำนวน 8 ลำ 28,487,914.00 8.90% ว่าจ้างซ่อมทำเรือช่วยรบ สนับสนุน อธบ.อร. 23 ลำ 16,620,000.00 5.19% รวม 320,005,500.00 100.00%
รายการใช้จ่าย งป. ค่าซ่อมบำรุงเรือ ภาพรวม รายการใช้ งป. ค่าซ่อมบำรุงเรือ (ภาพรวม) วงเงิน(บาท) ร้อยละ (%) ซื้อพัสดุสิ้นเปลือง/อะไหล่ PMS 30,951,935.- 6.96 สนับสนุนกองเรือต่างๆ และหน่วยอื่นๆ 22 หน่วย 13,394,000.- 3.01 กผช.อร. ใช้จัดซื้อพัสดุ/อะไหล่ตลอดทั้งปี 63,182,209.- 14.22 สนับสนุน อจปร.อร. 134,908,274.- 30.36 สนับสนุน อรม.อร. 126,855,168.- 28.55 สนับสนุน กรง.ฐท.สส. 53,082,414.- 11.94 สนับสนุน กงน.ฐท.พง. 2,365,000.- 0.53 สนับสนุน กงน.ฐท.สข. 3,041,000.- 0.68 สนับสนุน อธบ.อร. 16,620,000.- 3.74 รวม 444,400,000.- 100
ตัวอย่างในปีงป. 50 1. อรม.อร.ได้รับการจัดสรร งป.ทั้งหมดรวม 126,855,168 บาท - กผช.อร.จัดซื้ออะไหล่ให้ตามความต้องการ 95,855,168 บาท - งป.ที่ สปช.ทร. โอนให้อรม.อร. เพื่อจัดซื้อตลอดปี 31,000,000 บาท 2. อจปร.อร.ได้รับการจัดสรร งป.ทั้งหมดรวม 134,908,274 บาท - กผช.อร.จัดซื้ออะไหล่ให้ตามความต้องการ 84,908,274 บาท - งป.ที่ สปช.ทร. โอนให้อจปร.อร. เพื่อจัดซื้อตลอดปี 50,000,000 บาท
การกำกับแผนซ่อมเรือ และแผนจัดซื้อ/จัดจ้าง การกำกับแผนซ่อมเรือ และแผนจัดซื้อ/จัดจ้าง - ดู 3.แผน project
ข้อเท็จจริงที่ทำให้การซ่อมทำเรือล่าช้า 1. การวางแผนซ่อมเรือหรือการกำหนดเรือเข้าซ่อมแต่ละปีจะใช้ชั่วโมงใช้การของเครื่องจักรเป็นตัวกำหนดรายการซ่อมทำ (ไม่มีการสำรวจสภาพเรืออย่างจริงจัง) ดังนั้นจึงมีการจัดหาอะไหล่ คจญ. และ คฟฟ.เป็นหลัก 2. การจัดหาอะไหล่ คจญ. และ คฟฟ. ใช้วงเงินค่อนข้างสูง ส่วนมากทุกเรื่องต้องผ่านการอนุมัติจาก จก.อร. และการจัดหาอะไหล่แต่ละครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 5 – 6 เดือน 3. เมื่อมีการ Tear down เครื่องจักรขณะเรือเข้ารับการซ่อมทำ มักจะพบว่ามีอะไหล่ Unforeseen จำนวนมากที่จะต้องซื้อเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีก 5 - 6 เดือน
ข้อเท็จจริง (ต่อ) 4. จากการตรวจสอบประวัติการซ่อมทำ คจญ. MTU ทุกรุ่นที่ผ่านมาพบว่า ทั้งการซ่อมทำในขั้น W5 และ W6 รายการอะไหล่เพิ่มเติมที่หน่วยซ่อมเสนอความต้องการให้ กผช.อร. จัดหาจะมีไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง เรือบางลำ 4 ครั้ง เช่น ร.ล.คำรณสินธุ ร.ล.สุโขทัย ร.ล.ล่องลม 5. นอกจากอะไหล่ คจญ. และ คฟฟ.แล้ว ยังพบว่ามีอะไหล่ Unforeseen ของเครื่องจักรช่วยอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติมอีกหลายรายการ 6. อะไหล่ Unforeseen เหล่านี้ หน่วยซ่อมจะเสนอมาให้ กผช.อร. จัดซื้อให้เป็นส่วนมาก มากกว่า 90% โดยมักจะไม่ยอมใช้ งป.ที่ได้รับจัดสรร 7. การจัดซื้ออะไหล่ Unforeseen โดย กผช.อร. จึงไม่สามารถทำให้สอดคล้องกับความต้องการเร่งด่วนของหน่วยซ่อมได้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า สาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาการซ่อมเรือ จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า สาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาการซ่อมเรือ 1. การสำรวจสภาพเรือ 2. ระยะเวลาในการจัดหาอะไหล่ 3. การจัดหาอะไหล่เพิ่มเติม
ผลจากการสัมมนา อร.มีแนวทางแก้ปัญหาหลายอย่าง เช่น ผลจากการสัมมนา อร.มีแนวทางแก้ปัญหาหลายอย่าง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อ / จัดจ้าง การใช้วิธีการ Outsourcing การเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมทำ อื่น ๆ รวมถึง การศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางปฏิบัติในการกระจาย งบประมาณ
ข้อเสนอแนะของ กผช.อร. ขอให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการกระจายงบประมาณ ในระหว่างปี งป. 50 – 51 กผช.อร. ได้มีแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการวางแผนซ่อมเรือแล้วและคาดว่าในปี 2550 จะสามารถซ่อมเรือทั้ง 128 ลำให้แล้วเสร็จได้ตามแผน กผช.อร. กำลังจัดทำหลักนิยมในการซ่อมเรือขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการซ่อมเรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน และตอบสนองต่อความต้องการใช้เรือของกองเรือยุทธการ