คำพิพากษาฎีกาที่ 9866/2560 (ประชุมใหญ่)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

คำพิพากษาฎีกาที่ 9866/2560 (ประชุมใหญ่) ผู้ตายเป็นผู้ที่ถูกทำให้ถึงแก่ความตายจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 แม้พนักงานอัยการโจทก์จะบรรยายฟ้องมาด้วยว่า ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะขับหลบหลีกไม่ให้ชนรถคันอื่นที่จอดขวางอยู่ข้างหน้าได้ทัน ผู้ตายหาได้ใช้ความระมัดระวังในการขับรถให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้รถชนท้ายรถยนต์ที่จอดอยู่ก็ตาม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อน ไม่ถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วย ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 ( 4 ) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจึงเข้าจัดการแทนผู้เสียหายได้ตาม มาตรา 5 ( 2 ) การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายด้วย คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 51 ในอันที่จะต้องใช้อายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับแก่คดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง

ในคดีอาญามีการฟ้องคดีและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จนคดีเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนที่โจทก์ทั้งสองได้มาฟ้องคดีนี้ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม บัญญัติให้มีกำหนดอายุความในมาตรา 193/32 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งบัญญัติให้มีกำหนด 10 ปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด ดังนั้น เมื่อเหตุเกิดวันที่ 25 กันยายน 2554 และโจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องวันที่ 27 มีนาคม 2556 คดีโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสองนั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดเป็นการเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิดด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 วันที่ 24 ตุลาคม 2554 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 27 มีนาคม 2556 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปีดังกล่าว คดีโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ

ฎีกาที่ 5342/2549          ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติตามฟ้องโจทก์ว่า เหตุที่รถทั้งสองเกิดเฉี่ยวชนกันทำให้รถยนต์ทั้งสองคันเสียหายและผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ ศ. บุตรผู้ตายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225

การเรียกทรัพย์สินหรือราคา แทนผู้เสียหาย (มาตรา 43-44)

หลักเกณฑ์ พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในความผิดรวม 9 ฐาน คือ ลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก และรับของโจร (มาตรา 43) การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตามมาตรา 43 พนักงานอัยการจะขอรวมกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ได้ (มาตรา 44 วรรคหนึ่ง)

คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคาให้รวมเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญามาตรา 44 วรรคสอง) ดังนี้ ถ้าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ได้

ความผิดทางอาญาที่พนักงานอัยการเรียกให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ฯได้ จะเห็นได้ว่า กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ จะมีคำขอในส่วนแพ่งได้เฉพาะแต่เรียกทรัพย์สินและราคาแทนผู้เสียหายเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเพียง 9 ฐานเท่านั้น ซึ่งไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วย ฎ. 19691/2555 ไม่มีความผิดฐานรับสินบนตาม ป. อ. มาตรา 149 (ฎ. 378/2520) โจทก์ไม่อาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้

สำหรับความผิดฐานยักยอก ศาลฎีกาตีความรวมถึงความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกตาม ป. อ. มาตรา 147 ด้วย ฎีกาที่ 4604/2558, 631/2511 แต่ความผิดฐานฉ้อโกงไม่รวมถึงความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ด้วย ฎีกาที่ 392/2506

กรณีมีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ถ้าบทเบาเป็นความผิดที่ระบุในมาตรา 43 แต่บทหนักไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุในมาตรา 43 ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษบทหนัก ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้ ฎีกาที่ 255/2531, 1445/2549

แต่ถ้าสิทธินำคดีอาญาเฉพาะความผิดที่ระบุในมาตรา 43 ระงับไป ส่วนความผิดอาญาอื่นไม่ระงับ ดังนี้ คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ย่อมตกไปด้วย ฎีกาที่ 13412/2553

ในกรณีความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนี้ หากศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดเพียงบางฐานซึ่งไม่ใช่ฐานความผิดตามที่ระบุในมาตรา 43 และยกฟ้องฐานความผิดตามที่ระบุในมาตรา 43 ดังนี้ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์หรือราคาแทนผู้เสียหาย ฎีกาที่ 3530/2543

ในบางกรณี แม้พนักงานอัยการจะไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานความผิดที่ระบุไว้ในมาตรา 43 แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายความผิดตามมาตรา 43 รวมอยู่ด้วย ดังนี้ พนักงานอัยการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ ฎีกาที่ 476/2515 กรณีผู้เสียหายมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย พนักงานอัยการไม่อาจร้องขอให้เรียกทรัพย์แทนได้ ฎีกาที่ 7326/2557

ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิด ตามตาม ป. วิ. อ. มาตรา 43 พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายเท่านั้น จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฏิบัตินอกเหนือจากนี้อีกไม่ได้ เช่น คดีบุกรุกจะขอให้จำเลยออกจากที่พิพาทไม่ได้ ฎีกาที่ 3282/2524 แม้คดีนั้นผู้เสียหายจะเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ ฎีกาที่ 2069/2552

ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แม้จะเกี่ยวข้องกับความผิดอาญาทั้ง 9 ฐานตาม ป. วิ. อ. มาตรา 43 ก็ไม่ใช่ทรัพย์ที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิด พนักงานอัยการไม่มีอำนาจขอให้จำเลยรับผิดได้ ฎีกาที่ 8886/2549, 8459/2552

เงินค่าเข้าอยู่โรงแรม ก็เป็นเงินที่เจ้าของโรงแรมควรจะได้รับ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตาม ป. อ. มาตรา 345 ฎีกาที่ 2197/2516

จำเลยลักเอาหนังสือสัญญากู้เงินของผู้เสียหายไป ทรัพย์สินที่เสียไปคือหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่เงินตามสัญญากู้ ดังนี้ พนักงานอัยการจะขอให้จำเลยใช้เงินตามสัญญากู้เงินไม่ได้ ฎีกาที่ 40/2508 (ประชุมใหญ่) เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน ฎีกาที่ 5168/2552

การที่จำเลยลักโฉนดที่ดินแล้วปลอมหนังสือมอบอำนาจของเจ้าของที่ดินแล้วนำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินนั้นให้แก่บุคคลภายนอก เงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับจากบุคคลภายนอก ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ พนักงานอัยการจะเรียกให้จำเลยคืนไม่ได้ ฎีกาที่ 3600/2553

กรณีจำเลยนำทรัพย์ไปจำนำ เงินที่จำเลยได้รับจากโรงรับจำนำ ศาลฎีกาให้จำเลยคืนให้แก่ผู้เสียหาย ฎีกาที่ 9401/2538 ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เสียหายนำไปไถ่เอาทรัพย์ที่จำนำคืน จึงพอถือว่าเป็นการพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์ เงินที่คนร้ายได้จากการขายทรัพย์สินที่ปล้นมา มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายถูกปล้น ศาลสั่งคืนให้ผู้เสียหายไม่ได้ (ฎีกาที่ 384/2519)

ในความผิดฐานฉ้อโกง ทรัพย์สินที่จะขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาได้ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการหลอกลวงเท่านั้น ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาภายหลัง โดยไม่ได้เกิดจากการหลอกลวงของจำเลย พนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิขอให้คืนหรือใช้ราคาได้ คำขอของโจทก์ร่วมที่ขอถือเอาตามฟ้องของอัยการย่อมตกไปด้วย ฎีกาที่ 3667/2542

จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศ เงินค่าตั๋วเครื่องบินที่ผู้เสียหายจ่ายให้จำเลยเพื่อให้ผู้เสียหายใช้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แม้ผู้เสียหายจะใช้ตั๋วเครื่องบินเดินทางไปแล้วก็ตาม พนักงานอัยการเรียกให้จำเลยคืนแทนผู้เสียหายได้ ฎีกาที่ 5401/2542

ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงนำที่ดินมาขายให้ผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ดังนี้ เงินราคาที่ดินที่ผู้เสียหายชำระให้แก่จำเลย เป็นทรัพย์ที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิด จำเลยต้องคืนแก่ผู้เสียหาย แม้จำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินแก่ผู้เสียหายไปแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายต้องโอนคืนให้แก่จำเลยต่อไป ฎีกาที่ 11776/2553

สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัลแล้ว มีราคาเท่ากับเงินรางวัลที่จะได้รับจึงถือว่าเงินรางวัลที่จะได้รับเป็นราคาทรัพย์ที่สูญเสียไปโดยแท้จริง พนักงานอัยการขอให้จำเลยคืนเงินรางวัลที่จำเลยรับไปแล้ว ฎีกาที่ 772/2520 (ประชุมใหญ่) แต่เมื่อจำเลยไม่ได้รับเงินรางวัลเต็มจำนวนเพราะถูกหักค่าอากรแสตมป์ จำเลยคงต้องคืนเงินเท่าจำนวนที่ได้รับมา ฎีกาที่ 11224/2555

ในคดีที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และให้คืนหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์คงจำกัดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น ฎีกาที่ 855/2530 (ประชุมใหญ่), 12779/2553

สำหรับกรณีที่จำเลยต้องคืนเงินให้แก่ผู้เสียหาย ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าพนักงานอัยการจะเรียกดอกเบี้ยด้วยไม่ได้ ฎีกาที่ 1574/2558 (ฎ. 8392/2549 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน) อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีฎีกาที่ 10330/2557 วินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปี ของต้นเงินที่จำเลยต้องคืนแก่ผู้เสียหายที่ 5 ด้วยนั้นชอบแล้ว

เพราะเป็นผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 11 จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวของต้นเงินแก่ผู้เสียหายทุกคน

กรณีผู้เช่าซื้อเป็นผู้เสียหาย ถือว่าราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไปเท่ากับเงินดาวน์รวมกับเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้ว ไม่ใช่ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อทั้งหมด ฎีกาที่ 15831/2555  

หลักเกณฑ์อื่นตามแนวคำพิพากษาฎีกา เมื่อได้ความว่าผู้เสียหายได้รับทรัพย์หรือราคาทรัพย์คืนแล้วก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์อีก (ฎีกาที่ 3098/2543, 968/2550) แม้ทรัพย์นั้นจะเสียหายไปบางส่วน ก็ถือว่าผู้เสียหายได้ทรัพย์นั้นคืนแล้ว พนักงานอัยการจะขอให้จำเลยใช้ราคาเต็มไม่ได้ เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นคดีแพ่งต่างหาก ฎีกาที่ 16/2544

การที่ผู้เสียหายและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีส่วนแพ่งแล้ว ศาลไม่ต้องมีคำพิพากษาให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์อีก ฎีกาที่ 18031/2555 แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา ศาลยังมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้ ฎีกาที่ 1039/2516 (ประชุมใหญ่)

แต่ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเป็นความรับผิดทางแพ่งล้วน ๆ กรณีมิใช่จำเลยได้ทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ อัยการไม่มีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์ได้ ฎีกาที่ 3112/2523, 1703/2557, 6067-6068/2534

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำขอส่วนแพ่งตกไปด้วย กรณีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามมาตรา 39 คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ก็ตกไปด้วย เช่น กรณีฟ้องโจทก์ขาดอายุความ (ฎ. 3746/2542, 1497/2531) หรือกรณีผู้เสียหาย ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความ (ฎ. 1869/2549, 3491/2534) พนักงานอัยการไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็ตาม (ฎ. 2567/2528)

กรณีจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป. วิ. อ กรณีจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป. วิ. อ. มาตรา 39 (1) ทำให้คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ของพนักงานอัยการตกไปด้วย (ฎ. 1547/2529) แม้ผู้เสียหายจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็ตาม (ฎ. 3271/2531)

แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้เสียหายฟ้องคดีเอง เมื่อจำเลยตาย คดีในส่วนแพ่งต้องมีการรับมรดกความตาม ป. วิ. พ. มาตรา 42 ฎีกาที่ 1238/2493 ในส่วนการใช้ราคาทรัพย์นั้น หากไม่ปรากฏว่ามีราคาเท่าใด ศาลก็จะไม่สั่งให้ใช้ราคา (ฎีกาที่ 2212/2518, 3154/2533)

ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า ผู้เสียหายได้วันชดใช้ค่าเสียหายที่เกินกว่าราคาทรัพย์ไปแล้ว ศาลก็จะพิพากษาให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์อีกไม่ได้ (ฎีกาที่ 6653/2541) ปัญหาการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนในคดีส่วนแพ่ง ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้อง และมีคำขอส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายตาม ป. วิ. อ. มาตรา 43 ถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายด้วย ดังนั้น

ถ้าคดีอาญายังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายมาฟ้องจำเลยให้รับผิดในส่วนแพ่งอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป. วิ. พ. มาตรา 173 (1) ทั้งนี้ ไม่ว่าในคดีอาญาผู้เสียหายจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม (ฎีกาที่ 3080/2544) ถ้าคดีอาญาถึงที่สุดไปแล้วคำฟ้องของผู้เสียหายก็เป็นฟ้องซ้ำตาม ป. วิ. พ. มาตรา 148

(ฎีกาที่ 1207/2540, 4615/2543) ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาที่ 12414/2547 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยว่ากรณีเช่นนี้เป็นฟ้องซ้อนเฉพาะที่เป็นต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อน ฎีกาที่12414/2547(ประชุมใหญ่)

การยื่นคำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ (มาตรา44) พนักงานอัยการจะขอให้คืนทรัพย์หรือราคาโดยขอรวมไปกับคดีอาญา (หมายถึงมีคำขอไปในคำฟ้องคดีอาญา) หรือจะยื่นคำร้องในระหว่างพิจารณาคดีอาญาในศาลชั้นต้นก็ได้ (มาตรา 44 วรรคหนึ่ง) คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา (มาตรา 44 วรรคสอง)

ตามมาตรา 44 วรรคสองที่ให้คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคารวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาคดีอาญา ทั้งนี้โดยไม่จำกัดว่าทรัพย์นั้นจะมีราคาเท่าใด ดังนี้ คดีที่ฟ้องต่อศาลแขวง แม้ราคาทรัพย์สินที่เรียกจะมีราคาเกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนแพ่งได้ ฎีกาที่ 180/2490, 2952/2527

มาตรา 44 วรรคหนึ่ง การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตามมาตรา 43 ให้อำนาจพนักงานอัยการมีคำขอให้เรียกทรัพย์คืนหรือให้ใช้ทรัพย์รวมไปกับคดีอาญาได้ จึงไม่ต้องคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีส่วนแพ่งว่าจะอยู่ในอำนาจศาลแขวงหรือไม่ (กรณีฟ้องคดีอาญาต่อศาลแขวง)

ถ้าผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองย่อมไม่มีสิทธิขอในส่วนแพ่งที่มีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงได้ ถ้าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก็ไม่อาจขอถือเอาคำขอส่วนแพ่งที่มีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงเป็นของตนได้ ฎีกาที่ 4419/2528

การบังคับคดีส่วนแพ่ง (มาตรา 249) การบังคับคดีส่วนแพ่ง ต้องเป็นไปตาม ป. วิ. พ. ซึ่งได้แก้บทบัญญัติมาตรา 274 ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จะบังคับแก่ผู้อื่นที่มิใช่จำเลยไม่ได้ ฎีกาที่ 3447/2558

คำสั่งคำร้องที่ ท. 1527/2549 คำพิพากษาในส่วนที่ให้คืนหรือใช้ราคาที่ยังไม่ได้คืนเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น ป. วิ. อ. มาตรา 44 วรรคสอง ให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาจะกระทำได้ต่อเมื่อคดีถึงที่สุดตาม ป. วิ. อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง

เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยให้คืนผ้าไหมของกลาง และคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนเป็นเงิน 159,350 บาท แก่ผู้เสียหาย ในชั้นนี้ยังไม่ได้จำเลยทั้งสองไม่จำต้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ทุเลาการบังคันไว้ก่อน

การเรียกค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา (มาตรา 44/1, 44/2, 47, 50, 51, 249, 250, 251, 253, 254, 258) หลักเกณฑ์ ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย

ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ (มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง)

การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีซึ่งคับสืบพยาน ให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีแพ่งนั้น

ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าว ต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าค้าร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ (มาตรา 44/1 วรรคสอง)

คำร้องตามวรรคหนึ่ง จะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้ (มาตรา 44/1 วรรคสาม)

บทบัญญัติมาตรา 44/1, 44/2, 47, 50, 51, 249, 250, 251, 253, 254 และมาตรา 258 บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นในปี 2548 นี้ ตาม พ. ร. บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป. วิ. อ. (ฉบับที่ 24) พ. ศ. 2548 เป็นการให้สิทธิแก่ผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิตร่างกายจิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สิน

อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย โดยยื่นคำร้องเข้าไปในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง ทำให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาความเสียหายทันท่วงที่ในคราวเดียวกับการดำเนินคดีอาญาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

ข้อสังเกต 1. เป็นกรณีกฎหมายให้สิทธิผู้เสียหายยื่นคำร้องคดีส่วนแพ่งเข้าไปในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ โดยผู้เสียหายไม่จำต้องร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย อย่างไรก็ตาม หากผู้เสียหายยื่นค้าร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีส่วนอาญา โจทก์ร่วมก็สามารถใช้สิทธิตามมาตรา 44/1 ได้ด้วย กรณีหลังนี้เท่ากับผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญา

2. เป็นกรณีที่ผู้เสียหายเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียงและทรัพย์สิน ซึ่งจะเห็นได้ว่าครอบคลุมความผิดทางอาญาที่ผู้เสียหายได้รับอย่างกว้างขวางโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นความผิดตาม ป. อ. เท่านั้น

ต่างจากกรณีของอำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะความผิดตาม ป. อ. รวม ณ ฐานตาม ป. วิ. อ. มาตรา 43 เท่านั้น ทั้งนี้ โดยไม่จำกัดว่าเป็นความผิดอันยอมความได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม แม้พนักงานอัยการจะฟ้องคดีอาญาในความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ใน ป. วิ. อ. มาตรา 43 และพนักงานอัยการมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินแล้วก็ตาม หากยังมีความเสียหายอย่างอื่นอีก ผู้เสียหายก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย

3. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต้องเป็นผู้เสียหายในทางแพ่ง ไม่ใช่ทางอาญา ผู้เสียหายที่มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 หมายถึงผู้เสียหายในทางแพ่ง ดังนี้ ผู้เสียหายที่มีส่วนกระทำความผิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในทางนิตินัยก็สามารถยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ ฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่)

ส่วนการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ให้พิจารณาว่าฝ่ายผู้เสียหายมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมากน้อยเพียงใดตาม ป. พ. พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย

ฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่) ผู้เสียหายที่มีส่วนกระทำความผิดด้วยแม้ไม่ใช่ผู้เสียหายในทางนิตินัยในคดีอาญาก็ตาม แต่ก็เป็นผู้เสียหายในทางแพ่ง จึงสามารถยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งมาในคดีอาญาตาม ป. วิ. อ. มาตรา 44/1 ได้

ส่วนการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ให้พิจารณาว่าฝ่ายผู้เสียหายมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมากน้อยเพียงใดตาม ป. พ. พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย ข้อสังเกต ตามคำพิพากษาฎีกา 5400/2560เป็นการวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่กลับหลักเดิม ดังนี้ ต่อไปนี้ผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม

ป. วิ. อ. มาตรา 44/1 ไม่จำต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยก็มีสิทธิยื่นคำร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ต่อมามีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยเดินตามอีกหลายเรื่องเช่น ฏ.1261/2561

กรณีความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์ตาม ป. อ กรณีความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์ตาม ป. อ. มาตรา 317-318 นั้น ผู้เสียหายในทางแพ่ง ได้แก่ บิดามารดา ผู้ดูแล และตัวผู้เยาว์ ต่างมีสิทธิยื่นเรียกให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยอาศัยสิทธิของตนเองได้ ฎีกาที่ 8420-8421/2558

4. ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้นั้น เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลย จึงถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดทั้งตาม ป. วิ. อ. มาตรา 47 บัญญัติให้คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งฯ การเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดจึงต้องเป็นไปตาม ป. พ. พ. มาตรา 438 ถึง 448 ทำให้ผู้เสียหายเรียกค่าสินไหมทดแทนได้อย่างกว้างขวาง

ตัวอย่าง ความผิดเกี่ยวกับชีวิตได้แก่ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ค่าขาดไร้อุปการะ ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย ค่าขาดแรงงานตาม ป. พ. พ. มาตรา 443, 445 ความผิดต่อร่างกาย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ตนต้องเสียไป ค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดแรงงาน และรวมทั้งค่าเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงินอีกตาม ป. พ. พ. มาตรา 444-446

เมื่อศาลฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นความผิดอาญาฐานอื่นแต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษ จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทน ฎีกาที่ 542/2559 นอกจากนี้ผู้เสียหายคงมีสิทธิขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามป.วิ อาญามาตรา 44/1เฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดที่อัยการโจทก์ฟ้องร้องเท่านั้น ฎีกาที่ 3226/2558,7121/2560,6258/2559,10672/2559

ฎีกาที่ 6258/2559 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย คำร้องขอของโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าบนรถยนต์ได้รับความเสียหาย ค่าเสียหายของรถยนต์ ค่าลากรถยนต์และค่าเช่ารถคันอื่นมาใช้ทดแทน เป็นค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากที่สามารถเรียกได้ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกาย จึงไม่ใช่คำขอบังคับให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร่วมทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด การพิจารณาสิทธิในการฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ในหนี้ค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ร่วมแต่ละคนแยกกัน ส่วนค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหายในทางทรัพย์สินอันเกิดจากการประกอบกิจการร่วมกัน ต้องแยกเป็นจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ตกได้แก่โจทก์ร่วมทั้งสองคนละกึ่งหนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าค่าสินไหมทดแทนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดให้จำเลยรับผิดยังสูงเกินไป เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามกฎหมาย

จำเลยให้การว่า โจทก์ร่วมทั้งสองมีสิทธิได้รับชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท ก. ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเท่านั้น มิได้หยิบยกเรื่องสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท ท. กับมิได้โต้แย้งเรื่องความเป็นเจ้าของรถยนต์ขึ้นต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิด อุทธรณ์ทั้งสองประเด็นจึงอยู่นอกประเด็นตามคำให้การ เป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวชอบแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ทั้งสองต้องสูญเสียรายได้จากกิจการที่ทำอยู่ก่อนเกิดเหตุให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ได้ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ จึงเป็นการโต้แย้งค่าเสียหายส่วนที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยต้องรับผิด อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ชอบแล้ว

ฎีกาที่ 10672/2559   แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 73 จะบัญญัติว่า ในกรณีมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินหรืออาคารที่อยู่ใกล้ชิดหรือติดต่อกับอาคารที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือบุคคลซึ่งความเป็นอยู่หรือการใช้สอยที่ดินหรืออาคารถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา และศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แต่การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่งและวรรคสาม กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ จะต้องเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมไม่อาจไปยื่นคำร้องในคดีความผิดอื่นของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายได้ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการร่วมกันดัดแปลงขึ้นด้วยการต่อเติมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

บนที่ว่างด้านหลังเชื่อมต่ออาคารหลังเดิมให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันดัดแปลงต่อเติมอาคาร แต่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องโดยอ้างว่าได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอันเป็นคนละข้อหากับที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้ยื่นคำร้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อเติมอาคารมาในคดีนี้ หากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างต่อเติมอาคารของจำเลยทั้งสองจริงก็ต้องยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก

กรณีมีผู้กระทำความผิดหลายคน แต่จำเลยเพียงแต่ร่วมกระทำความผิดฐานที่เบากว่า ดังนี้ จำเลยคงรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งให้แก่ผู้เสียหายเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดของตนเท่านั้น ฎีกาที่ 9665/2555

กรณีทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดได้ แต่จะยื่นคำร้องตาม ป. วิ. อ. มาตรา 44/1 เองไม่ได้ ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องแทน บิดาของผู้ตายไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องแทน ฎีกาที่ 356/2559

5. ปัญหาค่าสินไหมทดแทนมีทุนทรัพย์เป็นอำนาจศาลแขวง คดีอาญาที่ฟ้องต่อศาลแขวงและผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกิน 300,000 บาท ซึ่งเกินอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำร้องขอส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ ฎีกาที่ 14915/2557, 10197/2556 และเทียบฎีกาที่ 180/2490, 2952/2527

6. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง รวมถึงการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยด้วย แต่ถ้าพนักงานอัยการได้ขอให้จำเลยคืนทรัพย์สินหรือให้ใช้ราคาแทนตามมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้ (มาตรา 44/1 วรรคสาม) ฎีกาที่ 21502/2556 แต่เรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นได้ เช่น ดอกเบี้ยกรณีผิดนัด ฎีกาที่ 1885/2555

7. ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดอาญาอยู่ในหมวดของการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กับทั้งถ้อยคำที่ว่าต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลย ดังนั้นผู้เสียหายจะใช้สิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวได้เฉพาะที่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเท่านั้น

8. กำหนดเวลายื่นคำร้อง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาก่อนเริ่มสืบพยาน กรณีที่ไม่มีการสืบพยาน เช่น คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพต้องยื่นคำร้องต่อศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี สังเกตว่าต่างจากพนักงานอัยการเรียกทรัพย์หรือราคาแทนผู้เสียหายตามมาตรา 43

ที่ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องได้ในระหว่างคดี กำลังพิจารณาอยู่ในศาล อย่างไรก็ตาม ศาลชั้นต้นอาจใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหลังวันสืบพยานได้ ฎีกาที่ 6295/2558

9. คำร้องของผู้เสียหายถือเป็นคำฟ้องตาม ป. วิ. พ 9. คำร้องของผู้เสียหายถือเป็นคำฟ้องตาม ป. วิ. พ. โดยผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง คำร้องต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้ (มาตรา 44/1 วรรคสอง)

ที่ว่าคำร้องนั้นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ (มาตรา 44/1 วรรคสาม) ดังนี้ ผู้เสียหายจะขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานอื่นนอกฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

จากบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะถือว่าคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นคำฟ้องก็ตามแต่กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าคำร้องนั้นต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความทเสียหายและค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง คำร้องดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสองแห่ง ป. วิ. พ. ที่ต้องแสดงโดยแจ้งชัดทั้งข้อหา ข้ออ้าง และคำขอบังคับ ทั้งตามมาตรา 44/1 วรรคสอง ยังให้อำนาจศาลสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องที่ขาดสาระสำคัญได้

โดยเหตุที่คำร้องของผู้เสียหายตามมาตรา 44/1 ถือเป็นคำฟ้องในคดีส่วนแพ่ง ผู้เสียหายจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับคดีส่วนแพ่งได้ ฎีกาที่ 7053/2555 แต่ไม่มีสิทธิดำเนินคดีส่วนอาญา ฎีกาที่ 10816/2558, 692/2557 10 กรณีจำเลยตายคดีส่วนแพ่ง มีคำสั่งที่ 13361/2558 วินิจฉัยว่าคดีส่วนแพ่งตามคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องจัดให้มีการรับมรดกความตามป.วิ.พ.มาตรา 40 ก่อนหน้านี้มีฎีกาที่ 1384/2555 วินิจฉัยว่ากรณีจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม 39(1) คำขอให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนย่อมตกไปด้วย

ค่าธรรมเนียมศาลตามคำขอตามมาตรา 44/1 (มาตรา 253) ผู้เสียหายไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สำหรับคำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เว้นแต่ศาลเห็นว่าค่าสินไหมทดแทนที่เรียกสูงเกินสมควรหรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริตศาลมีอำนาจเรียกให้ผู้เสียหายชำระทั้งหมดหรือบางส่วน ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้

ถ้าผู้เสียหายเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องในคดีส่วนแพ่ง (มาตรา 253 วรรคหนึ่ง) บทบัญญัตินี้เป็นการยกเว้นให้ผู้เสียหายไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาด้วย

การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่ง ตาม ป. วิ. พ. มาตรา 253 บัญญัติให้คำร้องตามมาตรา 44/1 มิได้เรียกค่าธรรมเนียม ผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องขอดังกล่าวจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล แต่ค่าทนายความหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล คงเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ในคำพิพากษาศาลจึงต้องสั่งให้ใช้แทนกันหรือสั่งให้เป็นพับ ฎีกาที่ 7571/2560, 9842/2559

สำหรับค่าทนายความที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งใช้แทน ไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 253 ดังนี้ ศาลจึงต้องมีคำสั่งในคำพิพากษาในเรื่องค่าทนายความด้วย โดยสั่งให้ผู้ร้องหรือจำเลยใช้ค่าทนายความแทนอีกฝ่ายหนึ่งหรือสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ฎีกาที่ 441/2557, 811/2558

ข้อสังเกต ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาวินิจฉัยอีกแนวหนึ่งคือฎีกาที่ 13630/2555 และฎีกาที่ 778/2556 มิใช่กรณีศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป. วิ. อ. มาตรา 255 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความให้โจทก์ร่วม

กรณีผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเองโดยมีคำขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์สินหรือให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนติดมากับฟ้องคดีอาญา หรือผู้เสียหายฟ้องเป็นคดีแพ่งโดยลำพังให้เรียกค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่ง (มาตรา 254 วรรคหนึ่ง) ถ้าผู้เสียหายประสงค์จะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น

ชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ให้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา หากศาลเห็นว่าคดีอาญาที่ฟ้องมีมูลและการเรียกค่าสินไหมทดแทนนั้นไม่เกินสมควรและเป็นไปโดยสุจริต ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามขอ แต่ถ้าศาลมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์บางส่วน

หรือมีคำสั่งยกคำขอก็ให้ศาลกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว คำสั่งของศาลที่ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลหรือยกคำขอให้มีผลตั้งแต่ชั้นศาลซึ่งคดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เว้นแต่มีพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลที่พิจารณาคดีจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นได้ตามสมควร (มาตรา 254 วรรคสอง) ห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งของศาลตามวรรคสอง (มาตรา 254 วรรคสาม)

เมื่อศาลสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินหรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 มาตรา 44 หรือมาตรา 44/1 ให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  

คำถาม คดีความผิดต่อส่วนตัว ที่มีผู้เสียหายหลายคน หาก ผู้เสียหายคนหนึ่งถอนคำร้องทุกข์ ก็ดี หรือมิได้ฟ้องหรือร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่อง ความผิดและรู้ตัวผู้กระทำ ความผิด ทำให้คดีขาดอายุความ ก็ดี จะมีผลต่อผู้เสียหายคนอื่น ด้วยหรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ (ก) กรณีถอนคำร้องทุกข์ คำพิพากษาฎีกาที่ 7832/2556 จำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของธนาคาร ธ . ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองของ ส. ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อขณะเกิดเหตุกระทำความผิดผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ

การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ 2 ไป แจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่ 1 แต่ก็ถือว่าได้ร้องฐานะที่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้และมีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์

ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตายเป็นความผิดที่ต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา ผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญาย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2)

คำพิพากษาฎีกาที่ 115/2535 ขณะที่ ป. ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยักยอกเงินของโจทก์ไปนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดมี ป. ก. ส. และจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นกรรมการ โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือ ป. คนใดคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน และประทับตราสำคัญของโจทก์ทำการแทนโจทก์ก็ได้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยักยอกเงินของโจทก์ บรรดาผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับโจทก์นั้นย่อมได้รับความเสียหายโดยนิตินัย ย่อมถือว่า

ป. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้เสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28 (2), 123 ประกอบด้วยมาตรา 2 (4) ต่อมา ป. ได้ถอนคำร้องทุกข์นั้นดังนั้นไม่ว่า ป. จะดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้น สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องก็ยอมระงับไปตามมาตรา 39 (2)

กรณีขาดอายุความ ฎีกาที่ 386/2551 แม้ บ.ผู้เช่าซื้อยังชำระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกดังกล่าวยังเป็นของ ว. ผู้ให้เช่าซื้อ แต่ บ. ก็มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อนั้นและมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยแก่ ว. ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อจำเลยทั้งสองยักยอกชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถยนต์บรรทุกดังกล่าวไปจาก บ. บ. ย่อมได้รับความเสียหายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้เช่นเดียวกับ ว. เจ้าของรถยนต์บรรทุกดังกล่าว

คดีนี้เป็นความผิดยอมความได้เมื่อ บ คดีนี้เป็นความผิดยอมความได้เมื่อ บ. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2541 แต่มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 ซึ่งเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป. อ. มาตรา 96

คำพิพากษาฎีกาที่ 3085/2537 ล. เป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ลัดสุภาอินเตอร์เทรด จำกัดเช่นเดียวกับโจทก์ ล. จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้เช่นเดียวกับโจทก์ คดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อ ล. ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96

คำถาม คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การตามปากคำผู้เสียหายที่เป็นหญิงใช้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นชายเป็นผู้สอบสวนและไม่ได้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ การสอบสวนเสียไปหรือไม่ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องหรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3419/2559 คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นหญิงในชั้นสอบสวน ต้องให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวนเว้นแต่ผู้เสียหายที่ 1 นั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 133 วรรคสี่ แต่พนักงานสอบสวนคดีนี้เป็นชายและไม่ได้มีบันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้นั้น

การที่พนักงานสอบสวนคดีนี้ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะเป็นการไม่ชอบแต่ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดและถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อน อันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 ไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 6017/2560 พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบแปดปีในความผิดเกี่ยวกับเพศ โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ มารดาผู้เสียหาย และพนักงานอัยการร่วมในการถามปากคำผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง โดยใช้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นชายเป็นผู้สอบสวนและไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น

และได้มีการบันทึกความยินยอมและเหตุจำเป็นนั้นไว้ ซึ่งแม้ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 วรรคสี่ ก็ตาม แต่เป็นเพียงความบกพร่องหรือผิดพลาดเฉพาะในส่วนนี้ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องผิดพลาดในรายละเอียดหาใช่ข้อสาระสำคัญถึงขนาดจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 3281/2561 จำเลยฎีกาว่าในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงต้องให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ แต่คดีนี้มิได้ให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวนในการถามปากคำผู้เสียหาย

จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหานี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

การที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป. วิ. อ การที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป. วิ. อ. มาตรา 133 วรรคสี่ แม้จะเป็นการไม่ชอบแต่ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด และถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอันจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 ไม่ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบ และโจทก์มีอำนาจฟ้อง