ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ จึ่งไทเทเวศอ้าง สมมุติ มิ่งมหิศวรมกุฎ เกศหล้า เถลิงภพแผ่นอยุธย- ยายิ่ง ยศแฮ แสดงพระเดชฟุ้งฟ้า เฟื่องด้าวดินไหว ภูวไนยผายโอษฐ์อื้น โชยงการ แก่เทพทุกถิ่นสถาน ฉชั้น โสฬสพรหมพิมาน กมลาสน์ แลนา เชิญช่วยชุมโสตซั้น สดับถ้อยตูแถลง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ซึ่งแสร้งรังสฤษฏ์ให้ มาอุบัติ ในประยูรเศวตฉัตร สืบเชื้อ หวังผดุงบวรรัตน ตรัสเยศ ยืนนา ทำนุกพระศาสน์เกื้อ ก่อสร้างแสวงผล กลใดไป่ช่วยแผ้ว นภา ดลฤๅ ใสสรว่างธุมา มืดม้วย มลักเล็งเหล่าพาธา ทวยเศิก สมรแฮ เห็นตระหนักเนตรด้วย ดั่งนี้แหนงฉงาย ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ พอถวายวรวากย์อ้าง โอษฐ์พระ ดาลมหาวาตะ ตื่นฟ้า ทรหึงทรหวลพะ- พานพัด หาวแฮ หอบธุมางค์จางเจ้า จรัสด้าวแดนสมร ภูธรเมิลอมิตรไท้ ธำรง สารแฮ ครบสิบหกฉัตรทรง เทริดเกล้า บ่จวนบ่จวบองค์ อุปราช แลฤๅ พลางเร่งขับคชเต้า แต่ตั้งตาแสวง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ โดนแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนา บัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้ เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮย หนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เณอนาม ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น ทวยทัพเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า ขับคเชนทร์บ่ายหน้า แขกเจ้าจอมตะเลง แลนา ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า พักตร์ท่านผ่องฤๅเศร้า สู้เสี้ยนไป่หนี หน้านา ไพรีเร่งสาดซ้อง โซรมปืนไฟไป่ต้อง ตื่นเต้าแตกฉาน ผ้านนา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ นฤบาลบพิตรเผ้า ภูวนา ยกแฮ ผายสิหนาทกถา ท่านพร้อง ไพเราะราชสุภา- ษิตสื่อ สารนา เสนอบ่มีข้อข้อง ขุ่นแค้นคำไข อ้าไทภูธเรศหล้า แหล่งตะเลง โลกฤๅ เผยพระยศยินเยง ย่านแกล้ว สิบทิศทั่วลือละเวง หวั่นเดช ท่านนา ไป่เริ่มรอฤทธิ์แผ้ว เผือดกล้าแกลนหนี ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต- ดมเอย ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้ เชิญราชร่วมคชยุทธ์ เผยยอเกียรติ ไว้แฮ สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิ้นฤๅมี หัสดีรณเรศอ้าง อวสาน นี้นา นับอนาคตกาล ห่อนพ้อง ขัตติยายุทธ์บรรหาร คชคู่ กันแฮ คงแต่เผือพี่น้อง ตราบฟ้าดินกษัย ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ไว้เป็นมหรสพซ้อง สุขศานติ์ สำหรับราชสำราญ เริ่มรั้ง บำเทิงหฤทัยบาน ประดิยุทธ์ นั้นนา เสนอเนตรมนุษย์ตั้ง แต่หล้าเลอสรวง ป่วงไท้เทเวศทั้ง พรหมมาน เชิญประชุมในสถาน ที่นี้ ชมชื่นคชบำราญ ตูต่อ กันแฮ ใครเชี่ยวใครชาญชี้ ชเยศอ้างอวยเฉลิม ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ หวันเริ่มคุณเกียรติก้อง กลางรงค์ ยืนพระยศอยู่คง คู่หล้า สงครามกษัตริย์ทรง ภพแผ่น สองฤๅ สองราชรอนฤทธิ์ร้า เรื่องรู้สรเสริญ ดำเนินพจน์พากย์พร้อง พรรณนา องค์อัครอุปราชา ท่านแจ้ง กอบเกิดขัตติยมา- นะนึก หาญเฮย ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง ด่วนด้วยโดยถวิล ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ หัสดินปิ่นธเรศไท้ โททรง คือสมิทธิมาตงค์ หนึ่งอ้าง หนึ่งคือศิริเมขล์มง คลอาสน์ มารเอย เศียรส่ายหงายงาคว้าง ไขว่แคว้งแทงโถม สองโจมสองจู่จ้วง บำรู สองขัตติยสองขอชู เชิดด้ำ กระลึงกระลอกดู ไวว่อง นักนา ควาญขับคชแข่งค้ำ เข่นเขี้ยวในสนาม ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ งามสองสุริยราชล้ำ เลอพิศ นาพ่อ พ่างพัชรินทรไพจิตร ศึกสร้าง ฤๅรามเริ่มรณฤทธิ์ รบราพณ์ แลฤๅ ทุกเทศทุกทิศอ้าง อื่นไท้ไป่เทียม ขุนเสียมสามรรถต้าน ขุนตะเลง ขุนต่อขุนไป่เยง หย่อนห้าว ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง อังกุศ ไกวแฮ งามเร่งงามโทท้าว ท่านสู้ศึกสาร ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ คชยานขัตติเยศเบื้อง ออกถวัลย์ โถมปะทะไป่ทัน เหยียบยั้ง สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง คู้ค้ำคางเขิน ดำเนินหนุนถนัดได้ เชิงชิด หน่อนเรนทรทิศ ตกด้าว เสด็จวราฤทธิ์ รำร่อน ขอแฮ ฟอนฟาดแสงของ้าว อยู่เพี้ยงจักรผัน ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามินทร์ เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง ศัสตราวุธอรินทร์ ฤๅถูก องค์เอย เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง บัดมงคลพ่าห์ไท้ ทวารัติ แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด ตกใต้ อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ เบนบ่ายหงายแหงนให้ ท่วงท้อทีถอย ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน ในรณ บัดราชฟาดแสงพล- พ่ายฟ้อน พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ ถนัดพระอังสางข้อน ขาดด้าวโดยขวา อุรารานร้าวแยก ยลสยบ เยนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น เหนือคอคชซอนซบ สังเวช วายชิวาตม์สิ้นสุด สู่ฟ้าเสวยสวรรค์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศ ลงนา เสนอพระยศยิ่งยินก้อง เกียรติท้าวทุกภาย ผิวหลายพยุหยุทธ์ร้า โรมรอน ชนะอมิตรมวลมอญ มั่วมล้าง พระเดชบ่ดาลขจร เจริญฤทธิ์ พระนา ไปทั่วธเรศออกอ้าง เอิกฟ้าดินไหว ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

วิเคราะห์คุณค่า

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ๑) รูปแบบ ลิลิตตะเลงพ่ายแต่งเป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ ได้แก่ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพและ โคลงสี่สุภาพสลับกันตามความเหมาะสมของเนื้อหา ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีแนวประวัติศาสตร์และเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติที่มุ่งสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การที่ผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพและโคลงสุภาพในงานประพันธ์ จึงนับว่าเหมาะสมอย่างยิ่งเพราะคำประพันธ์ทั้งสองประเภทนี้นิยมใช้ในการพรรณนาเรื่องราวที่สูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒) องค์ประกอบของเรื่อง ๒.๑) สาระ แก่นสำคัญของลิลิตตะเลงพ่าย คือ การยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในด้านพระปรีชาสามารถทางการรบ โดยการกระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีและได้รับชัยชนะอย่างงดงาม นอกจากพระปรีชาสามารถทางการรบแล้ว ผู้แต่งยังได้เน้นพระปรีชาสามารถในด้านการปกครองและพระจริยวัตรอันกอปรด้วยทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ สังคหวัตถุ ๔ ประการ และพระจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒.๒) โครงเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อหาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่เพื่อมิให้เนื้อเรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่สำคัญเป็นหลักของเรื่อง “ตะเลงพ่าย” คือ การดำเนินความตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักโดยผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒.๓) ตัวละคร สมเด็จพระนเรศวร ๑) มีความเป็นนักปกครองที่ดี ทรงเลือกใช้คนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิรวมถึงทรงปรับปรุงตำราพิชัยสงครามจากของเดิมให้เหมาะสม และรัดกุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จากบทประพันธ์บางตอนยังแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นนักปกครองที่พร้อมรับฟังความเห็นของขุนนางและข้าราชบริพาร ดังบทประพันธ์นี้ ทั้งมวลหมู่มาตย์ซ้อง สารพลัน ทูลพระจอมจรรโลง เลื่องหล้า แถลงลักษณะปางบรรพ์ มาเทียบ ถวายแฮ แนะที่ควรเสด็จค้า เศิกไซร้ไกลกรุง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒) มีความเป็นนักรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นนักรบที่แท้จริง เพราะทรงรอบรู้เรื่องกระบวนศึก การจัดทัพ การเคลื่อนทัพ การตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงครามที่สำคัญคือ พระองค์มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นเกรงต่อข้าศึก แม้จะอยู่ในลักษณะเสียเปรียบก็ไม่เกรงกลัว แต่กลับใช้บุคลิกภาพอันกล้าหาญของพระองค์เผชิญกับข้าศึกด้วยพระทัย ที่มั่นคงเข้มแข็ง ดังตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพพม่ามอญ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ พระมหาอุปราชา พระมหาอุปราชา ๑) เป็นลูกกตัญญู พระมหาอุปราชาทรงเกรงสมเด็จพระนเรศวรในเรื่องฝีมือและความอาจหาญ แต่จำเป็นต้องยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เพราะขัดพระบรมราชโองการไม่ได้ ในระหว่างเดินทัพมาได้เกิดลางร้ายต่างๆ พระมหาอุปราชาเกิดความโศกเศร้าเสียพระทัพเพราะไม่มั่นพระทัพว่าจะได้รับชัยชนะ ทำให้ทรงห่วงใยพระราชบิดายิ่งนัก ข้อความที่แสดงให้เห็นความกตัญญูของพระมหาอุปราชา คือ ตอนที่คร่ำครวญถึงพระราชบิดาว่าจะว้าเหว่และขาดคู่คิดในการทำสงคราม และพระองค์เองก็ไม่สามารถทดแทนบุญคุณของพระบิดาได้ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ พระมหาอุปราชา ๒) มีพระทัยอ่อนไหว พระมหาอุปราชาทรงพระทมทุกข์มาก ไม่ต้องการออกรบ เพราะเสียขวัญกำลังใจจากการที่โหรทำนายว่าจะถึงฆาต สูญเสียความภูมิใจในฐานะพระโอรสแห่งกษัตริย์หงสาวดี เพราะถูกเยาะเย้ยให้อับอายในที่ประชุมขุนนาง พระองค์ทรงมีแต่ความเศร้าโศกเสียพระทัยที่ต้องจากบ้านเมือง จากความสุขสบายที่เคยได้รับ เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในวังพรั่งพร้อมด้วยพระสนม เพราะเป็นคนที่อ่อนไหวในอารมณ์ ทำให้ระทมทุกข์ ขณะเดินทางก็คิดถึงนางอันเป็นที่รักด้วยความอาลัยอาวรณ์ตลอดเวลา พบเห็นสิ่งใดก็อดไม่ได้ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับความรัก ความคิดถึงที่พระองค์มีให้แก่พระสนม ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๓) มีขัตติยมานะ คือ การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์ ถึงแม้พระมหา อุปราชาจะมีความประหวั่นพรั่นพรึงว่าจะต้องสูญเสียชีวิตในการทำศึกสงคราม และมีความโศกเศร้าสักเพียงใด แต่ด้วยขัตติยมานะ พระองค์ก็เดินทัพไปด้วยความหยิ่งทะนงในพระองค์เอง ขัตติยมานะของพระองค์ทำให้เมื่อพระองค์ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นจอมทัพฝ่ายไทย ก็วางแผนทำศึกทันทีทั้งๆที่ยังมีความหวาดหวั่นในพระทัยอยู่ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒.๔) ฉากและบรรยากาศ ฉากที่ปรากฏในเรื่องตอนที่เรียน คือ เหตุการณ์ภายในเมืองมอญและบรรยากาศระหว่างการเดินทัพของพระมหาอุปราชาจากเมืองมอญสู่กาญจนบุรี ผู้แต่งได้บรรยายฉากและบรรยากาศได้สมจริงสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒.๕) กลวิธีในการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำเนินเรื่องตามธรรมเนียมนิยมในการแต่ง กล่าวคือ เริ่มด้วยบทสดุดี มีเนื้อเรื่องและตอนท้ายกล่าวสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและจบด้วยการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของกวี บอกชื่อความเป็นมาและคำอธิษฐานของพระองค์ท่าน การนำเสนอเรื่อง พระองค์ไม่ได้สอดแทรกคพวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ลงไป คือ ไม่นำตัวตนของกวีไปแทรกในเรื่อง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑) การสรรคำ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีมรดกล้ำค่าที่ คนไทยควรศึกษาเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวีรกรรมของนักรบไทยและภูมิใจในภาษาไทยที่กวีใช้ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างมีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑.๑) การใช้คำที่เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล กวีเลือกใช้คำที่แสดงฐานะของบุคคล ดังนี้ เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามินทร์ เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง ศัสตราวุธอรินทร์ ฤาถูก องค์เอย เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑.๒) การใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง ความไพเราะของถ้อยคำหรือความงามของถ้อยคำนั้น พิจารณาที่การใช้สัมผัส การเล่นคำ เล่นความ การเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นต้น ลิลิตตะเลงพ่ายมีการใช้คำที่มีเสียงเสนาะ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (๑) มีการใช้สัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะในคำประพันธ์ทุกบท ทำให้เกิดความไพเราะ เช่น “.....ถับถึงโคกเผาเข้า พอยามเช้ายังสาย หมายประมาณโมงครบ ประทบทัพรามัญ ประทันทัพพม่า ขับทวยกล้าเข้าแทง ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงเห่เอาชัย สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด งาง้าวฟาดฉะฉับ.....” ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (๒) มีการใช้สัมผัสพยัญชนะเดียวกันเกือบทั้งวรรค เช่น กรตระกองกอดแก้ว เรียมจักร้างรสแคล้ว คลาดเคล้าคลาสมร จำใจจรจำจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แล ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (๓) มีสัมผัสสระในแต่ละวรรคของโคลงแต่ละบาทคล้ายกลบท เช่น ชาวสยามคร้ามเศิกสิ้น ทั้งผอง นายและไพร่ไป่ปอง รบร้า อพยพหลบหลีกมอง เอาเหตุ ซุกซ่อนห่อนให้ข้า ศึกได้ไปเป็น ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๔) การเล่นคำ เพื่อให้มีความลึกซึ้งและเกิดอารมณ์กระทบใจผู้อ่านโดยเน้นนัยของคำว่า สายหยุด ว่า ดอกสายหยุดจะหยุดส่งกลิ่นหอมเมื่อล่วงเข้าเวลาสาย แต่ยามสายนั้นก็มิอาจหยุดความรัก ความเสน่หา ที่มีต่อนางอันเป็นที่รักได้ เช่น สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่ ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (๕) การเล่นเสียงวรรณยุกต์ เช่น สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤา เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้ สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒) การใช้โวหาร กวีเลือกใช้ถ้อยคำในการบรรยาย พรรณนาและเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพชัดเจน ดังนี้ ๒.๑) การใช้คำให้เกิดจินตภาพ เช่น การใช้คำที่แสดงให้เห็นภาพการต่อสู้อย่างห้าวหาญของพลทหารทั้งสองฝ่ายที่ผลัดกันรุกรับขับเคี่ยวกันด้วยอาวุธหลากหลายทั้งขอ ง้าว ทวน หอก ธนู จนต่างฝ่ายล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ดังตัวอย่าง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ...คนต่อคนต่อรบ ของ้าวทบทะกัน ต่างฟันต่างป้องปัด วางสนัดหลังสาร ขานเสียงคึกกึกก้อง ว่องต่อว่องชิงชัย ไวต่อไวชิงชนะ ม้าไทยพะม้ามอญ ต่างเข้ารอนเข้าโรม ทวนแทงโถมทวนทบ หอกเข้ารบรอหอก หลอกล่อไล่ไขว่แคว้ง แย้งธนูเหนี่ยวแรง ห้าวต่อห้าวหักหาญ ชาญต่อชาญหักเชี่ยว เรี่ยวต่อเรี่ยวหักแรง แขงต่อแขงหักฤทธิ์ ต่างประชิดฟอนฟัน ต่างประชันฟอนฟาด ล้วนสามารถมือทัด ล้วนสามรรถมือทาน ผลาญกันลงเต็มหล้า ผร้ากันลงเต็มแหล่ง แบ่งกันตายลงครัน ปันกันตายลงมาก ตากเต็มท่งเต็มเถื่อน ตากเต็มเผื่อนเต็มพง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒.๒) การใช้โวหารโดยการเปรียบเทียบ ว่าสมเด็จพระนเรศวรมีฤทธิ์เหมือนพระรามยามต่อสู้กับทศกัณฐ์ ข้าศึกศัตรูที่พ่ายแพ้ไปเหมือนพลยักษ์ สมเด็จพระนเรศวรก็เหมือนองค์พระนารายณ์อวตารลงมา ดังตัวอย่าง บุญเจ้าจอมภพขึ้น แผ่นสยาม แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม รอนราพณ์ แลฤา ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒.๓) การใช้ถ้อยคำสร้างอารมณ์และความรู้สึก แม้ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แต่ด้วยความปรีชาในด้านภาษาอย่างลึกซึ้งของกวี กวีสามารถใช้ถ้อยคำ ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์ เกิดความรู้สึกเห็นใจ เศร้าใจ ดีใจ ภูมิใจ ได้ตามจุดมุ่งหมายของกวี ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑) การใช้ถ้อยคำให้เกิดความรู้สึกเห็นใจ เช่น ตอนที่พระมหาอุปราชาเคลื่อนกระบวนทัพ ขณะเดินทางมีการชมธรรมชาติ ชมพันธุ์ไม้ต่างๆ โดยการนำชื่อต้นไม้และดอกไม้มาเล่นคำให้สอดคล้องกับอารมณ์และความรู้สึกของพระมหาอุปราชาได้อย่างไพเราะ สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤา เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้ สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ (๒) การใช้ถ้อยคำเกิดอารมณ์สะเทือนใจ ดังปรากฏตอนที่ พระมหาอุปราชา ลาพระสนม พระผาดผายสู่ห้อง หาอนุชนวลน้อง หนุ่มเหน้าพระสนม ปวงประนมนบเกล้า งามเสงี่ยมเฟี้ยมเฝ้า อยู่ถ้าทูลสนอง กรตระกองกอดแก้ว เรียมจักร้างรสแคล้ว คลาดเคล้าคลาสมร จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แล ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๓. คุณค่าด้านสังคม ๑) สะท้อนให้เห็นธรรมชาติมนุษย์ เช่น พระเจ้าหงสาวดีตรัสประชดพระมหาอุปราชาว่า กษัตริย์กรุงศรีอยุธยามีพระโอรสที่กล้าหาญไม่ครั่นคร้ามจ่อการศึกสงคราม แต่พระโอรสของพระองค์เป็นคนขลาด ทำให้พระมหาอุปราชาทรงอับอายและเกรงพระราชอาญา จึงเกิดขัตติยมานะยอมกระทำตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดา ดังตัวอย่าง “...องค์อุปราชยินสาร แสนอัประมาณมาตย์มวล นวลพระพักตร์ผ่องเผือด เลือดสลดหมดคล้ำ ช้ำกมลหมองมัว กลัวพระอาชญายอบ นอบประณตบทมูล ทูลลาไท้ลีลาศ ธก็ประกาศเกณฑ์พล บอกยุบลบมิหึง...” ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒) สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ขนบธรรมเนียม ในการศึกที่ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ เมื่อพระมหาอุปราชาจะออกศึก พระเจ้าหงสาวดีทรงประสาทและให้โอวาทการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารและความเด็ดขาดในการรบ ความรู้เกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม การจัดทัพ การตั้งทัพ ประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับสงคราม เช่น พิธีโขลนทวารตัดไม้ข่มนาม เพื่อการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหาร ดังที่ปรากฏในบทประพันธ์ที่กล่าวถึงพิธีโขลนทวารซึ่งเป็นพิธีบำรุงขวัญทหารก่อนออกศึกเหล่าทหารต่างฮึกเหิมและมีกำลังใจเพราะมีพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๓) สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย ความเชื่อที่ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ ความเชื่อของบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องความฝันบอกเหตุ เชื่อคำทำนายทายทักของโหร เช่น ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินนิมิต จึงตรัสให้หาพระโหราจารย์เพื่อทำนายนิมิต ทันใดดิลกเจ้า จอมถวัลย์ สร่างผทมถวิลฝัน ห่อนรู้ พระหาพระโหรพลัน พลางบอก ฝันนา เร็วเร่งทายโดยกระทู้ ที่ถ้อยตูแถลง ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๔) สะท้อนข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ลิลิตตะเลงพ่ายได้แสดงคุณธรรมด้านต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต เช่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเมตตา ความนอบน้อม การให้อภัย เป็นต้น โดยสอดแทรกอยู่ในบทประพันธ์ ผู้อ่านจะสามารถซึมซับคุณธรรมเหล่านี้ผ่านความงามของภาษา สามารถจรรโลงใจผู้อ่านได้ เช่น ตอนที่พระเจ้านันทบุเรง ทรงสอนการศึกสงครามแก่พระมหา อุปราชา ก็เป็นข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งต่อการดำเนินชีวิตทุกยุคสมัย ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์