แนวทางปฏิบัติในการเบิกค่าเช่าบ้าน
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้าน ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้าน ของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๑)
ปี 48 ข้อ 6 ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงาน ในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (๓) ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่ม รับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่
ปี 51 ข้อ 6 ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงาน ในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่จ่ายจริงตามสมควรแก่สภาพแห่งบ้าน แต่อย่างสูงไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้น (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (2) มีเคหสถานอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรสในท้องที่ที่ ไปประจำสำนักงานใหม่ โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ได้รับคำสั่ง ให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่เป็นท้องที่ที่เริ่มรับราชการ ครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ด้วย
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ อบจ. พนักงานเทศบาล ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบล (อบต)
อำเภอ ท้องที่ กิ่งอำเภอ
ตัวอย่าง บรรจุครั้งแรกที่อำเภอ ก. ต่อมาย้ายไปภายใน อำเภอ ก. จะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ไหม ? ก ข
ไม่มีสิทธิเพราะมีบ้านเป็นกรรมสิทธิ์แล้ว - ถ้าไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเนื่องจากมีบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ ของตนเองหรือคู่สมรส หากได้จำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผู้อื่นก็ ไม่เกิดสิทธิ แต่ถ้าบ้านเกิดภัยพิบัติก็จะเกิดสิทธิ ข้อ 7
เมื่อมีสิทธิจะใช้สิทธิได้อย่างไร? ใช้สิทธิได้ 3 วิธี คือ เบิกค่าเช่าบ้าน เบิกค่าเช่าซื้อ นำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้าน
มีสิทธิตั้งแต่ได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัว ข้อ 12 สิทธิเกิดเมื่อใด? มีสิทธิตั้งแต่ได้เช่าอยู่จริง แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัว
ตัวอย่าง ๑. รายงานตัววันที่ ๑ แต่เช่าบ้านวันที่ ๑๐ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านคือวันที่ ๑๐ เช่าจริงอยู่จริง ๒. รายงานตัววันที่ ๑๐ แต่เช่าบ้านวันที่ ๑ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านคือวันที่ ๑๐ แต่ไม่ก่อนวันรายงานตัว
การเช่าบ้าน ไม่จำเป็นต้องย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้าน หลังที่เช่า จะเช่าอยู่ต่างท้องที่ที่ทำงานก็ได้ เช่าบ้านใครก็ได้รวมทั้งพ่อแม่ พ่อแม่คู่สมรส แต่ต้องเช่าจริงอยู่จริง ไม่จำเป็นต้องเช่าทั้งหลัง สัญญาเช่าควรทำอย่างน้อย 3 ปี
หลักในการเช่าบ้านพ่อบ้านแม่ 1. ต้องมีสิทธิ 2. ต้องไม่ใช่บ้านตนเอง หรือคู่สมรส 3. ต้องเช่าจริงอยู่จริง ตัวอย่าง กรณีเดิมเคยอยู่อาศัย แต่ทำนิติกรรมอำพราง ไม่ได้เช่าจริงอยู่จริง สัญญาเช่าบ้านก็ทำเอง ใบเสร็จก็ทำเอง ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
ตัวอย่าง เช่าบ้าน ก ข อยู่อำเภอ ก. มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ไปเช่าบ้านอยู่อำเภอ ข. ได้หรือไม่ ?
การเช่าซื้อ กับสถาบันการเงิน บ้านที่นำมาใช้สิทธิต้องอยู่ในท้องที่ที่ทำงาน เช่าซื้อหรือผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน กับสถาบันการเงิน
สถาบันการเงิน - ธนาคาร - รัฐวิสาหกิจ - สหกรณ์ จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อการเคหะ
ตัวอย่าง เช่าซื้อ ก ข ค
การเช่าซื้อ - ในท้องที่หนึ่งเบิกได้หลังแรกหลังเดียว ข้อ 14 (1) - ในท้องที่หนึ่งเบิกได้หลังแรกหลังเดียว เว้นแต่เกิดภัยพิบัติ
การเช่าซื้อ ถ้าใช้สิทธินำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้าน หากได้จำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผู้อื่นก็ หมดสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านทันที แต่ถ้าบ้านเกิดภัยพิบัติ สามารถเช่าบ้าน หรือซื้อบ้านหลังใหม่ได้
ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อ 4 ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผู้ได้รับความเสียหายไม่มีส่วนจะต้องรับผิดชอบ
การเช่าซื้อ ข้อ 15 - นำค่าผ่อนชำระในท้องที่เดิม ไปเบิกในท้องที่ใหม่ได้ หรือจะเช่าบ้านหรือ ซื้อบ้านในท้องที่ใหม่แล้วนำมาเบิกก็ได้ (ต้องเข้าเงื่อนไข ๒ ไม่) - ถ้าผ่อนหมดก็สามารถใช้สิทธิเช่าบ้าน หรือซื้อบ้านได้อีก
ข้อ 15 ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้ใช้สิทธินำ หลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านตามข้อ 13 และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่น ซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามระเบียบนี้ให้ข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อ หรือค่าผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่ เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้
มีสิทธิและมีคู่สมรส รับราชการในท้องที่เดียวกัน และต่างก็มีสิทธิให้เลือกว่าใครจะใช้สิทธิ (ได้คนเดียว) อยู่คนละท้องที่ก็ให้ต่างคนต่างใช้สิทธิ
ข ก ตัวอย่าง ปลัดคนหนึ่งอยู่อำเภอ ก. ..........................? สามีภรรยาบรรจุครั้งแรก……………….?
การเช่าซื้อ ข้อ 14 อีกคนหนึ่งมีสิทธิก็นำหลักฐานไปเบิกได้ คู่สมรสกัน ไม่จำเป็นต้องกู้ร่วมคนใดคนหนึ่งกู้ อีกคนหนึ่งมีสิทธิก็นำหลักฐานไปเบิกได้
ก ตัวอย่าง 1 1. หญิงสาวคนหนึ่งบรรจุที่ อำเภอ ก........? 2. หญิงสาวคนหนึ่งบรรจุที่ อำเภอ ก........? ตัวอย่าง 2 1. หญิงสาวคนหนึ่งบรรจุ ก........?
การเช่าซื้อ เช่น ส่งเดือนละ 5,000 บาท ตามกฎหมาย - หากกู้ร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่สมรส ให้นำใบเสร็จ ที่ผ่อนชำระหารสอง เหลือเท่าไรให้เบิกได้ ตามบัญชีท้ายระเบียบ เช่น ส่งเดือนละ 5,000 บาท ตามกฎหมาย ถือว่าส่งคนละ 2,500 บาท ถ้าสิทธิเบิกได้ 3,000 บาท ก็เบิกได้แค่ 2,500 บาท ถ้าสิทธิเบิกได้ 2,000 บาท ก็เบิกได้แค่ 2,000 บาท
ก ตัวอย่าง เป็นแฟนกัน ยังไม่ได้แต่งงาน ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กรรมสิทธิ์ร่วมกัน................
การเช่าซื้อ - การใช้สิทธิให้ใช้ได้ภายในวงเงินหรือเวลา ตามสัญญาฉบับแรก อะไรหมดก่อน ก็หมดสิทธิเบิกในท้องที่นั้น
ตัวอย่าง ๑. สัญญาฉบับแรก วงเงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลา ๒๕ ปี (ธ.อาคารสงเคราะห์) ๒. สัญญาฉบับที่ ๒ ให้วงเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ระยะเวลา ๓๐ ปี (ธ.กรุงไทย)
การเช่าซื้อ - กรณีติดหนี้ไม่ส่ง 3 งวด ๆ ละ 5,000 บาท เดือนที่สี่ มีเงินไปจ่าย 20,000 บาท ถ้าใบเสร็จออกมา รวม 20,000 บาท จะเบิกได้แค่เดือนเดียว ถ้าจะเบิกสี่เดือน ต้องให้แจงรายละเอียดเป็นสี่เดือน
หลักเกณฑ์การจัดบ้านพัก หลักในการจัดบ้านพัก 1. ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจจัดที่พัก 2. เป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน 3. เรียงลำดับจาก c มากลงไป 4. คนที่บรรจุครั้งแรกหรือคนที่ไม่มีสิทธิ ได้รับค่าเช่าบ้าน ที่ มท 0808.2/ว954 ลว. 21 มี.ค. 2550 หลักเกณฑ์การจัดบ้านพัก
หลักในการจัดบ้านพัก (ต่อ) 5. ถ้าเช่าบ้านอยู่แล้วเบิกค่าเช่าบ้าน ถ้ามีบ้านพักว่างสามารถจัดให้อยู่ได้ จะอยู่หรือไม่อยู่ก็หมดสิทธิเบิก 6. ถ้านำค่าผ่อนชำระเงินกู้มาเบิกค่าเช่าบ้าน อยู่ก่อนแล้วถ้าบ้านพักว่าง ไม่ต้องจัดให้อยู่ หรือถ้าจัดให้อยู่ก็ปฏิเสธได้ และให้มีสิทธิ เบิกค่าเช่าบ้านต่อไป
หลักเกณฑ์การเบิกจ่าย การยื่นขอเบิกเงิน - ยื่นแบบคำขอรับค่าเช่าบ้าน (แบบ 6005) - ต่อผู้รับรองการใช้สิทธิ พร้อมด้วย สัญญาเช่าบ้าน สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้าน หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ มท 0808.2/ว296 ลว. 25 ม.ค. 2550 หลักเกณฑ์การเบิกจ่าย
ผู้รับรองการใช้สิทธิ หัวหน้าหน่วยงาน(ระดับ 6 ขึ้นไป) ไม่สูงกว่าระดับ 6 ผู้บังคับบัญชาเหนือหนึ่งระดับ หัวหน้าหน่วยงาน ระดับ 7 สิทธิของตนเอง
การอนุมัติ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ผู้มีอำนาจอนุมัติ ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แต่งตั้งคณะกรรมการ (๓ คน) ตรวจสอบข้อเท็จจริง (เช่าอยู่จริง,อัตราคาเช่า,วงเงินกู้) ทำรายงานการตรวจสอบ
การเบิกจ่ายเงิน - ยื่นแบบ 6006 - หลักฐานการชำระเงิน - เบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปี ที่ได้รับแบบ (แบบ 6006) - ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นแนบคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
การเบิกจ่ายเงิน (ต่อ) - ไม่จำเป็นต้องเบิกทุกเดือน - รวมเบิกหลายเดือนได้ - เบิกข้ามปีงบประมาณได้
กรณีต้องยื่นแบบ ๖๐๐๕ ใหม่ ย้ายไปต่างสำนักงาน เปลี่ยนแปลง สัญญา
ข้าราชการอื่นโอนมาเป็นข้าราชการท้องถิ่น ตัวอย่าง นาง ค. รับราชการครั้งแรกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ และโอน (ย้าย) มาสังกัดกรมราชทัณฑ์ เรือนจำจังหวัดเพชรบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 ได้ย้ายตามคำร้องของตนเองไปปฏิบัติหน้าที่ที่เรือนจำจังหวัดตาก ในท้องที่อำเภอเมืองตาก และแม้ต่อมาได้โอนย้ายมาเป็นพนักงานเทศบาลเมืองตาก ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองตาก นาง ค. จะมีสิทธิได้รับ ค่าเช่าบ้านหรือไม่ ที่ มท ๐๔๐๗/ว ๑๔ ลว ๖ ม.ค. ๒๕๓๑
มีข้อสงสัยโทร ๐ - ๒๒๔๑-๙๐๐๐ ต่อ ๑๕๒๓-๑๕๒๔