หน่วยที่ 9 เครื่องโทรศัพท์
ประวัติและวิวัฒนาการของโทรศัพท์ โทรศัพท์ เครื่องแรกเป็นเครื่องส่งเสียงไกล ใช้กระแสไฟฟ้าส่งและรับเสียงพูด โดยการส่งเสียงพูดกรอกลงไปในเครื่องส่ง ประดิษฐ์โดยศาสตราจารย์อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ เป็นชาวสก๊อต ใช้เป็น ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2419 สำหรับประเทศไทย ได้มีการนำโทรศัพท์เข้ามา ใช้ในการติดต่อสื่อสารเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2424 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ.2478 ได้มีการสั่งซื้อเครื่องชุมสายอัตโนมัติ Step-by-Step มาจากประเทศอังกฤษสำหรับติดตั้งโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบ และที่ชุมสายบางรัก โดยเปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติเพื่อให้บริการทั่วไปใน พ.ศ.2480 และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2497 มีการจัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นรัฐวิสหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่รับผิดชอบจัดบริการทางด้านโทรศัพท์ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ขอใช้บริการที่มีเป็นจำนวนมาก
ระบบโทรศัพท์ 1. ระบบโทรศัพท์สายตรง เป็นระบบโทรศัพท์ที่สามารถหมุนสายติดต่อภายนอกได้โดยตรงไม่ต้องผ่านศูนย์ควบคุมสายที่เรียกว่า Switchboard 2. ระบบโทรศัพท์พ่วงสาย เป็นระบบโทรศัพท์ที่มีศูนย์ควบคุมสายสามารถต่อเข้าและออกสายตรงก็ได้หรือ เรียกว่า แบบสายตรง และสามารถต่อเข้า - ออกโดยผ่านการควบคุมของพนักงานคุมสาย เรียกว่า แบบสายพ่วง การสื่อสารแห่งประเทศไทย จะติดตั้งเครื่องโทรศัพท์และศูนย์ควบคุมในระบบที่เรียกว่า Private Branch Exchange มี 2 แบบ คือ 1. แบบมีพนักงานควบคุมการต่อสายพ่วง 2. แบบอัตโนมัติ 3. ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นระบบที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน ที่ได้รับอนุญาตมีเครือข่ายในระบบ GSM 900 และ GSM 1800
หลักในการใช้โทรศัพท์ การเตรียมตัวก่อนโทรศัพท์ 1. จดหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะพูดอย่างมีระเบียบ 2. เตรียมข้อมูลที่จำเป็นและสิ่งที่จะใช้เสียงไว้ให้เรียบร้อย 3. ค้นหาชื่อบุคคลที่ต้องการติดต่อและสถานที่ทำงานให้พร้อม 4. ตรวจสอบเลขหมายโทรศัพท์ที่ต้องการติดต่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง
ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ ในการรับโทรศัพท์ 1. เมื่อได้ยินสัญญาณโทรศัพท์ดัง ควรรับทันทีในกริ่งที่ 2 - 3 และกล่าวคำทักทายด้วยคำว่า สวัสดีค่ะหรือ สวัสดีครับ 2. ควรเตรียมกระดาษ ปากกา หรือดินสอไว้ให้พร้อมสำหรับจดข้อความที่ตู้โทรศัพท์อาจสั่งความไว้ 3. เมื่อต้องมีการจดบันทึกชื่อบุคคล บริษัท หรือสถานที่ ต้องแน่ใจว่าได้ยินชัดเจน ถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจควรถามซ้ำ 4. ก่อนที่จะวางหลังโทรศัพท์ ต้องแน่ใจว่าฝ่ายตรงข้ามหมดเรื่องที่จะพูดแล้วควรทบทวนเรื่องที่ตกลงกันหรือคำสั่งอีกครั้ง และจบการสนทนาด้วยคำว่า สวัสดีค่ะ หรือ สวัสดีครับ ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติในการต่อโทรศัพท์ 1. ยกหูฟัง ฟังสัญญาณเรียกซึ่งจะดังเป็นจังหวะยาวติดต่อกันทุกครั้ง 2. เมื่อต่อหมายเลขได้เรียบร้อยแล้ว ควรฟังสัญญาณ หาเพื่อนที่เรียกไม่ว่างจะได้ยินสัญญาณเป็นจังหวะ ยังอยู่ 0.5 วินาที และเงียบ 0.5 วินาที สลับกัน ให้วางหูโทรศัพท์และ อีกสักครู่ค่อยเรียกใหม่ 3. ถ้าเครื่องที่เรียกสายไปว่าง จะได้ยินสัญญาณว่าง ซึ่งดังเป็นจังหวะ 1 วินาที เงียบ 4 วินาที สลับกันไป ให้รอสักครู่จนกว่าจะมีผู้รับสายจึงสนทนากันได้ 4. เมื่อสนทนาจบแล้ว ให้วางหูโทรศัพท์ให้เรียบร้อยลงบนแป้นควรวางเบาๆ
มารยาทในการรับโทรศัพท์ 1. ไม่ควรใช้โทรศัพท์นานเกินไป ควรพูดให้สั้นและได้ใจความ 2. พูดด้วยน้ำเสียงสุภาพเป็นธรรมชาติ 3. ไม่ควรพูดเรื่องที่เป็นความลับทางโทรศัพท์ 4. ไม่ควรใช้โทรศัพท์ สำนักงานคุยในเรื่องส่วนตัว 5. ไม่ควรใช้คำว่า นั่นใครพูด นั่นที่ไหน มีธุระอะไร ชื่ออะไร เพราะเป็นคำที่ไม่สุภาพ 6. ถ้าต่อโทรศัพท์ผิดควรกล่าวคำว่า ขอโทษ 7. ควรกล่าวคำว่า สวัสดีทุกครั้งที่รับโทรศัพท์และจบการสนทนา 8. ควรกล่าวคำว่า ขอบคุณ ทุกครั้งที่ได้รับความช่วยเหลือจากคู่สนทนาอีกฝ่าย 9. พึงระลึกเสมอว่าไม่มีใครต้องการติดต่อตรงตอบทางโทรศัพท์กับผู้ที่พูดแล้วฟังไม่รู้เรื่อง
การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องโทรศัพท์ 1. ใช้เครื่องโทรศัพท์ให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือ 2. มันทำความสะอาดเครื่องโทรศัพท์ อย่าให้มีฝุ่นละอองเกาะ โดยใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสะอาด บิดให้แห้งที่เครื่องโทรศัพท์ 3. ควรใช้สเปรย์ ฉีดโทรศัพท์ ฉีดที่บริเวณปากกระบอกพูดโทรศัพท์ เพื่อป้องกันกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์ 4. สำรวจสายโทรศัพท์ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี 5. อยากจะแลกเปลี่ยนโทรศัพท์ ลงกับแท่นแรงๆ
ส่วนประกอบต่างๆของเครื่องโทรศัพท์
ข้อแนะนำในการแก้ไข ปัญหาการใช้โทรศัพท์เบื้องต้น
ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ สภาพแวดล้อม 1. อย่าวางเครื่องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ 2. เครื่องควรจะอยู่ให้ห่างจากแหล่งความร้อน การวางเครื่อง 1. อย่าวางวัตถุหนักทับบนเครื่อง 2. อยากให้มีวัสดุแปลกปลอมหรือของเหลวหล่นเข้าไปในเครื่อง 3. ควรวางเครื่องไว้บนพื้นผิวเรียบ