ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตั้งการทำงานบนระบบ Network และการใช้งานขั้นสูง
Advertisements

วิธีการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย
TCP/IP Protocols IP Addressing
Chapter 19 Network Layer: Logical Addressing
Ministry of Information and Communication Technology
ARP (Address Resolution Protocol)
IP Address เป็นหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่จัดสรร คือ InterNIC (Internet Network Information Center) ปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน.
ขั้นตอนการตั้งค่า IP Address และ Internet
File Transfer (FTP), WWW, HTTP, DHCP.
โดย อ.ปริญญา น้อยดอนไพร V
TCP/IP.
การติดตั้งอุปกรณ์ปลายทาง
CPE 426 Computer Networks Week 6: Chapter 24: IPv6.
Week 5: Chapter 23: Support Protocols
Week 13: Chapter 27: Internet Routing Part II:BGP, RIP & OSPF
ภาพรวมระบบเครือข่าย
วิธีคำนวณการแบ่ง Subnet
DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)
CH 9 หมายเลขไอพี และการจัดสรร
Chapter 4 หมายเลขไอพี และการจัดสรร
Protocol ทำเราท์เตอร์เป็นเซิร์ฟเวอร์แจกไอพี Dynamic Host Configuration
Week 4: Chapter 21: IP Address Chapter 22: IP Datagram
Santi Sa-Nguansup CCIE #8615. P.2 Understanding the Flow of IP Datagrams โครงการพัฒนาบุคลากรสำหรับการ บริหารจัดการเครือข่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
IP ADDRESS.
ขั้นตอนการ Upgrade Firmware
CCNA Configuration Mr.Thongrob Auxsorn.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต. LAN Overview LANs were created to save time, money, and enable users to share information and resources more easily.
Week 12: Chapter 27: Internet Routing Part I:
1 LAN Implementation Sanchai Yeewiyom School of Information & Communication Technology Naresuan University, Phayao Campus.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องกำหนด โปรโตคอลที่ต้องการใช้ในเครือข่าย ครูปนัดดา กองมนต์ รายวิชา อินเทอร์เน็ตและการสร้างเว็บ.
BY KIADTIPONG YORD. CHANDRA 2004 :: COMPUTER NETWORK ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการกระจาย Computer Network and Distributed เทคโนโลยี Internet Internet.
Network Layer. Subnetting.
NMS remote monitor power supply. การต่อสาย LAN ผ่าน BBU 2G เพื่อทำ Remote monitor จาก OMC - สาย LAN แบบพินตรง “Direct PIN” ต่อจาก BBU 2G – UPEU (Port.
OSI Network Layer TCP/IP Internet Layer วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย นายวุฒิชัย คำมีสว่าง.
Chapter 20: Internet Concept
Study IPv4 and IPv6 Wachira Parathum Internet Service Division
ผู้บรรยาย บุญลือ อยู่คง วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
Chapter 20: Internet Concept
Lab05 Dynamic Route using RIP Protocol
BS313 Data Communication and Computer Network for Business
Chapter 8: Single-Area OSPF
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม
Mobile Network/Transport Layers
บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP
บทที่ 8 เครือข่ายการสื่อสารทางไกลระหว่างประเทศ
Wireless Network เครือข่ายไร้สาย
แบบจำลองเครือข่าย (Network Models)
ความรู้พื้นฐานกล้องไอพี
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 8 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 8 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 7 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
Axis network camera Training course Engineering Team , Digitalcom.
IP-Addressing and Subneting
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
IP-Addressing and Subneting
TCP/IP Protocol นำเสนอโดย นส.จารุณี จีนชาวนา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Boson Netsim Simulator ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
Basic Config Router&Switch
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 6 : เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต (Wired LANs : Ethernet) Part1 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
บทที่ 5 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
BS313 Data Communication and Computer Network for Business
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 7 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
ARP Spoof โดยอาจารย์ธวัชชัย ชมศิริ อาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ ปฏิบัติการที่ 3 : การคอนฟิกเส้นทางบนเราเตอร์แบบกำหนดเอง โดยใช้โปรแกรมจำลอง สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นสูง
ระบบรายงานข้อมูลการประกันตัวผู้ขับขี่ ร.ย.03 (1)
หลักและศิลปะ ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid อุปกรณ์ที่เชื่อมเข้าเครือข่าย และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของทีซีพี/ไอพี จะต้องมีแอดเดรสประจำอุปกรณ์นั้น อุปกรณ์ที่กล่าวถึงนี้อาจเป็น โฮสต์ เราเตอร์ หรือ เครื่องพิมพ์ ไอพีรุ่นสี่กำหนดให้ใช้ไอพีแอดเดรสขนาด 32 บิต อุปกรณ์ที่เชื่อมกับอินเตอร์เน็ตจะมีไอพีแอดเดรสประจำ Interface ที่ไม่ซ้ำกัน 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid แอดเดรสขนาด 32 บิตมีเท่ากับ 232 = (4,294,967,296) แต่เมื่อนำมาจัดสรรแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้ครบทั้งหมด ไอพีแอดเดรสนิยมเขียนในรูปเลขฐานสิบตามแบบ “Dotted Decimal” โดยแบ่งตัวเลข 32 บิตออกเป็น 4 ไบต์แทนด้วยเลขฐานสิบหนึ่งตัวและคั่นแต่ละไบต์ใช้ด้วยเครื่องหมายจุด เช่นแอดเดรส 10011110 01101100 00000010 00000001 จะเขียนได้เป็น 158.108.2.1 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid แอดเดรสขนาด 32 บิต ประกอบขึ้นจากหมายเลขสองส่วนคือ เลขเครือข่าย (Network Number หรือ Network Identifier หรือ netid) และเลขโฮสต์ (Host Number หรือ host identifier หรือ hostid) เลขเครือข่ายใช้สำหรับจัดคลาสเครือข่าย ส่วนเลขโฮสต์ใช้ระบุหมายเลขโฮสต์ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ Interface ของโฮสต์) 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid 32 bit Netid Hostid 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid ปัจจุบันฟิลด์กำหนดเลขเครือข่ายนิยมเรียกว่า พรีฟิกซ์เครือข่าย (Network-prefix) เพราะทุกโฮสต์ในเครือข่ายจะต้องมีพรีฟิกซ์หรือบิตนำหน้าเหมือนกัน ตัวอย่างเช่นหากมีเลขเครือข่ายจำนวน 16 บิตก็จะเรียกว่า พรีฟิกซ์ 16 เป็นต้น กล่าวคือ พรีฟิกซ์ก็คือ Netid นั่นเอง 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid การจัดแบ่งไอพีแอดเดรสออกเป็นสองส่วนที่ประกอบด้วยเลขเครือข่ายและเลขโฮสต์ก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลระบบ เราเตอร์จะอาศัยเลขเครือข่ายเพื่อเลือกเส้นทางส่งแพ็กเก็ตโดย โฮสต์ที่มีเลขเครือข่ายชุดเดียวกันก็จะส่งข้อมูลในเครือข่ายเดียวกันและสามารถสื่อสารถึงกันโดยใช้เฟรมดาต้าลิงค์โดยไม่ต้องพึ่งพาเราเตอร์ แต่ถ้ามีเลขเครือข่ายคนละชุดก็ต้องอาศัย Router เพื่อทำหน้าที่ในการส่งแพ็กเกจไปยังปลายทาง 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid Protocol TCP/IP เป็น Protocol สำหรับเครือข่ายแบบ internetwork ทุก Network ที่มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันจำเป็นต้องมี Netid ไม่ซ้ำกัน จึงต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดว่าองค์กรใดหรือบริษัทใดควรจะได้กลุ่มของ IP ประเภทใดไปใช้งาน ซึ่งเรียกว่า “Class” NIC ได้แบ่ง Class ของ IP Address ออกเป็น 5 Class ด้วยกันคือ A,B,C,D และ E 5/3/2019

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย รูปที่ 3.9 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid จำนวนเครือข่ายในแต่ละคลาสและจำนวนโฮสต์สูงสุด สามารถคำควณได้จากจำนวนบิตที่ใช้งานตามสูตร 2n เมื่อ n คือจำนวนบิต ตัวอย่างเช่นในคลาส B มีเลขโฮสต์จำนวน 16 บิต จึงมีโฮสต์ได้ไม่เกิน 216 ซึ่งเท่ากับ 65,536 แต่เลขโฮสต์ที่ทุกบิตเป็น “0” และเป็น “1” จะสงวนไว้ใช้งานเฉพาะกรณี จำนวนโฮสต์จึงลดลงไป 2 โฮสต์ทุกเครือข่าย หรือมีโฮสต์ได้ไม่เกิน 216 - 2 = 65,534 นั่นเอง 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class A) เครือข่ายในคลาส A มีบิตซ้ายสุดเป็น 0 และใช้ 7 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่ายส่วนอีก 24 เป็นเลขโฮสต์ คลาส A จึงมีเลขเครือข่ายได้ 27 หรือ 128 ค่า แต่เครือข่าย 0.0.0.0 กำหนดเส้นทางโดยปริยาย (Default Route) ส่วน 127.0.0.0 เป็นแอดเดรส ลูปแบ็ค จำนวนเครือข่ายที่สังกัดในคลาส A จึงมีได้ 126 เครือข่าย คือเลขที่ขึ้นต้นด้วย1.0.0.0 ถึง 126.0.0.0 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class A) Bit ที่ 1-8 จะเป็น Network Address (netid) โดยที่ Bit ที่ 1 ต้องเป็นเลข “0” Class A จะมี Network ได้ 27 =128 วง 1 วงจะมี Host ได้ 224 ตัว Bit ที่ 9-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address 00001010 00000000 00000000 00000000 = 10.0.0.0 Netid 10, Hostid 0.0.0 ดังนั้น Class A จะมี Netid ตั้งแต่ 0-127 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class A) เครือข่ายในคลาส A จะมีแอดเดรสได้ 224– 2 = 16,777,214 คือตั้งแต่ 0.0.1 ถึง 255.255.254 เครือข่ายในคลาส A ใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องแอดเดรสเป็นจำนวนมาก เครือข่ายคลาสนี้จัดสรรให้กับหน่วยงานในยุคแรกเริ่มของอินเตอร์เน็ต แอดเดรสเครือข่ายที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่จะสงวนไว้ ตัวอย่างเช่น 9.0.0.1.1 ibm.com 15.0.0.1.1 hp.com 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class B) เครือข่ายในคลาส B มีบิตแรกเริ่มเป็น 10 และใช้ 14 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่ายจำนวนบิตที่กำหนดเลขโฮสต์มีขนาด 16 บิต คลาส B จึงมีสมาชิกเครือข่ายได้ 214 –2 หรือ 16,382 คือตั้งแต่ 128.1.0.0 ถึง 191.254.0.0 แต่ละเครือข่ายมีเลขโฮสต์ได้ 216– 2 = 65,354 แอดเดรส หรือตั้งแต่ 0.1 ถึง 255.254 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class B) Bit ที่ 1-16 จะเป็น Network Address (Netid) โดยที่ Bit ที่ 1-2 ต้องเป็นเลข “10” Class B จะมี Network ได้ 214 วง ใน1 วงจะมี Host ได้ 216 ตัว Bit ที่ 17-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address 10000000 00000011 00000010 00000011 = 128.3.2.3 Netid 128.3, Hostid 2.3 ดังนั้น Class B จะมี Netid ตั้งแต่ 128-191 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class B) เครือข่ายในคลาส B มักจัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดกลาง ในปัจจุบันทีเครือข่ายในคลาส B เหลือไม่มากนัก และมักไม่จัดสรรเครือข่ายในคลาสนี้ให้กับผู้ขอจดทะเบียนรายใหม่ หากไม่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น 129.123.0.0 usu.edu 130.149.0.0 tu-berlin.de 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class C) เครือข่ายในคลาส C มี พรีฟิกซ์ 110 และใช้ 21 บิตถัดมาเป็นเลขเครือข่าย จำนวนบิตที่เป็นเลขโฮสต์มีเพียง 8 บิต คลาส C จึงมีเลขเครือข่ายได้ตั้งแต่ 192.0.1.0 ถึง 233.255.254.0 รวม 2,097,150 เครือข่าย แต่ละเครือข่ายมีเลขโฮสต์ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 254 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class C) Bit ที่ 1-24 จะเป็น Network Address (Netid) โดยที่ Bit ที่ 1-3 ต้องเป็นเลข “110” Class B จะมีNetwork ได้ 221 วง ใน1วงจะมี Host ได้ 28 ตัว Bit ที่ 25-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address 11000000 00000000 00000001 11111111 = 129.0.1.255 Netid 129.0.1, Hostid 255 ดังนั้น Class C จะมี Netid ตั้งแต่ 129 เป็นต้นไป 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class C) 198.6.250.1 isoc.org 198.137.240.1 whitehouse.gov 5/3/2019

ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Class ของเครือข่าย (Class D & E) เครือข่ายในคลาส D และ E ไม่มีการจัดแบ่งเลขเครือข่ายและเลขโฮสต์ คลาส D โดยมี 3 บิตแรกเป็น 111 จึงมีแอดเดรสตั้งแต่ 244.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 แอดเดรสในคลาสนี้เรียกว่า มัลติคาสต์แอดเดรส (Multicast Address) สำหรับคลาส E มีแอดเดรสจาก 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.255 ซึ่งสำรองไว้เพื่อความจำเป็นเฉพาะงานในอนาคต 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) เครือข่ายที่สังกัดในคลาส A และ B เป็นเครือข่ายที่มีจำนวนโฮสต์ได้เป็นจำนวนมาก คือ 16,777,214 และ 65,534 ตามลำดับ ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถเชื่อมต่อโฮสต์ได้ทั้งหมดในเครือข่ายเดี่ยวเพราะข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ จึงต้องจัดแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ให้เล็กลงไปเป็นเครือข่ายย่อย หรือ ซับเน็ต (Subnet) การแบ่งซับเน็ต ซึ่งจะจัดจำนวนโฮสต์ให้เหมาะสมกับฮาร์แวร์ของเครือข่ายและง่ายในการบริหารเครือข่าย 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การจัดซับเน็ต [RFC 950] ใช้วิธีแบ่งบางส่วนของเลขโฮสต์มาใช้เป็น เลขซับเน็ต (Subnetid) เพื่อช่วยกำหนดว่าเป็นเครือข่ายย่อยที่เท่าใด ตัวอย่างเช่นเครือข่าย 158.108.0.0 ซึ่งอยู่ในคลาส B อาจใช้ 8 บิตแรกของโฮสต์เป็นเลขซับเน็ต และ 8 บิตที่เหลือใช้สำหรับเลขโฮสต์ 5/3/2019

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) จำนวนบิตของเลขซับเน็ตเป็นตัวกำหนดจำนวนเครือข่ายย่อย ซับเน็ตขนาด 8 บิต สำหรับเครือข่าย 158.1050.0. จะมี 254 ซับเน็ต (2subnetid -2) แต่ละซับเน็ตมี 254 โฮสต์ (2hostid -2) เลขซับเน็ต ที่ทุกบิตเป็น “1” และ ”0” จะสงวนไว้ใช้งานเฉพาะ ดังนั้นซับเน็ต 158.108.0.0 และ 158.108.255.0 จึงนำมาใช้ไม่ได้ 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Subnet Mask เมื่อเลือกขนาดซับเน็ตแล้วจะกำหนดพารามิเตอร์เพื่อใช้บอกให้โฮสต์และเราเตอร์ทราบว่าซับเน็ตที่ใช้งานมีขนาดกี่บิต ค่านี้เรียกว่า ซับเน็ตมารสค์ (Subnet mask) ซึ่งตัวเลข 32 บิต ซึ่งเขียนอยู่ในรูป Dotted-Decimal เช่นเดียวกับการเขียนไอพีแอดเดรส จะมีบิตที่ตรงกับเครือข่ายและเลขซับเน็ตเท่ากับ “1” ส่วนบิตที่ตรงกับกับเลขโฮสต์มีค่าเท่ากับ “0” การเลือกซับเน็ตมาสค์ควรใช้ค่าที่มีบิต “1” อยู่ติดกันจากทางซ้ายมือไปทางขวามือเสมอ 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Subnet Mask เช่นเครือข่าย 158.108.0.0 ซึ่งแบ่งให้มีเลขซับเน็ตและเลขโฮสต์อย่างละ 8 บิตจะมีค่าซับเน็ตมาสค์เท่ากับ 255.255.255.0 ค่านี้คำนวณได้จากการเขียนไอพีแอดเดรสทั้งสี่หลัก และใส่เลขฐานสองค่า “1” ให้ครบทุกบิตที่เป็นเลขเครือข่ายและเลขซับเน็ต จากนั้นได้ใส่ค่า “0” สำหรับเลขโฮสต์ แล้วจึงแปลงเลขฐานสองที่ได้เป็นเลขฐานสิบ 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Subnet Mask 158 108 Subnetid Hostid 11111111 11111111 11111111 00000000 255 255 255 0 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Subnet Mask เครือข่าย 158.108.0.0 ซึ่งใช้ซับเน็ตมาสค์เท่ากับ 255.255.255.0 เรียกว่ามีซับเน็ตมาสค์ 24 บิต เนื่องจากมีบิตที่มีค่า “1” จำนวน 24 บิต หรือเขียนตามรูปแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ 158.108.0.0/24 โดยเรียกว่าเครือข่าย 158.108.0.0 มีพรีฟิกซ์ (Prefix) 24 บิต สังเกตว่า 158.108.0.0/24 ใช้เลขซับเน็ตจำนวน 8 บิต ดังนั้นนอกจากจะเรียกว่ามีพรีฟิกซ์ 24 บิตแล้ว ยังเรียกได้อีกว่าใช้ซับเน็ตบิตจำนวน 8 บิต 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 1 ถ้าใช้ IP 145.205. โดยต้องการใช้เครือข่ายย่อยจำนวน 50 เครือข่าย อยากทราบว่า 1) IP ที่ใช้งาน อยู่ใน Class ใด 2) ต้องใช้ Subnet จำนวนกี่บิต 3) จะต้องแบ่งออกเป็นกี่ Subnet 4) จำนวนเครื่องที่ใช้งานจริงต่อ 1 Subnet 5) SubNet Mask ฐาน 2 และ ฐาน 10 6) เขียน IP ในรูป Prefix 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 2 หากใช้หมายเลข IP 198.205.254.0 / 28 อยากทราบว่า 1) IP ดังกล่าวอยู่ใน Class ใด 2) มีกี่ SubNet 3) SubNet ละกี่เครื่อง 4) SubNet Mask มีค่าเป็นอะไร 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer 1 1) IP ที่ใช้งาน อยู่ใน Class B 2) ต้องใช้ SubNet 6 บิต 3) จะต้องแบ่งออกเป็นกี่ 62 SubNet 4) เครื่องที่ใช้งานจริงต่อ 1 SubNet = 1022 เครื่อง 5) SubNet Mask ฐาน 2 และ ฐาน 10 11111111.11111111.11111100.00000000 255.255.252.0 6) เขียน IP ในรูป Prefix 145.205.0.0 / 22 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer 2 1) IP ดังกล่าวอยู่ใน Class C 2) มี SubNet 14 SubNet 3) SubNet ละ 14 เครื่อง 4) SubNet Mask มีค่าเป็น 11111111.11111111.11111111.11110000 255.255.255.240 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Default SubNet Mask การติดตั้งโฮสต์เข้าเครือข่ายนอกจากจะต้องกำหนดไอพีแอดเดรสแล้วต้องกำหนดค่าซับเน็ตมาสค์ตามที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้ด้วย ถึงแม้ว่าในบางเครือข่าย เช่นเครือข่ายในคลาส C ซึ่งมีโฮสต์ได้ 254 โฮสต์และไม่ได้แบ่งให้มีซับเน็ต ขั้นตอนการติดตั้งโฮสต์ยังจำเป็นต้องใส่ค่าซับเน็ตมาสค์เช่นกัน แต่ค่าซับเน็ตมาสค์นี้เรียกว่า ดีฟอลต์ซับเน็ตมาสค์ (Default Subnet Mask) 5/3/2019

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask Class Default SubNet Default SubNetMask (Bin) Mask A 255.0.0.0 11111111.00000000.00000000.00000000 B 255.255.0.0 11111111.11111111.00000000.00000000 C 255.255.255.0 11111111.11111111.11111111.00000000 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การเลือกเส้นทางใน SubNet ซับเน็ตมาสค์นอกจากจะช่วยจัดแบ่งเครือข่ายย่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ในการเลือกเส้นทางส่งไอพีเดต้าแกรมระหว่างเครือข่ายย่อยด้วย เช่นโฮสต์ 158.108.33.2 ในเครือข่าย 158.108.0.0/24 ต้องการส่งข้อมูลไปยังโฮสต์ 158.108.33.60 โพรโตคอลไอพีจะทำหน้าที่เลือกเส้นทางโดยนำแอดเดรส 158.108.33.2 และ 158.108.33.60 มาผ่านลอจิก “AND” บิตต่อบิตกับค่าซับเน็ตมาสค์ 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การเลือกเส้นทางใน SubNet 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Default SubNet Mask การใช้ลอจิก “AND” เป็นการใช้ซับเน็ตมาสค์เพื่อ “มาสค์” ให้ได้เฉพาะเลขเครือข่าย ค่าซับเน็ตมาสค์จึงเป็นเสมือนหน้ากาก ครอบเอาเลขเครือข่ายออกมา ในกรณีที่โฮสต์ปลายทางอยู่ต่างเครือข่ายกับโฮสต์ปลายทางคือ 158.108.33.2 จะสรุปว่า 158.108.40.0 อยู่ต่างซับเน็ต และจะส่งแพ็กเกจไปยังเราเตอร์เพื่อให้เราเตอร์นำส่งแพ็กเกจต่อไป 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การเลือกขนาด SubNet 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การเลือกขนาด SubNet การแบ่งให้มีซับเน็ตมากต้องใช้ Interface มากขึ้นดังอย่างเช่นแอดเดรส 194.1.1.0 ในเครือข่ายคลาส C ที่ไม่มีซับเน็ต หือมีเครือข่ายเดียวสามารถเลือกเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันด้วยฮับหรือสวิตช์ 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การเลือกขนาด SubNet หากใน Network มี 2 ซับเน็ตจำเป็นต้องใช้ Interface ของเราเตอร์อย่างน้อย 2 Interface 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การเลือกขนาด SubNet สำหรับกรณีที่แบ่งออกเป็น 6 ซับเน็ตก็ต้องมีอย่างน้อย 6 Interface 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 3 อยากทราบว่า IP ในกลุ่ม 198.205.254.0 / 28 ได้แก่ 198.205.254.25 198.205.254.145 และ 198.205.254.159 อยู่ใน SubNet เดียวกันหรือไม่โดยใช้หลักการเลือกเส้นทางของ Subnet 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer IP ในกลุ่ม 198.205.254.0 / 28 อยู่ใน Class C ซึ่งมี SubNet Mask คือ 11111111.1111111.11111111.11110000 255.255.255.240 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น 198.205.254.25 นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ 11000110.11001101.11111110.00011001 11111111.1111111 .11111111.11110000 11000110.11001101.11111110.00010000 = 198.205.254.16 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น 198.205.254.145 นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ 11000110.11001101.11111110.10010001 11111111.1111111 .11111111.11110000 11000110.11001101.11111110.10010000 = 198.205.254.144 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น 198.205.254.159 นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ 11000110.11001101.11111110.10011111 11111111.1111111 .11111111.11110000 11000110.11001101.11111110.10010000 = 198.205.254.144 5/3/2019

การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น สรุปได้ว่า 198.205.254.145 และ 198.205.254.159 อยู่ใน SubNet เดียวกัน เนื่องจากผล AND จาก SubNet Mask ได้ค่าตรงกัน แต่หมายเลข 192.205.254.25 อยู่ต่าง SubNet 5/3/2019