การใช้ยา.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ผู้ป่วยนอกและผู้รับบริการอื่น ๆ เฉลี่ย / เดือน หน่วย : ครั้ง ( เปรียบเทียบ ปีงบประมาณ )
Advertisements

Continuous Quality Improvement
เมื่อสารดูดกลืนแสง มีการถ่ายเทประจุ (charge transfer) หรืออิเล็กตรอน
Pull down menu Pull down menu แบบการโต้ตอบที่รายการ
Biomedical Engineering
การโต้ตอบแบบ Target Area
เรื้อรังร่างกาย  หัวใจแข็งแรง สอ. วิหาร ขาว สอน. พิกุล ทอง สอ. ถอน สมอ.
ภก. ปรมินทร์ วีระอนันตวัฒน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัมพันธุ์ จันทร์ดี
Competency of Pharmacists
สรุปผลเยี่ยมดูงาน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
Drug induced hepatitis
Medication reconciliation
Food and drug administration
รับนโยบาย “ การบริหารคลังเดียว”
กิจกรรมแบ่งกลุ่ม เพื่อระดมความคิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล EWI เพื่อการพัฒนากิจกรรมเพื่อการป้องกันการเกิดเชื้อเอชไอวีดื้อยาในพื้นที่
การจัดการระบบยา เพื่อ ความปลอดภัย บันไดขั้น 2 สู่ ขั้น 3.
การประเมินแผนการสอน สุธาสินี ศรีวิชัย
นศ.ภ.จันทร์นภัสสร์ ชะตาคำ
ธนกร ศิริสมุทร เภสัชสนเทศ กลุ่มการบริบาลเภสัชกรรม ฝ่ายเภสัชกรรม
Pharmacist‘s role in Warfarin Team
State Diagram Wattanapong suttapak, Software Engineering,
Drug Information Service: DIS
Septic shock part 1 Septic shock part 1 Septic shock part 2.
โครงงานคืออะไร หลักการของการเรียนรู้ของ โครงงาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน โครงงานกับการเรียนรู้แบบต่างๆ ลักษณะเด่นของการเรียนรู้ด้วย.
สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
New Chapter of Investment Promotion
ชี้แจง ตัวชี้วัดการดำเนินงานควบคุมวัณโรค สำหรับโรงพยาบาล
Andrographis paniculata
การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล ในโรงพยาบาล RDU Hospital
แพทย์หญิง ฐนิตา สมตน เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
SP Palliative เขต 3 พญ.กมลทิพย์ ประสพสุข.
ยาที่ใช้ในโรคข้อเสื่อม
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาอุบัติเหตุ
ชื่อยา Company E-Identifier No.
ภญ. วรางคณา วัลลา งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.ลำพูน
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพ้ยาและ ผลของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
วันนี้เรียนอะไร การออกแบบสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร ประเภทของสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลักการออกแบบสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.
บทที่ 5 เงื่อนไขเสมอภาคระหว่างประเทศ (International Parity Condition)
Type Title Title of your poster By: Your full name
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
QMT 3602 การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
Medication Management System การพัฒนาระบบยาโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
วาระการประชุมร่วมกับรพ.สต. (งานเภสัชกรรม)
ครูกับการออกแบบการเรียนรู้ สู่คุณภาพเด็กไทย
Medication Reconciliation
การบริหาร ความขัดแย้ง ความสามารถและการพัฒนาเชาว์อารมณ์
Elements of Liquid-Level System
Drug-Drug Interaction
นางเกษรา อุ่นใจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับแผนการจัดการเรียนรู้
เขตสุขภาพที่3 Service Plan Heart Q2.
การสร้างและการบริหารเครือข่าย (เครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริต)
ข้อควรระวัง และการใช้ยาในการรักษาโรคเบื้องต้น
ความรู้พื้นฐานโรคทางจิตเวช
HDC แผนแพทย์ไทย.
ครั้งที่ 6/2560 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมการด้านบริการ
ผู้นำกิจกรรมนันทนาการ
การพัฒนาบุคลิกภาพในงานบริการ Week 2
Output ที่ต้องการ (คาดหวัง) ระบบงาน หรือ มาตรฐานการดำเนินงานที่ควรมี
การขายสินค้าออนไลน์.
Risk-taking behaviors in Adolescent
Principles of codification
การขายสินค้าออนไลน์.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การใช้ยา

" ยา " แม้สามารถใช้รักษาทำให้หายป่วยและร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอคือ ยาทั้งหลายล้วนแล้วแต่มีอันตรายเฉกเช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ฉะนั้น ทำอย่างไรจึงปลอดภัยจากการใช้ยา... " ประโยชน์ของยา " มาจากฤทธิ์ของยาตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาการติดเชื้อ บรรเทาอาการปวดหรือลดไข้ ซึ่งทราบได้จากสรรพคุณหรือข้อบ่งใช้ของแต่ละตัวยา

" อันตรายจากยา " ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน เริ่มจากอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงของยา ซึ่งมีทั้งที่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับหรือง่วงนอน จนกระทั่งรุนแรงถึงแก่ชีวิต เช่น การทำลายตับ หรือทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก เป็นต้น อันตรายจากยายังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ( drug interaction ) ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริม (เช่น วิตามิน หรือ สมุนไพร) ที่รับประทานระหว่างการใช้ยา โดยอาจส่งผลให้ยาที่รับประทานบางชนิดมีประสิทธิภาพลดลงหรือออกฤทธิ์รุนแรงเกินไป เกิดผลข้างเคียงนอกเหนือความคาดหมาย หรืออาจเกิดสารเคมีตัวใหม่ที่มีอันตรายสูง

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับ การใช้ " ยา " อย่างปลอดภัย คือ การทำให้ความเสี่ยงจากการใช้ยาลดลงและได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด มี 5 ประการ ได้แก่ 1. คุยกับแพทย์ หรือหมอ บอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่านเองให้มากที่สุด เช่น - ท่านมีประวัติการแพ้ยาอะไรหรือไม่ - รับประทานยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ อยู่หรือไม่ อะไรบ้าง - ข้อจำกัดบางประการต่อใช้ยา (เช่น มีปัญหาการกลืนยา หรือ ต้องทำงานกับเครื่องจักรที่เป็นอันตรายไม่สามารถทานยาที่ทำให้ง่วงได้) - อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร (กรณีของผู้หญิง) 2. ทำความรู้จักยาที่ใช้ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่าย หรือที่ซื้อเองจากร้านขายยา เช่น - ชื่อสามัญทางยา เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน และได้รับยาเกินขนาด - ชื่อทางการค้าของยา - ลักษณะทางกายภาพของยา เช่น สี กลิ่น รูปร่าง เป็นต้น เมื่อสภาพของยาเปลี่ยนแปลงไป เช่น สีเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าว เพราะอาจก่อให้เกิด อันตรายได้

3. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด - ทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับยาจากฉลากยา ควรอ่านฉลากยาอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนการใช้ยา เพื่อความมั่นใจว่ารับประทานยาถูกต้อง หากไม่เข้าใจประการ ใดควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญ - เก็บยาในที่ที่เหมาะสมตามที่ระบุในฉลาก - ห้ามเก็บยาต่างชนิดกันในภาชนะเดียวกัน และไม่ควรเก็บยาสำหรับใช้ภายในและ ยาสำหรับใช้ภายนอกไว้ใกล้เคียงกัน 4. หลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา - ระลึกถึง และหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัด ต่อการรับประทานยา อาหารหรือเครื่องดื่มที่ ทำให้เกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทาน ซึ่งทำให้เกิดผลเบี่ยงเบนการออกฤทธิ์และ เพิ่มอันตรายจากยาได้ - หากเป็นไปได้ ทุกครั้งที่ท่านต้องมีการรับประทานยาใหม่ๆ เพิ่มเติม ควรได้นำยาเดิมที่ รับประทานอยู่ไปแสดงให้แพทย์ หรือเภสัชกร ได้ตรวจสอบให้ด้วยว่า มียาใดที่ซ้ำซ้อน หรือทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ เพื่อที่จะได้จัดยาให้ร่วมรับประทานได้เหมาะสม

5. สังเกตตัวเองต่อผลของยาและอาการข้างเคียงจากการใช้ยา - สังเกตว่าผลของยาเป็นไปตามแผนการใช้ยาหรือไม่ หากไม่เป็นเช่นนั้น ควรไปหา แพทย์ หรือเภสัชกรอีกครั้ง เพื่อประเมินและปรับการรักษา - ให้ความสำคัญกับอาการต่างๆ ของร่างกาย หากมีสิ่งใดผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ - สอบถามล่วงหน้าว่า ควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา หรือสอบถามข้อมูลบางอย่างเพื่อลดอาการข้างเคียง เช่น ควรรับประทานยาหลัง รับประทานอาหารทันทีเพื่อลดอาการปวดท้อง

ที่สำคัญ ท่านควรระลึกไว้เสมอว่า การที่ท่านมีส่วนร่วมกับแพทย์ เภสัชกร และผู้เชี่ยวชาญ ในการปฏิบัติตามวิธีที่ถูกต้องในการใช้ยาของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิด จะทำให้ท่านมีความปลอดภัยในการใช้ยามากยิ่งขึ้น และนำมาสู่ความสำเร็จในการรักษาโรค

จัดทำโดย นางสาวสุพรรษา แซ่ฟุ้ง เลขที่ 33 นางสาวพรรณราย มาตะ เลขที่ 29 นางสาวกมลชนก คำยวง เลขที่ 24 นางสาวสาวิกา ตะเอพอ เลขที่ 31 นายทวิชัย เคนทรภัทดิ์ เลขที่ 6 ชพค 2/2