การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน เป็นการเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน เป็นการเก็บข้อมูลที่มาการตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นวิถีการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น 2. เพื่อให้ทราบศักยภาพของท้องถิ่น 3. เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
วัสดุ/อุปกรณ์ วิธีการ 1.สมุดจดบันทึก 2.อุปกรณ์การเขียน เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ 3.ยานพาหนะในการเดินทางสอบถาม 4.โทรศัพท์มือถือในการถ่ายภาพ วิธีการ 1. สอบถามข้อมูลจากที่ทำการผู้ใหญ่/ที่ทำการกำนัน/องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อบต./เทศบาล) 2. สัมภาษณ์หรือสอบถามข้อมูลจากบุคคล เช่น ผู้อาวุโส ผู้รู้ในท้องถิ่น 3. เข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน
สิ่งที่ได้รับจากการทำใบงาน 1.ได้ความรู้เกี่ยวกับชุมชน 2.ได้รู้ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 3.ได้ความภาคภูมิใจ 4.ได้ความรู้เรื่องของคนในชุมชน 5.ได้รู้เกี่ยวกับผู้คนในหมู่บ้าน
ใบงานที่ 1..8 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน ในปี พ.ศ.2446 ตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบันมีชื่อว่า ตำบลสนามจันทร์ ดังรายงานการตรวจราชการมณฑลปราจีนของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่องการยุบอำเภอหัวไทรไปรวมกับอำเภอบางคล้า และจัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ ความว่า "ถ้าดูตามลำน้ำที่ว่าการอำเภอหัวไทรกับอำเภอบางคล้าห่างกันทางราว 1 ชั่วโมง เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะยกเลิกอำเภอหัวไทรเสีย คงย้ายไปตั้งตำบลสนามจันทร์ ที่จะเรียกนามอำเภอสนามจันทร์ ใต้เมืองฉะเชิงเทรา" และอีกข้อความหนึ่งในความว่า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีหมู่บ้านมาก ควรแบ่งท้องที่ตั้งเป็นอำเภอขึ้นอีกหนึ่งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอถ้าไปตั้งในคลองประเวศบุรีรมย์ก็ไม่อยู่กึ่งกลางท้องที่ จึงเลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์เป็นที่ตั้งอำเภอ ความกราบบังคมทูลดังนี้ "ราษฎรที่อยู่ทางลำน้ำไปมาลำบากเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรตั้งที่ลำน้ำเมืองฉะเชิงเทรา เหนือปากคลองสนามจันทร์ เพราะเป็นท้องที่มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่โดยรอบ แลเป็นทำเลโจรผู้ร้ายปล้นสะดมชุกชุม ส่วนนามอำเภอเรียกว่าอำเภอสนามจันทร์ เกล้าฯ ได้เลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์ เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ แลจะยกโรงตำรวจภูธรที่อำเภอหัวไทรมาตั้งอยู่ที่อำเภอสนามจันทร์ด้วย"
สรุปได้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลปราจีน เป็นผู้จัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ โดยแยกออกมาจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1เมษายน พ.ศ.2447 ใช้ชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตามชื่อหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งอำเภอ ที่ว่าการอำเภอสนามจันทร์หลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยจาก นายอำเภอคนแรกคือขุนประจำจันทเขตต์ เหตุที่ชื่อบ้านสนามจันทร์ มีประวัติเล่ากันว่า สมัยที่ท้องที่ยังเป็นป่าอยู่ มีเสือชุกชุม มีพระยา 3 ท่าน ออกมาตั้งจั่นดักเสือที่หนองน้ำ ราษฎรเรียกว่า "หนองสามพระยา" และเรียกหมู่บ้านว่า "สนามจั่น" เรียกขานกันนานเข้าจึงเพี้ยนเป็นบ้านสนามจันทร์ ส่วนหนองสามพระยาได้ตื้นเขินเป็นพื้นนา ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17ตำบล 73หมู่บ้าน 1.บ้านโพธิ์ 2.เกาะไร่ 3.คลองขุด 4.คลองบ้านโพธิ์ 5.คลองประเวศ 6.ดอนทราย 7.เทพราช 8.ท่าพลับ 9.หนองตีนนก 10.หนองบัว 11.บางซ่อน 12.บางกรูด 13.แหลมประดู่ 14.ลาดขวาง 15.สนามจันทร์ 16.แสนภูดาษ 17.สิบเอ็ดศอก
วิถีชีวิต ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านโพธิ์มักประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และทำนา วิถีชีวิตของชาวบ้านโพธิ์ วัฒนธรรม การดำรงชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้าง เช่น วัดสนามจันทร์ วัดบ้านโพธิ์ จะตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน และที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งนัดพบของคนที่จะมาทำบุญ นั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติสำหรับผู้ที่สนใจจะชมบรรยากาศของวัด
ใบงานที่ 1.9 แบบบันทึกข้อมูลวิถีชีวิต คำชี้แจง ให้แต่ละกลุ่มสอบถาม/สัมภาษณ์ วิถีชีวิต รอบวัน/รอบสัปดาห์/รอบเดือน/รอบปี ชื่อกลุ่ม ประวัติอำเภอบ้านโพธิ์ วัน/เดือน/ปี 29 มิถุนายน พ.ศ.2561 สถานที่บันทึก หมู่บ้านบ้านโพธิ์ รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม ๑.นางสาว ศศิกานต์ ถนอมนาค ๒.นาย ถิรวัฒน์ แย้มละม่อม ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1 ชื่อ-สกุล นางสาว อารีวรรณ เทียนทองศิริ อาชีพ ค้าขาย อายุ 35 ที่อยู่ 74 หมู่6 ต.สนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
วิถีชีวิตรอบวัน (กิจวัตรประจำวัน การประกอบอาชีพ) การทำงานหารายได้เข้าครอบครัวเพื่อเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว และดูแลสมาชิกในบ้าน หุงข้าว ทำกับข้าว ทำงานบ้าน วิถีชีวิตรอบสัปดาห์ (การทำบุญวันพระ) ทำบุญทุกๆวันพระ วิถีชีวิตรอบเดือน (ประชุมรายเดือน การพัฒนาหมู่บ้าน) สนับสนุนการพัฒนาชุมชน และเข้าประชุม วิถีชีวิตรอบปี (ประเพณี วัฒนธรรม) เข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้าน เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันเข้าพรรษา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีบวชนาค
วัดสนามจันทร์