หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แบ่งเป็น 4 เรื่อง

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ชื่อเรื่อง ผลการใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชางานวัดละเอียดช่างยนต์ของนักศึกษาชั้น ปวช.2 สาขางานยานยนต์ โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา.
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
โครเมี่ยม (Cr).
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การจัดกิจกรรม ชุมนุม Science Club. การจัดกิจกรรมชุมนุมสนองตอบ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ตามมาตรา ๒๔ ได้อย่างครบถ้วน.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
แบบจำลองอะตอม ครูวนิดา อนันทสุข.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
การปลูกผักอินทรีย์ดีต่อสุขภาพ กินผัก 5 สี ดีต่อสุขภาพ
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
องค์ประกอบและเทคนิคการทำงาน
สารอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Seminar 1-3.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
ชั่วโมงที่ 38 โปรตีนในร่างกาย
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศุวรีย์ จำปามูล
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
Instruction design แผนจัดการเรียนรู้ Active Learning
ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ การพัฒนาทักษะการพูด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒๑
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
ชั่วโมงที่ 32–33 สมบัติบางประการ ของคาร์โบไฮเดรต
การขอโครงการวิจัย.
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
โปรตีน กรดอะมิโนหลายโมเลกุล จะยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเพปไทด์
มาฝึกสมองกันครับ.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล่าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุกท่าน ซึ่งท่านแรก ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ.
เรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
การออกแบบและนำเสนอบทเรียน
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ความเข้มข้นของสารละลาย
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
Polymer พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม Man and Environment ภาคปลาย ปีการศึกษา 2561
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
หน่วยที่ 4 การสร้างเครื่องมือ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แบ่งเป็น 4 เรื่อง คาร์โบไฮเดรต ไขมันและน้ำมัน สารชีวโมเลกุล กรดนิวคลิอิก โปรตีน ครูอธิบายเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล ตามผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แบ่งเป็น 4 เรื่อง (ครูคลิกเพื่อแสดงทีละเรื่อง) ดังนี้ 1. คาร์โบไฮเดรต (แผนที่ 18–19 ) 2. ไขมันและน้ำมัน (แผนที่ 20) 3. โปรตีน (แผนที่ 21–22 ) 4. กรดนิวคลิอิก (แผนที่ 23) แบ่งเป็น 5 แผนการจัดการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 คาร์โบไฮเดรต 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 สมบัติบางประการของคาร์โบไฮเดรต 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 ไขมันและน้ำมัน 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21 โปรตีน 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 โปรตีนในร่างกาย 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 กรดนิวคลิอิก 1 ชั่วโมง

ชั่วโมงที่ 30–31 คาร์โบไฮเดรต แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 ชั่วโมงที่ 30–31 คาร์โบไฮเดรต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำแล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)

เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว 1. นักกีฬาควรเลือกรับประทานอาหารประเภทใดเพื่อให้มีพลังงานสะสมไว้ให้กล้ามเนื้อ ก ไขมัน ข โปรตีน ค วิตามิน ง คาร์โบไฮเดรต 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 1 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะการย่อยสลายไขมันจะไม่ได้กลูโคสที่เปลี่ยนไปเป็นไกลโคเจนเพื่อสะสมไว้ ในตับ ข ไม่ถูกต้อง เพราะการย่อยสลายโปรตีนจะไม่ได้กลูโคสที่เปลี่ยนไปเป็นไกลโคเจนเพื่อสะสมไว้ ค ไม่ถูกต้อง เพราะวิตามินเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานกับร่างกาย ง ถูกต้อง เพราะเมื่อร่างกายย่อยแป้งเป็นกลูโคสแล้วนำไปใช้ไม่หมด ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็น ไกลโคเจนเพื่อเก็บไว้ที่ตับ เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ไกลโคเจนในตับจะถูกเปลี่ยนเป็น กลูโคส ซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อสามารถนำมาใช้สร้างพลังงานให้กับร่างกายได้ทันที คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะเมื่อร่างกายย่อยแป้งเป็นกลูโคสแล้วนำไปใช้ไม่หมด ร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสไปเป็นไกลโคเจนเพื่อเก็บไว้ที่ตับ เมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ไกลโคเจนในตับจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส ซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อสามารถนำมาใช้สร้างพลังงานให้กับร่างกายได้ทันที

2. ปฏิกิริยาใดไม่เกิดการเปลี่ยนสี ก น้ำแป้ง + สารละลายไอโอดีน ข น้ำแป้ง + สารละลายเบเนดิกต์ ค น้ำแป้ง + น้ำลาย + สารละลายเบเนดิกต์ ง น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว + สารละลายเบเนดิกต์ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำแป้งทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน โดยทำให้สารละลายไอโอดีน เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีม่วง ข ถูกต้อง เพราะน้ำแป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ ค ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำลายมีเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ จึงทำให้สารละลาย เบเนดิกต์เปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นตะกอนสีส้มแดง ง ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลายน้ำตาลทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ โดยทำให้สารละลาย คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะน้ำแป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์

3. กลูโคสมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการชักหรือหมดสติของคนเพราะอะไร ก ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ข ช่วยต่อต้านเชื้อโรคในเซลล์สมอง ค ช่วยทำลายสารพิษบางอย่างในเซลล์สมอง ง เป็นอาหารและแหล่งพลังงานที่สำคัญของเซลล์สมอง 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะกลูโคสเพียงแค่เป็นแหล่งพลังงานให้กับสมอง ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของสมอง ข ไม่ถูกต้อง เพราะกลูโคสไม่ได้ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคในร่างกาย ค ไม่ถูกต้อง เพราะกลูโคสจะทำลายพิษบางชนิดได้เมื่ออยู่ที่ตับ ง ถูกต้อง เพราะเซลล์สมองและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน เมื่อเซลล์ เหล่านั้นขาดกลูโคส เซลล์จึงไม่ได้รับพลังงานและเกิดการชักและหมดสติได้ คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะเซลล์สมองและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน เมื่อเซลล์เหล่านั้นขาดกลูโคส เซลล์จึงไม่ได้รับพลังงานและเกิดการชักและหมดสติได้

4. ถ้าต้องการตรวจสอบว่าในน้ำปัสสาวะมีน้ำตาลหรือไม่ ควรใช้สารละลายใดในการตรวจสอบ ก ไอโอดีน ข เบเนดิกต์ ค กรดไฮโดรคลอริก ง โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำตาลไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน ข ถูกต้อง เพราะน้ำตาลที่อาจพบได้ในน้ำปัสสาวะ คือ กลูโคส ซึ่งทำปฏิกิริยากับสารละลาย เบเนดิกต์แล้วเกิดตะกอนสีส้มอิฐ ค ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำตาลไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ง ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำตาลไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะน้ำตาลที่อาจพบได้ในน้ำปัสสาวะ คือ กลูโคส ซึ่งทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์แล้วเกิดตะกอนสีส้มอิฐ

5. “มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และไม่เหม็นหืน” คือ สมบัติของสารใด ก กลีเซอรอล ข ไตรกลีเซอไรด์ ค กรดไขมันอิ่มตัว ง กรดไขมันไม่อิ่มตัว 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าโครงสร้างโมเลกุลของกลีเซอรอลไม่มีพันธะคู่ จึงไม่ทำปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจน แต่กลีเซอรอลเป็นสารโมเลกุลขนาดไม่ใหญ่จึงมีจุดหลอมเหลวต่ำ ข ไม่ถูกต้อง เพราะไตรกลีเซอไรด์เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างกลีเซอรอลและกรดไขมัน ดังนั้นถ้ากรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับกลีเซอรอลเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวก็จะเกิดปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจนและเกิดการเหม็นหืนได้ ค ถูกต้อง เพราะโครงสร้างโมเลกุลของกรดไขมันอิ่มตัวไม่มีพันธะคู่ จึงไม่ทำปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจนและไม่เกิดการเหม็นหืน และกรดไขมันอิ่มตัวยังมีจุดหลอมเหลวสูง ง ไม่ถูกต้อง เพราะโครงสร้างโมเลกุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่ จึงทำปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจนและเกิดการเหม็นหืนได้ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวต่ำ คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะโครงสร้างโมเลกุลของกรดไขมันอิ่มตัวไม่มีพันธะคู่ จึงไม่ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนและไม่เกิดการเหม็นหืน และกรดไขมันอิ่มตัวยังมีจุดหลอมเหลวสูง

6. ถ้าต้องการทราบว่าน้ำมันปาล์มกับน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันชนิดใด มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่ากัน สามารถทดสอบโดยใช้สารละลายชนิดใด ก แอลกอฮอล์ ข ทิงเจอร์ไอโอดีน ค โซเดียมไฮดรอกไซด์ ง คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 6 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 6 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะพันธะคู่ในกรดไขมันไม่ทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ ข ถูกต้อง เพราะพันธะคู่ในกรดไขมันสามารถทำปฏิกิริยากับไอโอดีนในสารละลายทิงเจอร์- ไอโอดีนได้ โดยทำให้สีของไอโอดีนจางหายไป ดังนั้นถ้าน้ำมันชนิดใดสามารถทำให้สีของ ไอโอดีนจางหายได้มากกว่าแสดงว่ามีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า ค ไม่ถูกต้อง เพราะพันธะคู่ในกรดไขมันไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ง ไม่ถูกต้อง เพราะพันธะคู่ในกรดไขมันไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะพันธะคู่ในกรดไขมันสามารถทำปฏิกิริยากับไอโอดีนในสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนได้ โดยทำให้สีของไอโอดีนจางหายไป ดังนั้นถ้าน้ำมันชนิดใดสามารถทำให้สีของไอโอดีนจางหายได้มากกว่าแสดงว่ามีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า

7. ในกรณีที่คนไข้มีหลอดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน เป็นเพราะคนไข้สะสมสารใดไว้มากเกินไป ก กรดไขมัน ข ไกลโคเจน ค กลีเซอรอล ง คอเลสเตอรอล 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 7 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 7 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะกรดไขมันเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ได้จากการย่อยสลายไขมัน จึงไม่เกิดการ อุดตันในหลอดเลือด ข ไม่ถูกต้อง เพราะไกลโคเจนเป็นแหล่งพลังงานสำรองที่สะสมไว้ตามกล้ามเนื้อ ค ไม่ถูกต้อง เพราะกลีเซอรอลเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ได้จากการย่อยสลายไขมัน จึงไม่เกิดการ ง ถูกต้อง เพราะคอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่เมื่อได้รับปริมาณมากเกินไปจะไปรวมกับไขมัน ชนิดอื่นและอุดตันในหลอดเลือด คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะคอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่เมื่อได้รับปริมาณมากเกินไปจะไปรวมกับไขมันชนิดอื่นและอุดตันในหลอดเลือด

8. แก้มเลือกกินสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชซึ่งมีสารอาหารครบ 5 หมู่ทุกวัน เพื่อลดความอ้วน นักเรียนคิดว่าแก้มทำถูกต้องหรือไม่ เพราะอะไร ก ถูกต้อง เพราะสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ ข ถูกต้อง เพราะสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชเป็นอาหารที่มีกากใยอาหารสูง ค ไม่ถูกต้อง เพราะแก้มจะไม่ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ง ไม่ถูกต้อง เพราะแก้มจะได้รับสัดส่วนของอาหารไม่สมดุลกับความต้องการ ของร่างกาย 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 8 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 8 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำซึ่งช่วยในการ ลดความอ้วน แต่ถ้ารับประทานทุกวันจะทำให้แก้มได้รับสารอาหารประเภทเดิม ซึ่งไม่เป็น ผลดีต่อร่างกาย ข ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชจะเป็นอาหารที่มีกากใยอาหารสูงซึ่งช่วย ในการลดความอ้วน แต่ถ้ารับประทานทุกวันจะทำให้แก้มได้รับสารอาหารประเภทเดิม ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ค ถูกต้อง เพราะแม้ว่าสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชจะให้สารอาหารครบ 5 หมู่ และมีพลังงานต่ำ แต่การรับประทานอาหารควรได้จากอาหารที่หลากหลายประเภทเพื่อให้ร่างกายนำสารอาหาร ไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ง ไม่ถูกต้อง เพราะสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชมีสารอาหารที่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับการลด ความอ้วน แต่ถ้ารับประทานทุกวันจะได้รับสารอาหารประเภทเดิม ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย   คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะแม้ว่าสลัดไก่อบโรยด้วยธัญพืชจะให้สารอาหารครบ 5 หมู่ และมีพลังงานต่ำแต่การรับประทานอาหารควรได้จากอาหารที่หลากหลายประเภทเพื่อให้ร่างกายนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

9. กรดแอมิโนจำเป็นมีความสำคัญต่อร่างกายเพราะอะไร ก กรดแอมิโนเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในการผลิตโปรตีนของมนุษย์ ข กรดแอมิโนเหล่านี้ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นจากร่างกายของมนุษย์ ค มนุษย์มีความต้องการกรดแอมิโนเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานของ คาร์โบไฮเดรต ง กรดแอมิโนเหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนซึ่งสามารถจะเกิด พันธะไฮโดรเจนใน DNA 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 9 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 9 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะกรดแอมิโนทุกชนิดนำไปใช้ในการผลิตโปรตีนของมนุษย์เหมือนกัน ข ถูกต้อง เพราะเมื่อร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองจึงต้องรับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายไม่ได้รับกรดแอมิโนจำเป็นจะทำให้การสร้างโปรตีนในร่างกายไม่สมบูรณ์ ค ไม่ถูกต้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายได้เอง ง ไม่ถูกต้อง เพราะกรดแอมิโนทุกชนิดประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน แต่มีโครงสร้าง โมเลกุลไม่เหมือนกัน   คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะเมื่อร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองจึงต้องรับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายไม่ได้รับกรดแอมิโนจำเป็นจะทำให้การสร้างโปรตีนในร่างกายไม่สมบูรณ์

10. หน่วยย่อยของกรดนิวคลิอิกคืออะไร ก ไลโนเลอิก ข บิวทาโนอิก ค นิวคลีโอไทด์ ง น้ำตาลฟรักโทส 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 10 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 10 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะไลโนเลอิก คือ กรดไขมันอิ่มตัวชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เป็นหน่วยย่อยของกรด นิวคลิอิก ข ไม่ถูกต้อง เพราะบิวทาโนอิก คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เป็นหน่วยย่อยของกรดนิวคลิอิก ค ถูกต้อง เพราะกรดนิวคลิอิกประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยโครงสร้าง ของนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย ได้แก่ น้ำตาลเพนโทส เบสที่มีไนโตรเจนเป็น องค์ประกอบ และหมู่ฟอสเฟต ง ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำตาลฟรักโทส คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เป็นหน่วยย่อย ของกรดนิวคลิอิก   คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะกรดนิวคลิอิกประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยโครงสร้างของ นิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย ได้แก่ น้ำตาลเพนโทส เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ และหมู่ฟอสเฟต

สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 คาร์โบไฮเดรต เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 คาร์โบไฮเดรต 2 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.1 แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

ถ้าต้องการพลังงานจากอาหาร ควรเลือกรับประทานสารชีวโมเลกุลประเภทใด 1) ครูคลิกตามลำดับเพื่อกระตุ้นเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของนักเรียน โดยถามคำถาม กับนักเรียนว่า – ถ้าต้องการพลังงานจากอาหารควรเลือกรับประทานสารชีวโมเลกุลประเภทใด – สารชีวโมเลกุลประเภทใดที่ร่างกายใช้เป็นพลังงานหลัก 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม เพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับ ประสบการณ์เดิมของนักเรียน เมื่อนักเรียนอภิปรายคำถามเสร็จแล้ว ครูสรุปแนวคำตอบ ร่วมกันกับนักเรียน – ถ้าต้องการพลังงานจากอาหารควรเลือกรับประทานสารชีวโมเลกุลประเภทใด (แนวคำตอบ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน) – สารชีวโมเลกุลประเภทใดที่ร่างกายใช้เป็นพลังงานหลัก (แนวคำตอบ คาร์โบไฮเดรต) ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) สารชีวโมเลกุลประเภทใดที่ร่างกายใช้เป็นพลังงานหลัก

นักเรียนได้อะไรบ้าง 1. คาร์โบไฮเดรต การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้า เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต นักเรียนได้อะไรบ้าง 1. คาร์โบไฮเดรต 1) ครูตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามภาระงานก่อนเรียนที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยครู ถามคำถามกับนักเรียนว่า การอ่านและค้นคว้าล่วงหน้าเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต นักเรียน ได้อะไรบ้าง 2) ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 55 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)

แบ่งกลุ่มและนำเสนอสิ่งที่ได้ ให้เพื่อนในกลุ่มฟัง  1. คาร์โบไฮเดรต แบ่งกลุ่มและนำเสนอสิ่งที่ได้ ให้เพื่อนในกลุ่มฟัง ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ สิ่งที่ได้หน้าห้องเรียน 1. คาร์โบไฮเดรต 1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง โดยครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน 2) ครูคลิกแสดงข้อความเพื่อให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน

ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตเป็นหลักมีอะไรบ้าง  1. คาร์โบไฮเดรต ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตเป็นหลักมีอะไรบ้าง ข้าว เผือก และอ้อย 2. ธาตุหลักที่ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรตคืออะไร คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน 1. คาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามเกี่ยวกับภาระงานก่อนเรียนแล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิก คำถามและเฉลยทีละข้อ)

นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร  1. คาร์โบไฮเดรต นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง คาร์โบไฮเดรตเป็นสารชีวโมเลกุลที่ให้พลังงาน โดยมีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นธาตุหลัก 1. คาร์โบไฮเดรต 1) ครูถามคำถามนักเรียนว่า นักเรียนตั้งคำถามที่สงสัยไว้ว่าอย่างไร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน ตั้งประเด็นคำถามที่สงสัยจากการทำภาระงานก่อนเรียน ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น 2) เมื่อนักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเสร็จแล้ว ครูคลิกเพื่อสรุปภาระงานก่อนเรียน โดยถามนักเรียนว่า นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง 3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงานก่อนเรียนเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า คาร์โบไฮเดรต เป็นสารชีวโมเลกุลที่ให้พลังงาน โดยมีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นธาตุหลัก 4) ครูคลิกเพื่อแสดงข้อสรุปของภาระงานก่อนเรียน

GLUCOSE คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ร่างกายใช้กลูโคส  1. คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) สารอาหารหลัก ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย GLUCOSE ร่างกายใช้กลูโคส เป็นแหล่งพลังงานหลัก ไขมัน โปรตีน ควบคุมการเผาไหม้ไขมันและโปรตีน เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมใต้ผิวหนัง 1. คาร์โบไฮเดรต ครูคลิกตามลำดับ เพื่อพร้อมอธิบายหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

คาร์โบไฮเดรตพบได้จากแหล่งใดบ้าง  1. คาร์โบไฮเดรต 1.1 แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต โมเลกุลใหญ่ คาร์โบไฮเดรตพบได้จากแหล่งใดบ้าง พบในเมล็ด หัว และรากพืช ในรูปของแป้ง พบในรูปของเซลลูโลสที่เป็นโครงสร้างหลักของพืช พบในตับและกล้ามเนื้อของคนและสัตว์ในรูปไกลโคเจน โมเลกุลเล็ก พบได้ในผลไม้ พบในกระแสเลือด ของคนและสัตว์ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.1 แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต 1) ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า คาร์โบไฮเดรตพบได้จากแหล่งใดบ้าง 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงแหล่งอาหารที่พบ คาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก ในรูปของแป้งและน้ำตาล พร้อมกับอธิบาย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

แซ็กคาไรด์ (saccharide)  1. คาร์โบไฮเดรต 1.1 แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรต C H O Cx(H2O)y แซ็กคาไรด์ (saccharide) โมเลกุลขนาดเล็ก โมเลกุลขนาดใหญ่ มอโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) 1. คาร์โบไฮเดรต 1.1 แหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของคาร์โบไฮเดรต คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ซึ่งมีสูตรทั่วไป คือ Cx(H2O)y เรียกว่า แซ็กคาไรด์ (saccharide) 2) ครูคลิกเพื่อแสดงว่า แซ็กคาไรด์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ โมเลกุลขนาดเล็กและโมเลกุลขนาดใหญ่ 3) ครูถามนักเรียนว่า คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีสมบัติที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 4) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบในเฟรมถัดไป คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีสมบัติที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต มอโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ละลายในน้ำได้ C โมเลกุลเล็กที่สุด 5–8 อะตอม SWEET มีรสหวาน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกตามลำดับอธิบายสมบัติของมอโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) หรือน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้จักน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดใดบ้าง 3) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบในเฟรมถัดไป นักเรียนรู้จักน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดใดบ้าง

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบบ่อย เช่น OH C O H กลูโคส (C6H12O6) C H2 OH C O OH H ไรโบส (C5H10O5) HOH2C OH O C H กาแล็กโทส (C6H12O6) C H2 OH C O H OH ฟรักโทส (C6H12O6) C H2 OH HOH2 C 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกแสดงน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบบ่อย เช่น ไรโบส กลูโคส กาแล็กโทส และฟรักโทส พร้อมกับอธิบายเกี่ยวกับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช จำกัด

นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต อาหารที่เรารับประทานมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือไม่ และสามารถทดสอบได้ด้วยสารใด นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกตามลำดับแล้วถามนักเรียนว่า อาหารที่เรารับประทานมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือไม่ และสามารถทดสอบได้ด้วยสารใด ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียน แบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การปฏิบัติกิจกรรม 2) นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 22 สังเกตการทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต กิจกรรมที่ 22 สังเกตการทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ปัญหา เราสามารถทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้หรือไม่ ทำอย่างไร อุปกรณ์ 1. สารละลายกลูโคสเข้มข้น 7. หลอดทดลองขนาดกลาง 5 หลอด 1 โมลต่อลิตร 5 ลบ.ซม. 8. บีกเกอร์ขนาด 500 ลบ.ซม. 1 ใบ 2. สารละลายน้ำตาลทรายเข้มข้น 9. ที่จับหลอดทดลอง 1 อัน 10. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน 3. น้ำผลไม้ 5 ลบ.ซม. 11. ไม้ขีดไฟ 1 กล่อง 4. นมสดชนิดจืด 5 ลบ.ซม. 12. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อม 5. น้ำกลั่น 5 ลบ.ซม. ที่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด 6. สารละลายเบเนดิกต์ 10 ลบ.ซม 13. น้ำ 125 ลบ.ซม. 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเพื่อกำหนดปัญหาก่อนปฏิบัติกิจกรรม โดยครูช่วยสรุป การตั้งคำถามของนักเรียน แล้วร่วมกันกำหนดเป็นปัญหาที่สอดคล้องกับการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงปัญหาของกิจกรรม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ขั้นตอน ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ สารละลาย กลูโคส นมสด ชนิดจืด น้ำตาลทราย น้ำผลไม้ น้ำกลั่น 1 2 3 4 5 สารละลายเบเนดิกต์ 1.ใส่สารละลายเบเนดิกต์ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 5 หลอด หลอดละ 2 ลูกบาศก์ เซนติเมตร เติมสารละลายกลูโคส สารละลายน้ำตาลทรายเข้มข้น น้ำผลไม้ นมสดชนิดจืด และน้ำกลั่นชนิดละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดทดลองที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ เขย่าหลอดทดลองให้สารในแต่ละหลอดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน สังเกตและบันทึกผล การเปลี่ยนแปลง 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูอธิบายวิธีการเตรียมสารก่อนการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยสารต่าง ๆ ดังนี้ – สารละลายเบเนดิกต์ – สารละลายกลูโคส – สารละลายน้ำตาลทรายเข้มข้น (ครูดูวิธีการเตรียมสารจากหมายเหตุ ในแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด)

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต น้ำร้อน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกเพื่อแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูแนะนำให้นักเรียนสังเกตและเปรียบเทียบเวลาในการเปลี่ยนแปลงสีและลักษณะของสี ที่เกิดขึ้นของสารละลายแต่ละชนิด 3) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 2. ใส่น้ำลงไปในบีกเกอร์ขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ประมาณ 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้มจนเกือบเดือด แล้วนำหลอดทดลองทั้ง 5 หลอดอุ่น ในน้ำร้อนเกือบเดือดประมาณ 3 นาที สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง

ผลการทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต บันทึกผล สารที่ทดสอบ ผลการทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ ก่อนอุ่นในน้ำร้อน หลังอุ่นในน้ำร้อน สารละลายกลูโคสเข้มข้น สารละลายน้ำตาลทรายเข้มข้น น้ำผลไม้ นมสดชนิดจืด น้ำกลั่น สารละลายสีส้มแดง มีตะกอนสีแดงอิฐ สารละลายสีฟ้า สารละลายสีฟ้า สารละลายสีส้มแดง 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตารางบันทึกผล 3) ครูคลิกเพื่อแสดงแนวคำตอบของการปฏิบัติกิจกรรม สารละลายสีฟ้า สารละลายสีส้ม สารละลายสีฟ้า สารละลายสีเหลือง สารละลายสีฟ้า ไม่เปลี่ยนแปลง

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต สรุปผล สารละลายที่นำมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์จากสารละลายสีฟ้าเป็นสารละลายสีส้มแดงและมีตะกอนสีแดงอิฐ แสดงว่าสารละลายนั้นเป็นสารละลายที่มีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว โดยสีของสารละลายในแต่ละหลอดจะแตกต่างกันไป ถ้ามีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมากพอ สารละลายเบเนดิกต์จะเปลี่ยนเป็นตะกอนสีแดงอิฐทั้งหมด เช่น สารละลายกลูโคส 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงสรุปผลของกิจกรรม

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ค้นหาคำตอบ 1. หลังนำสารละลายไปอุ่นในน้ำร้อน สารละลายทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ให้ผลเหมือนกันหรือไม่ เพราะเหตุใด ให้ผลไม่เหมือนกัน คือ สารละลายกลูโคสเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์เป็นสีส้มแดง มีตะกอนสีแดงอิฐ สารละลายน้ำตาลทรายเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์เป็นสีส้มแดง น้ำผลไม้เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์เป็นสีส้ม นมสดชนิดจืดเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์เป็นสีเหลือง และน้ำกลั่นไม่เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสารละลาย ที่นำมาทดสอบแต่ละชนิดมีปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวไม่เท่ากัน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามจากกรอบค้นหาคำตอบท้ายกิจกรรม ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยตามลำดับ)

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ค้นหาคำตอบ 2. นักเรียนใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า สารละลายที่นำมาทดสอบเป็นสารละลายที่มีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว การเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์จากสารละลายสีฟ้าเป็นสีส้มแดงและมีตะกอนสีแดงอิฐ 3. ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร เมื่อนำสารละลายมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์พบว่า สารละลายกลูโคสเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์เป็นสีส้มแดงและมีตะกอนสีแดงอิฐ แสดงว่าสารละลายนั้นมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือมอโนแซ็กคาไรด์นั่นเอง 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ)

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต สารละลาย เบเนดิกต์ สารละลาย กลูโคส สารละลายผสม สีส้มแดง  ตะกอนสีแดงอิฐ ปริมาณกลูโคส ในอาหาร สังเกตได้จากสี สารละลายที่ แตกต่างกัน สารละลาย กลูโคส น้ำตาลทราย น้ำผลไม้ น้ำนมสด ชนิดจืด น้ำกลั่น 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ครูขยายความรู้ให้กับนักเรียนโดยการคลิกรูปและข้อความตามลำดับ เพื่อแสดงว่า ปริมาณ กลูโคสในอาหารสังเกตได้จากสีสารละลายที่แตกต่างกัน โดยอาหารที่เปลี่ยนสีสารละลาย เบเนดิกต์เป็นสีส้มแดงและมีตะกอนสีแดงอิฐได้ใกล้เคียงกับสารละลายกลูโคสได้มาก แสดงว่า มีปริมาณกลูโคสมาก

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต กลูโคสมีความสำคัญต่อร่างกายลักษณะใด เกิดอาการอ่อนเพลีย ถ้ามีปริมาณต่ำกว่า 90–110 มิลลิกรัมต่อ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ของเลือด Glucose พลังงาน นำไปใช้เป็นพลังงาน ได้ทันที เก็บสะสมในตับเพื่อ นำไปใช้เมื่อร่างกาย ขาดแคลนพลังงาน 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูถามนักเรียนว่า กลูโคสมีความสำคัญต่อร่างกายลักษณะใด 2) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง 3) เมื่อนักเรียนอภิปรายคำตอบเสร็จแล้ว ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงความสำคัญของกลูโคส ในร่างกาย พร้อมอธิบาย ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต กลูโคส ปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์ ควบคุมโดย อินซูลิน กลูโคส สูง กลูโคส ต่ำ ไกลโคเจน อินซูลิน กลูโคส 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกแสดงข้อความว่า ร่างกายนำกลูโคสไปใช้โดยผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งควบคุมด้วยฮอร์โมนอินซูลิน 2) ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงการควบคุมปริมาณกลูโคสในกระแสเลือด ดังนี้ – ปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดต่ำ ฮอร์โมนอินซูลินจะเปลี่ยนไกลโคเจนที่สะสมในร่างกายให้ เป็นกลูโคส ทำให้ปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น – ปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดสูง ฮอร์โมนอินซูลินจะเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนเพื่อ สะสมในร่างกาย ทำให้ปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดลดลง กลูโคส สูง กลูโคส อินซูลิน ไกลโคเจน กลูโคส ต่ำ

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ซูโครส มอลโทส C ซูโครส H O HO ฟรักโทส กลูโคส CH2 OH HOH2C C มอสโทส H O OH HO กลูโคส CH2 OH แล็กโทส C แล็กโทส H O OH HO กลูโคส กาแล็กโทส CH2 OH 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูอธิบายเกี่ยวกับไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ในหนังสือเรียน รายวิชา พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงสูตรโครงสร้างของไดแซ็กคาไรด์ และรูปของอาหารที่พบ ไดแซ็กคาไรด์แต่ละชนิด พร้อมอธิบายว่าไดแซ็กคาไรด์เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจาก มอโนแซ็กคาไรด์เชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี โดยไดแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดพบมากในอาหาร ต่างชนิดกัน

1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) แบ่งเป็น 3 ชนิด แป้ง (starch) เซลลูโลส (cellulose) ไกลโคเจน (glycogen) 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 1) ครูคลิกตามลำดับ พร้อมอธิบายเกี่ยวกับพอลิแซ็กคาไรด์ว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ แป้ง (starch) เซลลูโลส (cellulose) และไกลโคเจน (glycogen) ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูถามนักเรียนว่า พอลิแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดมีสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันลักษณะใด 3) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบในเฟรมถัดไป พอลิแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดมีสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันลักษณะใด

( กลูโคส )1,000 แป้ง กลูโคส 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต แป้ง มีโครงสร้างทั้งแบบสายยาว และแบบกิ่งก้านสาขา เกิดจากกลูโคสหลายพันโมเลกุลเชื่อมต่อกัน ( กลูโคส )1,000 สะสมในเมล็ด หัว และราก ร่างกายย่อยสลายได้ แป้ง กลูโคส 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกตามลำดับ พร้อมอธิบายเกี่ยวกับแป้ง ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

( กลูโคส )10,000 เซลลูโลส กลูโคส  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ไม่ละลายในน้ำ เกิดจากกลูโคสหลายหมื่นโมเลกุลเชื่อมต่อกัน ( กลูโคส )10,000 มีโครงสร้างแบบ สายยาวเรียงเป็นแนว ขนานในรูปเส้นใย กระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกตามลำดับ พร้อมอธิบายเกี่ยวกับเซลลูโลส ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ร่างกายย่อยสลายไม่ได้ เซลลูโลส กลูโคส

( กลูโคส )100,000 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ไกลโคเจน  1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ไกลโคเจน มีโครงสร้างแบบกิ่งก้านสาขา ที่ซับซ้อนกว่าแป้ง เกิดจากกลูโคสหลายแสนโมเลกุลเชื่อมต่อกัน ( กลูโคส )100,000 พบในคนและสัตว์เท่านั้น ถูกเก็บสะสมในตับและกล้ามเนื้อ 1. คาร์โบไฮเดรต 1.2 องค์ประกอบและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ครูคลิกตามลำดับ พร้อมอธิบายเกี่ยวกับไกลโคเจน ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน 1. สารละลายเบเนดิกต์ทำให้เราทราบปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวในอาหารได้เพราะอะไร เพราะเบเนดิกต์ทำปฏิกิริยากับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เกิดเป็นสารสีส้ม โดยปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะแปรผันไปตามความเข้มของสารสีส้มที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยา 2. พอลิแซ็กคาไรด์ที่ประกอบด้วยกลูโคสเหมือนกันแต่มีสมบัติต่างกันเพราะอะไร 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ) เพราะพอลิแซ็กคาไรด์แต่ละชนิดมีจำนวนโมเลกุลของกลูโคสต่างกัน และกลูโคสเชื่อมต่อด้วยโครงสร้างที่ต่างกัน

ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ 1. นักเรียนมีหลักเกณฑ์ในการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในลักษณะใด เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามอายุ ลักษณะของการทำงาน และกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน 2. สารชีวโมเลกุลหมายถึงอะไร สารที่มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลัก และโมเลกุลมีขนาดใหญ่ 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) 3. คาร์โบไฮเดรตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร แซ็กคาไรด์

ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ 4. น้ำตาลซูโครส มอลโทส และแล็กโทส มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันคืออะไร C6H12O6 5. น้ำตาลที่มีจำนวนคาร์บอน 5 อะตอมเรียกว่าอะไร ไรโบส 6. พอลิแซ็กคาไรด์คืออะไร เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาก มีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วยหน่วยย่อยของกลูโคสจำนวนมากเชื่อมต่อกัน ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ)

ทำปฏิกิริยากับเบเนดิกต์ คาร์โบไฮเดรต สรุป มอโนแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ พอลิแซ็กคาไรด์ แบ่งเป็น ขนาดเล็กที่สุด คาร์บอน 5–8 อะตอม สมบัติ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลเชื่อมต่อกัน ร่างกายดูดซึมไม่ได้ทันที สมบัติ ขนาดใหญ่ที่สุด กลูโคสจำนวนมากเชื่อมต่อกัน ไม่มีรสหวาน ละลายน้ำได้ดี สมบัติ ไรโบส กลูโคส ฟรักโทส กาแล็กโทส เช่น ซูโครส มอลโทส แล็กโทส เช่น 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต โดยครูให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปเป็น แผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน เช่น ทดสอบ ทำปฏิกิริยากับเบเนดิกต์ ได้สารละลายสีส้ม