รายวิชาเทคโนโลยีชุมชน
คำอธิบายรายวิชา การแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน การบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น การส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ 1. เกิดกระบวนการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจ เทคโนโลยีในชุมชน 2. นำความรู้ไปส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการเทคโนโลยีและทรัพยากร 3. สร้างกระบวนการคิด และประยุกต์ ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 4. นำความรู้ไปประยุกต์ต่อยอดภูมิปัญญา
บทที่ 1 ความเป็นมาของเทคโนโลยีพื้นบ้าน การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกต ค้นคว้าอย่างมีเหตุมีผล มีการรวบรวม สั่งสม บันทึกหลักฐาน และ นำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับทรัพยากรและทุนในชุมชน เกิดเป็นภูมิปัญญาของชุมชน เช่น การเกษตร การแปรรูปอาหาร เป็นต้น
บทที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยี : ข้าว การประยุกต์และบูรณาการเทคโนโลยีสู่ชุมชน กรณีศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเรื่องข้าว ข้าวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ข้าวกับวิถีชีวิตคนไทย พัฒนาการด้านพันธุ์ข้าวไทย เทคโนโลยีชีวภาพกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าว / ข้าวทนเค็ม / ข้าวทนน้ำท่วม เทคโนโลยีการเขตกรรม (การปลูกข้าว) ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีการแปรรูปข้าว
กรณีศึกษา เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร บทที่ 3 กรณีศึกษา เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร - การแปรรูปและถนอมอาหาร - ความสำคัญของอาหารหมักพื้นบ้าน - อุปสรรคและปัญหาของการผลิตอาหารหมัก - การจัดการและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 การบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรดิน การจัดการทรัพยากรดิน วัฏจักรและความสมดุลของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรน้ำ ความสำคัญของน้ำต่อชีวิต ทำไมต้องบำบัดน้ำและของเสีย ทฤษฎีอย่างง่ายของการบำบัดน้ำเสีย
บทที่ 5 เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก บทที่ 5 เทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก สถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศและชุมชน การจัดการด้านพลังงานทางเลือกของชุมชน
บทที่ 6 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ระบบนิเวศ ความหมาย และผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อชุมชน องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน
ตัวอย่างการบูรณาการหัวข้อจากบทเรียน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อใช้ในการทำขนมจีน วิธีการปลูกข้าวที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของคุณภาพน้ำที่เกิดจากการปลูกข้าว การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะครัวเรือนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมการลงแขกชาวนากับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประมงพื้นบ้านกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิสาหกิจชุมชนกับการแปรรูปข้าว การผลิตเครื่องมือเกษตรจากขยะรีไซเคิล การบำบัดน้ำเสียในนากุ้งด้วยสารสกัดสมุนไพร การปรับปรุงดินจากการทำนากุ้งเพื่อใช้ปลูกพืช
การวัดและประเมินผล คะแนนระหว่างภาคเรียน 60 คะแนน คะแนนระหว่างภาคเรียน 60 คะแนน การเข้าเรียน 10 คะแนน การมีส่วนร่วมในการเข้าเรียน (อาจารย์หลัก) 5 คะแนน ส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติ (อาจารย์คู่คิด) 5 คะแนน กิจกรรมรายบุคคล 20 คะแนน อาจารย์หลัก 10 คะแนน อาจารย์คู่คิด 10 คะแนน กิจกรรมกลุ่ม 30 คะแนน กระบวนการ (อาจารย์คู่คิด) 10 คะแนน การนำเสนอ (อาจารย์หลัก) 10 คะแนน เล่มรายงานและชิ้นงาน(อาจารย์หลัก) 10 คะแนน คะแนนจากการสอบกลางภาค 20 คะแนน บทที่ 2-4 จำนวน 80 ข้อ คะแนนจากการสอบปลายภาค 20 คะแนน บทที่ 5-6 และบูรณาการบทเรียน จำนวน 80 ข้อ
ผู้สอน วิศรา ไชยสาลี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เลขที่ 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 081 692 5485 และ 081 918 2514โทรสาร 0 2564 6586 อีเมล์ wissara@biotec.or.th และ sarawis2006@hotmail.com