สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 16 ก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ 2 กันยายน 2558 เป็นต้นไป ( มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในรกจ.เป็นต้นไป (ม.2) ) แบ่งเป็น 3 หมวด และบทเฉพาะกาล หมวด 1 การทวงถามหนี้ หมวด 2 การกำกับดูแลและตรวจสอบ หมวด 3 บทกำหนดโทษ บทเฉพาะกาล
ขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมาย 1 ขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมาย 1.ใช้กำกับดูแลการทวงถามหนี้ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ 2.คุ้มครองเฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น 3.เฉพาะผู้ทวงถามหนี้ 8 จำพวกตามบทนิยามในมาตรา 3 เท่านั้นที่ อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี้ 4.การทวงถามหนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องทวงให้ถูกต้องตาม กฎหมาย 5.เฉพาะผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เท่านั้น(รับจ้างทวงถามหนี้ เป็นปกติธุระไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) ที่ต้องจดทะเบียนต่อ นายทะเบียน(ต้องจดทะเบียนก่อนทำธุรกิจรับจ้างทวงถามหนี้)
บทนิยาม ผู้ทวงถามหนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 หมวด 1 การทวงถามหนี้ ได้แก่ 1. เจ้าหนี้ (ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ (ผู้ให้สินเชื่อ หมายความว่าบุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือบุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอน สินเชื่อต่อไปทุกทอด) 2. ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้บริโภค เช่น ธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ตาม 1.-4.จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม 3. ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่า ด้วยการพนัน เช่น บ่อนไก่ สนามมวย เป็นต้น 4. เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิ์รับชำระหนี้อันเกิดจาการกระทำ ที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ เช่น ร้านขายของชำ หอพัก โรงแรม ร้านอาหาร ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ตาม 1.-4.จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม 5. ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้
6. ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ 7. ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ 8 6. ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ 7. ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ 8. ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ สรุปคือ (1) ผู้ทวงถามหนี้ 8 ประเภทนี้เท่านั้นที่อยู่ในบังคับของพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 (2) ไม่ว่าหนี้ที่ทวงถามดังกล่าว(หนี้ 4 ประเภท) จะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องทวงถามให้ถูกต้องตามกฎหมายนี้
“ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า (ก)บุคคล (ทั้งบุคคลธรรมดาและ นิติบุคคล) ซึ่งให้สินเชื่อทางการค้าปกติ เช่น ธนาคารและสถาบัน การเงินต่างๆ หรือนายทุนปล่อยเงินกู้(แต่ถ้าให้กู้ยืมเงินเพื่อ ช่วยเหลือกันเป็นครั้งคราวในหมู่ญาติมิตร เพื่อนฝูง โดยมิได้ทำเป็น ทางการค้าปกติ ไม่ถือว่าเป็นผู้ให้สินเชื่อตามพ.ร.บ.นี้และในการทวงถาม หนี้ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้) (ข)บุคคล (ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด
สินเชื่อ หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดา โดยการให้กู้ยืมเงิน, การให้บริการ บัตรเครดิต, การให้เช่าซื้อ, การให้เช่า แบบลิสซิ่ง และสินเชื่อรูปแบบอื่น ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ***************** สรุปคือ สินเชื่อไม่ได้หมายถึงเฉพาะการให้กู้ยืมเงินเท่านั้น
การให้เช่าแบบลิสซิ่ง คือ การทำสัญญาที่ทำให้ผู้เช่าได้สินค้า เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือประกอบธุรกิจโดยที่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ ในสินค้านั้น และไม่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว แต่จะใช้วิธีค่อยๆทยอยจ่ายตามที่ตกลงไว้เมื่อสิ้นสุด สัญญาเช่าโดยทั่วไปลูกค้ามีทางเลือกว่าจะซื้อ/ต่อสัญญาเช่า/ หรือว่าส่งคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า
ลูกหนี้ หมายความว่า ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
“ธุรกิจทวงถามหนี้” การรับจ้างทวงถามหนี้ ไม่ว่าโดยตรง หมายความว่า หรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึง การทวงถามหนี้ของทนายความ ซึ่งกระทำแทนลูกความของตน (ไม่ถือว่า เป็นธุรกิจการทวงถามหนี้)
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หมายความว่า(เกี่ยวโยงกับม.8 วรรคสอง) (1) ที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ (2) สถานที่ทำงานของลูกหนี้ (3) หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร (4) สถานที่ติดต่อโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้
(คณะกรรมการระดับประเทศที่ส่วนกลาง) หมายความว่า คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ (คณะกรรมการระดับประเทศที่ส่วนกลาง)
นายทะเบียน หมายความว่า ผู้ซึ่งรมว.มท.แต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.นี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่ง รมว.มท.แต่งตั้งตาม การเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจตามมาตรา 32 คือ สั่งให้ผู้ทวงถามหนี้ (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือกรรมการ/ ผู้จัดการ/ผู้มีอำนาจ ในการจัดการ/หรือพนักงานของผู้ทวงถามหนี้(ในกรณี ผู้ทวงถามหนี้เป็นนิติบุคคล) มาให้ถ้อยคำ แสดงข้อมูล หรือส่งสมุดบัญชี เอกสาร ดวงตรา หรือสิ่งอื่น อันเกี่ยวกับกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของผู้ทวงถามหนี้และบุคคลดังกล่าวข้างต้น) ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.43)
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้(รมว.กค และรมว.มท. รักษาการตามพ.ร.บ.นี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน และให้ รมว.มท.มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้)
สรุปข้อห้ามและข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้ 1.ทวงให้ถูกคน 8.ไม่ประจานลูกหนี้ 2.ทวงให้ถูกที่ 9.ไม่ใช้วจีดูหมิ่น 3.ทวงทุกทีให้ถูกเวลา 10.รับชำระหนี้สินออกใบเสร็จ 4.ไม่ทวงมาบ่อยๆ 11.แสดงเท็จไม่กระทำ 5.ไม่พลอยบอกคนอื่น 12.เรียกค่าทวงถามไม่เกิน กำหนด 6.ไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม 13.ต้องไปจดถ้ารับจ้าง 7.ต้องทำตามวิธีการ 14.ปิดทางเจ้าหน้าที่รัฐ
ข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้ 1.ผู้ที่จะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้(รับจ้างทวงถามหนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ)ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน (ม.5 , 6) (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) 2.ทวงให้ถูกสถานที่ (การติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ต้องติดต่อตามที่อยู่ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้แจ้งไว้) ม.9(1) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) 3.ทวงให้ถูกเวลา (ติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น จันทร์-ศุกร์ 08.00 - 20.00 น. วันหยุดราชการ 08.00-18.00 น.) ม.9(2) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) 4.ทวงไม่ถี่หรือบ่อยเกินไป (มีจำนวนครั้งที่เหมาะสม) ม.9(3) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) 5.เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทวงหนี้ต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจ(ทวงต่อหน้า) และแจ้งชื่อ-สกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้/จำนวนหนี้ ม.9(4) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34)
ข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้(ต่อ) 6.ในกรณีผู้ทวงถามหนี้ขอรับชำระหนี้ ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ /รับชำระหนี้แล้วให้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้(ม.10 วรรคหนึ่ง) (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสน ม.34) หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ทวงถามหนีจะได้รับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม(ม.10วรรคสอง)
ข้อห้ามในการทวงถามหนี้ 1. ในการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ ม.8 ว.1 (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) การติดต่อกับบุคคลอื่นให้กระทำได้เพื่อสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ เท่านั้น(ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ ตามนิยามในมาตรา 3 ได้แก่ ที่อยู่อาศัย/สถานที่ทำงาน/หมายเลขโทรศัพท์/หมายเลขโทรสาร/อีเมล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น/ ที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้) และมีข้อปฏิบัติในการติดต่อ 4 ประการ คือ (1) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล(จะแจ้งเฉพาะชื่อตัวหรือชื่อเล่นไม่ได้) และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อดังกล่าว (โทษปรับทางปกครอง หนึ่งแสน ม.34) (2) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ในการติดต่อกับบุคคลอื่น เว้นแต่คนอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้(ระวัง :ไม่รวมของบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้) และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามถึงสาเหตุของการติดต่อ ก็ให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม (โทษหนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (3) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ บนซองจดหมาย ในหนังสือ หรือในสื่ออื่นใด ที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ของลูกหนี้ (โทษหนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (4) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้(โทษปรับทางปกครอง หนึ่งแสน ม.34)
ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ) 2. ห้ามผู้ทวงถามหนี้ กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะ ดังต่อไปนี้(ม.11) (1) ข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใด ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของลูกหนี้หรือผู้อื่น (โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.41) (2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น(โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง(2)คือแจ้งแก่สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ได้ถ้าบุคคลดังกล่าวได้สอบถามถึงสาเหตุของการติดต่อ (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39)
ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ) (4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจนเว้นแต่ กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด(คกก.จะประกาศกำหนดกรณียกเว้นที่สามารถติดต่อลูกหนี้ที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจนได้)(โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (5) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจบนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) (มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล) (6) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (โทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท ม.34) .
ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ) มาตรา 12 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ดังต่อไปนี้ (1) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ (โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.41) (2) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย (โทษ สามปี สามแสน ม.40) (3) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน (โทษ สามปี สามแสน ม.40) (4) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต (โทษ สามปี สามแสน ม.40) .
ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ) มาตรา 13 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ ไม่เป็นธรรมดังต่อไปนี้ (๑) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด(โทษปรับทางปกครองไม่เกิน หนึ่งแสน ม.34) (๒) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ (โทษ หนึ่งปี หนึ่งแสน ม.39) .
ข้อห้ามในการทวงถามหนี้(ต่อ) มาตรา 14 ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการดังต่อไปนี้ (๑) ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.42) (๒) ทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย(โทษ ห้าปี ห้าแสน ม.42) เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
ที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 083 – 148-2788 นายคารม คำพิทูรย์ นายอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ 083 – 148-2788