แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
Chapter I พฤติกรรมผู้บริโภค.
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทีม
กระบวนการของการอธิบาย
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี อนันต์ สิทธิวัฒนานนท์
KPI 8 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากร น้ำหนัก :ร้อยละ 5 KPI ๑๐ : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุง วัฒนธรรมองค์การ น้ำหนัก : ร้อยละ 3 กองการเจ้าหน้าที่
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบ คุณภาพ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบ คุณภาพ.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
GALILEO GALILEI กาลิเลโอ กาลิเลอี
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สถานะภาพและลักษณะของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารความเสี่ยงและ การวางระบบการควบคุมภายใน ของคณะวิทยาศาสตร์
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการแสดงออกของผู้เรียน
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
การปฐมนิเทศและการบรรจุ
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
จัดทำโดย นาย วรปรัชญ์ ชาวเมือง เลขที่ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.3
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
เราคือ ‘One PPG’ We protect and beautify the world วัตถุประสงค์ของเรา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
สถานะภาพและลักษณะของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
พฤติกรรมมนุษย์เพื่อการพัฒนาตน
การบริหารจัดการ เชิงสถานการณ์ (Situaional Management)
การบริหารจัดการ เชิงสถานการณ์ (Situaional Management)
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
ความหมาย และ คำจำกัดความของคำว่า “ รัฐประศาสนศาสตร์ “
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
เอกสารประกอบการบรรยาย การประชุมเชิงปฎิบัติการ การจัดทำแผนฯ
แบบฟอร์มที่ 2ลักษณะสำคัญขององค์การ
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้ วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์   วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน)  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการนำไป ประยุกต์ใช้วิเคราะห์การบริหารงานขององค์กร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น ตลอดทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ 

วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน) เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีทางรัฐ ประศาสนศาสตร์ และการนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์การบริหารงานขององค์กร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น ตลอดทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐประศาสน ศาสตร์ในความหมายใหม่    ภาพรวมของเนื้อหา/คำอธิบายหัวข้อที่สอนประจำสัปดาห์นี้ รัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ตั้งแต่สมัยจีนที่มีปรัชญาการเมืองของขงจื้อ อียิปต์ที่มีการสร้างปิระมิด แต่เนื่องจากว่ายังไม่มีการรวบรวมแนวคิดอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งในปี 1997 ที่เมื่อ Woodrow Wilson ได้เขียน The Study of Administration ที่เสนอการแยกการบริหารออกจากการเมือง (politic administration dichotomy) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนารัฐประศาสนศาสตร์ ทำให้มีผู้สนใจการปฏิรูประบบบริหารเพื่อที่จะใช้ในการปรับ ปรุงแก้ไขการบริหารให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น Stephen P. Robbins ใน The Evolution of Organization Theory ได้ใช้มุมมองทางระบบ (system) และเป้าหมาย (ends) ในการแบ่งวิวัฒนาการของทฤษฎีในรัฐประศาสนศาตร์ ดังนี้

แบบที่ 1 เป็นระบบปิด มองเป้าหมายที่เป็นเหตุเป็นผล เนื้อหาหลักจะเป็นการมุ่งเน้นประสิทธิภาพที่มีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ของ Taylor หลักการบริหารของ Fayol มีแนวคิดระบบราชการของ Weber และการวางแผนอย่างเป็นเหตุเป็นผลของ Davis แบบที่ 2 เป็นระบบปิด มองเป้าหมายเป็นสังคม เนื้อหาหลักจะเป็นการมุ่งเน้นคนและ มนุษยสัมพันธ์ที่มีการศึกษา Hawthorne ของ Mayo ระบบความร่วมมือของ Barnard ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor การสูญสิ้น ของระบบราชการของ Bennis แบบที่ 3 เป็นระบบเปิด มองเป้าหมายที่เป็นเหตุเป็นผล เนื้อหาหลักจะเป็นการจัดการตามสถานการณ์ ที่มีหลักBacklashของ Simon มุมมองทางสิ่งแวดล้อมของ Katz & Kahn แบบที่ 4 เป็นระบบเปิด มองเป้าหมายที่เป็นสังคม เนื้อหาหลักจะเป็นอำนาจและการเมือง ที่มีข้อจำกัดการรับรู้ของความเป็นเหตุเป็นผลของ March & Simon การมององค์การเป็นการเมืองส่วน Nicholas Henry ใน The Thread of Orgnization: Theories ได้แบ่งทฤษฎีองค์การเป็น สามแบบ 1. แบบปิด (closed model) โดยมีลักษณะของงานประจำในสภาพแวดล้อมคงที่ มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด มีเป้าหมาย ข้อขัดแย้งจะตัดสินโดยระดับที่สูงในลำดับบัญคับบัญชา มีความรับผิดชอบเป็นทางการ มีลำดับขั้นการบังคับบัญชา ความรู้จะอยู่ที่ส่วนบนของลำดับขั้น มีการปฏิสัมพันธ์แบบแนวดิ่งและเป็นการสั่งงาน มีความจงรักภักดีและการเชื่อฟังต่อผู้บังคับบัญชา และชื่อเสียงมาจากตำแหน่งในองค์การ ทฤษฎีที่อยู่ในแบบปิดนี้มี ระบบราชการของ Weber การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ของ Taylor หลักการบริหารของ Fayol

2. แบบเปิด (open model) โดยมีลักษณะของงานที่ไม่ประจำในสภาพแวดล้อมีที่ไม่แน่นอน มีการใช้ความเชี่ยว ชาญเฉพาะด้านในภาพรวมของเป้าหมาย มุ่งเน้นเป้าหมายมากกว่าวิธีการ ข้อขัดแย้งตัดสินใจกันเองในกลุ่ม มุ่งไปสู่เป้า หมายขององค์การด้วยกันเป็นภาพรวม รูปแบบองค์การเป็นแบบของเหลวหรือเหมือนตัว อมีบา ความรู้อยู่ทุกแห่งในองค์การ การปฏิสัมพันธ์แบบแนวราบที่มุ่งเน้นความสำเร็จ เป็นการให้คำแนะนำมากกว่าการสั่งงาน มุ่งเน้นผลลัพธ์และผลสำเร็จในการทำงาน ชื่อเสียงมาจากความสามารถมากกว่าตำแหน่ง ทฤษฎีที่อยู่ในระบบเปิดนี้มี ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ เช่น การศึกษา Hawthorne ของ Mayor และ Roethlisberger ลำดับชั้นความต้องการของ Maslow ปัจจัยจูงใจและสุขอนามัยของ Herzberg และการพัฒนาองค์การ

3. แบบสังเคราะห์ (synthesis model) เป็นการรวมทั้งแบบปิดและแบบเปิดมาไว้ด้วยกัน โดยมองว่าองค์การและสิ่งแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อความอยู่รอด และมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ศึกษาจากความสำเร็จและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น อุทัย เลาหวิเชียร ได้แบ่งวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ แบ่งออกได้เป็นช่วงเวลาต่างๆดังนี้ 1. วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ จาก Wilsonถึงสงครามโลกครั้งที่สอง 2. วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี 1970 3. วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1970จนถึงปัจจุบัน

ทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 – 1950) การบริหารแยกจากการเมือง  ทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 – 1950) การบริหารแยกจากการเมือง วิชารัฐประศาสนศาตร์ ถือกำเนิดมาประมาณหนึ่งร้อยปีมาแล้ว กล่าวคือนับตั้งแต่ ค.ศ 1887 ซึ่งเป็นปีที่ Woodrow Wilson เขียนบทความชื่อ “The Study of Administration” ขึ้นนับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงประมาณปี ค.ศ 1950 ปรากฏว่าองค์ความรู้ในวิชารัฐประศาสนศาตร์ได้สั่งสมพัฒนาเติบโตขึ้นมาก ได้มีทฤษฎี และแนวการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สำคัญอยู่ 4 ทฤษฎี คือ 1.การบริหารแยกออกจากการเมือง 2.ระบบราชการ 3.วิทยาศาสตร์และการจัดการ 4.หลักการบริหาร ทฤษฎีทั้ง 4 ประการมีลักษณะที่ร่วมกัน คือ ต่างเสนอแนวความคิดที่ว่าการบริหารงานที่ดีต้องใช้รูปแบบองค์การปิดและเป็นทางการ นักรัฐประศาสนศาสตร์มีหน้าที่ค้นหาวิธีการบริหารงานที่ดีที่สุดและมีเหตุผลมากที่สุดเพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทฤษฎีท้าทาย (1950-1960) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2   ทฤษฎีท้าทาย (1950-1960) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  1.การบริหาร คือ การเมือง    a.Fritz Morstein marx เขียน Element of Public Administration “การ บริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้นแท้จริงแล้วเป็นการเมืองบรรจุไว้ด้วยค่านิยม”    b.Paul Henson Appleby 1981-1963 “อำนาจ3ฝ่าย นิติบัญญัติ ตุลา การ และบริหาร แยกออกจากันไม่ได้เด็ดขาด”    c.John M Guas , Avery Lieserson 2.ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ    a.Robert Michels เขียน Political Parties = Iron Law of the   Oligarchy กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย “ระบบประชาธิปไตยในตอนแรก ไปสู่ระบบการปกครองแบบเผด็จการในตอนหลัง”    b.Robert Marton “กฎระเบียบต่าง ๆ เป็นเป้าหมายขององค์การ    c.Alvin N. Gouldner เขียน patterns of Industrial Bureaucracy “บทบาทขององค์การแบบไม่เป็นทางการภายในระบบราชการ เบี่ยงเบนและ ทับซ้อนระบบราชการแบบเป็นทางการอีกครั้ง”

กำเนิด รปศ.ใหม่ (ค.ศ.1960 – 1970)  ประการแรก วิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้รับอิทธิพลจากการปฎิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ ประการที่สอง ในช่วงปลายศตวรรษ 1960 นักวิชาการรุ่นใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในสหรัฐ อเมริกาได้รวมตัวกันและจัดการประชุมที่หอประชุม Minnow brook มหาวิทยาลัย Syracuse ขึ้น การปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้มีผลสำคัญต่อวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประการแรก ทำให้นักวิชาการประยุกต์เอาทฤษฎีระบบ ประการที่สอง ทำให้กลุ่มนักวิชาการกลุ่มหนึ่งหันไปสนใจศึกษารัฐประศาสนศาสนตร์เปรียบเทียบ การปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นในปลายทศวรรษ 1950-1960 มีผลทำให้ปรัชญาพื้นฐานของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปมากและทำให้วิชารัฐประศาสนศาตร์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์มีสภาพที่ตกต่ำลง ผลของการปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วงนี้ได้แก่ ประการแรก ทำให้นักวิชาการให้ความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องสถาบันทางการเมืองและรัฐบาลน้อยลง และหันมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์มากขึ้น ประการที่สอง ทำให้วิชารัฐประศามสสนศาสตร์กลายเป็นสหวิชาที่ให้ควาสนใจศึกษาวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ประการที่สาม นักวิชาการบางท่านเริ่มเอาหลักการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ มีการให้ความสนใจกับกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ ประการที่สี่ พฤติกรรมศาสตร์ทำให้นักวิชาการหันมาให้ความสนใจกับควาเป็นวิทยาศาสตร์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้วิชารัฐประศาสนสาตร์เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมน้อยลง ประการที่ห้า ในทางปฏิบัติ ปรากฎว่าพฤติกรรมศาสตร์ได้ทำให้นักวิชาการสนใจศึกษาเรื่องปัจจัยนำเข้า (Input) ของระบบการเมืองมากขึ้น ส่วนเรื่องปัจจัยนำออก (Output) ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารกลับไม่ได้รับความสนใจมากนัก

ทฤษฎีระบบในวิชารัฐประสาสนศาสตร์ ความคิดพฤติกรรมศาสตร์ทำให้นักวิชาการในสังคมศาสตร์เกิดความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาทฤษฎีและข้อสมมติฐานต่าง ๆ ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้ การที่นักวิชาการเหล่านั้นหันมาใช้ทฤษฎีหันมาใช้ทฤษฎีระบบทั่วไป ซึ่งหมายถึง ทฤษฎีหรือกลุ่มทฤษฎีที่มีวัตถุประสงค์ต้องอธิบายปรากฏการณ์ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อค้นหาลักษณะร่วมกันของปรากฏการณ์เหล่านั้น โดยใช้หลักว่าปรากฏการณ์เหล่านั้นประกอบไปด้วย ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ถูกจัดรวมกันอย่างเป็นระบบ ในส่วนของวิชารัฐประศาสนศาสตร์นั้น แนวความคิดในเชิงระบบเข้ามามีบทบาทสำคัญ สอง ประการ คือ ประการแรก ความคิดเชิงระบบได้กลายมาเป็นแนวทางการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การที่สำคัญ ประการที่สอง ความคิดเกี่ยวกับระบบช่วยวางพื้นฐานสำหรับเทคนิคการบริหารที่สำคัญหลายเทคนิคด้วยการ

รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ ความสนใจของนักวิชาการที่จะศึกษาการบริหารงานของรัฐ โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบ โดยเฉพาะหลังจากที่นักวิชาการได้ล้มล้างทฤษฎีหลักการบริหารที่ถือว่าหลักการบริหารนั้นมีความเป็นสากลใช้ได้กับทุกประเทศ และทุกวัฒนธรรม ต่อมานักวิชาการเริ่มเห็นว่าวัฒนธรรมและลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการบริหารงานของรัฐในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ความคิดพฤติกรรมศาสตร์ที่ต้องการให้นักวิชาการแสวงหาทฤษฎีโดยใช้การศึกษาเปรียบเทียบ ได้ทำให้นักวิชาการหันไปศึกษาเรื่องรัฐประศาสนศาตร์เปรียบเทียบยิ่งขึ้น

รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ ประมาณปลายทศวรรษ 1960 วิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้เริ่มเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่อีกเพราะนักวิชาการทั่วไปในสังคมมากขึ้น ในสายรัฐศาสตร์ ได้มีการโจมตีนักพฤติกรรมศาสตร์ว่าทำให้วิชาเน้นเรื่องปรัชญาและวิธีการแบบวิทยาศาตร์มากจนทำให้วิชามีลักษณะทีไม่เกี่ยวข้องกับโลกควาเป็นจริง แต่กลับเน้นเรื่องวิชาการต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีต่าง ๆ ดดยไม่คำนึงถึงสิ่งเหล่านั้นจะโยงให้เราเข้าใจสังคมปัจจุบันได้ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดเพราะวิชารัฐศาสตร์ต้องสนใจศึกษาเรื่องค่านิยม และพยายามทำความเข้าใจสังคมเพื่อค้นหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนั้นจึงเกิดขบวนการด้านความคิดใหม่ที่เรียกว่า Post-behavioralism ในทางรัฐประศาสนศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ได้มีการปรับให้เข้ากับความคิดใหม่น็โดยนักวิชาการจำนวนหนึ่งพยายามทำให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งต่อมาเรียกความคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ว่า ” รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ ” (New Public Administration)

รปศ.เปรียบเทียบ วรเดช จันทรศร (2543) ได้กำหนดให้ การบริหารเปรียบเทียบและการบริหาร การพัฒนา เป็นหัวข้อหนึ่งของขอบข่าย รัฐประศาสนศาสตร์ โดยได้อ้างแนวคิดของ กุลธน ธนาพงศธร ที่ว่า การบริหารเปรียบเทียบหรือการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ก็คือ การศึกษาการบริหารรัฐกิจบนพื้นฐานของการเปรียบเทียบ เฟอเรล เฮตตี้ ให้ความหมายว่ารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ คือ การศึกษาพฤติกรรมหรือกิจกรรมของรัฐบาลในแง่ต่าง ๆ ชาร์ลส์ กูดเซลล์ (1981) ให้ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบว่า เป็นการอาศัยวิธีการเปรียบเทียบเป็นแนวทางการศึกษา เพื่อค้นหาความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของแนวการปฏิบัติด้านการบริหาร ค่านิยม และสถาบัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจถึงรูปแบบและปรากฎการณ์ที่เป็นจริงของประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันด้านวัฒนธรรม ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2535) ให้ความหมายรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบว่า เป็นความพยายามที่จะนำเอาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมของระบบหน่วยราชการ และ ข้าราชการมาเทียบเคียงกัน เพื่อให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน เพื่อทีจะปรับปรุงรัฐประศาสนศาสตร์ให้ดีขึ้น

จุดมุ่งหมายในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ วรเดช จันทรศร (2543) ได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบมีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ ประการแรก ต้องแสวงหาคำตอบว่า ระบบบริหารหนึ่ง ๆ หรือระบบบริหารหลาย ๆ ระบบมีลักษณะพิเศษ หรือส่วนประกอบที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไรภายในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เพื่อจะนำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์หรือสร้างทฤษฎีหรือหลักการร่วมของระบบบริหาร ประการสอง ต้องการทราบว่า ความแตกต่างระหว่างประเทศต่าง ๆ และความแตกต่างกันในพฤติกรรมของระบบบริหารในประเทศเหล่านั้นเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยหรือสาเหตุอะไรบ้าง ประการสาม ต้องการทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การบริหารในสังคมหนึ่ง ๆ ประการสี่ มีจุดมุ่งหมายของการแสวงหาและพัฒนากลยุทธ์ในการปฏิรูปการบริหารงาน เพื่อนำไปสู่การสร้างประสิทธิผลให้เกิดขึ้นกับระบบบริหารนั้น ๆ

ประโยชน์ของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบมี 5 ประการ ดังนี้ 1) การศึกษาเรียนรู้ลักษณะเฉพาะของระบบบริหารในแต่ละช่วงเวลาหรือของประเทศต่าง ๆ จะทำให้ทราบความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของระบบบริหาร ลักษณะร่วมกันและสิ่งที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถกำหนดทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป 2) การทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบบริหารหนึ่งมีประสิทธิภาพในประเทศหนึ่งหรือในสมัยหนึ่ง แต่ใช้แล้วไม่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพในอีกประเทศหนึ่งหรืออีกสมัยหนึ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำของประเทศสามารถทำความเข้าใจอย่างถูกต้องและหาทางแก้ไขป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น 3) การศึกษาเชิงเปรียบเทียบจะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ว่ามีอิทธิพลต่อการบริหารประเทศ โดยแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันในบริบทสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ผู้นำประเทศสามารถปรับปรุงระบบบริหารให้สอดคล้องกับปัจจัยสภาพแวดล้อม หรือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เข้ากับระบบบริหาร เพื่อให้การบริหารประเทศสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ 4) การศึกษาทำความเข้าใจในความคล้ายคลึงและข้อแตกต่างในพฤติกรรมของข้าราชการและระบบบริหารราชการของประเทศต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ช่วยให้ผู้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเป็นพื้นฐานการปฏิบัติงาน 5) การศึกษาเปรียบเทียบจะทำให้รู้ว่าระบบบริหารที่เป็นอยู่มีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไรที่ต้องแก้ไขบ้าง ทำให้ผู้นำประเทศสามารถนำส่วนที่ดีที่พบของอีกประเทศหนึ่งหรือในอีกเวลาหนึ่งมาปรับใช้ได้ ซึ่งลักษณะการหยิบยืมเอาส่วนที่ดีของประเทศหนึ่งมาใช้อีกประเทศหนึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและยอมรับอย่างแพร่หลายบางประเทศอาจมีการหยิบยืมเพียงบางส่วนมาใช้ ในขณะที่บางประเทศอาจนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ