บทที่ 3 หลักการทั่วไปเกี่ยวกับ การเงินการคลังท้องถิ่น ความหมายและความเข้าใจ
ความหมายและความเข้าใจ การปกครองท้องถิ่นที่มีลักษณะประชาธิปไตยนั้น นอกจากจะมี 1. คณะผู้บริหาร หรือผู้บริหารตลอดจน 2. ฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่นนั้น 3. มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่สามารถทำสัญญากับองค์กรต่างๆ 4. มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย และการบริหารงานใน ท้องถิ่น
ความหมายและความเข้าใจ องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้เลยก็คือ “ความเป็นอิสระทางการคลัง” ได้แก่ การจัดทำงบประมาณ การจัดเก็บภาษี การแสวงหารายได้อื่นๆ
ความหมายและความเข้าใจ สภาพที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องพึ่งเงินจำนวนมากในแต่ละปีจากรัฐบาลส่วนกลาง และเป็นการได้รับเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข ก็กล่าวได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นขาดอิสระทางการคลัง และเมื่อขาดอิสรภาพดังกล่าว ประกอบกับงบประมาณมีจำนวนจำกัดก็ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ และมีผลสำคัญต่อสถานภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
ความหมายและความเข้าใจ มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในท้องถิ่นและ ยกระดับคุณภาพของชุมชนได้ ความเป็นอิสระทางการคลังหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระบบการคลังของประเทศมีลักษณะกระจายอำนาจเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการปกครองท้องถิ่น โดยมีเหตุผลพอสรุปได้ดังนี้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ความหมายและความเข้าใจ 1. รัฐบาลส่วนกลางไม่อาจผูกขาดการตัดสินใจเรื่องการคลังในระดับท้องถิ่นไว้ที่ส่วนกลาง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลส่วนกลางมีนโยบาย และปัญหาระดับชาติมากมายที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ และมีท้องถิ่นมากมายที่ยังมีปัญหาที่อาจมีจำนวนมาก และปัญหามีลักษณะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้รัฐบาลส่วนกลางก็ไม่อาจกุมข้อมูลได้ทุกๆด้านอย่างทันท่วงที และข้อมูลย่อมมีมากทั้งปริมาณ และมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งตามสถานการณ์ในแต่ละแห่ง 2. ท้องถิ่นไม่เพียงแต่อยู่ใกล้ชิดข้อมูล เข้าใจเรื่องราวและปัญหาต่างๆในท้องถิ่นได้ดี หากยังเป็นเจ้าของสถานที่ ปฏิบัติการใดๆที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อพื้นที่ และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ ดังนั้นการตัดสินใจจึงควรเป็นเรื่องของท้องถิ่น
ความหมายและความเข้าใจ 3. อิสรภาพของท้องถิ่นจะช่วยให้คนในท้องถิ่นมีความตื่นตัวทางการเมือง และระดับของสำนึกท้องถิ่นสูงเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกในการเสียภาษีเพื่อท้องถิ่นมากขึ้น และเป็นการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติในระยะยาว 4. อิสรภาพทางการคลังเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการกระจายอำนาจ หรือการปกครองตนเองแบบประชาธิปไตยสำหรับท้องถิ่น
ความหมายและความเข้าใจ การคลังท้องถิ่น หมายถึง การบริหารงานคลังของหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพิจารณาถึง การจัดหารายได้ การกำหนดรายจ่าย การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อ การจัดจ้าง การบัญชี การตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น ดังนั้น การบริหารการคลังท้องถิ่น จึงประกอบด้วย การหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดการรายจ่ายเป็นสำคัญ ซึ่งการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดหารายได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด โดยการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เต็มความสามารถ และถ้าหากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดบริการพื้นฐานแล้ว รัฐบาลจึงควรเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เช่น ให้เงินอุดหนุนตามความจำเป็น
ความเข้าใจเกี่ยวกับการคลัง ของ อปท. ภาษี ไม่ใช่ภาษี รายรับ เก็บเอง หน่วยงานอื่นเก็บ/แบ่งให้ เงินอุดหนุน รายรับประเภทอื่น เช่น เงินบริจาค การคลัง ของ อปท. ทั่วไป เฉพาะการ รายจ่าย
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน ของ อปท. เงินที่สภาท้องถิ่นให้ความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย (ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายอำเภอ) รวมทั้งงบประมาณเพิ่มเติม การโอน และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ เงินงบประมาณ = การเงินของ อปท. เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท. นอกจากเงินงบประมาณ เช่น เงินกู้ เงินสะสม เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นต้น เงินนอก งบประมาณ =
นโยบายการคลัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีภารกิจส่งเสริมและสนับสนุนให้ อปท. มีความเข้มแข็ง ด้านการเงิน การคลัง โดยมีนโยบาย ดังนี้ 1. การพัฒนาด้านการเงิน การคลัง 2. การพัฒนารายได้ของ อปท.
การพัฒนาด้านการเงินการคลัง 1. การพัฒนาด้านการเงินการคลัง เน้นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในขั้นตอนต่างๆให้มีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกัน 1. นโยบายของผู้บริหาร/ ทิศทางการพัฒนา อปท. 2. การจัดทำแผนงาน / โครงการ 3. การจัดทำงบประมาณ 4. การจัดเก็บภาษีอากร 5 .การพัสดุ / การจัดซื้อจัดจ้าง
การพัฒนาด้านการเงินการคลัง 6. การเบิกจ่ายเงิน / การจัดทำบัญชี 7. การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ 8. วินัยของการคลัง / ความมั่นคงทางการคลัง ขั้นตอนดังกล่าว เป็นวงจรทางการคลังของ อปท. ที่จะต้องดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ และมีความสอดคล้องกัน และทุกขั้นตอน จะต้องเน้น คือ ความประหยัดคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด รวดเร็ว ทันสถานการณ์ โดยคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก
วงจรการคลังท้องถิ่น
วงจรการคลังท้องถิ่น
วงจรการคลังท้องถิ่น การเบิกจ่าย/การจัดทำบัญชี -เบิกจ่ายตามที่ได้ก่อหนี้ผูกพัน และทำการลงบัญชีรับ- จ่าย การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ - เป็นการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใจ ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การทบทวน การปรับปรุงการดำเนินการต่อไป หรือยกเลิกนโยบาย วินัยการคลัง/ความมั่นคงทางการคลัง - การใช้จ่ายอย่างมีวินัย เพื่อความมั่นคงทางการเงินการคลัง
การพัฒนารายได้ของ อปท. การพัฒนารายได้ของ อปท. 2. การพัฒนารายได้ของ อปท. รายได้ของ อปท. มีความสัมพันธ์และสำคัญ ต่อการจัดสรรงบประมาณ ในการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้า โดยมีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
การพัฒนารายได้ของ อปท. การพัฒนารายได้ของ อปท. 1. รายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง ภาษี / อากร และค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ฯลฯ ภาษีน้ำมัน ยาสูบ และค่าธรรมเนียมจากผู้พักในโรงแรม ซึ่งจัดเก็บโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2. รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บแล้วจัดสรรให้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ค่าภาคหลวงแร่ และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม เป็นต้น
การพัฒนารายได้ของ อปท. การพัฒนารายได้ของ อปท. 3.รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ เพื่อให้ อปท. มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น 4. เงินอุดหนุนทั่วไป รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายได้ของ อปท. เพื่อดำเนินการตามภารกิจหน้าที่ หรือภารกิจถ่ายโอน 5. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ รัฐบาลจัดสรรให้ อปท. เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล
การพัฒนารายได้ของ อปท. การพัฒนารายได้ของ อปท. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กำหนดแนวทางการพัฒนารายได้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของ อปท. เพื่อให้ อปท. มีการจัดเก็บรายได้ของตนเองและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการเสีย ภาษีอากร ดังนี้ 1. กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ในแต่ละปีงบประมาณ ให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง โดยให้เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา 2. จัดทำแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของ อปท. ประจำปี เช่น การรับชำระภาษีอากรนอกสำนักงาน การรับชำระทางไปรษณีย์ การออกหน่วยบริการ
การพัฒนารายได้ของ อปท. การพัฒนารายได้ของ อปท. 3. การประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับทราบ 4. ตรวจสอบรายการทรัพย์สินที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน 5. จัดประชุมชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร และให้ประชาชน ได้แสดงความคิดเห็น หรือซักถามข้อสงสัย 6. อำนวยความสะดวก สร้างความประทับใจแก่ประชาชน ผู้มาเสียภาษีที่สำนักงาน
การพัฒนารายได้ของ อปท. การพัฒนารายได้ของ อปท. 7. ปรับปรุงระบบแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บภาษี 8. รักษามาตรฐานการจัดเก็บภาษีอากร และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในการจัดเก็บภาษี 9. ใช้มาตรการบังคับจัดเก็บภาษี กรณีผู้หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษี เช่น การฟ้องคดี การยึด / อายัด และขายทอดตลาด ตามที่กฎหมายกำหนด