ประวัติวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน
ภูมิหลังของเรื่อง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่ เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2034-2072 เนื้อเรื่องเอาเกร็ด ประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับ เชียงใหม่และล้านช้าง แล้วเอามาผูก กับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณบุรีและ กาญจนบุรี แล้วเล่าสืบต่อกันมาจน กลายเป็นนิทานพื้นเมืองของเมือง สุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
ช่วงเสียกรุง เรื่องขุนช้างขุนแผน บางตอนได้สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ จึง เหลือมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แต่ เพียงบางตอนเท่านั้น เรื่องไม่ ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัยมีพระราชประสงค์จะ ฟื้นฟูศิลปะและวรรณกรรมจึงโปรด เกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกัน รวบรวมและแต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน ต่อเติมขึ้น
วัตถุประสงค์ในการแต่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน เบื้องต้นเล่าเพียงมุขปาฐะ (นิทานขนาดยาว) ต่อมา ภายหลังได้ มีผู้นำ เรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่ง เป็นกลอนเสภาแล้วใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย มากขึ้น
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชนิพนธ์ตอน พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา ขุนแผนพานางวันทองหนี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ตอน ขุนช้างขอนางพิม ขุนช้างตามนางวันทอง
สุนทรภู่ แต่งตอน กำเนิดพลายงาม
ครูแจ้ง แต่งตอนกำเนิดกุมารทอง ขุนแผนพลายงามแก้พระท้าย น้ำ สะกดพระเจ้าเชียงใหม่และยกทัพกลับ จระเข้เถรขวาด * ตอนขุนช้างถวายฎีกา ยังไม่ปรากฏนามผู้แต่ง