Law and Modern world กฎหมายกับโลกสมัยใหม่ Outline: นัทมน คงเจริญ Nuthamon Kongcharoen (ติดต่อได้ทาง facebook) เอกสาร E-Document for Student > www.law.cmu.ac.th หัวข้อที่จะพูด 4 เรื่อง (หลังสอบกลางภาค) คือ ความเชื่อ จารีตประเพณี วัฒนธรรม เทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ Belief 1
ทบทวน ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อระบบ ความรู้ การเมือง ระบบกฎหมาย อย่างสำคัญ กลายเป็นสภาวะของโลกสมัยใหม่ (Modern World) ผลของแนวคิดยุคสมัยใหม่ที่สำคัญ 4 แนวทาง แนวคิดมนุษยนิยม Humanism แนวคิดในการหาความรู้ วิทยาการ Sciences แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย Sovereignty แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพ Liberalism Belief 1
ศาสนากับวิวัฒนาการของแนวความคิด https://www.posttoday.com/social/general/566539 Belief 1
ศาสนากับวิวัฒนาการของแนวความคิด ก่อนหน้ายุคสมัยใหม่ อาณาจักรอยู่ภายใต้อำนาจของศาสนจักร การ แต่งตั้งกษัตริย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากพระ สันตปาปา สถาบันกษัตริย์ที่อยู่ใกล้ชิดกับสถาบันทางศาสนา และความเชื่อ แนวความคิดของศาสนจักรมีอิทธิพลอย่างสำคัญ ต่อการอธิบายจักรวาล โลก มนุษย์ Belief 1
กฎหมายกับศาสนา ศาสนา คืออะไร? ความคิด ความเชื่อและพิธีกรรมปฏิบัติของ คนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น พระเจ้า หรือสิ่ง เหนือธรมชาติ หรือ อะไรก็ได้ที่คนยึดมั่นถือ มั่น เช่น การนับถือผี ศาสนาส่งผลต่อกฎหมายในฐานะที่เป็น คุณค่ารวมกันของสังคม (societal values that shape the rules) อันที่เป็นหลักการ พื้นฐานของกฎหมาย ตัวอย่าง ห้ามฆ่าคน ห้ามลักทรัพย์ ลองพิจารณากรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้... Belief 1
พระเยซู Jesus of Nazareth ( B.C. 4 – A.C. 30) Belief 1
การกำจัดผู้ที่นอกรีต ที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา สมัยก่อน ศาสนาคริสต์ เชื่อว่าโลก เป็นศูนย์กลางของจักรวาล กาลิเลโอ Galileo Galilei ชาวอิตาลี (ค.ศ. 1564 - 1642) ผู้พัฒนากล้องโทรทรรศน์และเสนอ แนวคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ของจักรวาล จึงถูกกักตัวให้อยู่แต่ในบ้าน ภายใต้ การควบคุมของศาลศาสนาโรมัน Belief 1
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนากับผู้ปกครอง/รัฐ Henry VIII ก่อตั้งศาสนาคริสต์นิกาย Church of England ความสัมพันธ์ระหว่าง อาณาจักรกับศาสนจักรยัง มีอยู่มาก ความเชื่อของผู้ปกครอง ต่อศาสนาส่งผลกระทบต่อ ประชาชนอย่างมาก Belief 1
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนากับผู้ปกครอง/รัฐ ความขัดแย้งระหว่างคาทอลิกและ โปแตสแทนในอังกฤษ Bloody Mary! มีผู้เสียชีวิตจากเหตูการณ์นี้ถึง 283 คน และหลบหนีเป็นจำนวนมาก Queen Elizabeth I พยายามลด แรงกดดันจากความขัดแย้งทาง ศาสนา Belief 1
การแสวงหาดินแดนใหม่: The Land of the Free Puritan กลุ่มที่พยายามแสวงหาเสรีภาพใน การนับถือศาสนาที่เรียบง่ายและไม่ยึดติดกับ รูปแบบพิธีกรรมอันไม่จำเป็น Belief 1
การแสวงหาดินแดนใหม่: The Land of the Free พยายามแยกรัฐออกจากอิทธิพลของศาสนา รัฐต้องไม่อุดหนุนศาสนาใดๆ Belief 1
โอมชินริเกียว การหาหลักยึดเหนี่ยว จิตใจ การฆ่าเป็นบาปที่ ร้ายแรงที่สุด ทำไมผู้ที่ฆ่า คนจึงอ้างหลักศาสนาได้! อะไรคือเหตุผลที่ สามารถชักจูงให้คนฆ่าตัว ตายได้? https://thematter.co/thinkers/omu-shinrikyo-and- other-religions/54845 Belief 1
ลัทธิฟาหลุนกง ตามปรัชญาของพรรคคอมมิวนิสต์ – ศาสนา คือสิ่งมัวเมา เมื่อความเชื่อของศาสนาเป็นปฏิปักษ์ต่อ ผู้ปกครอง - รัฐ Belief 1
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาจแยกพิจารณาได้ 2 แนวทาง การมองแบบภาพรวม MACRO VIEW = บทบาทของรัฐต่อศาสนา – อาจเป็นในทาง ส่งเสริมสนับสนุน หรือเป็นกลาง การมองจากปัจเจกบุคคล MICRO VIEW = การกำหนดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล โดย ผ่านมุมมองทางกฎหมายที่มีพื้นฐานแนวคิด/ ความเชื่อทางศาสนา Belief 1
บทบาทของรัฐ ต่อการดำเนินงานทางศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องความเชื่อและศรัทธา ซึ่งมักมีการทำนุ บำรุงศาสนา “Everything is miracle or nothing is miracle.” บทบาทของรัฐในการวางตัวเป็นกลาง Secular State รัฐที่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา Atheistic State เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง Anti-clericalism/ Anti- Religious/ Irreligious รัฐศาสนา Religious State ตัวอย่างเช่น Islamic Republic ขอให้ดูเพิ่มเติมที่ link ด้านล่างนี้ http://en.wikipedia.org/wiki/Secular_state Belief 1
Belief 1
ตัวอย่างของ secular state The US Constitution – Bill of Rights: Article [I] “Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances.” Belief 1
ข้อสังเกตเกี่ยวกับ รัฐที่วางตัวเป็นกลางทางศาสนา แนวทางในการจัดโครงสร้างของรัฐที่เป็นกลางทาง ศาสนา: เน้นที่สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการนับถือ ศาสนา รัฐต้องไม่เข้ามาแทรกแซงการดำเนินกิจการของ ศาสนาใดๆ Belief 1
ข้อสังเกตเกี่ยวกับ รัฐที่วางตัวเป็นกลางทางศาสนา ในทางกลับกัน รัฐต้องไม่อุดหนุนศาสนาใดศาสนา หนึ่ง ซึ่งการอุดหนุนศาสนาหนึ่ง อาจนำมาสู่การเลือก ปฏิบัติต่อศาสนาอื่น เมื่อไม่มีการอุดหนุนจากรัฐ ศาสนาจึงต้องพึงตนเอง โดยอาศัยศรัทธาจากประชาชน เมื่อศาสนาต้องทำหน้าที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้แก่คนในสังคม ศาสนาต้องสนองความต้องการ เป็น ที่พึ่งทางใจให้แก่ผู้คน ศาสนาจึงต้องปรับตัวให้ตอบ ปัญหาที่คนในสังคมต้องการให้ได้ ศรัทธาจากศาสนิก ชนจึงจะมาบำรุงศาสนานั้นๆ Belief 1
นักเทศน์ กำลังเทศน์ให้ศาสนิกฟัง Belief 1
ตัวอย่างของ religious state Iran Constitution, Article 1 “The form of government of Iran is that of an Islamic Republic, endorsed by the people of Iran on the basis of their longstanding belief in the sovereignty of truth and Qur'anic justice...” Article 4 “All civil, penal financial, economic, administrative, cultural, military, political, and other laws and regulations must be based on Islamic criteria.” Belief 1
ข้อสังเกตเกี่ยวกับรัฐศาสนา แนวทางในการจัดโครงสร้างของรัฐศาสนา: คำสอนทางศาสนาถือเป็นแนวทางในการจัด โครงสร้างหลักในรัฐนั้น ซึ่งมักจะมีแนวทาง กำหนดความประพฤติของคนในสังคมที่เข้มงวด ศาสนาของรัฐจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที ทำให้ศาสนาเข้มแข็ง คนในสังคมนั้นมีแนวทางยึดเหนี่ยวที่เข้มแข็งและ เคร่งครัด ในทางกลับกัน หากคนนั้น ไม่สมัครใจ ที่จะอยู่ภายใต้ศาสนานั้น อาจทำให้ถูกจำกัด เสรีภาพในการนับถือศาสนา(อื่น)ได้ ศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาของรัฐนั้น อาจถูกละเลย หรือถูกจำกัด Belief 1
ผู้พิพากษาในศาลอิสลาม Sharia Court Belief 1
ประเทศต่างๆที่ใช้ระบบศาลอิสลาม Sharia Court http://factsanddetails.com/asian/cat64/sub416/it em2642.html Belief 1
Sharia Law & Punishment ขโมย – ตัดมือ มีชู้ – Stoning Homosexual – ประหารชีวิต Belief 1
LGBT RIGHTS Belief 1
สรุป ความเชื่อทางศาสนา มีอิทธิพลต่อบทบาท ของสังคม และรัฐ ในการกำหนดระบบและ กลไกของอำนาจในสังคมนั้น แต่ละสังคมมีแนวคิดต่างกันไป ว่าควรจะ ปล่อยให้ความเชื่อและศาสนามีอิทธิพลเหนือ รัฐของตนเองมากน้อยเพียงใด การกำหนดนั้น อาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ คราวหน้า พิจารณาอิทธิพลของความเชื่อและ ศาสนาในสังคมไทย Belief 1
1 บทบาทของรัฐไทย ต่อศาสนา 1 บทบาทของรัฐไทย ต่อศาสนา Outline: ผลกระทบจากท่าทีของศาสนาต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลต่างๆ ศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย บทบาทของรัฐไทยต่อศาสนาพุทธ บทบาทของรัฐไทยต่อศาสนาต่างๆ Belief 1
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ถึงบทบาทของรัฐที่มีต่อศาสนา การพิจารณาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในฐานะของกฎหมายสูงสุดในการจัด โครงสร้างของรัฐ – ว่ามีศาสนาเป็นกลไก สำคัญอย่างไร เพียงใด ต่อรัฐนั้น และในฐานะที่เป็นหลักประกันว่ารัฐจะไม่ละเมิด สิทธิและเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากดูจากบทบัญญัติของกฎหมายสูงสุด แล้ว ต้องพิจารณาจากการบังคับใช้กฎหมายใน ความเป็นจริงด้วย ว่าปฏิบัติจริงเพียงใดในสังคม Belief 1
ท่าทีของรัฐไทย ต่อศาสนาพุทธ พิจารณาจากกฎหมาย - รัฐธรรมนูญ กำหนดในรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ส่วนที่ 3 สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย กับการรับรองถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา Belief 1
เสรีภาพในการนับถือศาสนา มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน Belief 1
Belief 1
กฎหมายในระดับปฏิบัติ - พระราชบัญญัติ กฎหมายที่กำหนดถึงศาสนาพุทธ และการจัดการทางศาสนา คือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระมหากษัตริย์เป็นผู้สถาปนาพระสังฆราช นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย มีการกำหนดให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการของมหาเถรสมาคม http://www.onab.go.th/ สถาบันพระสังฆาธิการ http://sta.onab.go.th/ ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี http://www.dhammathai.org/watthai/watstat.php Belief 1
Belief 1
ประเทศไทยกับท่าทีต่อศาสนาอิสลาม พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคน หนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามใน ประเทศไทย ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี Belief 1
ประเทศไทยกับท่าทีต่อศาสนาอิสลาม (ต่อ) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ การสร้าง การจัดตั้ง การย้าย การรวม การเลิก และการจด ทะเบียนมัสยิด ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง ให้มัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่แล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล http://www.cicot.or.th/2011/main/mosque.php?page=&category=61&id=83 7 สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทย Belief 1
การคุ้มครองพระพุทธศาสนาตามกฎหมายคณะสงฆ์: การดำรงอยู่ของมหาเถรสมาคม Belief 1
การคุ้มครองพระพุทธศาสนาตามกฎหมายคณะสงฆ์: การดำรงอยู่ของมหาเถรสมาคม มาตรา 24 “พระภิกษุจะต้องรับนิคหกรรมก็ ต่อเมื่อกระทำการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย และ นิคหกรรมที่จะลงแก่พระภิกษุก็ต้องเป็นนิคหกรรม ตามพระธรรมวินัย” นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การ ข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัย เพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษ ภิกษุผู้ทำเสียหาย เช่นก่อการทะเลาะวิวาท บาดหมาง ทำความอื้อฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียน พระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบ ล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพเป็นต้น นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของ ผู้ปกครองหมู่คณะ Belief 1
การลงโทษ ในหมู่สงฆ์ นิคหกรรม ที่ระบุไว้ในพระ ธรรมวินัยมี 6 วิธี คือ นิคหกรรม ที่ระบุไว้ในพระ ธรรมวินัยมี 6 วิธี คือ ตัชนียกรรม ข่มไว้ด้วยการ ตำหนิโทษ นิยสกรรม ถอดยศ ทำให้หมด อำนาจหน้าที่ ปัพพาชนียกรรม ขับไล่ออก จากหมู่คณะ ให้สึก ปฏิสารณียกรรม บังคับให้ขอ ขมาเมื่อล่วงเกินคฤหัสถ์ อุกเขปนียกรรม ตัดสิทธิ์ที่จะ พึงได้บางอย่าง ตัสสาปาปิยสิกากรรม ลงโทษ หนักกว่าความผิดฐานให้การ กลับไปกลับมา
การรับรองอำนาจของมหาเถรสมาคมในกฎหมายคณะสงฆ์ มาตรา 25 ภายใต้บังคับมาตรา 24 มหาเถรสมาคม มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคมกำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการปฏิบัติ เพื่อให้การลงนิคหกรรมเป็นไปโดย ถูกต้อง สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม และให้ถือว่าเป็น การชอบด้วยกฎหมายที่มหาเถรสมาคมจะกำหนดใน กฎมหาเถรสมาคมให้มหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุ ผู้ปกครองสงฆ์ตำแหน่งใดเป็นผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม แก่พระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย กับทั้งการ กำหนดให้การวินิจฉัยการลงนิคหกรรมให้เป็นอันยุติใน ชั้นใด ๆ นั้นด้วย Belief 1
มาตรา 26 พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น มาตรา 27 เมื่อพระภิกษุรูปใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ต้องคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 ให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก แต่ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น (2) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ (3) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง (4) ไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม พระภิกษุผู้ต้องคำวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสอง ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยนั้น Belief 1
การกำหนดโทษทางอาญา ในหมวด 7 http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=law2&folderName=%a401&lawPath=%a401-20-9998-update มาตรา 42 ผู้ใดมิได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ หรือถูกถอดถอนจากความเป็นพระอุปัชฌาย์ตามมาตรา 23 แล้ว กระทำการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี มาตรา 43 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 15 จัตวา วรรคสอง มาตรา 26 มาตรา ๒๗ วรรคสาม หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี Belief 1
การกำหนดโทษทางอาญา ในหมวด 7 มาตรา 44 ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องปาราชิกมาแล้วไม่ว่าจะมีคำวินิจฉัยตามมาตรา 25 หรือไม่ก็ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อพระอุปัชฌาย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี มาตรา 44 ทวิ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 44 ตรี ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่นอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกแยก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แสดงถึงการรับรองสิ่งที่กำหนดว่าผิดพรบ.สงฆ์ คือผิดทางอาญา แล้วศาสนาอื่นล่ะ?
กฎหมายไทย กับการคุ้มครองศาสนา กฎหมายอาญา (ประมวลกฎหมายอาญา) มีฐานความผิดเกี่ยวกับศาสนา ในภาค 2 ภาคความผิด ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา 204 – 208 มาตรา 206 การเหยียดหยามศาสนา “ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” Belief 1
กฎหมายอาญาในการคุ้มครองศาสนา มาตรา 207 การก่อความวุ่นวายในที่ประชุมศาสนิก ชน “ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิก ชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรม ตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 208 การแต่งกายเลียนแบบพระ “ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็น ภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใด โดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคล เช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” Belief 1
ข้อพิจารณา 1: ระบบการจัดการ? (เป็นอย่างไร? ควรมีหรือไม่?) ข้อพิจารณา 1: ระบบการจัดการ? (เป็นอย่างไร? ควรมีหรือไม่?) เราศึกษาหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ/นับถือศาสนากัน อย่างไร? การจัดการ จัดระบบของศาสนาเป็นอย่างไร? Belief 1
ข้อพิจารณา 2: แหล่งที่มาของการอุดหนุน? ข้อพิจารณา 2: แหล่งที่มาของการอุดหนุน? "ในปีงบประมาณ 2552 สำนักพุทธฯ ได้รับงบใน การสนับสนุนจากรัฐบาลดำเนินงาน 3,449 ล้าน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาใน ประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง เผยแพร่ในระดับ นานาชาติ รวมไปถึงพัฒนาระบบสารสนเทศให้ เป็นแหล่งค้นคว้าด้านพระพุทธศาสนา ล่าสุด ได้รับงบสนับสนุนด้านการศึกษาสงฆ์ในโรงเรียน พระปริยัติธรรมทั่วประเทศอีก 117 ล้านบาทด้วย” งบประมาณแผ่นดิน? http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/1825/3.11.pdf การใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน (มาจากไหน?) และใช้เงินนั้นอย่างไร? เป็นธรรมหรือไม่? Belief 1
ข้อพิจารณา 3: การผูกขาดอำนาจ ข้อถกเถียงในประเทศไทย เกี่ยวกับการบวชภิกษุณี ใครมีอำนาจตัดสิน และตัดสินอย่างไร? ศาสนาพุทธในประเทศไทย ต่างจากศาสนาพุทธที่อื่นได้หรือไม่? การเข้าถึงศาสนา ภายใต้มุมมองของgender ขอให้อ่านข่าวและบทความตาม link ต่อไปนี้: http://www.prachatai.com/journal/2014/12/57081 http://v1.midnightuniv.org/finearts2544/newpage1.html http://v1.midnightuniv.org/finearts2544/newpage01.html Belief 1
ข้อพิจารณา 4: ความศรัทธา? ความเชื่อของคน ส่งผลให้กระทำการอย่างใดได้บ้าง การจัดการกรณีวัดธรรมกายในวงการสงฆ์ ทาง การเมือง และทางกฎหมาย เสรีภาพในการนับถือศาสนา? การตอบโจทย์และยืนด้วยตัวเองได้? ตราบเท่าที่ไม่ใช่การฉ้อโกง หลอกลวง ขอให้อ่านบทวิจารณ์ต่าง ๆ ตามlinkนี้: https://thaidhammakaya.wordpress.com/ Belief 1
ข้อพิจารณา 5: ความคาดหวังต่อ การเป็นนักบวชต่างจากคนทั่วไปอย่างไร? พระยันตระ เณรแอ หลวงปู่เณรคำ Belief 1
Belief 1
ข้อพิจารณา 6: พุทธพาณิชย์? Belief 1
ข้อพิจารณา 7: พระกับการเมือง? Belief 1
Belief 1
Belief 1
พระสงฆ์กับการเมือง? หากการเมืองเป็นเรื่อของรัฐ – อาณาจักร เรา ควรจะให้นักบวชเข้ามามีบทบาทหรือไม่? การตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นในทางใด ที่สำคัญอยู่ที่เหตุผล และฐานคิดของเรา *** พระเลือกตั้งได้หรือไม่? แล้วพระต้องเกณฑ์ ทหารหรือไม่? การที่นักบวชเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ แล้ว ชักจูงผู้คนให้เกลียดชัง ต่างอย่างไรกับโอม ชินริเกียว? และ Hate Crime! Belief 1
ล่าสุด! พระมีไว้ทำไม? ทหารมีไว้ทำไม? กลไกของรัฐกับศาสจักร? Belief 1
ล่าสุด! ประเด็นการอยู่ร่วมกันของคนต่างศาสนา – การ ต่อต้านมุสลิม ของหลากหลายสังคม (หมายเหตุ – โรฮิงญา เป็นชาติพันธุ์ Islam is not race! http://news.muslimthaipost.com/news/28130 กลไกของรัฐกับศาสจักร? การขยายอำนาจของ รัฐเข้าไปในการจัดการศาสนจักร https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_24858 https://www.matichonweekly.com/column/article_24949 ความหวาดกลัวอิสลาม http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441442772 Belief 1
การอดทนอดกลั้น Tolerance Belief 1
สรุปประเด็นบทบาทของรัฐกับศาสนา หากมีการวาดโครงร่างแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาจจะได้ภาพดังนี้: สำนักงานพระพุทธศาสนา ตำรวจ /ทหาร งบประมาณ แผ่นดิน พระสงฆ์ เจ้าอาวาส มหาเถร รัฐ ประชาชน ศาสนจักร คนในศาสนาอื่น คนพุทธเคร่งศาสนา คนพุทธทั่วไป Belief 1
สรุปประเด็นบทบาทของรัฐกับศาสนา จากการพิจารณาถึงบทบาทการใช้อำนาจรัฐ เข้า มาจัดการศาสนา หรือการที่ศาสนาเข้ามามีอิทธิพล เหนือรัฐ ส่งผลอย่างไรต่อสังคม ควรมีการใช้อำนาจรัฐ ในการคุ้มครอง จัด ระเบียบในการดำเนินการทางศาสนาหรือไม่ หรือ ควรเป็นเรื่องขององค์กรทางศาสนาและศาสนิก ชนเป็นผู้ตัดสินใจ? ควรมีการประกอบธุรกิจ เพื่อให้คนในสังคมมีสิ่ง ยึดเหนี่ยวจิตใจหรือไม่ รูปแบบการจัดการควร เป็นอย่างไร? ในสังคมไทยควรมีการจัดระเบียบความเชื่อและ ศาสนาหรือไม่ อย่างไร – ในขณะที่มีองค์กรที่ ผูกขาดอำนาจในการจัดการศาสนา แต่ก็กระทบ ต่อเสรีภาพในการนับถือศาสนาเกินไปหรือไม่? Belief 1
สรุปประเด็นบทบาทของรัฐกับศาสนา (ต่อ) “ศาสนา” ในยุคปัจจุบันคืออะไร เป็นอย่างไร – อะไรคือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมปัจจุบัน คนโหยหาบุญขนาดนั้นเลยหรือ บุญอยู่ที่ไหน? เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพทางความคิด ความเชื่อ ของไทยอยู่ตรงไหน? ควรกำหนดให้ “ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ” ไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่? หากเป็นเช่นนั้น จะก่อผลอย่างไร? เราควรคิด วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้กันอย่างไร ด้วยเหตุผลและหลักการอย่างไร? อ่านเพิ่มเติม: http://www.prachatai.com/journal/2015/03/58160 http://www.prachatai.com/journal/2015/02/58086 Belief 1
เอกสารอ่านประกอบ พิพัฒน์ พสุสารชาติ. รัฐกับศาสนา: บทความว่า ด้วย อาณาจักร ศาสนจักร และเสรีภาพ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 2545. หน้า 53 – 61, 274 – 291, 312 – 333. สมชาย ปรีชาศิลปกุล. “จารีตประเพณีและพหุ นิยมทางกฎหมาย” ใน นิติศาสตร์ไทยเชิงวิพากษ์ กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549. หน้า 37 – 64. Belief 1