งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินหลังเกษียณ สำหรับข้าราชการไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินหลังเกษียณ สำหรับข้าราชการไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินหลังเกษียณ สำหรับข้าราชการไทย
กลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินหลังเกษียณ สำหรับข้าราชการไทย โดย โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ วันที่ 27 มีนาคม 2556

2 ครอบครัวจะมีความสุขก็ต่อเมื่อ...
หลักธรรมสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเป็นสุขพึงหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ (ท่าน ว.วชิรเมธี) การขาดความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน การขาดความอดทนที่จะร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วยกัน การขาดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การขาดการเข้าใจในการสื่อสารระหว่างกันและกัน

3 สุขภาพทางการเงินนับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ
ปัจจุบันการเงินจัดเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้สะดวก โดยเราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและสภาพคล่องด้านการเงินเพื่อ  บรรลุเป้าหมายที่สำคัญในอนาคต เช่น การเตรียมเงินให้แก่บุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ การเตรียมเงินสำหรับวัยเกษียณ  สำหรับรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย การตรวจสุขภาพการเงินพิจารณาได้จาก  สภาพคล่อง: การเปรียบเทียบรายรับและรายจ่าย  ความสามารถในการบริหารหนี้สิน: เปรียบเทียบสินทรัพย์กับหนี้สิน  ความมั่งคั่ง: วัดระดับการออมและการลงทุน การออมและการลงทุน ช่วยสร้างสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง

4 การออมและการลงทุนสร้างสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง
รายได้ ค่าใช้จ่าย เงินออม โทรศัพท์มือถือใหม่ ผ่อนรถ ค่ารักษาพยาบาล เที่ยวต่างประเทศ ซื้อบ้าน ลงทุนเตรียมเพื่อวัยเกษียณ

5 เพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพทางการเงินโดย...
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ท่องเที่ยวน้อยลง หรือหาแหล่ง แหล่งท่องเที่ยวใกล้บ้าน ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน เพี่มรายได้จากสินทรัพย์ ใช้พื้นที่บริเวณบ้าน เปิดเป็นคลินิคหรือ ร้านขายยา อย่าตัดสินใจซื้อเพราะ Sale ซื้อเท่าที่จำเป็น “เก็บให้ง่าย จ่ายให้ยาก” แบ่งที่ดินหรือบ้านให้เช่า ถ้าอยู่ใกล้ที่ทำงาน โดยสารรถประจำทาง แทนรถยนต์ส่วนตัว หารายได้เสริม ฝึกอาชีพ ทำขนม ทำกับข้าวขาย หรือฝึกงานฝีมือทำผลิตภัณฑ์ขาย รีไฟแนนซ์ เพื่อจ่ายดอกเบี้ยถูกลง แต่ต้องพิจารณาค่าธรรมเนียมอื่นด้วยว่าคุ้มหรือไม่ นำเงินออมไปลงทุน นำเงินออมในแต่ละเดือนมาลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้เงินงอกเงยและสร้างความมั่งคัง

6 เริ่มออมเร็วเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี
เปรียบเทียบ นาย ก. และ นาย ข. ที่มีประวัติเหมือนกัน อายุ 25 ปี เงินเดือน 15,000 บาท เกษียณ อายุ 60 ปี ระยะเวลาออม 35 ปี ผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ย 7% แต่ออมเงินกับ กบข. ไม่เท่ากัน นาย ก 3% (450 บาท) / เดือน นาย ข. 15% (2,250 บาท) / เดือน เมื่อเกษียณ นาย ก. ได้รับเงิน 780,000 บาท นาย ข. ได้รับเงิน 3,800,000 บาท หลักการบริหารเงินออมสมาชิก กบข. “ดอกเบี้ยทบต้น” ดอกเบี้ยทบต้นช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

7 ? ทำไมคนไทยต้องเริ่มออม

8 โครงสร้างประชากรโลกเปลี่ยนไปเข้าสู่สังคมวัยชรา
Source: UN

9 อายุเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น
ใช้ชีวิตหลังเกษียณ อีก 20ปี ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

10 คนไทยที่เกษียณต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น
แหล่งรายได้ของคนชรา รายได้เพียงพอหรือไม่ ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ  ในอนาคตผู้สูงอายุ หรือคนที่เกษียณจะต้องพึ่งพาอาศัยตนเองมากขึ้นในการดำรงชีพ เนื่องจากโครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนเป็น Micro Family

11 อาวุธคู่กายสำหรับการบริหารเงินลงทุน
ความรู้ด้านการเงิน อาวุธคู่กายสำหรับการบริหารเงินลงทุน

12 ความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy)
 ประชาชนต้องพึ่งตนเองมากขึ้นเพื่อความพอเพียงในวัยเกษียณ จึงต้องมีความรู้ด้านการเงินเพื่อมาช่วยในการลงทุนการออม รู้จักตัวเอง (Know Yourself) รู้จักเครื่องมือ (Know the Vehicles) รู้จังหวะลงทุน (Know the Markets)

13 รู้จักตัวเอง (Know Yourself)
กำหนดเป้าหมายการออมและระดับความเสี่ยงที่รับได้ รวมถึงข้อจำกัดในการลงทุน เช่น เป้าหมายที่ต้องการได้รับจากการลงทุน (Investment Objective) เช่น ให้เพียงพอกับรายจ่ายของครอบครัวในอนาคต ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) คุณต้องการรายได้จากเงินลงทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายด้วยไหม? คุณ จำเป็นต้องถอนเงินที่นำไปลงทุนภายในระยะเวลาอันสั้น หรือไม่? (Liquidity Concern) ตรวจสุขภาพทางการเงิน  รู้สถานะสินทรัพย์และหนี้สิน ของตนเอง รวมทั้งเรียนรู้การบริหารรายรับรายจ่าย

14 รู้จักตัวเอง (Know Yourself)
. อายุ ? การยอมรับความเสี่ยง? ผลตอบแทนที่ต้องการ? ระยะเวลาการออม กบข มีสวัสดิการต่างๆ มากมายเพื่อประโยชน์ให้กับสมาชิก กบข. สวัสดิการต่างๆ แยกเป็น 3 กลุ่ม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความสุข สมาชิกสนใจใช้บริการเช็ครายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ กบข หรือสืบค้นคำว่า “กบข” จาก google จะขึ้นเป็นชื่อแรก

15 รู้จักเครื่องมือ (Know the Vehicles)
เรียนรู้และเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของตราสารการเงินประเภทต่างๆ ว่า  ให้ผลตอบแทนอย่างไร? และมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?  สร้างความเข้าใจว่าไม่มี การลงทุนใดที่สามารถจะอยู่ยั่งยืน ได้ตลอดไปในทุกสถานการณ์ (all-season assets) เช่น หุ้นจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในเศรษฐกิจขาขึ้น แต่มีความเสี่ยงสูง ในขณะที่พันธบัตรจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในช่วงตลาดขาลงและมีความเสี่ยงที่ต่ำ อสังหาริมทรัพย์สามารถใช้เพื่อลดผลกระทบจากเงินเฟ้อ

16 โอกาสสร้างผลตอบแทนสูง
รู้จักเครื่องมือ (Know the Vehicles) โอกาสสร้างผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงสูง การฝากเงินกับธนาคาร พันธบัตรระยะสั้น พันธบัตรระยะยาว หุ้นกู้เอกชน อสังหาริมทรัพย์ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ

17 รู้จังหวะลงทุน (Know the Markets)
เป็นการมองภาพรวม ซึ่งเปรียบได้กับ “แผนที่นำทาง” (roadmap) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ และสามารถบริหารความเสี่ยงภายใต้สภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้ เข้าใจธรรมชาติของตลาดลงทุนทุน ซึ่งเป็น “เหตุผล” ที่ทำให้จำเป็นต้องมีการโยกย้ายเงินทุนกลับไปกลับมาระหว่างตลาดตราสารการเงินประเภทต่างๆ ในสถานการณ์ต่างๆ นักลงทุนมืออาชีพ รวมทั้ง กบข. เป็นผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาและบริหารเงินลงทุนให้แก่ผู้ออมได้ในส่วนนี้

18 การบริหารเงินออมและการลงทุนในระยะยาว

19 เงินเฟ้อ.....ศัตรูสำคัญเงินออมและการลงทุนระยะยาว
การออมเงินกับธนาคารเพียงอย่างเดียวอาจะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องลงทุน เนื่องจากค่าของเงินลดลงทุกวัน ปี อัตราเงินเฟ้อ 2% 3% 4% 6% 8% 100 5 90.57 86.26 82.19 74.73 68.06 10 82.03 74.41 67.56 55.84 46.31 15 74.30 64.16 55.53 41.73 31.52 20 67.30 55.37 45.64 31.18 21.15 25 60.95 47.76 37.51 23.30 14.60 30 55.21 41.20 30.83 17.41 9.94

20 ความเสี่ยง VS ผลตอบแทนจากการลงทุน
แต่ผลตอบแทนระยะสั้นอาจผันผวน มีติดลบบ้าง แต่เงินออมอาจไม่พอใช้ในอนาคต

21 ความเสี่ยง VS ผลตอบแทนจากการลงทุน (2)
ผลตอบแทนการลงทุนในช่วงปี 2000 ถึง 2012 หุ้นไทย SET 50  172% พันธบัตรรัฐบาลไทย  105% หุ้น ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่มีความผันผวนมากกว่า จะเห็นว่ามีโอกาสติดลบบ่อย แต่สร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สูง พันธบัตร ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอกว่า แต่สร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ต่ำกว่าหุ้น ซึ่งอาจทำให้เงินออมไม่พอเพียงในอนาคต

22 ความเสี่ยง VS ผลตอบแทนจากการลงทุน (3)
ควรกระจายเงินลงทุนไปในหลายสินทรัพย์  เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง  สร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอให้กับการลงทุน

23 แต่ละคนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ
บริหารเงินลงทุนให้เหมาะสมตามช่วงอายุ แต่ละคนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ

24 บริหารเงินลงทุนให้เหมาะสมตามช่วงอายุ (2)
หลักทรัพย์เสี่ยง เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทน หลักทรัพย์มั่นคง เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนเมื่ออายุน้อย ลดความเสี่ยงเมื่อใกล้เกษียณ มีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับช่วงอายุ เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเมื่ออายุน้อยรับความเสี่ยงได้มาก และลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตลาดเมื่อใกล้เกษียณ

25 การบริหารเงินลงทุนของ กบข.

26 เงินสมาชิกที่นำส่งต่อ กบข.

27 ผลประโยชน์หลังเกษียณที่สมาชิก กบข. ได้รับ
จาก กบข. จากกรมบัญชีกลาง เงินออมของสมาชิก รวมทั้งผลตอบแทนที่เกิดจริงขึ้นทั้งหมด เงินบำนาญสูตรใหม่ สมาชิก กบข.

28 เป้าหมายการลงทุนของ กบข.
สร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สม่ำเสมอ และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ดีของสมาชิก คำนึงถึงความเสี่ยงทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ความผันผวนของผลตอบแทนในระยะสั้นรายปี  การสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ต่ำเกินไปจนทำให้เงินออม ของสมาชิกไม่พอเพียงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ

29 กระบวนการการตัดสินใจลงทุนของ กบข.
วางวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์และวิธีจัดการเงินกองทุน อนุมัตินโยบาย อนุมัติการดำเนินงานลงทุน ระดับนโยบาย ติดตามผลการดำเนินงาน กลั่นกรอง / ให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการ อนุมัติการลงทุนตามที่ได้รับมอบหมาย เสนอนโยบายกลยุทธ์ / ปรับเปลี่ยน ให้เหมาะกับสถานการณ์ คัดเลือก / ดำเนินการลงทุน ให้ได้เงื่อนไขดีที่สุด พ.ร.บ. กบข. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ จัดการลงทุน คณะจัดการกลยุทธ์ด้านการลงทุน ทีมงานเจ้าหน้าที่

30 กรอบกฎหมายที่เป็นข้อจำกัดการลงทุนของ กบข.
พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ≥ 60% กฎกระทรวง การลงทุนในต่างประเทศ ≤ 25% การลงทุนในตราสารทุน ≤ 35% การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ≤ 8%

31 แนวทางการจัดพอร์ตลงทุนของ กบข.
กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ คำนึงถึงความเสี่ยงทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ความผันผวนของผลตอบแทนในระยะสั้นรายปี  การสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ต่ำเกินไปจนทำให้เงินออม ของสมาชิกไม่พอเพียงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ จัดทำแผนการลงทุนระยะยาว (SAA) โดยกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และกระจายไปในต่างประเทศ ตามคุณสมบัติของสินทรัพย์และวัฎจักรเศรษฐกิจ

32 แนวคิดการจัดสรรการลงทุนระยะยาว (SAA)
การจัดกลุ่มตามบทบาทของสินทรัพย์ต่อวัฎจักรเศรษฐกิจ

33 ทำไมจึงต้องลงทุนในต่างประเทศ
ความจำเป็นในการกระจายความเสี่ยง กระจายความเสี่ยงจาก Macro Risk/Country Risk ของไทย ตลาดการเงินในประเทศมีขนาดเล็ก สภาพคล่องต่ำ ขนาดกองทุนกบข. ประมาณ 5 แสนล้านบาท ขนาดตลาดตราสารหนี้ ประมาณ 7 ล้านล้านบาท ขนาดตลาดตราสารทุน ประมาณ 10 ล้านล้านบาท ขนาดตลาดตราสารทุนโลก (MSCI AC World Market CAP ~ 1,100 ล้านล้านบาท)

34 ผลการลงทุนระยะยาวของ กบข.
ผลตอบแทนเปรียบเทียบกับ เงินฝาก และอัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลสิ้นสุดปี 2555 ผลจากการทำการลงทุนผ่านกระบวนการทำ SAA ทำให้ กบข. สร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สม่ำเสมอ และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนของ กบข.

35 บริการเสริมด้านเงินออมของ กบข.

36 การบริการเพิ่มเติมด้านเงินออมจาก กบข.
ออมเพิ่ม ออมต่อ แผนทางเลือก

37 12 3 บริการออมเพิ่ม ออมเพิ่ม “สมัครใจ” ออมตามกฎหมาย
ประโยชน์ของ “ออมเพิ่ม” ลดภาษีสามารถนำไปรวมกับ RMF ได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เพิ่มมูลค่าเงินออม ได้ประโยชน์จาก “พลังดอกเบี้ยทบต้น” ออมเพิ่มแต่เนิ่นๆ ได้ประโยชน์ยาวนาน เกิดวินัยการออม (ออมก่อนใช้เป็นจริงได้กว่าใช้ก่อนออม) ***กลไกสำคัญเพิ่มมูลค่าเงินออม *** ออมมากพอ (เงินต้นมาก) ออมนานพอ (ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้น) ลงทุนเป็น (เสี่ยงเป็นตามจังหวะชีวิต)

38 บริการออมต่อ / ขอทยอยรับเงิน
จุดประสงค์: เพิ่มทางเลือกให้กับสมาชิกในการขอรับเงินคืน และช่วยบริหารจัดการเงินออมหลังเกษียณอายุ รับทั้งจำนวน โอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนเพิ่มการชราภาพอื่น ฝากเงินให้ กบข. บริหารต่อ ทยอยรับเงิน ขอรับเงินบางส่วน ส่วนที่เหลือทยอยรับ ขอรับเงินบางส่วน ส่วนที่เหลือให้ กบข. บริหารต่อ สิทธิประโยชน์: หนึ่งในช่องทางการลงทุนหลังเกษียณอายุ สร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบ Annuity ที่ช่วยเพิ่มวินัยให้สมาชิกมีเงินใช้อย่างเพียงพอในวัยเกษียณ ช่วยหลีกเลี่ยงการลดมูลค่าของเงินออมในกรณีที่ขอรับเงินคืนในช่วงที่ตลาดลงทุนมีความผันผวนสูง

39 “หยุดทำงาน อย่าหยุดทำเงิน” ทางเลือกใช้บริการออมต่อ
ออมต่อ “บริการเพิ่มค่าเงินออมหลังเกษียณ” จำนวนประชากร (หน่วย: ล้านคน) “หยุดทำงาน อย่าหยุดทำเงิน” เฉลี่ย 75 ปี เฉลี่ย 80 ปี ทำงาน 40 ปี ไม่ทำงาน ปี ทางเลือกใช้บริการออมต่อ ออมเต็มจำนวน. นำออกไปก้อนหนึ่งที่เหลือออมต่อ, นำออกไปก้อนหนึ่ง ที่เหลือทยอยรับ, ทยอยรับเป็นงวดๆ ทุกเดือน อายุประชากร (หน่วย: ปี) ที่มา: สนง.สถิติแห่งชาติ ปี 2554

40 บริการแผนทางเลือกการลงทุน
แผนผสมหุ้นทวี แผนหลัก แผนตราสารหนี้ แผนตลาดเงิน ตราสารทุน 35% ตราสารหนี้ 57.5% อสังหาริมทรัพย์ 7.5% ตราสารทุน 22% ตราสารหนี้ 70.5% ตราสารทุน 0% ตราสารหนี้ 100% อสังหาริมทรัพย์ 0% ตราสารหนี้ระยะสั้น 100% “โอกาสสร้างผลตอบแทนเล็กน้อย” “ต้องการเงินงอกเงย รับความผันผวนได้” “ให้ดอกผลพอเพียงบนความเสี่ยงที่เหมาะสม” “เน้นคุ้มครองเงินต้น” กบข มีสวัสดิการต่างๆ มากมายเพื่อประโยชน์ให้กับสมาชิก กบข. สวัสดิการต่างๆ แยกเป็น 3 กลุ่ม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความสุข สมาชิกสนใจใช้บริการเช็ครายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ กบข หรือสืบค้นคำว่า “กบข” จาก google จะขึ้นเป็นชื่อแรก *เงินที่สามารถนำมาเปลี่ยนแผนลงทุนได้คือเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์

41 กบข. เสนอบริการแผนทางเลือกการลงทุนใหม่
แผนสมดุลตามอายุ “Life Path Choice” หลักการ: อายุน้อย..เสี่ยงมาก อายุมาก..เสี่ยงน้อย วิธีการ: ความเสี่ยงจะถูกปรับลดลงอัตโนมัติ พร้อมให้บริการสมาชิกปีนี้ หลักทรัพย์เสี่ยง เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทน หลักทรัพย์มั่นคง

42 ทางเลือกการออมและการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

43 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
เป็นกองทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนออมเงินเพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยกองทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์หลายรูปแบบ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และทองคำ เป็นต้น ลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปี และเมื่อรวมกับยอดเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท หากลงทุนในกองทุน RMF แล้ว จะต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนอย่างต่ำ 5 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุนวันแรก โดยไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกิน 1 ปีติดต่อกัน หากขายหน่วยลงทุนกองทุน RMF ก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และ/หรือลงทุนน้อยกว่า 5 ปี จะถือว่าผิดเงื่อนไข และต้องคืนภาษีที่เคยขอลดหย่อนไว้

44 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ผู้เอาประกันจะได้รับทั้งความคุ้มครองชีวิตและผลตอบแทนจากการออมเงิน โดยประกันชีวิตจะมีเงินคืนให้กับผู้เอาประกันในช่วงที่ประกันชีวิตให้ความคุ้มครอง ทั้งนี้ รูปแบบของเงินคืนจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันชีวิต ค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ในแต่ละปีจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับประกันชีวิตที่ออกตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป ประกันชีวิตที่สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตมีความคุ้มครองตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ออกโดยบริษัทที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในประเทศไทย หากกรมธรรม์ประกันชีวิตมีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม ค่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมดังกล่าว ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

45 สิทธิพิเศษในฐานะสมาชิก กบข.

46 สวัสดิการสมาชิก กบข. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความสุข แค่โชว์บัตร
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ แค่โชว์บัตร ก็รับสิทธิ์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความสุข

47 ช่องทางการติดตามข้อมูลต่าง ๆ ของ กบข.
ช่องทางการตรวจสอบยอดเงิน GPF Web Service Contact Center 1179 ATM ธนาคารกรุงไทย ช่องทางการติดตามการขอรับเงินคืน Contact center 1179 ช่องทางการขอรับแบบฟอร์ม ขอรับเงินคืนจากกองทุน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มจาก โทร 1179 กด 0 ผ่านเครื่องโทรสาร ฝ่ายทะเบียนสมาชิกด้านจ่าย เพื่อจัดส่งแบบฟอร์มทางไปรษณีย์

48 สรุป การลงทุนของ กบข. เป็นสมาชิก กบข. แล้วได้อะไร
ได้ออมเงินอย่างเป็นระบบ 3% ออมเข้าบัญชีตัวเอง ได้เงินจากรัฐช่วยออม (เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม) ได้ผลตอบแทนการลงทุนจากเงินออมเฉลี่ย 7% ได้ลดหย่อนภาษีจากเงินออมทั้งหมด การลงทุนของ กบข. ต้องลงทุนภายในกรอบ พรบ. กบข. กฎกระทรวงและเกณฑ์ภายในสำนักงาน กบข. จำเป็นต้องลงทุนในหุ้น ลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทน บริการจาก กบข. ออมเพิ่มอีก 12% เพื่อประโยชน์จากดอกเบี้ยทบต้น เกิดวินัยการออม และลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น ออมต่อ บริการเพิ่มมูลค่าเงินออมหลังเกษียณ หรือรอจังหวะเมื่อภาวะเศรษฐกิจดี เปลี่ยนแผนลงทุน บริการบริหารเงินออมตามระดับความเสี่ยงของสมาชิก แผนสมดุลตามอายุ แผนใหม่ ง่าย สะดวก ปรับลดความเสี่ยงให้อัตโนมัติเมื่อสมาชิกอายุเพิ่มขึ้น สวัสดิการ / โครงการ / บริการอื่นๆ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความสุข รายละเอียดมีในเว็บไซต์ โครงการพันธมิตรวิทยากร โครงการวิทยากรตัวแทน บริการเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคล เช็คยอด

49 ขอให้สมาชิก กบข. ทุกท่านมีความสุขตลอดไป
ขอขอบคุณและ ขอให้สมาชิก กบข. ทุกท่านมีความสุขตลอดไป


ดาวน์โหลด ppt กลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินหลังเกษียณ สำหรับข้าราชการไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google