การคุ้มครองผู้บริโภค โดย อาจารย์วิภาดา ศรีเจริญ
สคบ. คืออะไร
สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. คือ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค
ความหมายของผู้บริโภค การบริโภค หมายถึง กิน เสพ ใช้สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย และรวมถึง การจับจ่ายใช้สอย การซื้อสิ้นค้า และ การใช้บริการต่าง ๆ ผู้บริโภค คือใคร ผู้บริโภค คือ คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง คนปกติหรือคนป่วยต่างก็เป็นผู้บริโภคเพราะเป็น ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้สินค้า ผู้ซื้อบริการผู้ใช้บริการ ทั้งสิ้น
ผู้บริโภค ก่อนเกิด ขณะเกิด ตายแล้ว จ่ายเงินและทรัพย์สินหรือแรงงานไปเพื่อสนองความต้องการของกิน ของใช้และบริการต่าง ๆ
อันตรายของปัจจัย อันตรายของปัจจัย แบ่งตามลักษณะของปัจจัย ได้แก่ 1. เครื่องบริโภค (ของกิน) 2. เครื่องอุปโภค (ของใช้) 3. บริการต่าง ๆ แบ่งตามลักษณะของสุขภาพ ได้แก่ อันตรายทางกาย ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค สิ่งเสริมสวย อันตรายทางจิตใจ ได้แก่ หนังสือที่ขัดต่อศีลธรรม ภาพยนตร์ลามก ราคาที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ อันตรายทางสังคม ได้แก่ การจัดบริการที่ไม่ดีพอและไม่ทั่วถึง อันตรายของปัจจัย
สาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ ขาดความรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ผู้ขายเอาเปรียบ ฯลฯ นิสัยของผู้บริโภค นิยมของแพง ไม่ต่อราคา ซื้อชิงโชค ซื้อยี่ห้อ ไม่พิจารณาคุณค่า ฯลฯ ชอบซื้อของถูก ต้องการของแถม ลังเล ไม่มีหลักเกณฑ์ในการซื้อ ตามโฆษณา
สาเหตุของการซื้อ 1. นึกอยากได้ก็ซื้อ 2. ไม่จำเป็นก็ซื้อ 3. เห็นคนอื่นซื้อก็ซื้อบ้าง 4. ตนก็มีเงินซื้อเหมือนกัน 5. ซื้อโดยบังเอิญ 6. เห็นราคาถูกก็ซื้อ 7. ซื้อเพื่อให้ทันสมัย 8. ซื้อเมื่อจำเป็น
สาเหตุที่ต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค 1. สินค้าและบริการมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน 2. ผู้บริโภคขาดความรู้ 3. ผู้บริโภคมักประสบปัญหาในการพิจารณาคุณภาพสินค้าด้วยตนเอง 4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 5. เจ้าหน้าที่รัฐบาลหรือองค์กรที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนไม่มีบทบาทเท่าที่ควร
จุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค 1.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจ 2.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา 3.เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสินค้าหลายชนิดผลิตขึ้นแบบไม่คุณภาพ 4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
สิทธิของผู้บริโภค ใน ปี ค.ศ.1962 สหรัฐอเมริกาได้มีประกาศสิทธิและมาตรการเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้บริโภค 7 ประการ ดังนี้ 1. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย 2. สิทธิที่จะได้รับความรู้ 3. สิทธิที่จะได้เลือกซื้อสิ่งที่จะใช้อุปโภคและบริโภคในราคายุติธรรม 4. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม 5. สิทธิที่จะได้รับค่าชดใช้ความเสียหาย 6. สิทธิที่จะได้รับการบริโภคศึกษา 7. สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด
สิทธิของผู้บริโภค 1. สิทธิของผู้บริโภค พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย พ.ศ. 2552 ปรับปรุงเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2541 ได้กำหนดว่าผู้บริโภค มีสิทธิ 3 ประการ คือ 1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับพิจารนาและชดเชยความเสียหาย
ผู้บริโภคมีหน้าที่ต้องรักษาประโยชน์ของตนเอง ดังนี้ 1.ก่อนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ 1. ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบฉลาก ปริมาณ ราคา แหล่งกำเนิด อย่าหลงเชื่อ 2. เมื่อทำสัญญาผูกพันตามกฎหมายต้องตรวจสอบความหมายของภาษาว่าให้ประโยชน์ครบถ้วนตามข้อตกลง 3. ข้อตกลงที่สำคัญควรทำเป็นหนังสือสัญญา มีลายมือชื่อขงผู้ประกอบการ 2.หลังการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ 1. เก็บรักษาหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิ 2. เก็บเอกสารสัญญา หรือใบสำคัญต่าง ๆ 3. ทำได้ คือ การร้องเรียนในนามตนเอง ผ่านช่องทางต่างๆ
หน้าที่ของผู้บริโภค 1. ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อ สินค้าและรับบริการต่าง ๆ 2. ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้เพื่อทำการเรียกร้องตามสิทธิของตน 3. เมื่อเกิดมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการ ดำเนินการร้องเรียนตามสิทธิของตน
สาระสำคัญพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 1. คำจำกัดความ 1. ผู้บริโภค หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ 2. ซื้อ หมายความรวมถึง ให้เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาโดยให้ค่าตอบแทน 3. ขาย หมายความรวมถึง ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้โดยเรียกค่าตอบแทน 4. สินค้า คือ สิ่งของที่ผลิต หรือ มีไว้เพื่อขาย 5. บริการ หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิ 6. ข้อความ หมายถึง อักษรที่ปรากฏเป็นภาพ แสง สี 7. โฆษณา หมายถึง การกระทำให้ประชนเห็นข้อความ เพื่อประโยชน์ทางการค้า 8. ฉลาก หมายความถึง รูป หรือสิ่งอื่นที่ทำให้ข้อความที่ปรากฎเกี่ยวกับสินค้า
2. มาตราทั่วไป 1. มาตรา 4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง 2. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 3. การคุ้มครองด้านการโฆษณา 4. การคุ้มครองด้านฉลาก 5. การคุ้มครองด้านสัญญา 6. การคุ้มครองด้านอื่น ๆ 7. การลงโทษ
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พระราชบัญญัติยา พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์
เครื่องหมายมาตรฐานเพื่อผู้บริโภค เครื่องหมายที่ผู้ผลิตทั่ว ๆ ไป สามารถจะยื่น เรื่องขอรับได้ที่ สำนักงานมาตรฐาน อุตสาหกรรม เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มี กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจ ของประเทศ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น
เครื่องหมายมาตรฐานเพื่อผู้บริโภค เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความ ปลอดภัย เป็นเครื่องหมายที่แสดงบน ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัย ในการใช้ งานตามมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เป็น เครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณสมบัติในการช่วยการรักษา สภาพแวดล้อม ตามมาตรฐานเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมของ ประเทศ
เครื่องหมายมาตรฐานเพื่อผู้บริโภค เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ ทางแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเครื่องหมาย ที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้า กันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ตามมาตรฐานเฉพาะ ด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า
หลักการซื้อผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคควรมีข้อพิจารณาและหลักในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1. การพิจารณาถึงความจำเป็นและความต้องการที่ แท้จริง 2. การพิจารณาถึงชนิด คุณลักษณะ และปริมาณ ของสินค้า 3. การพิจารณาถึงจังหวะเวลาและความเหมาะสม 4. การพิจารณาเกี่ยวกับผู้ขาย