ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ประเทศไทย กับ ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว
แล้วแผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร ? จากลักษณะทางธรณีวิทยา ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเขตแผ่นดินไหวและอยู่นอกรอยต่อของแผ่นธรณีจึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทย แล้วแผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร ? สาเหตุที่1 แผ่นดินไหวในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผลจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นอกประเทศแล้วสั่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย แนวศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่อยู่นอกประเทศ เช่น บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว ทะเลอันดามัน และตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ซึ่งบริเวณเหล่านี้มักเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่อยู่เป็นประจำ เพราะอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลก แม้ว่าจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะค่อนข้างไกล แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่จึงส่งแรงสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้างและส่งผลกระทบมายังประเทศไทย
สาเหตุที่2 นอกจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนอกประเทศแล้ว ยังมีแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเนื่องจากรอยเลื่อนมีพลังซึ่งเป็นรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่ยังสามารถเคลื่อนที่ได้ ในประเทศที่ยังเคลื่อนตัวอยู่รอยเลื่อนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสุดของประเทศมีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ
รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่นและจังหวัดแพร่ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้นและอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร
รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร
รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร รอยเลื่อนคลองมะรุย รอย เลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วังและแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร
บริเวณใดในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว จากการศึกษารอยเลื่อนมีพลังจะทำให้ทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวที่ มักจะปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ตามแนวรอยเลื่อน เช่น การเคลื่อนที่ของชั้นตะกอนและดินจากบริเวณรอยเลื่อนสามารถนำกลับมาคำนวณหาคาบอุบัติซ้ำ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้มีแนวทางที่สามารถพยากรณ์ การเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้ บริเวณใดในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว สูงกว่าบริเวณอื่น? 1.บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย
2.บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น บริเวณที่เคยมีแผ่นดินไหว เว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก เนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวจะมีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและมักจะมีรอยของการเกิดที่เรียกว่า คาบอุบัติซ้ำ หมายถึงระยะครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นแล้วกลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก อาจเป็นรอบร้อยปี พันปี หรือน้อยกว่านั้น 3.บริเวณที่เป็นดินอ่อน บริเวณที่เป็นดินอ่อนสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา บริเวณที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะแถบจังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เนื่องจากชั้นดินมีความอ่อนตัวมากกว่าแถบอื่น
การติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2506 ประเทศไทยมีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวครั้งแรกและได้มีการรายงานแผ่นดินไหวหลายครั้ง เช่น - เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ใกล้กับรอยเลื่อนเมย-วังเจ้า - ใกล้อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 คนในทุกจังหวัดภาคกลางและภาคเหนือรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน เกิดความเสียหายที่บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหวและกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีตำรวจวัดแผ่นดินไหว 20 แห่ง จึงตรวจวัดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้งขึ้น พบว่ามีแผ่นดินไหวขนาดที่รู้สึกได้แต่ไม่รุนแรง เกิดขึ้นเฉลี่ยประมาณ 5-6 ครั้งต่อปี
สำหรับประเทศไทยกรมทรัพยากรธรณีได้มีการสำรวจและกำหนดเขตพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวระดับต่างๆ กรมทรัพยากรธรณีได้เผยแพร่แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศในปี พ.ศ. 2538 และ ได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 เพื่อใช้ควบคุมการออกแบบอาคารให้สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนต่อแผ่นดินไหวได้ ขณะนี้ใช้บังคับเฉพาะกับอาคารสาธารณะที่มีประชาชนใช้สอยมากและสำหรับประเทศไทยกรมทรัพยากรธรณีได้มีการสำรวจและกำหนดเขตพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวระดับต่างๆ ส่วนอาคารทั่วไปจะใช้บังคับกับอาคารที่สูงเกิน 15 เมตร (ประมาณ 5 ชั้น) ขึ้นไป จังหวัดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมี 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ตาก และกาญจนบุรี