การวิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวชี้วัด วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ท ๔.๑ ม. ๔-๖/๗)
ลักษณะการใช้ภาษาที่ปรากฎ ๑.ใช้ภาษาพูด ลักษณะการใช้ภาษาที่ปรากฎ ๑.ใช้ภาษาพูด ชาวบ้านจ๊าก นํ้ามันพุ่ง ลิตรละ ๒๓.๕๙ หลินปิง “อ้วนปุ๊กลุก” เตรียมหัดเดิน เรือใบจุก “ เตเบซ-บินโญ” นัดกันเดี้ยง เกมทีมชาติ
๒. ใช้ภาษาเร้าใจ พูนสวัสดิ์มั่นใจสยบแชมป์ตัวจริงกระชาก เข็มขัดโลก โอบาม่า “จวกแหลก” วอลล์สตรีท ชี้ ไม่ใส่ใจบทเรียน “เลห์แมน” ล้ม (จวก คือ ว่าหรือตำหนิอย่างรุนแรง)
๓. คำที่มีความหมายแฝง มักใช้พาดหัวข่าว “สุมิท” ยอมไขก๊อก ผอ.พอเพียง (ไขก๊อก หมายถึง เลิกล้ม เลิกดำเนินการ) ปัญหาการศึกษาชายแดนใต้กับโจทย์ที่ยังตีไม่แตก (โจทย์ที่ยังตีไม่แตก หมายถึง ยังสรุปไม่ได้)
๔. ใช้อักษรย่อมากเกินไป อาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ “คนร้ายบึ้ม ขรก. - ตร. - ชบ. หนีกระเจิง” ขรก. คือ ข้าราชการ ตร. คือ ตำรวจ ชบ. คือ ชาวบ้าน
๕. ใช้คำทับศัพท์ เขาลงสมัคร ส.ส. ในระบบปาร์ตีลิสต์ (ปาร์ตีลิสต์ หมายถึง การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ) นักร้องคนนี้โกอินเตอร์ไปเป็นนักร้องเกาหลี (โกอินเตอร์ หมายถึง การเผยแพร่หรือแสดง ในต่างประเทศ)
๖. ใช้การตัดคำ แก้ฉกเป๋า นักท่องเที่ยว ตั้ง สน.สุวรรณภูมิ (เป๋า คือ กระเป๋า) เด็กไทยเจ๋งคว้า ๒ ทอง แข่งช่างโลก (ทอง คือ เหรียญทอง)
๗. ใช้สมญานาม คือการตั้งชื่อเพื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันและน่าสนใจ “เมืองผู้ดีเอาชนะแดนปลาดิบไปได้ ๓ ประตูต่อ ๒” เมืองผู้ดี คือ ประเทศอังกฤษ แดนปลาดิบ คือ ประเทศญี่ปุ่น
๘. ใช้คำสแลง คือ คำที่ไม่ได้ใช้ความหมาย ตรง เป็นความหมายใหม่ บุรีรัมย์นัดฟาดแข้งกับโคราชวันเสาร์นี้ (ฟาดแข้ง คือ ลงสนามเตะฟุตบอล) เกิดสงครามนํ้าลายในการประชุมนัดนี้ (สงครามนํ้าลาย คือ การโต้เถียงเรื่องไร้สาระ)
๙.ใช้คำกริยาขึ้นต้นประโยค โผล่ แล้ว จระเข้เขาใหญ่ ไม่สนคน เปิด ชื่อ ๔๑ บอร์ดใหม่ ศก.พอเพียง ๓ บิ๊ก ทบ.-๒ เอ็มดีบริษัทดังร่วมวง
การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์ มีความโดดเด่น เพื่อแข่งขันกันจำหน่าย ถ้อยคำต้องสะดุดตา การใช้ภาษาต้องดึงดูดใจ ใช้อักษรย่อ การตัดคำ เพราะเนื้อที่จำกัด
ลักษณะการใช้ภาษาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๑.การใช้สระ เปลี่ยนรูปสระ คิดถึง > คิดถุง เปลี่ยนเสียงสระ ตัดรูปสระ คิดถึง > คิดถุง เปลี่ยนเสียงสระ สระเสียงสั้นเปลี่ยนเป็นสระเสียงยาวใคร > คราย สระเสียงยาวเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น มาก > มั่กๆ ตัดรูปสระ เร็ว > เรว
๒.การใช้วรรณยุกต์ เพิ่มรูปวรรณยุกต์ หนู > นู๋ ตัดรูปวรรณยุกต์ เล่น > เลน
เธอ > เทอ แล้ว > แร้ว ๓.การใช้พยัญชนะ เปลี่ยนพยัญชนะต้น เธอ > เทอ แล้ว > แร้ว เปลี่ยนพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) โทษ > โทด เวรกรรม > เวงกำ
จริง > จิง กลัว > กัว ๔.การใช้อักษรควบกล้ำ คำที่ไม่มีอักษรควบกล้ำ เปลี่ยนเป็นมีอักษรควบกล้ำ คำที่มีอักษรควบกล้ำ เปลี่ยนเป็นไม่มีอักษรควบกล้ำ เก๋ > เกร๋ จริง > จิง กลัว > กัว แก > แกร ๕.การใช้อักษรหรือตัวเลขแทนเสียง 555 ฮิฮิ
ผม > ป๋ม ใช่ไหม > ชิมิ ๖.การเปลี่ยนรูปคำ ผม > ป๋ม ใช่ไหม > ชิมิ ๗.การใช้คำสแลง ฟิน > รู้สึกดี มโน > คิดไปเอง