สัญญายืม
ลักษณะทั่วไปของสัญญายืม 1. มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอยทรัพย์สินเป็นประโยชน์แก่ผู้ยืม 2. เป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน - ยืมใช้คงรูป ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินใดได้เปล่า - ยืมใช้สิ้เปลือง อาจมีการตกลงกันให้ค่าตอบแทนได้ (ไม่ใช่ ลักษณะทั่วไปของสัญญายืม แค่ไม่มีกฎหมายห้าม) 3. มีวัตถุของสัญญาเป็นทรัพย์สิน ไม่ใช่แรงงาน 4. สัญญษยืมจะสมบูรณ์เมื่อม่การส่งมอบทรัพย์สิน 5. ผู้ยืมตกลงส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม
สัญญายืมใช้คงรูป มาตรา 640 อันว่ายืมใช้คงรูปนั้นคือสัญญาซึ่ง บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอย เสร็จแล้ว
ผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว วัตถุประสงค์ของสัญญา คือ การเข้าไปใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง ผู้ยืมได้ประโยชน์จากการใช้สอยทรัพย์สินข้างเดียวโดยไม่ ต้องเสียค่าตอบแทน ผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว การยืมใช้คงรูปไม่ทำให้ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือความ เป็นอยู่ - นอกจากสภาพตัวทรัพย์ ต้องคำนึงถึงเจตนาด้วย ถ้าเจตนาเอาไปใช้ให้ เปลี่ยนแปลงรูปทรง = ยืมใช้สิ้นเปลือง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2505 จำเลยยืมไม้และสังกะสีของผู้ร้องเพื่อปลูกเรือน ย่อมหมายความว่า เอา ทรัพย์นั้นๆ มาขาดทีเดียว ไม่ใช่จะเอาทรัพย์นั้นไปคืนอีกจึงถือว่าเป็น การยืมใช้สิ้นเปลืองกรรมสิทธิ์ในเรือนที่ปลูกขึ้น ดังกล่าวย่อมเป็นของ จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 - เจตนาส่งคืนทรัพย์นั้นเมื่อใช้เสร็จหรือไม่ - ทรัพย์นั้นใช้แล้วสิ้นไปหรือไม่
สัญญายืมไม่ต้องมีแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือ จะสมบูรณ์เมื่อส่ง มอบ ผลของสัญญายืม 1. การยืมใช้คงรูปไม่ทำให้กรรมสิทธิตกไปยังผู้ยืม เพราะผู้ยืมต้องคืน ทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้เสร็จ และผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องมีกรรมสิทธิ 2. ดอกผลธรรมดาที่เกิดขึ้นจากตัวทรัพย์ระหว่างยืมยังเป็นของผู้ให้ยืม ไม่ใช่ผู้ยืม 3. ถ้าทรัพย์นั้นได้สูญหายหรือบุบสลายโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม ผล ภัยพิบัติตกแก่ผู้ให้ยืม
มาตรา 641 การให้ยืมใช้คงรูปนั้นท่านว่าย่อม บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม - การส่งมอบอาจเป็นการหยิบยื่นให้โดยตรง หรือส่งมอบโดยปริยาย ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ยืมเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ จากทรัพย์สินนั้นได้ ถือว่าส่งมอบแล้ว - ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้ให้ยืมต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ยืมเข้า ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ตามสัญญา สัญญายืม จึงสมบูรณ์
หน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป 1. หน้าที่เสียค่าใช้จ่าย 2. หน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สิน 3. หน้าที่สงวนทรัพย์สิน 4. หน้าที่คืนทรัพย์สิน
1. หน้าที่เสียค่าใช้จ่าย มาตรา 642 ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่า ส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืม เป็นผู้เสีย มาตรา 647 ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษา ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้นผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย
จากมาตราดังกล่าว ผู้ยืมมีหน้าที่เสียค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ ก. ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา ข. ค่าส่งมอบทรัพย์สิน ค. ค่าส่งคืนทรัพย์สิน ง. ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สิน
2. หน้าที่ใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สิน มาตรา 643 ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอัน ปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไป ไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุ ทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึง จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง
สัญญายืมตามมาตรา 640 นั้น ผู้ยืมเท่านั้นที่มีสิทธิใช้ทรัพย์สินที่ยืม ดังนั้น มาตรา 643 จึงบัญญัติห้ามผู้ยืมไว้ 4 ประการ 1. ห้ามมิให้ใช้ทรัพย์สินอย่างผิดปกติ เช่น ยืมรถเก๋งเพื่อไปบรรทุกของ 2. ห้ามมิให้ใช้ทรัพย์ผิดไปจากสัญญา 3. ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้ 4. ห้ามมิให้เอาทรัพย์สินที่ยืมไว้นานเกินสมควร เช่น ยืมกัน 1 เดือน เมื่อครบกำหนด 1 เดือนแล้วต้องคืน หรือยืมแหวนไปใส่งานแต่งงาน เมื่อเสร็จงานแต่งงานแล้วต้องคืนทันที
ผลคือ 1. ผู้ยืมต้องรับผิดถ้าทรัพย์สินที่ยืมสูญหาย หรือบุบสลาย แม้จะเกิด จากเหตุสุดวิสัยก็ยังต้องรับผิด ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดในกรณีเดียวก็คือ ผู้ ยืมพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรทรัพย์สินนั้นก็ต้องสูญหาย หรือบุบสลาย เช่น แดง ยืมรถเก๋ง ดำ ไปใช้ 1 เดือน เมื่อถึงกำหนดเวลาคืนแล้ว แดง ผิดนัดไม่ยอมคืนรถแก่ในดำ วันต่อมาฟ้าผ่ารถไหม้ทั้งคัน ดำ ต้องรับ ผิดแกนายแดง เว้นแต่ ดำพิสูจย์ได้ว่า ถึงอย่างไรรถแดงก็ต้องเสียหาย เช่น น้ำป่า ท่วมกระทันหัน โรคระบาด
2. ผู้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญายืมได้ มาตรา 645 ใน กรณีทั้งหลายดั่งกล่าวไว้ในมาตรา 643 นั้นก็ดี หรือ ถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความใน มาตรา 644 ก็ดี ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ดังนั้น เป็นสิทธิของผู้ให้ยืมที่จะบอกเลิกสัญญา หรือไม่บอกเลิกสัญญาก็ได้
3. หน้าที่สงวนทรัพย์สิน มาตรา 644 ผู้ยืมจำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชน จะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง วิญญูชนหมายถึง บุคคลที่มีความระมัดระวังอย่างธรรมดานั้นก็น่าจะ เป็นบุคคลทั้วๆไปนั่นเอง กฎหมายไม่ได้ต้องการให้ผู้ยืมสงวนทรัพย์สินโดยใช้ความระมัดระวัง หรือละเอียดรอบคอบอย่างสูงสุด หรือ ไม่ต้องการมาตรฐานที่ต่ำขนาด ที่คนขาดความละเอียดรอบคอบ
ดังนั้นหากผู้ยืมมัความละเอียดรอบคอบหรือมีความระมัดระวัง พอสมควร หากทรัพย์สินที่ยืมเกิดสูญหาย หรือเสียหายผู้ที่ยืมไม่ต้อง รับผิด เช่น ดำยืมรถเก๋งแดงมา หากตอนกลางคืน ดำจอดรถไว้ในโรงรถ ตามปกติ มีรถคันอื่นถอยมาชนเสียหาย ดำไม่ต้องรับผิดต่อแดง แต่หากดำจอดรถไว้ข้างถนนเวลากลางคืน ไม่ยอมจอดในโรงรถ มีรถ คันอื่นมาชนเสียหาย ดำต้องรับผิดต่อแดง
ในกรณีที่ผู้ยืมไม่สงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของ ตนเอง ผู้ให้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 645 และหากเกิดความเสียหายใดๆ แก่ทรัพย์สินที่ยืม ผู้ให้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2506 ยืมรถของผู้อื่นไปใช้อย่างปกติ แล้วถูกรถของ บุคคลภายนอกชนเสียหาย โดยไม่ใช่เพราะความผิดของฝ่ายผู้ยืมผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยยืมรถโจทก์และนายต๊ะเป็นคนของจำเลยแต่เหตุเกิด เพราะคนขับรถโดยสารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่เกิดเพราะความผิดของฝ่ายจำเลย ๆ ก็ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถ การยืมใช้คงรูปนั้น ตามปกติผู้ยืมต้องคืน ทรัพย์ในสภาพเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640 และไม่ใช่ผิด จากปกติตามมาตรา 643 ทั้งมีหน้าที่สงวนทรัพย์สินที่ยืมดังมาตรา 644 หากกระทำ เช่นนี้แล้วเกิดอันตรายเสียหายขึ้นก็ต้องนำบทบัญญัติเรื่องการชำระหนี้อันเป็นหลักทั่วไป มาวินิจฉัยเหตุนี้จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 219
ผู้ยืมมีหน้าที่คืนทรัพย์สินที่ยืม มาตรา 646 ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ ยืม เมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอัน ปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลา ได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้ เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไรก็ได้
1. ยืมเมื่อครบกำหนดเวลายืม เช่น ยืม 3 วัน ยืทมถึงวันที่ 14 กุมภา พันธื เมื่อวิเคราะห์ตามมาตรา 646 ผู้ยืมมีหน้าที่คืนทรัพย์ ดังนี้ 1. ยืมเมื่อครบกำหนดเวลายืม เช่น ยืม 3 วัน ยืทมถึงวันที่ 14 กุมภา พันธื 2. คืนเมื่อใช้สอยทรัพย์นั้นเสร็จแล้วตามการอันระบุไว้ในสัญญา เช่น ยืมรถไปใช้แห่นาคงานบวช ยืมแหวนไปใช้งานแต่ง 3. ถ้าการยืมไม่ได้กำหนดเวลาไว้ เมื่อเวลาล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะ ได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว กรณีที่ผู้ยืมเอาทรัพย์สิน นั้นไปนานพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ที่ที่ยืมไปแล้วก็ยังไม่ คืนทรัพย์สิน ผู้ให้ยืมทวงคืนได้ แม้ผู้ยืมจะยังใช้ทรัพย์สินนั้นไม่เสร็จก็ ตาม เช่น ยืมมีดไปตัดหญ้า 50 ตรว 2 วันน่าจะเสร็จ 4. ถ้าการยืมไม่ได้กำหนดเวลาไว้ และไม่ปรากฎว่าไปใช้เพื่อการใด ผู้ ให้ยืมเรียกคืนเมื่อใดก็ได้
ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูป มาตรา 648 อันการยืมใช้คงรูปย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะ แห่งผู้ยืม 1. เมื่อผู้ยืมตาย เนื่องจากเป็นเรื่องของความไว้ใจ หากผู้ ให้ยืมตายไม่ระงับ 2. ทรัพย์สินที่ยืมสูญหาย หรือเสียหายจนไม่อาจใช้การได้ 3. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายืม 4. เมื่อผู้ยืมส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมคืน (แม้ยังใช้สอยไม่เสร็จ)
5. เมื่อผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์สินคืน กรณีที่ผู้ยืมเอาทรัพย์สินนั้นไป นานพอสมควร และการยืมไม่ได้กำหนดเวลาไว้ และไม่ปรากฎ ว่าไปใช้เพื่อการใด 6.เมื่อผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญา ตามมาตร 645 หรือผู้ยืมไม่ สงวนทรัพย์สิน ตามมาตรา 644
อายุความ มาตรา 649 ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอัน เกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น เวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ค่าทดแทนความเสียหายจากการใช้ทรัพย์สินบุบสลายจากการ ใช้ไม่ถูกต้อง ค่าบำรุงรักษา ค่าส่งคืนทรัพย์สิน
แต่การฟ้องเรียกคืน หรือให้ใชราคาทรัพย์สิน ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 649 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 หากผู้ให้ยขืมเป็นเจ้าของเรียกคืนตามหลักกรรมสิทธิตาม มาตรา 1336 หากการใช้ไม่ชอบทำให้ทรัพย์สินสูญหาย ตามมาตรา 643 หรือ การไม่สงวนทรัพย์สิน ตามมาตรา 644 ใช้อายุความ 10 ปี
การฟ้องบุคคลภายนอกต่อการใช้ทรัพย์สินที่ยืม ในกรณที่บุคคลภายนอกทำให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหาย หากผู้ยืมไม่ได้ทำผิดหน้าที่ตาม มาตรา 643 หรือ 644 ผู้ยืมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมแซมจากผู้ทำละเมิดได้ เพราะผู้ยืม ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้ให้ยืมมาฟ้องได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2524 ในการยืมใช้คงรูปนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้อง รับผิดต่อผู้ให้ยืมเฉพาะแต่กรณีผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็น ปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ สอยหรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชนไม่ได้เป็น เจ้าของไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม. และการที่รถที่โจทก์ขับได้รับ ความเสียหายก็มิใช่เป็นความผิดของโจทก์ฉะนั้นโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อ เจ้าของรถและแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อมรถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วง สิทธิของเจ้าของรถที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับ ช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิโจทก์จึงไม่ มีอำนาจฟ้อง
ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา ๖๕๐ อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมี กำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็น ประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่ง ให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
ลักษณะทั่วไปของยืมใช้สิ้นเปลือง 1. ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญา เป็นทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป เมื่อมี การใช้สอยทรัพย์ตามสัญญา ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงภาวะความเป็นอยู่ เสื่อมสลายไปหรือหมดสิ้นไปไม่คงรูปอยู่ในสภาพเดิม อย่างไรก็ตามแม้ทรัพย์สินบางอย่างโดยสภาพใช้ไปสิ้นไปอาจมีเจตนา ไม่ใช้ไปสิ้นไปก็ได้ เช่น ยืมข้าวสารไปตั้งแสดง 2. ผู้ให้ยืมต้องโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ใช้ยืมนั้นแก่ผู้ยืม ต่างจากยืม ใช้คงรูปที่ให้ครองครองใช้สอยเท่านั้น เช่น ยืมบุหรี่ไปสูบ หากไม่โอนกรรมสิทธิให้ก็ไม่อาจสูบบุหรี่ได้
การยืมใช้สิ้นเปลืองนั้น หนี้ของผู้ยืมไม่ใช่คืนตัวทรัพย์สินที่ยืมไป แต่ ต้องคืนทรัพย์สินอื่นที่ เป็นประเภท ชนิดและ ปริมาณเดียวกันมาคืน เช่น ยืมข้าวสารชนิด 5% ก็ต้องนำข้าวสารชนิด5% มาคืน , ยืมน้ำมัน ถั่วเหลืองก็ต้องเอาน้ำมันถั่วเหลืองมาคืน 3. อาจตกลงให้มีค่าตอบแทนได้ ต้องมีการตกลงจึงจะเรียก ค่าตอบแทนได้ (สัญญายืมใช้คงรูปตกลงให้มีค่าตอบแทนไม่ได้) 4. สัญญายืมสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม มาตรา 650 วรรค 2
หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา ๖๕๑ ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและ ส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย มาตรา ๖๕๒ ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร ซึ่ง กำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้
หน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ เป็นประเภท ชนิดและ ปริมาณเดียวกันมาคืน เช่น ยืมข้าวหอมมะลิ 1 ถัง ก็ต้องเอา ข้าวหอมมะลิ 1 ถัง มาคืน , ยืม เงิน 500 ก็ต้องเอาเงิน 500 (แบงค์อะไรก็ได้ มาคืน) ถ้าตกลงเรื่องเวลาคืนไว้ ก็ให้เป็นไปตามสัญญานั้น ผู้ให้ยืมจะเรียกคืน ก่อนกำหนดไม่ได้ ต้องให้เวลาผู้ยืมไปหาทรัพย์สินที่ เป็นประเภท ชนิด และ ปริมาณเดียวกันมาคืน ในกรณีที่ผู้ให้ยืมฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนก่อนกำหนดเวลา หากผู้ยืมไม่ยก กำหนดเวลาต่อสู้ ถือว่าผู้ยืมสละข้อต่อสู้นั้นแล้ว แต่หากผู้ยืมตาย ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนจากผู้รับมรดก หรือผู้จัดการ มรดกทันที
สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง อาจมีค่าตอบแทนหรือไม่มีก็ได้ ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไปกันเอาไว้ ผู้ให้ยืมอาจบอก กล่าวให้ผู้ยืมคืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร และผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สิน นั้นภายในกำหนดเวลาที่บอกกล่าว (มาตรา 652) สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง อาจมีค่าตอบแทนหรือไม่มีก็ได้ ยืมเงิน ดอกเบี้ย ห้ามเกิน ร้อยละ15 ทรัพย์สินอย่างอื่น ไม่เรียกว่าดอกเบี้ย เรียกเกินร้อยละ 15 ได้ เช่น ยืมไข่ไก่ 100 ฟอง กำหนดให้มาคืน 120 ฟอง
อายุความ การฟ้องเรียกคืน หรือให้ใชราคาทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ เป็นประเภท ชนิดและ ปริมาณ เดียวกัน แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ข้อเหมือนของสัญญายืมใช้คงรูป กับ ยืมใช้สิ้นเปลือง 1. มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ยืม กับ ผู้ให้ยืม 2. สัญญษบริบูรณ์หรือสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบ 3. ผู้ยืมตกลงจะคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้ยืม การส่งมอบอาจเป็นการหยิบยื่นให้โดยตรง หรือส่งมอบโดยปริยายด้วย อาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ยืมเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์จาก ทรัพย์สินนั้นได้ ถือว่าส่งมอบแล้ว ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้ให้ยืมต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ยืมเข้าครอบครอง หรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้ตามสัญญา สัญญายืมจึงสมบูรณ์ เช่น ส่งมอบกุญแจบ้าน รถ
ข้อแตกต่างระหว่างสัญญายืมใช้คงรูป กับ ยืมใช้สิ้นเปลือง สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง นั้น ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินแก่ผ็ยืม แต่ยืมใช้คงรูปนั้นไม่มีการโอนกรรมสิทธิ สัญญายืมใช้คงรูป ไม่มีค่าตอบแทน สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง มีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้ สัญญายืมใช้คงรูป ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ไม่ต้องคืนทรัพย์สินเดิม แต่ ต้องคืนทรัพย์สินที่ เป็นประเภท ชนิดและ ปริมาณเดียวกันมาคืน
เอกสารอ้างอิง ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร, คำอธิบายกฎหมายยืม ฝากทรัพย์ , พิมพ์ครั้งที่ 14 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552) ตำราเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.