ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chapter 3 Data Representation (การแทนข้อมูล)
Advertisements

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อ วิชาการและงานอาชีพ
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจ พอเพียงบ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
สาระที่ ๒ การเขียน.
การบริหารจัดการโครงการ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านสนาม
ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน “สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน” วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ
Application of Electron Paramagnetic Resonance (EPR)
Lubna Shamshad (Ph.D Student) Supervisor Dr.GulRooh
Q n° R n°.
อาคารสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพป./สพม.)
Chapter 3 Design of Discrete-Time control systems Frequency Response
ยินดีต้อนรับ นสต. ภ.๙.
การส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อการป้องกันการทุจริต
พอช.องค์การมหาชนของชุมชนไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Multiple Input Multiple Output (MIMO)
บทที่ 7 TAS 17 (ปรับปรุง 2558): สัญญาเช่า (Leases)
หลักการสร้างมาตรวัดทางจิตวิทยา
โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบรถราชการ
ทะเบียนราษฎร.
นายธนวิทย์ โพธิ์พฤกษ์ เลขที่ 8 นายอนุสรณ์ ขำหลง เลขที่ 29
เรื่อง การบริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารประกอบการบรรยายครั้ง ๒ วิชาซื้อขาย - เช่าทรัพย์ - เช่าซื้อ
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย
บทที่ 12 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย
DATA STRUCTURES AND ALGORITHMS
ขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๘/๕๙
หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการ
การประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐
การเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ
การแก้ไขปัญหา สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด
ขั้นตอนของกิจกรรม : ปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตอนที่ 2.๒ บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
บทที่ 4 การกระจาย อำนาจด้านการคลัง
งานเงินสมทบและการตรวจสอบ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ วัยรุ่นไทยใส่ใจวัฒนธรรม เรื่อง
การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ “การพัฒนาบุคลากร”
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการฯ
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
วิชาสังคมศึกษา ม.3 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม.
มหาวิยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง รายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม
ความหมายของหนี้สาธารณะ
การจัดการชั้นเรียน.
การบริหารการเงิน ในสถานศึกษา
องค์ประกอบและผลกระทบของธุรกิจไมซ์
โคลง ร่าย และ โดยครูธาริตา นพสุวรรณ
Matrix 1.Thamonaporn intasuwan no.7 2.Wannisa chawlaw no.13 3.Sunita taoklang no.17 4.Aungkhana mueagjinda no.20.
สมาชิกโต๊ะ 1 นายสุรวินทร์ รีเรียง นายภาณุวิชญ์ อนุศรี
นำเสนอ วัดเกาะชัน ด.ช.ปกรณ์ ร้อยจันทร์ ม.2/7 เลขที่ 19
รศ.ดร.อนันต์ จันทรโอภากร
การเขียนวิจารณ์วรรณกรรม ๒
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
วิชา หลักการตลาด บทที่ 7 การออกแบบกลยุทธ์ราคา
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘ สาระสำคัญพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.๒๕๕๘.
การบัญชีตามความรับผิดชอบและ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตำบลหนองพลับ ประวัติความเป็นมา
แบบทดสอบ เรื่อง ความน่าจะเป็น.
การปฏิรูประบบศาลยุติธรรม หลังรัฐประหาร 2557
ธาตุ สารประกอบ และปฏิกิริยาเคมี
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
การบริหารหลักสูตร ความหมาย : การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร ไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยอาศัยการสนับสนุนและร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักส
PHYSICS by P’Tum LINE
การพิจารณาสัญชาติของบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ผู้แต่ง - ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมฯ - ตอนวันทองหึงลาวทอง ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แต่งในตอนที่เรียนนี้ เท่าที่มีหลักฐานอ้างถึงได้แก่ - ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมฯ - ตอนวันทองหึงลาวทอง - ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกริยา - ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ตอนขุนช้างขอนางพิมฯ ตอนขุนช้างตามหานางวันทอง ผู้แต่ง ตอนขุนช้างขอนางพิมฯ ตอนขุนช้างตามหานางวันทอง พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง ตอนกำเนิดพลายงาม พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ขุนแผน พลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่ ขุนแผน พลายงามยกทัพกลับ ผู้แต่ง กำเนิดกุมารทอง ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ ขุนแผน พลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่ ขุนแผน พลายงามยกทัพกลับ จระเข้เถรขวาด ครูแจ้ง

สรุปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับกรมหมื่นกวีพจน์ สุปรีชา ได้ทรงชำระรวมทั้งสิ้น ๔๓ ตอน

เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ ๑. กำเนิดขุนแผน ๒. พ่อขุนช้างขุนแผน ๓. พลายแก้วบวชเณร ๔. พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมฯ ๕. ขุนช้างขอนางพิม ๖. พลายแก้วเข้าห้องนางสายทอง ๗. พลายแก้วแต่งงานกับนางพิมฯ ๘. พลายแก้วถูกเกณฑ์ทัพ ๙. พลายแก้วยกทัพ ๑๐. พลายแก้วได้นางลาวทอง

เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ ๑๑. นางพิมฯ เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ๑๒. นางศรีประจันยกนางวันทองให้ ขุนช้าง ๑๓. พลายแก้วได้เป็นขุนแผน ขุนช้างได้นางวันทอง ๑๔. ขุนแผนบอกกล่าว ๑๕. ขุนแผนพรากนางลาวทอง ๑๖. กำเนิดกุมารทองบุตรนางบัวคลี่ ๑๗. ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างได้นางแก้วกริยา ๑๘. ขุนแผนพานางวันทองหนี ๑๙. ขุนช้างตามนางวันทอง ๒๐. ขุนช้างฟ้องว่าขุนแผนเป็นกบฎ

เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ ๒๑. ขุนแผนลุแก่โทษ ๒๒. ขุนแผนชนะความขุนช้าง ๒๓. ขุนแผนติดคุก ๒๔. กำเนิดพลายงาม ๒๕. พระเจ้าล้านช้างถวายนางสร้อยทองแด่สมเด็จพระพันวษา ๒๖. พระเจ้าเชียงใหม่ชิงนางสร้อยทอง ๒๗. พลายงามอาสา ๒๘. พลายงามได้นางศรีมาลา ๒๙. ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ ๓๐. ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่

เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ ๓๑. ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ ๓๒. ถวายนางสร้อยฟ้า ๓๓. แต่งงานพระไวย ๓๔. ขุนช้างเป็นโทษ ๓๕. ขุนช้างถวายฎีกา ๓๖. ฆ่านางวันทอง ๓๗. นางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์ ๓๘. พระไวยถูกเสน่ห์ ๓๙. ขุนแผนส่องกระจก ๔๐. พระไวยแตกทัพ สาเหตุ - เพราะพลายงามเกิดคิดถึงแม่ อยากอยู่กันพร้อมหน้า จึงลอบขึ้นเรือนขุนช้างพาตัวนางวันทองไป

เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ เสภาขุนช้าง ขุนแผน มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ดังนี้ ๔๑. พลายชุมพลจับเสน่ห์ ๔๒. นางสร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ ๓๓. จระเข้เถรขวาด

แผนภูมิเรื่องขุนช้าง - ขุนแผน ขุนไกรพลพ่าย ทองประศรี พันศรโยธา ศรีประจัน ขุนศรีวิชัย เทพทอง พลายแก้ว พิมพิลาไลย ขุนช้าง ทำความดีความชอบ ได้เลื่อนยศเป็น พลายงาม พิมพิลาไลย มีบุตร จมื่นไวยวรนาถ ภ ร ร ย า สายทอง ภรรยา พลายเพชร ศรีมาลา มีบุตร ลาวทอง พลายยง สร้อยฟ้า มีบุตร บัวคลี่ กุมารทอง มีบุตร ทำความดีความชอบ ได้เลื่อนยศเป็น แก้วกิริยา พลายชุมพล หลวงนายฤทธิ์ มีบุตร

แต่งเป็นกลอนสุภาพประเภทกลอนเสภา ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นกลอนสุภาพประเภทกลอนเสภา

แต่งเป็นกลอนสุภาพประเภทกลอนเสภา ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นกลอนสุภาพประเภทกลอนเสภา คล้ายกลอนสุภาพ แต่ละวรรคใช้คำ ๗- ๑๐คำ มีสัมผัสเหมือนกลอนบทละคร คำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งใน ๕ คำแรกของวรรคหลัง ลักษณะพิเศษ คือ ในแต่ละตอนจะขึ้นต้นด้วย “ครานั้น” หรือ “จะกล่าวถึง”

จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้ในการขับเสภา สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดชีวิตและความเป็นอยู่ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ของคนไทยในสมัยก่อน

ที่มาของเรื่อง กล่าวกันว่าเป็นจริงตามนิทานพื้นบ้าน เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔ -๒๐๗๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถูกสมมุติพระนามในเสภาว่า "พระพันวษา"  เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้าง 

ที่มาของเรื่อง แล้วเอามาผูกเข้ากับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณและกาญจนบุรี โดยเฉพาะการชิงรักหักสวาทของ ๑ หญิง ๒ ชาย คือ นางพิมพิลาลัยหรือนางวันทอง ขุนแผนหรือพลายแก้ว และขุนช้าง อรรถรสทางด้านภาษาและเนื้อหา เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนยุคสมัยนั้น จนเป็นวรรณกรรมอมตะมาจนถึงทุกวันนี้

เนื้อเรื่อง (สรุป) พลายงามแม้ว่าจะมีความสุข ก็ยังคิดแค้นขุนช้าง และคิดถึงแม่ จึงอยากไปรับแม่กลับมาอยู่พร้อมหน้าพ่อ แม่ ลูก จึงลอบขึ้นเรือนขุนช้าง (๒๓-๒๔) นางวันทองตื่นขึ้นรู้ว่าลูกทั้งดีใจและตกใจ เกรงว่าลูกจะมีภัย พลายงามบอกว่าจะมารับแม่อยู่ด้วยกันเพราะตอนนี้ตน สุขสบายกับภรรยาสองคน คือ นางศรีมาลา + นางสร้อยฟ้า แม่จะมาอยู่กับคนที่ไม่คู่ควรอย่างขุนช้างทำไม (๒๕)

เนื้อเรื่อง (สรุป) นางวันทองไม่อยากไปด้วย เกรงว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลัง แต่พลายงามไม่ยอม สุดท้ายจึงจำยอดไปด้วย (๒๗) ขุนช้างฝันว่าตนเองมีขี้เรื้อนขึ้นทั้งตัว ใช้ยาปรอทรักษา ก็ทำลายตับ ไต ไส้ พุง จนหมด ฟันหลุดหมดปาก ตกใจตื่น จึงรู้ว่าวันทองหายไป จึงให้บ่าวไพร่ช่วยออกตามหาแต่ก็ไม่พบ (๒๗-๒๘)

เนื้อเรื่อง (สรุป) พลายงามเมื่อกลับมาบ้าน ก็ใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่าตนเองไม่สบายจึงให้ไปรับนางวันทองมาตอนที่นางวันทองลงมาเข้าห้องน้ำตั้งแต่เมื่อคืน เมื่อหายดีแล้วจะส่งนางคืนให้ (๒๘-๒๙) ขุนช้างได้ฟังก็โกรธมาก จึงร่างฎีกาขึ้นเพื่อถวายพระพันวษา ซึ่งวันนั้น พระพันวษาเสด็จประพาสบัวกลับมาจวนค่ำ ขุนช้างจึงดำน้ำลงไปถวายฎีกาที่ข้างเรือพระที่นั่งกลางน้ำ(๓๐)

เนื้อเรื่อง (สรุป) ขุนแผนอยู่บ้านกับสองนาง คือ นางลาวทองและนางแก้วกริยา แต่ก็ยังคิดถึงนางวันทอง จึงมาหานางวันทอง (๓๑-๓๒) นางวันทองหลับและฝันว่า หลงเข้าไปในป่าและถูกเสือตะครุบ ขุนแผนได้ฟังจึงรู้ว่าเป็นลางร้าย ได้แต่ปลอบใจให้นางวันทองหายทุกข์(๓๓-๓๔)

เนื้อเรื่อง (สรุป) พระพันวษาให้จมื่นศรีไปรับตัว ขุนแผน พลายงาม และวันทองมาเฝ้าเพื่อชำระความ ขุนแผนเกรงว่านางวันทอจะมีภัยจึงเสกมนตร์คาถา และขี้ผึ้งทาปากนางวันทองเพื่อให้พระพันวษาเมตตา(๓๕) พระพันวษาเมื่อเห็นนางวันทองก็ตรัสถามด้วยความปรานี นางจึงเล่าความจริงที่ถูกขุนช้างฉุดมาเมื่อตอนตั้งครรภ์ พระพันวษากริ้วขุนช้างมาก และเมื่อทราบว่าพลายงามลอบขึ้นเรือน ขุนช้างเพื่อลักนางวันทองมาก็กริ้วพลายงามและว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ(๓๖-๓๗)

เนื้อเรื่อง (สรุป) พระพันวษาทรงคิดว่าสาเหตุของความวุ่นวายเกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร ระหว่าง ขุนแผน ขุนช้าง หรือ พลายงาม (๓๘) นางวันทองไม่กล้าตัดสินใจ จึงกราบทูลว่านางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดูแลนางเป็นอย่างดี พลายงามก็เป็นลูกรัก พระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลายใจ เป็นหญิงแพศยา จึงสั่งให้ประหารนางวันทองเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่นต่อไป (๓๘-๓๙)

คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (เฉพาะตอนที่นำมาเป็นบทเรียน) ๑. กระบวนกลอนสามารถสื่อสารอารมณ์สะเทือนใจ ๒. ใช้ภาพพจน์ทำให้สร้างจินตภาพในการอ่านได้ดี ๓. มีรสวรรณคดีที่ปรากฏอย่างหลากหลาย ๔. มีการเล่าเรื่องแบบย้อนหลัง ให้ผู้อ่านปะติดปะต่อเรื่องได้

คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านสังคม (เฉพาะตอนที่นำมาเป็นบทเรียน) ๑. สะท้อนให้เห็นความจงรักภักดีของขุนนางต่อพระมหากษัตริย์ ๒. การไม่มีกฎหมายทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจ ๓. หญิงไทยสมัยโบราณไม่มีอิสระในการตัดสินใจ ๔. ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์

เนื้อเรื่อง (๑) หลังจากที่พลายงามชนะความขุนช้างแล้ว แม้ว่าจะมีความสุข แต่ก็คิดแค้นขุนช้าง คิดจะพรากแม่วันทองมาจากขุนช้าง เพื่อจะได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก จึงลอบขึ้นเรือนขุนช้าง เมื่อนางวันทองตื่นมาพบลูกทั้งดีใจและตกใจเกรงว่า พลายงามจะมีภัย พลายงามบอกว่าจะมารับแม่ไปอยู่บ้านด้วยกัน นางวันทองไม่อยากไปด้วยเกรงว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลัง และ ให้พลายงามนำความไปปรึกษาพ่อเพื่อฟ้องขุนช้างดีกว่าจะมาลัก- พาไป แต่พลายงามไม่ยอม สุดท้ายนางวันทองจึงต้องจำยอมไปด้วย

เนื้อเรื่อง (๒) ขุนช้างตื่นขึ้นมาไม่เห็นนางวันทอง จึงร้องเรียกบ่าวไพร่ให้ตามหาจนเกิดความโกลาหลไปทั่ว เมื่อรู้ว่านางวันทองหายไปก็แค้นใจ หลังจากพลายงามพาแม่กลับมาบ้านจึงใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่า พลายงามป่วยหนักจึงใช้ให้คนมารับแม่วันทองไปดูใจ เมื่อหายป่วยแล้วจะส่งตัวกลับคืน ขุนช้างทราบเรื่องเคียดแค้นใจเป็นยิ่งนัก จึงไปดักถวายฎีกาพระพันวษา

เนื้อเรื่อง (๓) คืนนั้นขุนแผนมาหานางวันทองที่บ้านพลายงาม และง้องอนจนนางใจอ่อน เมื่อนางวันทองหลับและฝันไปว่าหลงเข้าไปในป่า พบเสือตะครุบพาเข้าป่าไป นางตกใจตื่นจึงเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังรู้ว่าเป็นลางร้ายได้แต่กังวล แต่ก็ปลอบใจจนนางวันทองหายทุกข์ใจ

เนื้อเรื่อง (๔) วันรุ่งขึ้นพระพันวษามีรับสั่งให้ขุนแผน พลายงาม และนางวันทองเข้าเฝ้าเพื่อชำระความ ขุนแผนเกรงว่านางวันทอง จะมีภัยจึงเสกมนตร์คาถา และขี้ผึ้งให้นางวันทองสีปาก เพื่อให้ พระพันวษาเมตตา แล้วพานางมาเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ตรัสถามด้วยความปรานี นางจึงเล่าความจริงที่ต้องไปอยู่กับขุนช้าง พระพันวษากริ้วขุนช้างมาก เมื่อทราบว่าพลายงามลอบขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อลักพาตัว นางวันทองก็กริ้วพลายงาม และว่าขุนแผนว่ารู้เห็นเป็นใจ

เนื้อเรื่อง (๕) พระพันวษาทรงคิดว่าสาเหตุของความวุ่นวายนี้เกิดจาก นางวันทอง จึงให้นางตัดสินใจว่าจะเลือกใครระหว่างผู้ชายสามคน นางวันทองไม่กล้าตัดสินใจ จึงกราบทูลว่านางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดูแลนางเป็นอย่างดี พลายงามก็เป็นลูกรัก ทำให้พระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลายใจ เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทองเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป

ชิ้นงาน นักเรียนแบ่งกลุ่ม และแบ่งเนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผน แล้วถอดความคำประพันธ์ที่ละ ๑ บท วิเคราะห์เนื้อเรื่องว่ามีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าด้านสังคมอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างคำประพันธ์ดังกล่าว นำเสนองานในสัปดาห์หน้า (ไม่ต้องส่งเล่มรายงาน)

สวัสดี