Modem หรือเรียกอีกอย่างว่า Modulation เป็นอุปกรณ์ที่ทีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้สามารถ รองรับการส่งสัญญาณข้อมูลที่เป็นทั้งภาพ และเสียงผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป ซึ่งโดยปกติแล้วสายโทรศัพท์จะถูกออกแบบให้ สามารถส่งสัญญาณแบบ อนาล็อก หรือสัญญาณของเสียงเท่านั้น ดังนั้นโมเด็มก็เลยจะประกอบไปด้วยหน้าที่สำคัญ 3 ส่วนได้แก่ หนึ่งส่วนที่เปลี่ยนสัญญาณดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณ อนาล็อกเพื่อให้สามารถส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ไปยังสายโทรศัพท์ได้ สองส่วนที่เปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก ที่ถูกส่งกลับมาจากสายโทรศัพท์ให้เปลี่ยนเป็นสัญญาณ ดิจิตอล เพื่อนำไปใช้งานต่อไป และสามส่วนที่ดูแล และความคุมการทำงาน Digital Interface
สำหรับประเภทของความเร็วนั้น จะสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทได้แก่ - โมเด็มความเร็วต่ำ ที่นับว่าเป็นโมเด็มรุ่นแรกๆ ที่ออกมาโดยจะมีความเร็ว ตั้งแต่ 300bps จนถึง 4,800bps - โมเด็มความเร็วปานกลาง โดยโมเด็มระดับนี้จะสามารถส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 9,600bps ถึง 14,400bps พร้อมทั้งยังเพิ่มความสามารถในการใช้งานต่างๆ มากขึ้นด้วย และเป็นโมเด็มที่เริ่มมีการใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ พร้อมทั้งการรับส่ง ข้อมูล ในแบบ Full Duplex และ Half Duplex - โมเด็มความเร็วสูง สำหรับโมเด็มประเภทนี้จะมีอัตราการับส่งข้อมูลตั้งแต่ 19,200bps ถึง 28,800bps มีการใช้เทคนิคการผสมสัญญาณที่สลับซับซ้อนมากกว่า โมเด็ม ความเร็วปานกลาง - โมเด็มความเร็วสูงพิเศษ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 56,000bps หรือ 56Kbps ซึ่งเป็นโมเด็มที่มีการส่งสัญญาณ ในแบบดิจิตอล ความเร็วสูง และโมเด็ม ประเภทนี้จะมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP เข้ามาเกี่ยวข้อง
รูปแบบการติดตั้งใช้งาน - Internal หรือแบบติดตั้งภายใน โมเด็มประเภทนี้ จะมีลักษณะเป็นการ์ด หรือแผงวงจร ที่จะติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ บริเวณสล็อต PCI ในปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของโมเด็มลักษณะนี้ ก็ตรงที่จะประหยัด เนื้อที่ ภายนอก และมีราคาถูก แต่มักจะมีปัญหาตรงที่ติดตั้งใช้งานยุ่งยาก และตรวจดูสถานะการทำงานของโมเด็มได้ยาก
รูปแบบการติดตั้งใช้งาน - External ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ประกอบไปด้วยอแด็ปเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อกับไฟฟ้าภายในบ้านเอง โดยไม่ต้องใช้ไฟร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนโมเด็มแบบติดตั้งภายใน ทำให้การทำงานของ เครื่อง คอมพิวเตอร์เสถียรมากกว่า และผู้ใช้ยังสามารถสังเกตการทำงานของโมเด็มจากไฟ แสดงสถานะ บริเวณตัวเครื่องได้ง่ายกว่าด้วย โมเด็มแบบภายนอกสามารถแยกอินเทอร์เฟซ หรือพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้สองแบบ ได้แก่ อินเทอร์เฟซแบบ Serial โดยโมเด็มแบบนี้จะเชื่อมต่อระหว่างโมเด็มและเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย RS-232 และจะมีอแด็ปเตอร์ที่คอยจ่ายไฟให้กับตัว โมเด็มด้วย ส่วนอินเทอร์เฟซแบบ USB ก็อย่างที่รู้ๆ อยู่ว่า อินเทอร์เฟซแบบ USB นั้นสามารถที่จะใช้ไฟจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง จึงไม่จำเป็นที่จะต้อง มีอแด็ปเตอร์
รูปแบบการติดตั้งใช้งาน - PCMCIA สำหรับโมเด็มประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นการ์ดขนาดเล็ก ที่เมื่อเวลาจะ ใช้งาน จะต้องเสียบเข้ากับสล็อต PCMCIA ที่ปกติจะมีบนเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุก และโมเด็มประเภทนี้จะมีราคาที่สูงมากกว่าโมเด็ม Internal และ External
Router Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว
Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์(Bandwidth แบนด์วิธ)ปริมาณการรับ และการส่งข้อมูล (Data-Transfer) หรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
Access point Access Point หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าAP (เอ-พี) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น “จุดกระจายและเชื่อมต่อสัญญาณ ไร้สาย เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายทุกชนิด (ที่ทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11) เข้าด้วยกัน นอกจากจะทำหน้าที่เป็น Access Point แล้ว AP ที่ดียังสามารถทำหน้าที่อื่นๆ เพื่อช่วยให้ระบบเครือข่ายไร้สายตอบสนองความต้องการของคุณได้อย่างถึงขีดสุด หน้าที่ต่างๆ ของ AP ที่ดี ที่จะช่วยสร้างระบบเครือข่ายไร้สายของคุณให้ทรงประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง
(Wireless) คือ ไม่มีสาย ลองนึกภาพถึงแลนปกติที่เชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับสวิตซ์ (Switch) หรือฮับ (Hub) ด้วยสายสัญญาณที่เรียกว่า สาย UTP แต่ไวเลส คือการเชื่อมต่อที่ไม่มีมีสายแลนนั่นเอง
แลนไร้สาย หรือ ไวเลสแลน (Wireless LAN, WLAN) คือระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่แบบไร้ สาย โดยใช้คลื่นความถี่ วิทยุใน การเชื่อมต่อหรือสื่อสารกัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายมีทั้งแบบเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point)
มาตราฐานความเร็วของแลนไร้สาย ความเร็วที่ใช้ในการสื่อสารกันหรือเชื่อมต่อกัน มีมาตราฐานรองรับ เช่น IEEE 802.11a, b และ g ซึ่งแต่ละมาตราฐานจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11a มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 5 GHz สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11b มีความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz สำหรับมาตรฐาน IEEE 802.11g มีความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ที่ความถี่ย่าน 2.4 GHz ในประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ช่องคลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่เสรี ที่ทุกคนสามารถติดตั้งและใช้งานได้ จึงทำให้ในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ที่จำหน่ายเพียงสองมาตราฐานคือ IEEE 802.11b และ g เท่านั้น
MHz คืออะไร Megahertz (เมกกะเฮิร์ทซ) อักษรย่อคือ MHz เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับ 1,000,000 hertz (1 ล้าน เฮิร์ทซ) หน่วยนี้ใช้ในแสดงความเร็วนาฬิกาไมโครโพรเซสเซอร์ และพบในการวัดสัญญาณ bandwidth สำหรับข้อมูลดิจิตอล ความเร็วสูง สัญญาณวิดีโออะนาล๊อก และสัญญาณการกระจายสเปคทรัม
Gigahertz คืออะไร gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ (microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์
เหตุใดเราจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Wireless LAN หรือเทคโนโลยีแลนไร้สาย
สะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ Notebook/Laptop ไปมาภายในบริเวณที่มีสัญญาณของ Wireless LAN โดยที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายหลักได้อยู่ ในบางพื้นที่ เช่น อาคารใหม่ๆ มักอาจไม่ต้องการให้มีการติดตั้งและเดินสายเคเบิลภายในตัวอาคารเพื่อความสวย งาม ดังนั้นในการสร้างระบบเครือข่าย อาจจะต้องมีการนำเทคโนโลยี Wireless LAN มาใช้งาน
ในบางบริเวณภายในอาคาร สายเคเบิลอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถลากไปถึงจุดๆ นั้นได้ • การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระหว่างอาคาร 2 แห่ง (Building-to-Building) อาจนำเทคโนโลยี Wireless LAN มาประยุกต์ใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสาย Fiber Optic เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่าง 2 อาคาร ในกรณีที่ระยะห่างระหว่างอาคารทั้ง 2 นั้นห่างกันไม่มากนัก
สามารถนำมาใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายแบบชั่วคราว เพื่อใช้ในการอบรม จัดงานแสดงผลงาน เช่น นิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าต่างๆ • สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานสำหรับภายในอาคารที่พักอาศัย เช่น โรงแรม, คอนโดมิเนียม, หรือตามบ้านพักตากอากาศต่างๆ โดยที่พักเหล่านี้สามารถติดตั้ง Wireless LAN เพื่อไว้เป็นบริการเสริมใหกับลูกค้าที่มาพักอาศัย ซึ่งอาจจะมีการเก็บค่าบริการหรือค่าในการใช้งานระบบ Internet ผ่านระบบ Wireless LAN ได้ ทำให้ผู้ที่มาพักอาศัยสามารถใช้งานระบบ Internet ได้
รู้หรือไม่ Wi-Fi กับ Wireless เหมือนกันหรือต่างกัน Wi-Fi นั้นเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (WLAN) ปัจจุบันนั้นใช้ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรงผ่านจุดให้บริการ Wireless ก็คือระบบ LAN แบบไร้สาย (WLAN) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ถ้าเครือข่ายที่เชื่อมต่อมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งาน จึงจะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้
สรุปแล้วการทำงานเหมือนกันแต่เรียกต่างกัน ถ้าเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายเรียก Wireless ถ้าเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรงเรียก Wi-Fi Wi-Fi ย่อมาจาก Wireless Fidelity ความหมายตรงตัวว่า ความสามารถในการส่งสัญญาณแบบไร้สาย เป็นคำย่อที่ในปัจจุบันใช้เรียกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการผ่านคลื่นวิทยุแทนสายโทรศัพท์หรือสายเคเบิล