การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นสถานศึกษาปฐมวัย รศ. บรรพต พรประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
กรอบแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรที่เกิดจากการนำสภาพที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น คุณลักษณะที่พึงประสงค์มากำหนดเป็นสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง และ เพิ่มเติมสาระตามความถนัด ความสนใจของเด็กปฐมวัย โดยความร่วมมือของสถานศึกษาและชุมชน
กรอบแนวคิดเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา 1. นำสภาพที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์หลักสูตรและกำหนดสาระการเรียนรู้
กรอบแนวคิดเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา 2. การนำสาระตามข้อ 1 มาสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ซึ่งจะต้องอยู่บน พื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง กล่าวคือต้องยึดหลักสูตรแกนกลางเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
กรอบแนวคิดเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา 3. สาระและกระบวนการเรียนรู้หรือกระบวนการจัดประสบการณ์ที่จัดให้กับเด็กตามข้อ 1 นั้น จะเกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
กรอบแนวคิดเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา 4. ประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กที่จัดไว้ในหลักสูตรนั้นจะต้องสอดคล้องตามความถนัดและความสนใจของเด็กปฐมวัย
กรอบแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สรุปว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยนั้น จะพัฒนาจากการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษาและชุมชน ในส่วนของสาระที่เป็นไปตามความต้องการของชุมชน สังคม โดยมีหลักสูตรแกนกลางเป็นหลัก ทั้งนี้สาระและกระบวนการจัดประสบการณ์นั้นจะต้องตอบสนองความสนใจและสอดคล้องกับความถนัดของเด็ก
จากหลักสูตรฯ สู่ บริบทของท้องถิ่นเรียนรู้ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามหลักสูตร ๔๖ คุณลักษณะตามวัย ตามหลักสูตร ๔๖ สาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตร ๔๖ ตัวบ่งชี้ สถานศึกษากำหนด สารที่ควรเรียนรู้ ตามหลักสูตร ๔๖ ประสบการณ์สำคัญ ตามหลักสูตร ๔๖ สภาพที่พึงประสงค์ สถานศึกษากำหนด สาระการเรียนรู้รายปี สถานศึกษากำหนด โครงการการเรียนรู้ของท้องถิ่น / ภาคเรียน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งได้แก่ ผู้สอน ผู้รู้ด้าน ท้องถิ่น นักพัฒนาหลักสูตร ภูมิปัญญา ท้องถิ่น นักวิชาการในระดับนั้น ขั้นที่ 2 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 3 กำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ขั้นที่ 4 การกำหนดสาระความรู้ที่สัมพันธ์กับ ความรู้ในท้องถิ่น ขั้นที่ 5 การกำหนดกิจกรรมและแนวทางการ จัดประสบการณ์ ขั้นที่ 6 การกำหนดคาบเวลาของกิจกรรม
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ขั้นที่ 7 การกำหนดเกณฑ์การวัดและ ประเมินผล ขั้นที่ 8 การจัดทำเอกสารหลักสูตร ขั้นที่ 9 การตรวจสอบคุณภาพและการทดลอง ใช้หลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น ขั้นที่ 10 การเสนอขออนุมัติใช้หลักสูตรจาก หน่วยงาน ขั้นที่ 11 การนำหลักสูตรไปใช้ ขั้นที่ 12 การประเมินผลหลักสูตร
การเลือกสาระความรู้และประสบการณ์ สาระความรู้และประสบการณ์ในระดับการศึกษาปฐมวัยในหลักสูตรแกนกลาง กำหนดสาระที่ควรเรียนรู้เป็น 4 เรื่องใหญ่ ๆ คือ ตัวเรา บุคคลและสถานที่ ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งได้มาจากการสำรวจความต้องการของท้องถิ่นและผู้เรียน และนำมากำหนดหน่วยการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับสาระในหลักสูตรแกนกลาง สาระความรู้ในท้องถิ่น
1. สาระท้องถิ่นจังหวัด ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจังหวัด ได้แก่ ประวัติความเป็นมา สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะเด่น แหล่งความรู้ แหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ บุคคลสำคัญ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา อาชีพ ฯลฯ สาระท้องถิ่นจังหวัดจึงเป็นสาระที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในจังหวัด หลอมรวมให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น และลักษณะเฉพาะที่มีต่อวิถีชีวิต การเรียนรู้สาระท้องถิ่นจังหวัดจึงเป็นการเรียนรู้เรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัว ที่ได้พบเห็นในชีวิตจริง ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจต่อท้องถิ่น
2. สาระภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. สาระภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศาสตร์ต่าง ๆ ของท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือปราชญ์ท้องถิ่น ทั้งนี้ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการลำดับชื่อไว้ในทะเบียนของจังหวัด หรือ ผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นที่ประจักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ คติ ความเชื่อ การละเล่นต่าง ๆ การดูแลรักษา คำสอนในการดำเนินชีวิต พืชสมุนไพร ยาพื้นบ้าน การประดิษฐ์วัสดุท้องถิ่น การประกอบอาหาร การประกอบอาชีพของท้องถิ่น ค่านิยม พิธีกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน คำสอนทางศาสนา คำกล่าวสอนของคนเฒ่าคนแก่
3. สาระอาชีพ อาชีพของท้องถิ่น ซึ่งจำแนกออกเป็นการประกอบอาชีพดั้งเดิมอันเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมถ่ายทอดสืบมาตั้งแต่อดีต ทั้งนี้ลักษณะของอาชีพจะสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์ พื้นที่ ทรัพยากร ภูมิอากาศของท้องถิ่น ยึดหลักแห่งการพึ่งพาตนเอง โดยอาศัยหลักธรรมชาติ เช่น พื้นที่ภาคใต้ที่เป็นบริเวณติดทะเล จะมีการประมงน้ำเค็ม มีเรือหาปลาขนาดใหญ่ ขณะที่จังหวัดในพื้นที่ราบจะมีเพียงการประมงน้ำจืดที่จับสัตว์น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง บึง หนอง การอาชีพของชุมชนในแต่ละท้องถิ่นจึงต่างกันไป
4. สาระแหล่งเรียนรู้ ในท้องถิ่นแต่ละที่ล้วนแล้วแต่มีความรู้อยู่ในแหล่งท้องที่นั้น ๆ เป็นสิ่งที่ให้ความรู้แก่ผู้คนทั้งในด้านความรู้ในการดำเนินชีวิต ความรู้ในการดำรงชีวิตและความรู้เพื่อการต่อยอด เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่รัฐและประชาชนจัดตั้งขึ้น ได้แก่ อุทยานการศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติทางทะเล อุทยานแห่งชาติในท้องถิ่นแถบภูเขา ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์ศิลปาชีพ ศูนย์เยาวชน ศูนย์หัตถกรรม หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ สถาบันของชุมชนที่มีอยู่ในวิถีชีวิตและการทำมาหากินของชุมชน
5. สาระวัฒนธรรมท้องถิ่น 5. สาระวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมซึ่งแต่ละพื้นแห่งล้วนมี วัฒนธรรมที่ดีงามที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการนำไปประพฤติปฏิบัติ และมีคุณค่าในการอนุรักษ์ธำรงรักษา ถ่ายทอดต่อคนรุ่นหลัง ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ คำสอน นิทานพื้นบ้าน การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติในวาระหรือโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งการละเล่น การประกอบอาชีพ ภาษา ดนตรี เพลงพื้นเมือง
ขอบพระคุณ banpot.p@yru.ac.th